Checklist มาตรการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

checklist การทำงานบนที่สูง

การทำงานบนที่สูงและการทำงานบนนั่งร้านที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานบำรุงรักษา งานสายส่งไฟฟ้า งานทำความสะอาด การช่วยเหลือกู้ภัย หรือแม้กระทั่งการทำงานในหลุม บ่อ เป็นต้น งานที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูงหรือพื้นที่ต่างระดับนี้ จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับการอบรม ฝึกฝน ให้มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะที่ปฏิบัติงานบนที่สูงและปฏิบัติให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยเราได้ทำ checklist การทำงานบนที่สูง มารวบรวมไว้ให้ที่นี่แล้ว

skyscraper

การทำงานบนที่สูง คือ

อย่างแรกเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า “การทำงานบนที่สูง” หมายถึงอะไร การทำงานบนที่สูง คือ การทำงานที่ตัวผู้ปฏิบัติงานอยู่บนพื้นที่ที่สูงจากพื้นดิน หรือสูงจากพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป หรือทางต่างระดับลงไปมากกว่า 2 เมตรก็ตาม ที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานพลัดตกได้ ด้วยความที่การทำงานบนพื้นที่สูงนั้นมีความเสี่ยงสูงที่ตัวผู้ปฏิบัติงานจะเกิดอันตรายต่อชีวิต เช่น พลัดตก จึงทำให้มีการประกาศกฎหมายออกมาบังคับใช้สำหรับการทำงานบนที่สูงให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน และ ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานบนที่สูง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อบังคับสำหรับการทำงานบนที่สูงตามที่กฎหมายกำหนด

checklist ข้อบังคับการทำงานบนที่สูง มีดังนี้

  1. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการอบรมการทำงานบนที่สูง หรือ ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบังคับและขั้นตอนในการทำงานบนที่สูงเพื่อความปลอดภัย 
  2. นายจ้างจะต้องมีเอกสารประกอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE) ที่ออกด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ลูกจ้างอ่านและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 
  3. นายจ้างจะต้องเตรียมอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE) ที่ได้รับมาตรฐาน และพร้อมใช้งาน 100% ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็กหมวกเซฟตี้ และเครื่องมือชนิดอื่นๆ และต้องบังคับใช้อย่างเคร่งครัด 
  4. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการเตรียมความพร้อม ตรวจสอบ และเตรียมอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย เช่น การตรวจสอบว่าอุปกรณ์พร้อมใช้งานก่อนการทำงานทุกครั้ง 
  5. นายจ้างจะต้องจัดให้มีอุปกรณ์กันตก เช่น ราวกั้น รั้วกั้น หรือตาข่ายต่าง ๆ ในกรณีที่มีการทำงานบนพื้นที่สูง 4 เมตรขึ้นไป แต่แนะนำว่าควรมีไม่ว่าจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม 
  6. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการติดตั้งนั่งร้านที่ได้มาตรฐาน
  7. นายจ้างจะต้องจัดให้มีฝาปิดช่องหรือปล่องต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีโอกาสตกลงไปได้ โดยฝาปิดจะต้องเป็นฝาปิดที่ได้มาตรฐาน 
  8. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการติดตั้งนั่งร้านในกรณีที่พื้นที่ปฏิบัติงานมีความลาดชันเกิน 15 องศาขึ้นไป
  9. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการผูกยึดอุปกรณ์ในการทำงานบนที่สูง เพื่อป้องกันไม่ให้ตกลงมาและอาจจะก่อเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่ข้างล่าง 
  10. นายจ้างจะต้องบังคับใช้บันไดที่เคลื่อนย้ายได้ พาดทำมุม 75 องศาเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน 
  11. หากใช้รถเครน จะต้องบังคับใช้แผ่นเหล็กเพื่อมารองขาช้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอ่อนตัวแล้วทำให้รถเครนล้มตัวลงมา โดยคนขับและผู้ให้สัญญาณจะต้องผ่านการอบรม และตัวรถเครนจะต้องผ่านการตรวจสอบเครนจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและมีใบอนุญาต

กฎหมายพื้นฐานสำหรับผู้ที่ทำงานบนที่สูง

กฎพื้นฐานสำหรับผู้ที่ทำงานบนที่สูงที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีดังนี้

  1. ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านหลักสูตรอบรมการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัยหมดทุกคน
  2. ทุกคนต้องบังคับสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ในขณะทำงานบนที่สูง
  3. สวมใส่อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเฉพาะในการทำงาน เช่น ใส่หน้ากากกันฝุ่นเพื่อป้องกันไอควันจากการวัสดุก่อสร้าง
  4. ก่อนผู้ปฏิบัติงานจะดำเนินการก่อสร้างบนพื้นที่สูง ควรหาจุดยืนที่แข็งแรงก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
  5. นายจ้างต้องเตรียมแผนการช่วยเหลือ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุขณะการก่อสร้างแก่ลูกจ้างได้

กฎหมายการทำงานบนที่สูงที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือกันกับการใช้บันได มี 5 ข้อปฏิบัติ ดังนี้

  1. บันไดที่ใช้ในการปีนขึ้นไปจะต้องถูกยึดเหนี่ยวแน่น ไม่โยกในขณะการปีนขึ้นไป
  2. สวมใส่ถุงมือเซฟตี้ และรองเท้าเซฟตี้ขณะขึ้นบันไดทุกครั้ง
  3. ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ใช้บันไดร่วมกัน ต้องบังคับการขึ้นและลงทีละคนเท่านั้น
  4. ในขณะผู้ปฏิบัติงานกำลังขึ้นบันได ให้จับราวบันไดทั้งสองข้างด้วยความเร็วปกติ
  5. ผู้ปฏิบัติงานที่กำลังขึ้นบันไดต้องไม่พบอุปกรณ์พกพาติดมือในขณะปีน หากจำเป็นต้องพกพาให้ใส่ในกระเป๋าติดตัวเท่านั้น

กฎหมายอีกฉบับที่ประบังคับใช้กับสถานประกอบกิจการและนายจ้าง คือ

  1. นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือ คู่มือการทำงานนั่นเอง โดยก่อนเริ่มทำงานเราจะต้องทำการอบรมให้กับพนักงานก่อนเริ่มทำงานบนที่สูง อาจจะใช้การประเมินอันตรายด้วย JSA มาทำเป็นคู่มือก็ได้เช่นกัน
  2. นายจ้างและผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามคู่มือการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานบนที่สูงอย่างเคร่งครัด
  3. จะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตก เข็มขัดนิรภัย หรือ PPE ตลอดระยะเวลาที่ทำงานบนที่สูง รวมทั้งจัดให้มีส่วนประกอบของระบบกันตกดังนี้

3.1 จุดยึดที่แข็งแรง (A)

3.2 เข็มขัดกันตกยึดกับร่างกาย (B)

3.3 อุปกรณ์เชื่อมต่อในแต่ละส่วนที่ได้มาตรฐานแข็งแรง ©

Working at height

ข้อกำหนดเพื่อใช้สำหรับการขึ้นทำงานบนที่สูงให้ปลอดภัย

checklist ข้อกำหนดการขึ้นทำงานบนที่สูงให้ปลอดภัย มีดังต่อไปนี้

  • ห้ามทำงานบนที่สูงเพียงลำพังคนเดียว
  • ห้ามวิ่งหรือเคลื่อนไหวตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อทำงานบนที่สูงกว่าพื้นดินเกิน 2 เมตร
  • ขณะทำงานงาน ห้ามโยนสิ่งของหรือเครื่องมือให้แก่ผู้ที่อยู่บนที่สูงอย่างเด็ดขาด
  • เมื่อทำงานอยู่บนที่สูง ห้ามทิ้งสิ่งของหรือเครื่องมือลงสู่เบื้องล่างโดยเด็ดขาด
  • การตัด การเชื่อมบนที่สูง ให้ตรวจสอบและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิง และสารไวไฟทุกชนิดในพื้นที่เบื้องล่างก่อน รวมถึงขณะตัดหรือเชื่อม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง
  • ผู้ควบคุมงานต้องดูแลไม่ให้ใครเดินผ่านเบื้องล่างขณะทำงานบนที่สูง
  • หากจำเป็นต้องยกแฮงเกอร์แขวนท่อเคลื่อนย้าย ควรทำการเคลื่อนที่ภายในเส้นทางบริเวณเขตก่อสร้างเท่านั้น
  • ขณะยืนบนหลังคากระเบื้องและกระจก ควรวางน้ำหนักเท้าให้เบาที่สุด และห้ามเหยียบที่แผ่นกระเบื้องโดยตรง

อันตรายที่พบได้บ่อยเมื่อทำงานบนที่สูง

การทำงานบนที่สูงมีอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน เนื่องจากเป็นงานที่มีความเสี่ยง โดยอันตรายที่พบได้บ่อย คืออันตรายจากการพลัดตกจากที่สูง ที่อาจส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้ และอันตรายอื่นๆ จากการทำงานบนที่สูงยังรวมถึง

  • วัตถุที่ตกลงมาจากที่สูง ที่อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ด้านล่างได้รับบาดเจ็บจากวัตถุนั้น
  • การยุบตัวของโครงสร้างที่อาจพังทลายลงมาทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บ
  • อันตรายจากไฟฟ้าช็อต ที่เกิดจากสายไฟฟ้าที่อยู่บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • การบาดเจ็บจากการลื่นไถล สะดุด ล้ม บนพื้นบริเวณที่ทำงาน
  • การบาดเจ็บจากการขนย้ายเครื่องมือและอุปกรณ์

นอกจากอันตรายที่กล่าวไปข้างต้น ในการทำงานบนที่สูงอาจมีอันตรายอื่นๆ ที่แอบแฝงอยู่ เพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างเหมาะสม ซึ่งรวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันการตก เช่น เข็มขัดนิรภัยและเชือกช่วยชีวิต การใช้ราวกั้น ตาข่ายนิรภัย และมาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆ และต้องแน่ใจว่าผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมในการใช้อุปกรณ์อย่างปลอดภัย

สรุป

การทำงานบนที่สูง มีความเสี่ยงจากการพลัดตก จนทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องได้รับการอบรมให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย และนอกจากการอบรมแล้ว นายจ้างยังต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เพียงพอ และต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่แค่เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงาน แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้อื่นด้วยนั่นเอง เพราะการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยอย่างจริงจังและการใช้มาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด สามารถสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บได้  หากสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความปลอดภัยก็จะสามารถนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาภายในไซต์ก่อสร้างด้วย Why Why Analysis

why why analysis คือ

ในปัจจุบันปัญหาต่าง ๆ ของการทำงานมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะในกระบวนการทำงานภายในไซต์ก่อสร้าง ซึ่งทักษะการวิเคราะห์ปัญหาด้วย Why Why Analysis คือ พื้นฐานสำคัญและมีความเหมาะสมกับการแก้ปัญหาในกระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างมาก การใช้ Why Why Analysis ส่งผลให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความเป็นระบบ มีขั้นตอนและมีเหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์ จึงนับว่าการใช้ Why Why Analysis คือ “การป้องกันการแก้ปัญหาแบบไม่สมเหตุผล” ที่เกิดจากการนึกคิดเองของผู้ปฏิบัติงานไปด้วยในตัว ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจการใช้ Why Why Analysis มาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ผมจึงได้รวบรวมเนื้อหาและสาระที่น่ารู้ว่า Why Why Analysis คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง มาให้ทุกคนได้อ่านในบทความนี้แล้ว

Why Why Analysis

การแก้ไขปัญหาด้วย Why Why Analysis คือ

Why Why Analysis คือ “การวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริง (Root Cause) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหรือปรากฏการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น (Effect) ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอน โดยไม่ให้เกิดสภาพการณ์ที่ตกหล่นและซ้ำซ้อน และไม่จินตนาการไปเอง” ดังนั้น Why Why Analysis เปรียบเสมือนการมองเห็น “ผลกระทบ” และ “สาเหตุ” ในบางประเด็น แต่ยังไม่ด่วนสรุปทันทีว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่พยายามค้นหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและสอดคล้องเพื่อค้นหาว่า “สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร”

หรือให้ทุกคนเข้าใจอย่างง่ายๆ Why Why Analysis หรือ 5 Why คือ เครื่องมือวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาด้วยการถามหาสาเหตุด้วยคำว่า “Why” หรือ “ทำไม” เพื่อหาว่าสาเหตุของปัญหามาจากอะไร และถามซ้ำเพื่อหาว่าทำไมสาเหตุดังกล่าวจึงเกิดขึ้นได้ โดยการตั้งคำถามซ้ำไปเรื่อยๆ 5 ครั้งหรือจนกว่าจะพบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา จนกระทั่งได้สาเหตุที่เป็นต้นตอของปัญหา โดยสาเหตุที่อยู่หลังสุดจะต้องเป็นสาเหตุที่สามารถพลิกกลับกลายมาเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพหรือเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำได้อีกนั่นเอง

ขั้นตอนทำ Why Why Analysis

ขั้นตอนทำ Why Why Analysis ประกอบไปด้วย

  1. ระบุปัญหาหลักที่ต้องการแก้ไข: เริ่มต้นด้วยการระบุปัญหาหลักที่ต้องการแก้ไขอย่างชัดเจน
  2. สอบถามที่ 1 (Why?) : สอบถามว่าทำไมเกิดปัญหานี้ขึ้น ซึ่งจะเป็นการค้นหาสาเหตุหลักที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
  3. สอบถามที่ 2 (Why?) : ต่อมาสอบถามว่าทำไมสาเหตุที่ตอบมาจากขั้นตอนที่ 2 นั้นเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นการค้นหาสาเหตุย่อยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุหลัก
  4. ทำขั้นตอนที่ 3 จนกระทั่งได้สาเหตุหลักและสาเหตุย่อยทั้งหมด : ทำขั้นตอนการสอบถามสาเหตุย่อยต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้สาเหตุหลักและสาเหตุย่อยทั้งหมด (Why ที่ดีควรสอบถามให้ถึง 5 Why)
  5. หาวิธีแก้ไขสาเหตุหลัก : หลังจากได้สาเหตุหลักและสาเหตุย่อยทั้งหมดแล้ว จะต้องหาวิธีแก้ไขสาเหตุหลักเพื่อแก้ไขปัญหาให้หมดไป
  6. ดำเนินการแก้ไข : หลังจากได้วางแผนวิธีแก้ไขสาเหตุหลักแล้ว ก็ทำการดำเนินการแก้ไขเพื่อแก้ไขปัญหา
  7. ตรวจสอบผล : หลังจากดำเนินการแก้ไขแล้ว จะต้องทำการตรวจสอบผลเพื่อให้แน่ใจว่าปัญหานั่นได้คลี่คลายแล้ว
  8. ประเมินและป้องกันปัญหาเดียวกัน : หลังจากแก้ไขปัญหาแล้ว จะต้องประเมินว่าการแก้ไขนั้นเป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่ และควรมีการวางแผนการป้องกันปัญหาเดียวกันในอนาคต เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นซ้ำอีก
5Why

9 ข้อ ที่ต้องคำนึกเมื่อทำ Why Why Analysis

9 ข้อที่ต้องคำนึกถึงเมื่อทำ Why Why Analysis เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยเทคนิคดังต่อไปนี้

  1. หาความชัดเจนกับปัญหา (Specification) และไม่เป็นนามธรรม
  2. การวิเคราะห์ต้องดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง (3G)
  3. ต้องระวังต้นเหตุเทียมหรือต้นกำเนิดที่ไม่สมเหตุสมผล
  4. ต้องพิจารณาปัญหา (สาเหตุ) ให้รอบด้าน
  5. หลีกเลี่ยงสาเหตุจากสภาพจิตใจ (Emotional Cause)
  6. ต้นเหตุต้องนำมากำหนดเป็นมาตรการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ
  7. ไม่นิยมนำมาตรการแก้ปัญหามากำหนดเป็นต้นเหตุ
  8. ต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ด้วย MECE Technique
  9. พิจารณาว่าสาเหตุใดควรเป็นต้นเหตุสุดท้าย

5 Gen ที่จะช่วยให้การทำ Why Why Analysis มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

นอกจากการใช้ Why Why Analysis มาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแล้วนั่น ยังมีอีกหลักการหนึ่งที่ยังสามารถช่วยให้การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือ “หลักการ 5 Gen” โดยประกอบไปด้วย Genba, Genbutsu, Genjitsu, Genri และ Gensoku โดยเฉพาะใน 3 Gen แรกที่จะให้ความสำคัญกับการดำเนินการค้นหาปัญหา เป็นการลงไปเห็นที่จุดเกิดเหตุของปัญหานั้นๆ เพื่อที่จะนำมันมาแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยในแต่ละหลักการมีความหมายดังนี้

  • Genba คือ สถานที่จริง/หน้างานจริง หรือก็คือ การลงพื้นที่เพื่อค้นหาปัญหาจริง ๆ
  • Genbutsu คือ สิ่งที่เป็นตัวปัญหาจริง หมายถึง การสังเกตหรือจับต้องสิ่งนั้น ๆ ที่กำลังจะถูกผลิตหรือกำลังถูกตรวจสอบนั่นเอง
  • Genjitsu คือ สถานการณ์จริง หมายถึง เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดปัญหาจริง
  • Genri คือ ทฤษฎีที่ใช้ได้จริง หมายถึง หลักการที่ใช้ในการทำงาน หรือสมมุติฐานในการแก้ไขหรือตรวจสอบ
  • Gensoku คือ เงื่อนไขประกอบที่เกี่ยวข้องจริง หมายถึง ข้อจำกัด ข้อตกลง หรือกฎที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

ซึ่งเหตุผลที่ควรนำหลักการ 5 Gen มาใช้ด้วยนั้น ก็เป็นเพราะว่าการวิเคราะห์ด้วย Why Why Analysis ในอดีตมีข้อด้อยคือ ขาดการทวนสอบจากสถานที่จริง จึงทำให้เกิดการวิเคราะห์อยู่เพียงแค่บนโต๊ะทำงาน ทำให้ปัญหาจริงๆไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้น จึงต้องใช้หลักการของ 5 Gen เข้าไปร่วมด้วย โดยจะช่วยทำให้เราสามารถค้นหาปัญหาที่เรากำลังตามหาได้อย่างแท้จริงนั่นเอง

สรุป

จากบทความข้างต้น Why Why Analysis คือการถกถามหาปัญหาไปเรื่อยๆ เพื่อหาต้นเหตุของปัญหาไปจนกว่าจะเจอสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นอาจจะน้อยกว่าหรือมากกว่า 5 คำถามก็ได้ และในแต่ละคำถามอาจจะมีมากกว่า 1 คำตอบก็เป็นได้ ซึ่งจะช่วยทำให้เข้าใกล้ถึงปัญหาได้มากขึ้นจนสามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และตรงประเด็น

ซึ่งในปัจจุบันหลักการวิเคราะห์ด้วย Why Why Analysis ไม่ได้เป็นที่นิยมในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง โรงงานผลิต หรือ โรงพยาบาล เท่านั้น แต่ยังมีหลาย ๆ องค์กรที่นำหลักการวิเคราะห์ด้วย Why Why Analysis ไปใช้และได้ผลตอบรับที่ดีเกินคาด ทั้งนี้ทุกคนสามารถนำหลักการวิเคราะห์ด้วย Why Why Analysis ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรหรือบริษัทของคุณได้เช่นกัน

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

หมวกนิรภัยมีกี่แบบ? ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับงาน

หมวกนิรภัยมีกี่แบบ

หมวกนิรภัยมีกี่แบบ

หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ (Safety Helmet) คือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) หรืออุปกรณ์นิรภัยประเภทหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับศีรษะในขณะทำงาน โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จะต้องสวมใส่หมวกนิรภัยนี้ เพราะเป็นกฎข้อบังคับส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของกระทรวงแรงงาน นายจ้างหรือสถานประกอบการต้องจัดหาให้พนักงานได้สวมใส่หมวกนิรภัย รวมถึงผู้ที่ต้องทำงานบนที่สูง เช่น รุกขกร (หมอต้นไม้) ต้องสวมใส่หมวกหมวกนิรภัยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าหมวกนิรภัยถือเป็นอุปกรณ์หรือไอเท็มได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับสวมใส่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับศีรษะ (Head Protection) เพื่อให้ทุกคนได้รู้ข้อมูลของหมวกนิรภัยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น หมวกนิรภัยมีกี่แบบ ประโยชน์ของการสวมใส่หมวกนิรภัยในสถานที่ทำงานเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดกับศีรษะ รวมถึงความหมายของสีหมวกนิรภัยและการเลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับงาน

หมวกนิรภัย

ประเภทหมวกนิรภัย

ตามมาตรฐาน ANSI Z89.1-2003 แบ่งหมวกนิรภัยออกได้ตามลักษณะของการกันกระแทก และการกันไฟฟ้า โดยทั่วไป หมวกนิรภัยควรจะกันกระแทกได้ในแบบประเภท 1 หรือไม่ก็ประเภทที่ 2

  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ 1 หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกจากด้านบน แต่ไม่ได้ออกแบบสำหรับกันกระแทกจากด้านข้าง
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ 2 หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้าง
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ E (Electrical) ดังนั้นหมวกนิรภัยประเภทนี้จึงออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าแรงสูงได้ดี  โดยจะต้องผ่านการทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ G (General) หมวกนิรภัยประเภทนี้สามารถถูกใช้เพื่อช่วยลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงต่ำได้ โดยหมวกนิรภัยประเภทนี้จะต้องผ่านการทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์ 
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ C (Conductive) หมวกนิรภัยประเภทนี้ไม่กันไฟฟ้า และไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า สามารถทนแรงกระแทกได้อย่างเดียว

ประโยชน์ของหมวกนิรภัย

ประโยชน์ของการสวมใส่หมวกนิรภัย มีดังนี้

  • ช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะ : หมวกนิรภัยเป็นหมวกที่มีลักษณะแข็ง (Hard Hat) ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้ปฏิบัติงานในสถานที่เสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บทะลุศีรษะ (Injury Penetration) การบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้า (Electric Injury) และช่วยลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ จากวัตถุที่ร่วงหล่นหรือลอยมาโดนศีรษะ
  • ช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากการลื่นไถลหรือหกล้ม : การสวมใส่หมวกนิรภัยขณะทำงานในโรงงานผลิตสินค้าประเภทของเหลวจะช่วยลดการบาดเจ็บที่ศีรษะลง หากผู้ปฏิบัติงานลื่นล้มในสถานที่ทำงานเพราะเป็นสถานที่เปียก
  • ช่วยเพิ่มโอกาสรอดจากอุบัติเหตุ : ในขณะปฏิบัติงานอาจต้องเผชิญกับอุบัติเหตุ เช่น การเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบขนาดใหญ่ หรือเกิดข้อผิดพลาดในการดูแลชิ้นส่วนงานขนาดใหญ่และร่วงหล่นสู่พื้น ในกรณีเช่นนี้ หมวกนิรภัยจะช่วยลดการบาดเจ็บจากสถานการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยให้การมองเห็นผู้ปฏิบัติงานง่ายขึ้น : เนื่องจากหมวกนิรภัยมีหลายสีและเป็นสีที่สว่างสดใส ดังนั้น การสวมหมวกนิรภัยจะช่วยให้มองเห็นผู้ปฏิบัติงานรวมถึงผู้อื่นที่อยู่ในสถานที่ทำงานได้อย่างง่ายขึ้นทั้งในกลางวันและกลางคืน สีของหมวกนิรภัยยังช่วยแยกว่าใครเป็นใครในสถานที่ทำงาน เช่น ผู้มาเยี่ยมชม (Visitors) ผู้บริหารหรือวิศวกร เป็นต้น
  • ช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดด : สำหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานกลางแจ้ง เช่น ไซต์ก่อสร้างต่าง ๆ ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะต้องเผชิญกับแสงแดดในช่วงกลางวัน การสวมใส่หมวกนิรภัยจะช่วยป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายกับร่างกายได้ และยังช่วยลดโอกาสการเกิดโรคลมแดด (Heatstroke) หรืออาการอ่อนเพลียได้ (Fatigue)
หมวกนิรภัย

ความหมายของสีหมวกนิรภัย

มาพูดถึงความหมายของสีหมวกนิรภัยที่พบบ่อยที่สุด โดยหมวกนิรภัยมีสีสันมากมายหลากหลายเต็มไปหมด แต่ละสีมีความหมายยังไงบ้าง แต่ละสีมักแสดงถึงที่มาของผู้ผลิตหรือการใช้ที่แตกต่างกันออกไป

สามารถบอกถึงตำแหน่ง หน้าที่ ดังนี้

  • หมวกนิรภัยสีเหลือง สำหรับพนักงานทั่วไป
  • หมวกนิรภัยสีขาว สำหรับผู้จัดการ ผู้บริหาร วิศวกร หัวหน้างาน และผู้เยี่ยมชม
  • หมวกนิรภัยสีน้ำเงิน สำหรับช่างไฟฟ้า ช่างไม้ และเจ้าหน้าที่เทคนิคอื่น ๆ
  • หมวกนิรภัยสีเขียว สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย จป.วิชาชีพ เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คปอ.
  • หมวกนิรภัยสีส้มหรือสีน้ำตาล สำหรับช่างซ่อมบำรุงทั่วไป ผู้ส่งสัญญาณปั้นจั่น ทีมช่วยเหลือ หรือ เจ้าหน้าที่จราจร
  • หมวกนิรภัยสีแดง สำหรับเจ้าหน้าที่งานดับเพลิง ช่างเชื่อม และการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน

หมวกนิรภัยสีเทา บางโรงงานหรือองค์กรนำมาใช้สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมไซต์งาน

วิธีเลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับการทำงาน

พบกับ 6 วิธี ในการเลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะสมกับการทำงาน ซึ่งอุปกรณ์เซฟตี้ชิ้นนี้ถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับพนักงานในการปฏิบัติงาน 6 วิธีดังกล่าวคือ

  1. เลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับลักษณะงาน เช่น งานก่อสร้าง ต้องใช้หมวกนิรภัยที่มีความแข็งแรงทนแรงกระแทกระดับหนึ่ง
  2. หมวกนิรภัยต้องได้มาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.368-2554) หรือ NSI Z98.1-2003 และเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันที่น่าเชื่อถือ
  3. เลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีขนาดเหมาะกับศีรษะของผู้สวมใส่ เพื่อไม่ให้คับเกินไป และต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
  4. หมวกนิรภัยต้องมีสีสันที่เด่นชัด มีน้ำหนักเบา หาซื้อได้ง่ายในราคาที่เหมาะสม
  5. วิธีการใช้งานหมวกนิรภัยต้องง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  6. ควรมีการเปลี่ยนหมวกนิรภัยใหม่ หากมีรอยร้าวจากการได้รับการกระแทกมาแล้ว หรือการสัมผัสกับอากาศที่เป็นพิษ

สรุป

หมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์หรือไอเท็มสำหรับความปลอดภัยที่ปกป้องอันตราย อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ศีรษะของมนุษย์ อันเนื่องมาจากการทำงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยง เช่น ไซต์ก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เพราะอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ คือ สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตหรือความพิการที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด ดังนั้น นายจ้างหรือผู้ที่รับผิดชอบดูแลสวัสดิภาพของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษนั่นเอง

เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

Kaizen คืออะไร? ส่งผลดีอย่างไรต่อความปลอดภัยในการทำงาน

kaizen คือ

ในโลกของธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา แทบจะไม่มีให้เวลาให้เหล่าผู้บริหารหยุดคิด หากลยุทธ์ หรือ แนวทางการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมาช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงานได้เลย เพราะถ้าคุณช้ากว่าคู่แข่งแค่เพียงหนึ่งก้าว นั้นหมายความว่าลูกค้าคุณอาจจะถูกแย่งไปด้วย และแนวคิดแบบ Kaizen คือ หนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยให้การบริหารจัดการธุรกิจของคุณดียิ่งขึ้น 

แล้วแนวทางการบริหารแบบ Kaizen คืออะไรกันล่ะ ? วันนี้ผมจะช่วยไขข้อสงสัยให้กับทุกคนเองครับ ว่า กลยุทธ์การบริหารจัดการแบบ Kaizen คืออะไร แล้วมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร 

การวางกลยุทธ์แบบ Kaizen คือ 

Kaizen มาจากภาษาญี่ปุ่นครับ โดย Kai หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ส่วน Zen มีความหมายว่า ดี  เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกัน Kaizen จึงหมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม 

ในภาคอุตสาหกรรม Kaizen (ไคเซน) คือ การบริหารจัดการที่เน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีดำเนินการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิตให้ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนาวิธีดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยเน้นให้การทำงานน้อยลงแต่ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานทุกคน 

และแนวคิดแบบ Kaizen เชื่อว่าการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องอาศัยการสังเกตจากคนที่ปฏิบัติงานจริงจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 

กลยุทธ์หลักของ Kaizen

แนวคิดการบริหารจัดการแบบ Kaizen

กลยุทธ์หลักของ Kaizen สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลยุทธ์ใหญ่ ๆ  ได้แก่ 

  1. รายการตรวจสอบ 3 Mu’s

3 Mu’s ของ Kaizen คือ ระบบตรวจสอบที่จะช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานช่วยกันแก้ไขปัญหาที่พบ โดย 3 Mu’s ประกอบไปด้วย ความสูญเปล่า (Muda) , ความแตกต่างขัดแย้งกัน (Mura) และ ความดึง (Muri) ซึ่งจะนำเอา 3 Mu’s ทั้ง 3 มาพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา 

  1. หลักการ 5ส 

หลักการ 5ส ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบได้มากในวงการอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมก่อสร้าง และโรงพยาบาล โดยหัวใจหลักของหลัก 5ส คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ข้อ ได้แก่ สะอาด (Seisou) , สะสาง (Seiri) , สะดวก (Seition) , สุขลักษณะ (Seiketsu) และ สร้างนิสัย (Shitsuke) 

  1. หลักการ 5W 1H

หลักการ 5W 1H คือ ระบบชุดคำถามเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดในการทำการตลาดเพื่อระบุลักษณะที่แท้จริงของปัญหาและพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจวางแผนการตลาดแม่นยำมากยิ่งขึ้น 

โดยประกอบไปด้วย กลุ่มเป้าหมายคือใคร (Who) , อะไรคือสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ (What) , เมื่อที่ลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการ (When) , กลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ไหน (Where) , ทำไมกลุ่มเป้าหมายต้องซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Why) และ ทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (How) 

  1. รายการตรวจสอบ 4M 

รายการตรวจสอบ 4M คือ การควบคุมการผลิตเพื่อสร้างความเชื่อมั่นใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการให้แก่ลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้รายการตรวจสอบ 4M จะประกอบไปด้วย การบริหารจัดการการใช้วัสดุดิบให้สูญเสียน้อยที่สุด (Meterial) , การจัดสรรบุคลากรที่มีทักษะเหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำ (Man) , การจัดหาวัสดุ เครื่องจักร และสถานที่ที่เอื้อต่อการทำงาน (Machine) และ การเลือกวิธีปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ (Method) 

4 เทคนิคที่จะช่วยให้การวางกลยุทธ์ Kaizen ประสบความสำเร็จ

หลังจากที่ทุกคนเข้าใจแล้วว่าแนวคิด Kaizen คืออะไร มาลองดูเทคนิคที่จะช่วยให้การวางกลยุทธ์ Kaizen ประสบความสำเร็จกันดีกว่าครับ 

  1. ผู้บริหารหรือหัวหน้าจำเป็นที่ต้องการมีการแจ้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำกลยุทธ์ Kaizen มาใช้ เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่านี่ไม่ใช่เพียงเป้าหมายขององค์กรหรือบริษัท แต่เป็นเป้าหมายของเราทุกคนที่จะช่วยกันให้ประสบความสำเร็จ 
  2. จัดสรรให้พื้นที่ให้พนักงานทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นและพูดถึงปัญหาได้อย่างตรงไป ตรงมา เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด 
  3. มีการให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทุกคนอยากมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง
  4. ต้องมีการติดตามผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอและต้องนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ต่อเพื่อปรับปรุงและพัฒนา 

สรุป

กลยุทธ์การบริหารแบบ Kaizen คือ การให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในแสดงความคิดเห็นเพื่อแจ้งปัญหาที่พบ รวมไปถึงการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน โดยคาดหวังให้พนักงานทำงานน้อยลง เหนื่อยลงน้อย แต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม 

ซึ่งในปัจจุบันกลยุทธ์การบริหารแบบ Kaizen ไม่ได้เป็นที่นิยมในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง โรงงานผลิต หรือ โรงพยาบาล เท่านั้น แต่ยังมีหลาย ๆ องค์กรที่นำกลยุทธ์ Kaizen ไปใช้และได้ผลตอบรับที่ดีเกินคาด ทั้งนี้ทุกคนสามารถนำกลยุทธ์ Kaizen ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรหรือบริษัทของคุณได้

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จักเข็มขัดนิรภัย Safety Harness สิ่งนี้คืออะไร ช่วยป้องกันการตกจากที่สูงได้อย่างไร

safety harness คือ

หากคุณคือหนึ่งในผู้ที่ทำงานในแวดวงอุตสาหกรรมก่อสร้างคงคุ้นเคยกับ Safety Harness หรือ เข็มขัดนิรภัย กันมาบ้างไม่มากก็น้อย เพราะถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง แต่สำหรับบางคนที่ยังไม่รู้ว่า Safety Harness คืออะไร มีประโยชน์และสำคัญต่อผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างยังไง บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยให้คุณเองครับ ถ้าอยากรู้แล้วลองไปหาคำตอบพร้อมกันเลยดีกว่า 

Safety Harness คืออะไร ? 

เข็มขัดนิรภัย หรือที่เรียกอีกชื่อว่า Safety Harness คือ อุปกรณ์ป้องกันการพลัดตกจากที่สูง และเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วยป้องกันการพลัดตกจากที่สูงระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ลดความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุ และช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานบนที่สูง หรือ พื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายในการพลัดตกลงมา สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดย Safety Harness เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับงานบนพื้นที่สูงมากกว่า 4 เมตร ไม่ว่าจะเป็น งานก่อสร้าง งานไฟฟ้า หรือ งานทำความสะอาด เป็นต้น 

ประเภทของเข็มขัดนิรภัย 

ในปัจจุบันมี Safety Harness หลายรูปแบบเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ Safety Harness ที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานได้ ซึ่งจะแบ่งประเภทของเข็มขัดนิรภัยตามการใช้งาน ฟังก์ชันการใช้งาน และน้ำหนักที่สามารถรองรับนั้นเองครับ โดยผมขอแบ่งประเภทของ Safety Harness ออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

ประเภทของ Sefety harness คือ

1. เข็มขัดนิรภัยแบบรัดตัว (Body Belts)

เข็มขัดนิรภัยแบบรัดตัว หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ เข็มขัดหนีภัย นิยมใช้กับงานที่ต้องปีนขึ้นที่สูง ปีนขึ้นหลังคา หรือ บันได ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุต่าง ๆ  โดยเข็มขัดนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบมาให้สวมใส่รอบเอว และมี D-Ring ใช้ในการเกี่ยวกับตะขอต่าง ๆ เหมาะสำหรับงานในกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากมีเข็มขัดเส้นเดียวทำให้สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้น้อย จึงไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่ครับ 

2. เข็มขัดนิรภัยแบบเบาะนั่ง (Seat Harnesses)

หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกับเข็มขัดนิรภัยแบบเบาะนั่ง สำหรับเข็มขัดนิรภัยแบบเบาะนั่งนิยมใช้ในการปืนหน้าผา หรือ ปืนขึ้นต้นไม้ โดยเข็มขัดนิรภัยประเภทนี้ออกแบบสายรัดให้ยึดติดกับตัวผู้ใช้งานในท่านั่ง ซึ่งจะประกอบไปด้วยเข็มขัดเส้นเล็ก 2 เส้น ที่รัดบริเวณต้นขา และเข็มขัดคาดรอบเอวอีก 1 เส้น ทั้งนี้ผู้ที่สวมใส่สามารถปรับระดับความแน่นได้ตามความเหมาะสม 

3. เข็มขัดนิรภัยหน้าอก (Chest Harnesses)

เข็มขัดนิรภัยหน้าอกจะมีลักษณะคล้ายกับเสื้อกั๊ก หรือ เสื้อเกราะครับ โดยถูกออกแบบมาให้สวมใส่บริเวณหน้าอกจนไปถึงหน้าท้อง เข็มขัดนิรภัยประเภทนี้เหมาะกับงานที่ไม่ได้ต้องการความปลอดภัยสูง เน้นเคลื่อนไหวร่างกายสะดวก คล่องตัว และมักใช้เข็มขัดนิรภัยหน้าอกในกรณีฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุต่าง ๆ เช่น เหตุอัคคีภัย เป็นต้น 

4. เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว (Full Body Harnesses)

เป็นเข็มขัดนิรภัยที่มีความปลอดภัยสูงมากที่สุด โดยถูกออกแบบมาเป็นชุดสามารถสวมใส่ได้ทั้งตัว และมีจุดคล้องเชือก คล้องตะขอเซฟตี้ที่ช่วยดังรั้ง หรือ พยุงหลายจุด ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่าเข็มขัดนิรภัยประเภทอื่น ๆ สำหรับเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวนิยมใช้กับการทำงานบนที่สูงทุกระดับ ทุกลักษณะงาน รวมไปถึงงานที่อันตรายมาก ๆ ก็มักจะเลือกใช้เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวครับ แต่เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวก็มีข้อเสีย คือ มีน้ำหนักมากกว่าเข็มขัดนิรภัยประเภทอื่น ๆ ทำให้ไม่ค่อยคล่องตัวสักเท่าไหร่ 

ทีนี้หลายคนคงเข้าใจว่า Safety Harness คืออะไร และมีทั้งหมดกี่แบบ เหมาะกับงานลักษณะกันบ้างแล้ว ต่อไปผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับวิธีเลือก Safety Harness ให้เหมาะกับการใช้งานเองครับ 

5 เทคนิค เลือก Safety Harness ให้เหมาะกับการใช้งาน

  1. เลือก Safety Harness ที่มีมาตรฐานสากลรองรับ เช่น มาตรฐาน ANSI หรือ มาตรฐาน EN เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน นอกจากนี้อย่าลืมดูว่า D-Ring ผ่านมาตรฐานตามที่สากลกำหนดไว้หรือไม่ 
  2. ดูฟังก์ชันการใช้งานให้เหมาะกับลักษณะงานที่จะนำไป เช่น ถ้าหากเป็นงานที่ต้องการความปลอดภัยสูงควรเลือกเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว แต่ถ้าหากเป็นงานที่เน้นความคล่องตัวอาจจะเลือกเข็มขัดนิรภัยแบบครึ่งตัว เป็นต้น 
  3. เลือกแบรนด์ Safety Harness ที่น่าเชื่อถือ ผ่านการทดลองความปลอดภัย หรือ คุณอาจจะดูไปถึงโรงงานที่ผลิตว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ 
  4. เช็กความสามารถในการรองรับน้ำหนักของ Safety Harness ต้องเหมาะสมกับลักษณะงานที่นำไปใช้ 
  5. สำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้เลือก Safety Harness ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต และต้องมีผลทดสอบรองรับด้วย 

สรุป

ผมจึงขอสรุปสั้น ๆ ว่า Safety Harness คือ อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยที่จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการพลัดตกจากที่สูง ทั้งนี้ความปลอดภัยในระหว่างทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจและให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เพราะการป้องกันปัญหาสามารถช่วยลดความรุนแรงและสูญเสียลงได้ ย่อมดีกว่าการแก้ไขหลังจากที่ปัญหาเกิดขึ้นแล้วครับ 

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

E-mail: [email protected]

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง คืออะไร มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง คืออะไร มีอะไรบ้าง

เพราะการทำงานบนที่สูงถือว่าเป็นการทำงานที่มีความเสี่ยงและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดและอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งก็อาจจะสร้างความเสียหายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยครับ ทำให้ปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยกฎหมายบังคับให้ลูกจ้างทุกคนต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง เพื่อป้องกันอันตรายและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น 

วันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ว่าคืออะไร และมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย! 

ประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง 

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่องานก่อสร้าง งานทำความสะอาดบนที่สูง งานไฟฟ้า และ งานอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานบนที่สูง โดยประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง คือ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานในสถานที่เสี่ยงอันตรายต่อการตกได้อย่างปลอดภัย ลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุ และยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไม่ต้องคอยกังวลว่าจะพลัดตกลงไปอีกด้วย 

ประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง 

สาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูง 

อุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาจากความประมาทไม่ระมัดระวังของผู้ปฏิบัติงานจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงจากที่สูง ไม่ว่าจะเป็น 

  1. การใช้งานอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงผิดวิธี เช่น การที่ผู้ปฏิบัติงานสวมอุปกรณ์ป้องกันไม่ครบ สวมแค่บางชิ้นเท่านั้น หรือ การใช้งานเข็มขัดนิรภัยแบบผิดวิธี 
  2. สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในการทำงาน เช่น การทำงานบนที่สูงที่เสี่ยงอันตรายและมีพื้นผิวลื่น หรือ การปฏิบัติหน้าที่ในสภาพอากาศที่ย่ำแย่ ไม่ว่าจะเป็น ฝนตก ลมแรง หรือ พายุเข้า เป็นต้น 
  3. การใช้งานเครื่องจักรที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมต่อการปฏิบัติหน้าที่  ส่วนใหญ่มักเกิดจากการละเลย ไม่ได้ตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ 
  4. สภาวะจิตใจและร่างกายของผู้ปฏิบัติงานไม่พร้อมสำหรับทำงาน เช่น มีอาการมึนเมา ขาดสติ ที่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การใช้สารเสพติด รวมอาการเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทำงานบนที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ 
  5. การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงที่ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ มักมีสาเหตุจากการที่พนักงานขาดความรู้ในการเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุในที่สุด 

แนะนำอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง 

ส่วนใหญ่มักจะเรียกอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงว่า “อุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคล PPE” 

ซึ่งในปัจจุบันสามารถแบ่งระบบ หรือ อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น 

  1. เข็มขัดนิรภัย
  2. สายเซฟตี้ สายรัดตัวนิรภัย หรือ สายพยุงตัว 
  3. ตะขอกันตก
  4. อุปกรณ์เชื่อมต่อ 
องค์ประกอบหลักของระบบการป้องกันการพลัดตกจากที่สูง

องค์ประกอบหลักของระบบการป้องกันการพลัดตกจากที่สูง (Elements of Fall protection System)

  1. จุดยึด (Anchor Point) คือ จุดที่ใช้ยึดอุปกรณ์ป้องกันการจากที่สูง ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งบนโครงสร้างที่มั่นคงและบริเวณที่ปลอดภัย เหมาะสมสำหรับการติดสายรัดนิรภัยหรือเชือกเส้นเล็ก โดยกฎหมายกำหนดให้อุปกรณ์ต้องสามารถรับแรงได้อย่างน้อย 5000 lb หรือ 22 kN 
  2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connecting Device) คือ ต้องมีอย่างน้อย 2 จุด ที่เชื่อมต่อกับจุดยึด และต้องทนต่อการกัดกร่อน ผิวจะต้องเรียบ ไม่มีรอยต่อและทำจากเหล็กที่หล่อขึ้นรูป โดยตัวเชื่อมที่เชื่อมกับจุดยึดจะต้องไม่มีรอยแตกร้าว หรือ การเปลี่ยนรูปถาวร และต้องสามารถรับแรงได้อย่างน้อย 16 kN 
  3. เข็มขัดนิรภัยแบบรัดทั้งตัว (Full body harness) ผู้สวมใส่ต้องเลือกเข็มขัดให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน และต้องมีจุดเชื่อมต่ออย่างน้อย 1 จุด และสายรัดจะต้องผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ที่อ่อนนุ่ม แต่มีความแข็งแรงทนทาน เช่น โพลีเอสเตอร์ หรือ โพลีเอไมด์ โดยผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องสวมใส่เข็มขัดนิรภัยทั้งตัวอย่างถูกวิธี โดยเข็มขัดนิรภัยแบบรัดทั้งตัวจะช่วยดึงผู้ปฏิบัติงานถ้าหากเกิดอุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูง 

สรุป

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ เพราะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน และยังช่วยลดความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุ แต่นอกเหนือจากอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงแล้วเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานบนที่สูงต้องได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานบนที่สูงที่ถูกต้อง รวมไปถึงต้องมีความเข้าใจสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงาน และเข้าใจวิธีใช้งานอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงที่ถูกต้องด้วยครับ 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย