บริการให้เช่ารถเครน 25 ตัน | EK CRANE

บริการให้เช่ารถเครน 25 ตัน | EK CRANE

25-ton-crane

บริการรถเครนให้เช่าจาก EK CRANE รถเครนประสิทธิภาพสูงพร้อมบริการครบวงจรตั้งแต่ประเมินหน้าไซต์งาน วางแผน นำส่งรถเครน และปฏิบัติงานโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เรามีประสบการณ์มากมายและผลงานที่เชื่อถือได้ ให้บริการตั้งแต่เครน 10 ตัน เครน 25 ตัน ไปจนถึงเครน 550 ตัน

หากสนใจเครน 25 ตัน ทางเรามีให้บริการทั้งรายวันและรายเดือนพร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนงานและควบคุมรถเครน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้านล่าง

คุณสมบัติรถเครน 25 ตัน

25-ton-crane-spec

เครน 25 ตันที่ทาง EK CRANE ให้บริการเป็นราฟเทอเรนเครนแบบที่นั่งเดี่ยว มีคุณสมบัติดังนี้

  • น้ำหนักที่ยกได้: 25 ตัน
  • ความสูงในการยก: 33 เมตร
  • เพลาขับเคลื่อน: 2 เพลา
  • รัศมีการทำงาน 27.9 เมตร
  • วงเลี้ยวแคบ
  • มีความคล่องตัว 
  • ความปลอดภัยสูง
  • บังคับเลี้ยวแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ

นอกจากนี้ราฟเทอเรน เครน 25 ตันของเรายังเป็นบูมไฮดรอลิก ทำให้รถเครนสามารถหมุนได้รอบทิศทาง ยกของได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ดำเนินงานรอบไซต์งานได้สะดวก สามารถใช้งานได้ทั้งพื้นที่ขรุขระและพื้นเรียบ

การใช้งานรถเครน 25 ตัน

เครน 25 ตันเป็นรถเครนประเภทหนึ่งที่นิยมใช้เป็นอย่างมากด้วยคุณสมบัติที่ใช้งานค่อนข้างง่าย ใช้ได้กับพื้นที่หลากหลาย เช่น

  • ใช้งานไซต์ก่อสร้างในเมืองที่มีขนาดจำกัด –  เนื่องจากมีขนาดไม่ใหญ่มากจึงไม่ใช้พื้นที่ในการทำงานเยอะ
  • ใช้งานในสถานที่ขรุขระนอกเมือง – ราฟเทอเรนเครน 25 ตัน นอกจากจะใช้ในพื้นที่เรียบได้แล้วยังสามารถใช้งานในพื้นที่ขรุขระได้อีกด้วยจึงเหมาะกับงานประเภทนี้มาก
  • งานติดตั้งชิ้นส่วนในงาน – เนื่องจากรถเครน 25 ตันมีขนาดไม่สูงมากจึงใช้งานในที่เพดานต่ำได้ สามารถใช้งานในโรงงานได้

ติดตั้งแผ่นโซลาร์ที่หลังคา – หากต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟที่บ้านหรืออาคารที่ไม่สูงมาก สามารถใช้เครน 25 ตันได้เพราะสามารถใช้ในพื้นที่จำกัดได้ดี

วิธีเช่ารถเครน 25 ตัน กับ EK CRANE

25-ton-crane-rental

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @EKCRANE หรือหากทราบข้อมูลที่ต้องการ เช่น ขนาดเครนที่ต้องการ น้ำหนักสินค้า ประเภทงาน ไซต์งาน รายละเอียดงานต่างๆ สามารถขอใบเสนอราคาได้ที่เว็บไซต์

นอกจากนี้สามารถติดต่อสาขาต่างๆได้ผ่านเบอร์โทรดังนี้

  • สำนักงานใหญ่ (กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ) โทร 02-745-9999
  • สำนักงานใหญ่ (ระยอง) โทร 038-682-666
  • สาขาย่อย (แหลมฉบัง) 038-482-666

โดยเราบริการพร้อมให้เช่ารถเครน เครน 25 ตัน ทั่วประเทศไทย ทั้งแบบรายวันและรายเดือนด้วย ราคาคุณภาพคุ้มค่ากับการทำงาน

ขั้นตอนดำเนินงานของ EK CRANE มีดังนี้

  • Site survey & Lifting Plan – ทีมงานของ EK CRANE ลงพื้นที่จริงเพื่อตรวจสอบสินค้า ไซต์งาน ประเภทงาน เพื่อจัดทำแผนการทำงานและเลือกเครนที่เหมาะสมกับการทำงาน ทำใบเสนอราคาให้กับลูกค้ากรณีที่ยังไม่ได้ยื่นใบเสนอราคา
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ – ทีมงานจัดเตรียมอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่จะใช้ประกอบเป็นรถเครนหน้างาน แจกแจงหน้าที่ของแต่ละชิ้น โดยทีมงานจะจัดเตรียมอุปกรณ์ล่วงหน้า 2-3 วัน
  • ตั้งรถหน้างาน Mobilization – ประกอบรถเครนที่ต้องการหน้าไซต์งานเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ใช้พื้นที่เคลื่อนย้ายไม่มาก
  • ยกชิ้นงาน – ใช้รถเครนปฏิบัติงานโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ EK CRANE ในการใช้งาน เครน 25 ตัน จะมีทีมงาน 4 หน้าที่ด้วยกัน คือ ผู้ควบคุมเครน ผู้บังคับรถเครน ผู้ให้สัญญาณเครน และผู้ยึดเกาะวัสดุ ช่วยให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประเมินหลังจบงาน – ให้ลูกค้าทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังจบงานเพื่อนเก็บเป็นข้อมูลพัฒนาบริการต่อไป

ทีมงานของ EK CRANE ทุกคนเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ มีใบอนุญาต ใบรับรอง และผ่านการอบรมความปลอดภัย อีกทั้งก่อนปฏิบัติงานก็มีการตรวจระดับแอลกอฮอลล์เพื่อความปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง ช่วยให้งานของคุณสำเร็จลุล่วง สามารถดูผลงานตัวอย่างได้ในเว็บไซต์ของ EK CRANE

สรุป

รถเครนรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมคือเครน 25 ตัน เนื่องจากสามารถใช้งานไซต์ก่อสร้างในเมืองได้ และยังสามารถใช้งานในโรงงานที่มีเพดานต่ำได้เพราะมีขนาดเล็ก นอกจากนี้หากเป็นไซต์ก่อสร้างนอกเมืองก็สามารถใช้เครน 25 ตันได้เช่นกันเพราะสามารถเคลื่อนที่ในพื้นที่ขรุขระได้ เครนชนิดนี้มีวงเลี้ยวแคบทำให้เคลื่อนที่ง่าย มีความคล่องตัวสูง และใช้ยกสิ่งของต่างๆได้ดี เหมาะกับงานหลากประเภท

สำหรับการเช่ารถเครน 25 ตันผ่าน EK CRANE สามารถเช่าได้ทั้งแบบรายวันและรายเดือนและให้บริการพร้อมทีมงานคุณภาพ มีใบอนุญาตและใบรับรอง โดยสามารถปรึกษาทีมงานเพิ่มเติมได้ผ่านทางเว็บไซต์หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม

นอกจากนี้เรายังรถเครนประเภทอื่นให้เช่า ไม่ว่าจะเป็นราฟเทอเรนขนาดอื่น ออลเทอเรนทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง เช่น

  • เครน 10 ตัน
  • เครน 50 ตัน
  • เครน 100 ตัน
  • เครน 200 ตัน

บริการให้เช่ารถเครน 10 ตัน | EK CRANE

บริการให้เช่ารถเครน 10 ตัน | EK CRANE

10-ton-crane

EK CRANE ให้บริการรถเครนให้เช่าหลากหลายขนาดรวมถึงรถเครน 10 ตัน พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้วยประสบการณ์ที่มีมากกว่า 30 ปี และการบริการที่ครอบคลุมทั้งวงจร เหมาะสมทุกการใช้งาน รถเครน 10 ตัน มีประโยชน์มากสำหรับงานในพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่มาก พื้นที่แคบ สามารถช่วยแบ่งเบางานได้มากมาย

สำหรับการเช่ารถเครน 10 ตัน มีข้อมูลที่ควรทราบดังนี้

รถเครน 10 ตันใช้ทำอะไรได้บ้าง

รถเครน 10 ตันถือว่าเป็นรถเครนที่มีขนาดเล็ก มีความคล่องตัวมากกว่ารถเครนขนาดอื่นๆ แม้จะสามารถยกของหนักได้แต่ก็ไม่เหมาะกับงานก่อสร้างขนาดใหญ่ งานที่เหมาะกับรถเครน 10 ตัน เช่น

  • ย้ายเครื่องจักรอื่นๆ
  • งานในพื้นที่แคบ เช่น งานในอุโมงค์
  • งานในพื้นที่เตี้ยหรือเพดานต่ำ
  • งานติดตั้งชิ้นส่วนในโรงงาน
  • งานต่อเติมโรงงาน
  • งานเทปูน
  • งานยกแผ่นพื้น
  • งานยกของอื่นๆที่มีน้ำหนักไม่เกิน 10 ตัน

ทั้งนี้หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมว่างานที่คุณต้องการเหมาะกันรถเครนประเภทใด สามารถสอบถามทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ EK CRANE เพิ่มเติมที่ LINE: @EKCRANE โดยจะมีทีมงานตรวจสอบหน้างานและเลือกเครนที่เหมาะสมให้พร้อมเสนอแผนงาน

สเปครถเครน 10 ตัน

10-ton-crane-spec

รถเครน 10 ตันของ EK CRANE เป็นราฟเทอเรนเครน(Rough Terrain Crane) มีสเปคดังนี้

  • น้ำหนักการยก: 10 ตัน
  • ความสูงการยก: 24 เมตร
  • รัศมีการทำงาน: 22.3 เมตร
  • เพลาขับเคลื่อน: 2 เพลา

ราฟเทอเรน เครน 10 ตัน ของเราเป็นแบบห้องขับเดี่ยว มีโครงสร้างกะทัดรัดและวงเลี้ยวแคบ มีบูมไฮดรอลิกทำให้ทำงานได้รวดเร็วแม่นยำอีกทั้งยังมีความปลอดภัยดีเยี่ยม มีการตรวจสอบความปลอดภัยและซ่อมบำรุงสม่ำเสมอ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีเช่ารถเครน 10 ตัน กับ EK CRANE

หากสนใจรถเครน 10 ตัน สามารถ ขอใบเสนอราคา ที่เว็บไซต์ของ EK CRANE หรือติดต่อสำนักงานในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีให้บริการทั่วประเทศไทย ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑลไปจนถึงจังหวัดอื่นๆ โดยมีให้เช่าทั้งแบบรายวันและรายเดือน สามารถติดต่อสาขาต่างๆได้ตามเบอร์โทรด้านล่าง

  • สำนักงานใหญ่ (กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ) โทร 02-745-9999
  • สำนักงานใหญ่ (ระยอง) โทร 038-682-666
  • สาขาย่อย (แหลมฉบัง) 038-482-666

บริการของ EK CRANE ครอบคลุมตั้งแต่

  • Site survey & Lifting Plan – สำหรับผู้ที่ยังไม่มั่นใจว่าควรใช้เครนแบบไหนดี ทีมงานของเราจะลงพื้นที่จริงวัดขนาดพื้นที่และสินค้าเพื่อเลือกเครนที่เหมาะสมสำหรับการทำงานและทำใบเสนอราคา จากนั้นจึงนำเสนอแผนปฏิบัติงาน
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ – ทีมงานประชุมเพื่อแจ้งแผนการก่อนเริ่มงานจริง 2-3 วัน แจกแจงหน้าที่ของอุปกรณ์แต่ละชิ้น
  • ตั้งรถหน้างาน Mobilization – รถเครนของ EK CRANE จะประกอบหน้างานเนื่องจากพื้นที่หน้างานอาจมีจำกัด เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
  • ยกชิ้นงาน – ในขั้นตอนการใช้เครนยกสิ่งของ ผู้เชี่ยวชาญที่ควบคุมการทำงานของรถเครนจะมีทั้งหมด 4 คนด้วยกันคือ ผู้บังคับรถเครน ผู้ควบคุมเครน ผู้ให้สัญญาณเครน และผู้ยึดเกาะวัสดุ ช่วยให้งานดำเนินได้ลุล่วงปลอดภัยตามมาตรฐานของ EK CRANE
  • ประเมินหลังจบงาน – ให้ลูกค้าประเมินการให้บริการของ EK CRANE ทั้งเรื่องของความพึงพอใจ ความปลอดภัย เพื่อที่หากมีปัญหาทางทีมงานจะได้แก้ให้ตรงจุดและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

ข้อควรระวังในการใช้เครน 10 ตัน

10-ton-crane-usage

เมื่อจะใช้งานเครน 10 ตัน ควรทำตามข้อควรระวังดังนี้

  • ตรวจสอบความต้องการให้ดีว่าเหมาะสมกับรถเครน 10 ตัน ของที่ใช้ยกไม่ควรมีน้ำหนักเกินสเปคของเครนและจำนวนของที่ยกต้องไม่มากเกินไปเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งของร่วงหล่นระหว่างขนย้ายด้วยเครน การใช้เครนเกินสเปคนอกจากจะไม่ปลอดภัยแล้วยังอาจทำให้งานล่าช้าอีกด้วย 
  • ตรวจสอบความปลอดภัยของรถเครนก่อนเริ่มงานทุกครั้ง หากใช้บริการกับ EK CRANE ทางเรามีขั้นตอนตรวจสอบทั้งเครนและทีมงานเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
  • ผู้ขับเครนจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งทาง EK CRANE มีทีมงานให้บริการพร้อมเครนจึงไม่ต้องกังวลในส่วนนี้
  • ระหว่างขับเครนควรระมัดระวังเรื่องการชนสิ่งของต่างๆเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสายไฟซึ่งอาจอันตรายถึงชีวิต

สรุป

รถเครน 10 ตันเป็นเครนที่เหมาะกับพื้นที่แคบหรือเพดานต่ำ เนื่องจากมีขนาดเล็ก วงเลี้ยวแคบ และยกของได้ไม่เกิน 10 ตันตามชื่อ หากเช่าเครนกับ EK CRANE เรามีเครน 10 ตันให้บริการพร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับผู้ที่สนใจเครนขนาดอื่นๆเราก็มีให้บริการเช่นกัน เช่น

  • เครน 25 ตัน
  • เครน 50 ตัน
  • เครน 100 ตัน
  • เครน 200 ตัน

มาดูกันว่า ปัจจุบันปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิด อัปเดต 2024

ปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิด

ปั้นจั่น หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเพื่อขึ้นที่สูง โดยใช้สลิงในการตรึงระหว่างสิ่งของและตัวแขนบูม ซึ่งใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของไปมา สามารถยกขึ้นในแนวดิ่งและเคลื่อนไหวหมุนไปมาได้ในแนวราบแบบ 360 องศา ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างมากในงานระดับอุตสาหกรรม ดังนั้น สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่าปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิด ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัยตามกฎหมายได้อย่างไร คุณสามารถมาหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย

ปั้นจั่นแบ่งออกเป็นกี่ชนิดตามกฎหมาย แล้วมีอะไรบ้าง ? 

ปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิดกันแน่ ในทางกฎหมายแล้วปั้นจั่นเป็นเครื่องจักรที่มีด้วยกันทั้งหมด 2 ชนิด คือปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งระบบควบคุม ระบบยกน้ำหนัก โดยจะติดตั้งอยู่บริเวณสถานที่ปฏิบัติงานด้วยขาตั้ง หรือหอสูง ซึ่งปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ยังสามารถแบ่งออกมาเป็นประเภทย่อย ๆ ได้อีก 2 ประเภทคือ

ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่
  • ปั้นจั่นแบบเหนือศีรษะ มีลักษณะเป็นสะพานที่เคลื่อนที่ได้
  • ปั้นจั่นแบบขาสูง มีลักษณะที่คล้ายกับปั้นจั่นแบบเหนือศีรษะ แต่จะมีตัวสะพานที่วางอยู่บนขาของปั้นจั่นนั่นเอง
  1. ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ คือ ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งระบบควบคุม ระบบยกน้ำหนัก ซึ่งตัวปั้นจั่นจะติดตั้งอยู่กับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้ ซึ่งในปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่นี้ ก็ยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้อีก 4 ประเภทคือ
ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่
  • รถเครนตีนตะขาบ หรือ ปั้นจั่นที่ถูกติดตั้งกับตัวรถที่มีการเคลื่อนที่ด้วยตีนตะขาบ และส่วนใหญ่มีบูมเป็นแบบบูมสาน ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่กำลังจะเริ่มก่อสร้าง
  • รถเครนล้อยาง ซึ่งเป็นตัวรถติดปั้นจั่นที่ขับเคลื่อนไปด้วยล้อยาง สามารถวิ่งได้เร็วเหมือนรถบรรทุก เหมาะแก่การทำงานในพื้นที่ขรุขระ
  • รถเครนสี่ล้อ เป็นรถติดปั้นจั่นที่เหมาะแก่การทำงานในพื้นที่ขรุขระ แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องเดินทางไกล
  • ปั้นจั่นติดรถบรรทุก เป็นรถบรรทุกที่ติดตั้งปั้นจั่นเอาไว้ ซึ่งเหมาะแก่การใช้ยกของขึ้นไว้บนหลังรถบรรทุก

ส่วนประกอบของปั้นจั่น 

ปั้นจั่นมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแนวตั้ง ซึ่งจะต่อด้วยเสาเหล็กขึ้นไปทีละส่วน เพื่อที่จะทำหน้าที่ยกและลำเลียงสิ่งของขึ้นไป และอีกส่วนก็คือส่วนที่เป็นแนวนอน ที่ใช้ในการแขวนสิ่งของ โดยจะประกอบไปด้วย 6 ชิ้นส่วนหลัก ดังนี้

  1. แขนบูม เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ แขนบูมจะทำหน้าที่ยื่นออกจากตัวเครน เพื่อรับน้ำหนักสิ่งของที่ต้องการจะยก โดยแขนบูมจะทำจากเหล็กกล้า
  2. กว้าน จะช่วยในการควบคุมลวดสลิงของปั้นจั่นในการยกสิ่งของขึ้นมา โดยจะมีระบบของรอกชุดและสวดสลิงในการช่วยผ่อนแรงอยู่นั่นเอง
  3. ขายันพื้น เป็นชิ้นส่วนที่จะทำหน้าที่รักษาสมดุลของตัวปั้นจั่น เนื่องจากน้ำหนักของสิ่งของที่ใช้ยกนั้นมีน้ำหนักมาก อาจจะทำให้เอนไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ขายันพื้นจะช่วยให้ปั้นจั่นไม่ล้ม และยังคงตั้งอยู่ได้
  4. น้ำหนักถ่วง ทำหน้าที่ถ่วงน้ำหนักปั้นจั่น โดยตัวถ่วงน้ำหนักจะต้องมีน้ำหนักมากกว่าสิ่งของที่เคลื่อนย้ายอยู่ ดังนั้นโดยปกติแล้วผู้รับเหมาควรมีตัวถ่วงน้ำหนักสำรองในกรณีที่สิ่งของมีน้ำหนักมาก
  5. ลวดสลิงปั้นจั่น มีลักษณะเป็นเกลียวละเอียด เป็นลวดเกลียวเหล็กที่ทำหน้าที่แขวนและรับน้ำหนักสิ่งของ

ตะขอ ทำหน้าที่ช่วยในการยกสิ่งของ ด้วยการเกี่ยวของขึ้นมานั่นเอง โดยปกติแล้วผู้รับเหมาควรมีตะขอหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน

การให้สัญญาณมือ

วิธีใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัยตามกฎหมาย

  1. ผู้ควบคุมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมปั้นจั่น หรือจะเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายวัสดุ ควรมีความรู้ในกฎในการใช้ที่ความปลอดภัยและสัญญาณมือในขณะเคลื่อนย้ายสิ่งของ และต้องสวมชุดปฏิบัติงานและสวมอุปกรณ์นิรภัยอย่างรัดกุม
  2. กรณีที่ห้องควบคุมปั้นจั่นอยู่สูงจากพื้น บันไดขึ้นจะต้องมีครอบป้องกันโดยตลอด ขั้นบันไดต้องมีความแข็งแรง
  3. ผู้ควบคุมปั้นจั่นต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ขณะปฏิบัติงานต้องสวมชุดปฏิบัติงานที่รัดกุม ใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลตามความเหมาะสม เช่น ปลั๊กอุดหู หรือหมวกนิรภัย เป็นต้น
  4. ก่อนเปิดสวิตซ์ใหญ่ควบคุมการทำงาน ควรตรวจปุ่มควบคุมการทำงานว่าอยู่ในตำแหน่งปิด จากนั้นจึงเปิดสวิตซ์ใหญ่ แล้วทดสอบระบบการทำงานต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนที่เดินหน้า-ถอยหลัง ขึ้น-ลง เบรก สัญญาณ เสียง และแสง เป็นต้น
  5. ผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายวัสดุซึ่งอยู่ข้างล่างจะต้องรู้จักวิธีการส่งสัญญาณมือที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายอย่างถูกต้อง และต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น หมวกนิรภัย รองเท้านิรภัย และถุงมือหนัง เป็นต้น
  6. รู้น้ำหนักของที่จะยก และไม่ยกเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้
  7. การเริ่มยกขึ้นครั้งแรก ควรดำเนินการอย่างช้า ๆ และยกขึ้นเพียงเล็กน้อยเพื่อตรวจสอบความสมดุลและความสามารถในการยก กรณีที่วัสดุที่ยกหนักใกล้เคียงกับพิกัดกำหนด ควรทดสอบการทำงานของเบรกด้วย
  8. ขณะวัสดุที่เคลื่อนย้ายลอยสูงจากพื้น จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
  • ไม่สัมผัสสิ่งกีดขวาง หรือข้ามศีรษะผู้ปฏิบัติงานอื่น
  • ห้ามผู้ปฏิบัติงานเกาะบนสิ่งของที่ยก
  • กรณีที่เป็นปั้นจั่นชนิดที่อยู่กับที่ ควรมีสัญญาณเสียงและแสง
  • หลีกเลี่ยงการแขวนสิ่งของไว้กลางอากาศ แต่ถ้าจำเป็นต้องล็อกเครื่องด้วย ห้ามใช้เบรกเพียงอย่างเดียว
  • กรณีมีลมพัดแรงมากจนวัสดุที่เคลื่อนย้ายแกว่งไปมาอย่างรุนแรงต้องรีบวางวัสดุลงทันที
  • เมื่อจำเป็นต้องวางของต่ำมาก ๆ ต้องเหลือลวดสลิงไว้มากกว่า 2 รอบบนดรัม
  1. การใช้ปั้นจั่นตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปยกของร่วมกัน ให้สัญญาณมือผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายเพียงคนเดียว
  2. การใช้ปั้นจั่นใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูง ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปั้นจั่นต้องอยู่ห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 3 เมตร หรือตามขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้า ถ้าไม่สามารถทำตามระยะที่กำหนดได้ ต้องมีผู้คอยสังเกตและให้สัญญาณเตือน
  3. การใช้ปั้นจั่นชนิดที่มีการถ่วงน้ำหนักด้านท้าย ห้ามถ่วงเพิ่มจากที่กำหนด
  4. การปฏิบัติงานตอนกลางคืนควรมีไฟแสงสว่างให้เพียงพอทั่วบริเวณที่ปฏิบัติงาน แต่แสงไฟต้องไม่รบกวนการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมปั้นจั่น
  5. กรณีที่ใช้ปั้นจั่นบนตึกสูง ต้องมีสัญญาณไฟหรือสัญญาณบอกตำแหน่งให้เครื่องบินทราบ
  6. การยกของต้องยกขึ้นในแนวดิ่ง ให้รอกตะขอตรงกับศูนย์กลางของน้ำหนักที่ยก และตรงกึ่งกลางแขนของปั้นจั่น
  7. เมื่อหยุดหรือเลิกใช้งานปั้นจั่น ผู้ควบคุมควรปฏิบัติ ดังนี้
  • วางสิ่งของที่ยกค้างอยู่ลงกับพื้น
  • กว้านหรือม้วน ลวดสลิงและตะขอ เก็บเข้าที่
  • ใส่เบรกและอุปกรณ์ล็อกชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้
  • ปลดสวิตซ์ใหญ่ที่ใช้จ่ายไฟให้ปั้นจั่น
  1. ห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในห้องควบคุมปั้นจั่น
  2. ภายในห้องควบคุมปั้นจั่น ไม่ควรมีเครื่องมือที่ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้นถังดับเพลิง
  3. ต้องหมั่นบำรุงรักษาอุปกรณ์ทุกชิ้น โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องมีการเสียดสี
การตรวจเช็กปั้นจั่น

ต้องมีการเช็กสภาพตรวจสอบปั้นจั่นบ่อยแค่ไหน ? 

ควรตรวจเช็กสภาพปั้นจั่นทุกๆ 1 หรือ 3 เดือน หรือตามบริษัทผู้ผลิตแนะนำ แต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด สำหรับปั้นจั่นที่หยุดใช้งานเกินกว่า 1 เดือนนั้น เมื่อนำมาใช้งานควรตรวจสอบสภาพเช่นกัน การตรวจสอบปั้นจั่นทำได้ดังนี้

  1. ตรวจการทำงานของอุปกรณ์และชิ้นส่วนควบคุมปั้นจั่น เพื่อหาการสึกหรอ การชำรุด หรือความผิดปกติอื่น ๆ
  2. ตรวจการทำงานและการชำรุดของต้นกำลัง ระบบส่งกำลัง ผ้าเบรกและคลัช เป็นต้น
  3. ตรวจที่รองรับ เช่น คาน เสา รางเลื่อน แขน และโครงสร้าง เป็นต้น เพื่อหาการสึกหรอ สนิม ผุกร่อน และบิดเบี้ยว โดยเฉพาะบริเวณที่เชื่อมหรือยึดด้วยสลักเกลียว
  4. ตรวจการชำรุดหรือสึกหรอของรอกหรือดรัม โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของดรัมต้องมากกว่าของลวดสลิง 15 ต่อ 1
  5. ตรวจการชำรุดหรือสึกหรอของลวดสลิง เชือก หรือโซ่ ตามที่กล่าวแล้ว
  6. ตรวจตะขอและที่ล็อก เพื่อดูการชำรุด บิดงอ ปากถ่าง หรือแตกร้าว
  7. สำหรับปั้นจั่นที่ติดตั้งบนรถบรรทุก ต้องตรวจสอบรถบรรทุกเกี่ยวกับเบรก ยาง พวงมาลัย และไฟสัญญาณต่าง ๆ

สรุป

ทุกคนคงได้ทราบแล้วว่าปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิด และได้ทราบว่าปั้นจั่นเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อโรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง โดยปั้นจั่นนั้นยังเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สามารถช่วยเพิ่มความสะดวกในการขนส่งและขนย้ายสินค้าประเภทต่าง ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้น ผู้ใช้งานทุกคนต้องมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อกฎหมายของการใช้งานปั้นจั่น และต้องตรวจสอบปั้นจั่นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อให้ใช้งานปั้นจั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ใบตรวจเครน ปจ.1 ปจ.2 คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อการใช้งานปั้นจั่น

ปจ.1 ปจ.2

ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การผลิต หรือไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครื่องจักร และการขนส่ง มักจะมีการใช้เครื่องจักรเป็นเครื่องทุ่นแรงและอำนวยความสะดวกที่สำคัญในการดำเนินงานอยู่เสมอ นอกจากจะช่วยลดการทำงานของคนลงได้แล้ว ยังสะดวก รวดเร็ว ประหยัดต้นทุนและมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้แรงงานคนด้วย หนึ่งในเครื่องจักรที่ใช้ทุ่นแรงนั้นก็คือ “ปั้นจั่น” อย่างไรก็ตาม นอกจากชื่อปั้นจั่นแล้ว หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ปจ.1 ปจ.2” ด้วยเช่นกัน แล้ว ปจ.1 ปจ.2 เกี่ยวข้องอะไรกับปั้นจั่น มีกี่ชนิด การตรวจเครนหรือปั้นจั่น ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง การทดสอบพิกัดการยกเป็นอย่างไร และความถี่ในการตรวจสอบให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดคือเท่าไร วันนี้ผมจึงมีข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอ เพื่อไขคำตอบให้กับทุกคน

ปจ.1 vs ปจ.2 แตกต่างกันตรงไหน

ปั้นจั่นหรือเครน คือ เครื่องจักรกลที่ใช้สำหรับยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ ปัจจุบันนิยมนำมาไว้ใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก พวกโครงสร้างเพื่อประกอบ ติดตั้ง จัดเก็บเข้าชั้นเก็บสินค้าในคลังสินค้า เป็นต้น โดยปั้นจั่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่

  1. ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว โดยปั้นจั่นชนิดนี้มักติดตั้งอยู่บนหอสูง บนล้อเลื่อน หรือขาตั้ง
  2. ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่นั้นจะติดอยู่บนพาหนะที่สามารถขับเคลื่อนได้นั่นเอง

ปจ.1 ก็คือ ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ยกตัวอย่างเช่น โอเวอร์เฮดเครน ทาวเวอร์เครน รอกยกสิ่งของ ลิฟต์ขนส่ง เป็นต้น

โดยกฎหมายระบุไว้ว่าต้องทำการ ตรวจ ปจ.1 ตามที่กฎหมายกำหนดและให้วิศวกรเซ็นรับรองความปลอดภัยตามแบบตรวจ ปจ.1 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

overhead crane

ปจ.2 ก็คือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้ ยกตัวอย่างเช่น โมบายเครน รถบรรทุกติดเครน (รถเฮี๊ยบ), เรือติดเครน และเครื่องจักรอื่น ๆ ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ หรือติดตั้งอยู่บนพาหนะที่สามารถเคลื่อนที่ได้

ซึ่งปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้จะต้องได้รับการตรวจ ปจ.2 ตามกฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันกับ ปจ.1 โดยความถี่ในการตรวจสอบสามารถดูได้จากเนื้อหาด้านล่าง

mobile crane

ทำไมต้องตรวจปั้นจั่นก่อนใช้งาน ? 

  • เพื่อให้แน่ใจว่าปั้นจั่นจะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  • เพื่อเตรียมความพร้อมของปั้นจั่นก่อนใช้งาน และป้องกันการเกิดความเสียหายระหว่างใช้งานปั้นจั่น
  • เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆในส่วนประกอบของปั้นจั่น
  • เพื่อปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับปั้นจั่น
  • เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงานกับปั้นจั่น

เพื่อให้การใช้งานปั้นจั่น หรือ เครน ให้ได้ประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด จึงได้มีการกำหนด “กฎหมายปั้นจั่น” หรือ “กฎกระทรวงปั้นจั่น” ให้ทุกอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานเครื่องจักรชนิดนี้ได้ยึดเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัย โดยกฎหมายปั้นจั่นหรือกฎหมายเครนใหม่ล่าสุดที่อัปเดตในปี พ.ศ. 2564 ได้ระบุข้อกำหนดที่ว่าด้วยการทดสอบความปลอดภัยของปั้นจั่นไว้ดังนี้

น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบ ปจ.1 ปจ.2 เพื่อความปลอดภัยตามกฎหมาย

โดยวิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ปั้นจั่นใหม่
  • ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
  • ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
  1. ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
  • ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
  • กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ

ความถี่ในการตรวจสภาพ ปจ.1 ปจ.2 

นอกจากนั้นกฎหมายยังได้กำหนดความถี่ในการตรวจสอบปั้นจั่นไว้ดังนี้

  1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
  1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
  1. ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
  2. ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน 

โดยเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบ จะใช้เป็นแบบที่ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแนะนำ ดังต่อไปนี้

  • แบบ ปจ.1 : รายการการตรวจสอบและทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นหอสูง และปั้นจั่นขาสูง (ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่)
  • แบบ ปจ.2 : รายการการตรวจสอบและทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับรถปั้นจั่น และเรือปั้นจั่น (ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่)

สรุป

ปั้นจั่นทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่หรือปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ต้องได้รับการตรวจเครน และ ทดสอบเครน ตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยเมื่อปั้นจั่นได้รับการทดสอบแล้ว จะมีเอกสาร แบบ ปจ.1 และแบบ ปจ.2 เพื่อรับรองว่าปั้นจั่นนั้นผ่านการทดสอบเครนตามที่กฎหมายกำหนด มีความปลอดภัยพร้อมใช้งาน  และการใช้งานปั้นจั่นทั้งหมดต้องได้รับการควบคุมโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ห้ามผู้ที่ไม่ผ่านการฝึกอบรมใช้งานโดยเด็ดขาด

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จัก การยศาสตร์ (ERGONOMIC) เพื่อลดการบาดเจ็บและเสริมประสิทธิภาพการทำงาน

อาการเจ็บป่วยที่คนวัยทำงานเป็นกันมากขึ้นในทุกวันนี้ คือความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก โดยเฉพาะพนักงานในโรงงาน และพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ นอกจากเป็นเพราะท่าทางของเราในระหว่างที่ทำงาน เช่น นั่งทำงานผิดท่า หรือโหมใช้งานร่างกายหนักเกินไปและยังเป็นเพราะการออกแบบสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น ไม่เป็นไปตามหลัก Ergonomics หรือไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคนเราอีกด้วย นั่นทำให้คำว่า Ergonomics หรือ การยศาสตร์ กลายเป็นสิ่งที่คนพูดถึงมากขึ้น ดังนั้น บทความนี้จึงเชิญชวนให้มาทำความรู้จักกับ Ergonomics หรือ การยศาสตร์ ว่าคืออะไร และจะลดความเสี่ยงในการทำงานได้อย่างไร เพื่อให้คนในองค์กรได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีความสุขไปกับการทำงานนั่นเอง

Ergonomics

การยศาสตร์ คือ 

การยศาสตร์ หรือ Ergonomics มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก โดยคำว่า Ergon หมายถึง งาน และคำว่า Nomos หมายถึง กฎตามธรรมชาติ (Natural Laws) เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า “Laws of Work” หรือที่แปลว่า “ศาสตร์แห่งการทำงาน” โดยเป็นศาสตร์ที่ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน คนทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จนกลายเป็นการออกแบบวิธีการทำงานที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอันตรายต่อคนทำงานน้อยที่สุด 

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 

  1. ลดข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน 
  2. เพิ่มความปลอดภัย ลดความเหนื่อยล้าและความเครียด เพิ่มความสะดวกสบาย รวมถึงการเพิ่ม ความพึงพอใจในงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน 

การยศาสตร์ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ 

การยศาสตร์เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้หลักการทางด้านสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์และจิตวิทยา เพื่อขจัดสิ่งที่อาจเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความไม่สะดวกสบาย ปวดเมื่อย หรือมีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดีเนื่องจากการที่ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ การยศาสตร์จึงสามารถนำไปใช้ในการป้องกันมิให้มีการออกแบบงานที่ไม่เหมาะสมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน โดยให้มีการนำการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบงาน เครื่องมือ หรือหน่วยที่ทำงาน ยกตัวอย่างเช่น เลือกใช้โต๊ะที่ปรับระดับความสูงต่ำได้ เพราะผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนมีความสูงที่แตกต่างกัน และการจัดตำแหน่งของโต๊ะทำงานต้องเหมาะสมกับลักษณะงานของแต่ละฝ่าย เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างสะดวก และเพื่อป้องกันอาการเมื่อยล้าจากการทำงานด้วยท่าทางที่ไม่ถนัด หรือการเลือกเก้าอี้ที่ใช้ในการทำงาน ควรจะเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิง และอาจมีเบาะรองนั่งให้ผู้ปฏิบัติงานตามความเหมาะสมนั่นเอง 

จากข้างต้นองค์ประกอบของการยศาสตร์ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ 3 กลุ่มได้แก่

1. สรีรวิทยา

เป็นการศึกษาขนาดของมนุษย์ โดยมุ่งพิจารณาถึงปัญหาที่อาจเกิดจากขนาดของคน รูปร่างของคน และท่าทางหรืออิริยาบถการทำงานของคน นอกจากนี้ยังสำรวจ ชีวกลศาสตร์ ที่ศึกษาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้แรงในระหว่างการทำงานของคนด้วย

2. กายวิภาคศาสตร์

เป็นการศึกษาและพิจารณาถึงการใช้พลังงานในขณะทำงาน ถ้าหากงานนั้นเป็นงานหนัก พลังงานที่ต้องใช้ไปก็ต้องมากซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ เป็นต้น รวมไปถึงการศึกษาสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อม มุ่งพิจารณาถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความร้อน แสง เสียง ความสั่นสะเทือน เป็นต้น

3. จิตวิทยา

ในกลุ่มนี้จะกล่าวถึงความชำนาญที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในลักษณะงานของบุคคล ว่าควรจะทำงานอะไร และทำอย่างไร ตลอดจนการตัดสินใจในการทำงานนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งนอกจากจะเกิดความเสียหายต่อการผลิตแล้วนั้น อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน

ท่านั่งที่ถูกต้อง

ประโยชน์ของการนำการยศาสตร์มาใช้ในที่ทำงาน

  1. ลดต้นทุน

ค่าใช้จ่ายทางการรักษาพยาบาล ค่าชดเชย ค่าแรง เป็นต้น

  1. เพิ่มผลผลิต

เมื่อมีการปรับปรุงในสายการผลิต  ผู้ปฏิบัติงานมีท่าทางที่ดี ออกแรงหรือเคลื่อนไหวน้อย ปรับความสูงและระยะเอื้อมได้ดีขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น

  1. ปรับปรุงคุณภาพ

หากผู้ปฏิบัติงานเจ็บป่วย เหนื่อยล้า หรือท้อแท้กับการทำงาน สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ปฏิบัติงานได้ ซึ่งส่งผลให้การทำงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 

  1. เพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากร

เมื่อองค์กรใดที่พยายามอย่างเต็มที่ที่จะพัฒนาองค์กรเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานของพวกเขามีสุขภาพและความปลอดภัย พนักงานในบริษัทมีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือและแจ้งให้ทราบหากพวกเขารู้สึกเหนื่อยล้าและไม่สบายตัวระหว่างทำงาน เมื่อเป็นเช่นนี้องค์กรจะสามารถลดอัตราการลาออก ลดการขาดงาน เพิ่มขวัญกำลังใจ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน

  1. สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

การนำหลักการยศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในองค์กรแสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพเป็นค่านิยมหลัก การสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมในทิศทางที่ดีขึ้นสำหรับองค์กรของคุณเป็นอย่างแน่นอน

สรุป

การยศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งหากได้มีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถนำไปสู่การปรับปรุงสภาพการทำงาน โดยให้มีการออกแบบงานที่จะต้องปฏิบัติ กำหนดรายละเอียดของเนื้องาน วิธีการจับถือและการใช้อุปกรณ์การติดตั้งอุปกรณ์ ฯลฯ อย่างเหมาะสม การปฏิบัติตามหลักการยศาสตร์ จะสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ ที่มีสาเหตุจากการไม่ได้นำหลักการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในสถานที่ทำงาน และการดำเนินการปรับปรุงทางด้านการยศาสตร์ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนแต่ประการใด ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน พนักงาน และฝ่ายบริหาร ควรที่จะร่วมมือกันในการดำเนินการค้นหาปัญหา ประเมินปัญหาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ถูกต้อง

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ทำความเข้าใจ หลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น” ตามกฎหมาย 2567

ทำความเข้าใจ หลักสูตรอบรม "การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น" ตามกฎหมาย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรถเครน หรือ ปั้นจั่น นายจ้างจำเป็นต้องจัดการฝึกฝนและอบรมปั้นจั่นตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานลง 

วันนี้ผมจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ความสำคัญของหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามที่กฎหมายใหม่กำหนดไว้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ 

ทำไมต้องมีหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ? 

ปั้นจั่นเป็นเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ โดยมีหน้าที่ยกเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องผ่านหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ เพราะถ้าหากเกิดข้อผิดพลาด หรือ อุบัติเหตุก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทันที  

โดยวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้มีการจัดอบรมหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ มีดังนี้ 

  1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกับเครนปั้นจั่นอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 
  3. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินพิกัดการยกวัตถุ สิ่งของโดยใช้หลักการคำนวณที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 
  4. เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจวิธีการตรวจสอบ ซ่อมบำรุง และรักษาปั้นจั่นได้อย่างถูกต้อง 
  5. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินความเสี่ยงและหาวิธีป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรัดกุม  

กฎหมายใหม่เกี่ยวกับหลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนและปั้นจั่น” 

  • ข้อที่ 1 กำหนดให้ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุหรือผู้ควบคุมการใช้งานปั้นจั่น ต้องได้ผ่านการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ.2554 
  • ข้อที่ 2 ประกาศนี้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
  • ข้อที่ 3 กฎกระทรวงเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น บังคับใช้กับปั้นจั่นทุกชนิดที่มีขนาดพิกัดการยกปลอดภัย ตามที่ผู้ผลิตกำหนดตั้งแต่ 1 ตันขึ้นไป 
  • ข้อที่ 4 ความหมายของ ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
  1. ผู้บังคับปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บังคับการทำงานของปั้นจั่นหรือเครนให้ทำงานตามที่วางแผนไว้ 
  2. ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ใช้สัญญาณมือหรือสัญญาณเพื่อสื่อสารกับผู้บังคับปั้นจั่น 
  3. ผู้ยึดเกาะวัสดุ หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ผูก มัด หรือ เกี่ยววัสดุเพื่อใช้ปั้นจั่นยก
  4. ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่มีหน้าที่สั่งการให้ผู้บังคับปั้นจั่นปฏิบัติตาม และมีหน้าที่พิจารณาพิกัดน้ำหนักที่ใช้ยก 
หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ 

หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรมเครนปั้นจั่น ตามที่กฎกระทรวงกำหนด

กฎกระทรวงบังคับให้นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณ ผู้ยึดเกาะวัตถุ และ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น โดยนายจ้างต้องมีการจดบันทึกรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม ชื่อวิทยากร รวมไปถึงวันและเวลาที่ฝึกอบรมเก็บไว้เป็นหลักฐาน หากพนักงานตรวจแรงงานขอตรวจสอบต้องมีหลักฐานแสดงว่าตนได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดไว้ 

โดยหลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรม ได้แก่ 

  1. นายจ้างต้องแจ้งกำหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนการจัดฝึกอบรม 
  2. นายจ้างต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดตามหลักสูตรกำหนดไว้
  3. นายจ้างต้องจัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยกำหนดต้องผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 
  4. นายจ้างต้องออกใบรับรองให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรม 

นอกจากนี้กฎกระทรวงยังกำหนดให้การฝึกอบรมภาคทฤษฎีห้องละไม่เกิน 60 คนต่อวิทยากร 1 คน  และในภาคทดสอบภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย 1 คน และปั้นจั่น 1 เครื่องต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 20 คน 

หลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น”

ในปัจจุบันหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ สามารถแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่นอยู่กับที่ และ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ และทั้ง 2 หลักสูตรจำเป็นต้องมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง 

1. หัวข้อหลักสูตรอบรมเครน ปั้นจั่นชนิด “เคลื่อนที่” 

1.1 ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงข้อ 11  

1.2 ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น 

1.3 ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น 

1.4 ระบบการไฮดรอลิกเบื้องต้น 

1.5 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch 

1.6 วิธีการอ่านค่าตารางพิกัดยก 

1.7 วิธีใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร 

1.8 วิธีเลือกใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ยก 

1.9 วิธีการประเมินน้ำหนักวัตถุ 

1.10 วิธีการผูกมัดและยกเคลื่อนย้ายวัตถุ 

1.11 วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา และ วิธีใช้คู่มือการใช้งาน 

2. หัวข้อหลักสูตรอบรมเครน ปั้นจั่นชนิด “อยู่กับที่”

2.1 ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงข้อ 11  

2.2 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch 

2.3 ระบบไฟฟ้า 

2.4 วิธีใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร 

2.5 วิธีการผูกมัดและยกเคลื่อนย้ายวัตถุ 

2.6 วิธีการประเมินน้ำหนักวัตถุ 

2.7 วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา และ วิธีใช้คู่มือการใช้งาน 

สรุป

หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ถือเป็นข้อบังคับที่นายจ้างและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานกับปั้นจั่น รถเครนควรให้ความสำคัญ และไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุในที่ทำงานได้ 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย