ทำความเข้าใจกฎหมาย “การทำงานในที่อับอากาศ” อย่างปลอดภัย ต้องปฏิบัติอย่างไร

ทำความเข้าใจกฎหมาย "การทำงานในที่อับอากาศ" อย่างปลอดภัย ต้องปฏิบัติอย่างไร

ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมีหลายครั้ง ที่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อับอากาศ เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ แน่นอนครับว่าการทำงานในสถานที่อับอากาศก็ต้องมีความเสี่ยงอันตรายต่าง ๆ มากกว่าการทำงานในสถานที่ทั่วไป แต่ทุกคนอย่าเพิ่งตกใจหรือกังวลไปครับ เพราะในปัจจุบันกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้มีการกำหนด “กฎหมายการทำงานในที่อับอากาศ” เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ 

และสำหรับวันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกฎหมายการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานในสถานที่อับอากาศจำเป็นต้องรู้ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและความปลอดภัยของส่วนรวม ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยดีกว่า 

สถานที่อับอากาศ หมายถึง 

ในกฎหมายการทำงานในที่อับอากาศได้มีอธิบายไว้ว่า สถานที่อับอากาศ คือ สถานที่ที่มีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ถูกออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ รวมไปถึงสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงอันตรายหรือมีบรรยากาศอันตราย ไม่ว่าจะเป็น บ่อ ท่อ อุโมงค์ หลุม ห้องนิรภัย ห้องใต้ดิน เตา ถังน้ำมัน ถังหมัก และอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นบริเวณที่มีการระบายอากาศไม่เพียงพอ และไม่เหมาะสมสำหรับปฏิบัติงานเป็นประจำ

หลายคนอาจจะเกิดความสงสัยใช่ไหมครับ ว่าแล้ว สภาพอันตรายและบรรยากาศอันตราย หมายถึงอะไรบ้าง?

ผมจะไขข้อสงสัยของทุกคนให้เองครับ โดยสภาพอันตราย คือ สภาวะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติงาน เช่น สภาวะที่อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ ตกจากที่สูง ถูกกักขัง หรือ ติดอยู่ภายใน เป็นต้น ในขณะที่บรรยากาศอันตราย คือ สภาพอากาศที่อาจทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับอันตรายในระหว่างปฏิบัติงาน เช่น ออกซิเจนน้อยกว่า 19.5% มีก๊าซ ละออง หรือ ไอ ที่สามารถติดไฟหรือระเบิดได้ รวมไปถึงค่าความเข้มข้นของสารเคมีที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ 

การทำงานในสถานที่อับอากาศ

อันตรายที่อาจจะเกิดในสถานที่อับอากาศ

อันตรายที่อาจจะเกิดในสถานที่อับอากาศ มีดังนี้ 

  1. อันตรายที่เกิดจากการขาดออกซิเจน 
  2. อันตรายจากการสูดดมแก๊สพิษ ไม่ว่าจะเป็น คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ หรือ แก๊สที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  3. อันตรายที่เกิดจากวัตถุติดไฟ หรือ การระเบิดของแก๊สจนทำให้เกิดไฟไหม้ 
  4. อันตรายที่เกิดจากฝุ่นละอองหรือแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการมองเห็น 
  5. อันตรายที่เกิดจากอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากกว่าปกติ 
  6. ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง เพราะเสียงดัง หรือ เสียงก้อง มากกว่าปกติและเกินค่าที่มาตรฐานกำหนดไว้ 
  7. ผิวหนังอักเสบจากการโดนสารเคมีหรือแก๊สพิษ 
  8. ภาวะเครียดหรือกดดันที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อับอากาศ 

เพราะอันตรายที่เกิดในสถานที่อับอากาศสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของลูกจ้างได้ ทำให้ในปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายการทำงานในสถานที่อับอากาศนั่นเองครับ 

อัปเดต! กฎหมายการทำงานในที่อับอากาศล่าสุด

อัปเดต! กฎหมายการทำงานในที่อับอากาศล่าสุด 2024

  1. นายเจ้าต้องทำป้ายบริเวณทางเข้าออกของพื้นที่อับอากาศทุกแห่ง โดยมีข้อความแจ้งว่า พื้นที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า โดยต้องมีขนาดป้ายและตัวอักษรที่สามารถมองเห็นได้จากชัดเจน และบริเวณทางเข้าออกพื้นที่อับอากาศต้องมีอุปกรณ์เฉพาะในการเปิด-ปิดทางเข้าออกด้วย
  2. นายเจ้าต้องดำเนินเรื่องตามกฎกระทรวงที่กำหนดไว้ก่อนที่จะให้ลูกจ้างเข้าออกในบริเวณพื้นที่อับอากาศ และลูกจ้างที่สามารถเข้าออกพื้นที่อับอากาศได้ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแล้วเท่านั้น 
  3. ไม่อนุญาตให้ลูกจ้างที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ หรือ โรคอื่นที่แพทย์เห็นสมควรว่าการเข้าไปปฏิบัติงานในที่อับอากาศอาจจะเป็นอันตรายต่อบุคคลนั้นๆ 
  4. นายจ้างจำเป็นที่จะต้องประเมินความเสี่ยงและอันตรายในที่อับอากาศ ถ้าหากพบว่ามีสภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย นายจ้างจำเป็นที่จะต้องกำหนดมาตรการควบคุมสภาวะที่เป็นอันตราย เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง 
  5. นายจ้างต้องคอยตรวจประเมิน สภาวะอันตรายในพื้นที่อับอากาศ และต้องบันทึกผลการตรวจประเมินทุกครั้ง 
  6. ถ้าหากนายจ้างได้มีการตรวจประเมินตามที่กฎหมายกำหนด แต่สถานที่อับอากาศยังคงมีสภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย แต่มีความจำเป็นที่จะให้ลูกจ้างหรือบุคคลเข้าไป ต้องมีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิด 
  7. ลูกจ้างทุกคนที่ปฏิบัติงานในที่อับอากาศต้องผ่านการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในสถานที่อับอากาศ
  8. ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงาน 
  9. ถ้าหากเป็นสถานที่ที่มีสภาพเสี่ยงที่จะเกิดการตกลงลงไปในที่อับอากาศ นายจ้างต้องมีการจัดให้มีสิ่งปิดกั้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน 
  10. นายจ้างต้องมีการจัดทางเข้า-ออกที่มีความปลอดภัยและสะดวก 
  11. ห้ามลูกจ้างสูบบุหรี่ หรือ วัตถุติดไฟที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานเข้าไปที่อับอากาศโดยเด็ดขาด 
  12. นายจ้างจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมตามลักษณะการใช้งาน และต้องตรวจสอบให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ชำรุดหรือเกิดความเสียหายที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย 
  13. ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสม และมีจำนวนที่เพียงพอ 
  14. นายจ้างเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ
  15. นายจ้างจำเป็นต้องตัดให้มีหนังสืออนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศทุกครั้ง 
  16. นายจ้างต้องมีการจัดอบรมให้ความรู้กับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่อับอากาศ และจำเป็นต้องเก็บหลักฐานการจัดอบรมไว้ด้วย 

สรุป 

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ ผมคาดว่าหลายคนน่าจะตระหนักถึงความสำคัญของกฎหมายการทำงานในที่อับอากาศกันได้ และปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้การปฏิบัติตามกฎไม่ใช่เพียงเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองเท่านั้น แต่เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์ของส่วนรวมด้วยครับ 

ถ้าไม่อยากห้ามข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

E-mail: [email protected]

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย