ใบตรวจเครน ปจ.1 ปจ.2 คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อการใช้งานปั้นจั่น

ปจ.1 ปจ.2

ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การผลิต หรือไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครื่องจักร และการขนส่ง มักจะมีการใช้เครื่องจักรเป็นเครื่องทุ่นแรงและอำนวยความสะดวกที่สำคัญในการดำเนินงานอยู่เสมอ นอกจากจะช่วยลดการทำงานของคนลงได้แล้ว ยังสะดวก รวดเร็ว ประหยัดต้นทุนและมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้แรงงานคนด้วย หนึ่งในเครื่องจักรที่ใช้ทุ่นแรงนั้นก็คือ “ปั้นจั่น” อย่างไรก็ตาม นอกจากชื่อปั้นจั่นแล้ว หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ปจ.1 ปจ.2” ด้วยเช่นกัน แล้ว ปจ.1 ปจ.2 เกี่ยวข้องอะไรกับปั้นจั่น มีกี่ชนิด การตรวจเครนหรือปั้นจั่น ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง การทดสอบพิกัดการยกเป็นอย่างไร และความถี่ในการตรวจสอบให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดคือเท่าไร วันนี้ผมจึงมีข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอ เพื่อไขคำตอบให้กับทุกคน

ปจ.1 vs ปจ.2 แตกต่างกันตรงไหน

ปั้นจั่นหรือเครน คือ เครื่องจักรกลที่ใช้สำหรับยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ ปัจจุบันนิยมนำมาไว้ใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก พวกโครงสร้างเพื่อประกอบ ติดตั้ง จัดเก็บเข้าชั้นเก็บสินค้าในคลังสินค้า เป็นต้น โดยปั้นจั่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่

  1. ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว โดยปั้นจั่นชนิดนี้มักติดตั้งอยู่บนหอสูง บนล้อเลื่อน หรือขาตั้ง
  2. ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่นั้นจะติดอยู่บนพาหนะที่สามารถขับเคลื่อนได้นั่นเอง

ปจ.1 ก็คือ ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ยกตัวอย่างเช่น โอเวอร์เฮดเครน ทาวเวอร์เครน รอกยกสิ่งของ ลิฟต์ขนส่ง เป็นต้น

โดยกฎหมายระบุไว้ว่าต้องทำการ ตรวจ ปจ.1 ตามที่กฎหมายกำหนดและให้วิศวกรเซ็นรับรองความปลอดภัยตามแบบตรวจ ปจ.1 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

overhead crane

ปจ.2 ก็คือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้ ยกตัวอย่างเช่น โมบายเครน รถบรรทุกติดเครน (รถเฮี๊ยบ), เรือติดเครน และเครื่องจักรอื่น ๆ ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ หรือติดตั้งอยู่บนพาหนะที่สามารถเคลื่อนที่ได้

ซึ่งปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้จะต้องได้รับการตรวจ ปจ.2 ตามกฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันกับ ปจ.1 โดยความถี่ในการตรวจสอบสามารถดูได้จากเนื้อหาด้านล่าง

mobile crane

ทำไมต้องตรวจปั้นจั่นก่อนใช้งาน ? 

  • เพื่อให้แน่ใจว่าปั้นจั่นจะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  • เพื่อเตรียมความพร้อมของปั้นจั่นก่อนใช้งาน และป้องกันการเกิดความเสียหายระหว่างใช้งานปั้นจั่น
  • เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆในส่วนประกอบของปั้นจั่น
  • เพื่อปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับปั้นจั่น
  • เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงานกับปั้นจั่น

เพื่อให้การใช้งานปั้นจั่น หรือ เครน ให้ได้ประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด จึงได้มีการกำหนด “กฎหมายปั้นจั่น” หรือ “กฎกระทรวงปั้นจั่น” ให้ทุกอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานเครื่องจักรชนิดนี้ได้ยึดเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัย โดยกฎหมายปั้นจั่นหรือกฎหมายเครนใหม่ล่าสุดที่อัปเดตในปี พ.ศ. 2564 ได้ระบุข้อกำหนดที่ว่าด้วยการทดสอบความปลอดภัยของปั้นจั่นไว้ดังนี้

น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบ ปจ.1 ปจ.2 เพื่อความปลอดภัยตามกฎหมาย

โดยวิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ปั้นจั่นใหม่
  • ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
  • ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
  1. ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
  • ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
  • กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ

ความถี่ในการตรวจสภาพ ปจ.1 ปจ.2 

นอกจากนั้นกฎหมายยังได้กำหนดความถี่ในการตรวจสอบปั้นจั่นไว้ดังนี้

  1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
  1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
  1. ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
  2. ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน 

โดยเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบ จะใช้เป็นแบบที่ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแนะนำ ดังต่อไปนี้

  • แบบ ปจ.1 : รายการการตรวจสอบและทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นหอสูง และปั้นจั่นขาสูง (ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่)
  • แบบ ปจ.2 : รายการการตรวจสอบและทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับรถปั้นจั่น และเรือปั้นจั่น (ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่)

สรุป

ปั้นจั่นทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่หรือปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ต้องได้รับการตรวจเครน และ ทดสอบเครน ตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยเมื่อปั้นจั่นได้รับการทดสอบแล้ว จะมีเอกสาร แบบ ปจ.1 และแบบ ปจ.2 เพื่อรับรองว่าปั้นจั่นนั้นผ่านการทดสอบเครนตามที่กฎหมายกำหนด มีความปลอดภัยพร้อมใช้งาน  และการใช้งานปั้นจั่นทั้งหมดต้องได้รับการควบคุมโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ห้ามผู้ที่ไม่ผ่านการฝึกอบรมใช้งานโดยเด็ดขาด

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย