รู้จัก ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire Watch) ตำแหน่งสำคัญป้องกันอัคคีภัยในงานก่อสร้าง

ผู้เฝ้าระวังไฟ

ในงานก่อสร้างนั้น ความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ผู้ประกอบการต้องให้ความใส่ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการป้องกันอัคคีภัย ซึ่งเป็นภัยอันตรายที่สร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและชีวิตให้กับผู้ที่อยู่บริเวณโดยรอบ ซึ่งหนึ่งในตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและควบคุมเหตุเพลิงไหม้ในงานก่อสร้างก็คือ ‘ผู้เฝ้าระวังไฟ’ หรือ ‘Fire Watch’ บทความนี้ผมจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับหน้าที่ของผู้เฝ้าระวังไฟ และความสำคัญของตำแหน่งนี้ในงานก่อสร้างกันครับ

ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire Watch Man) คือใคร

ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire  Watch Man) คือ ผู้ที่มีหน้าที่ในการเฝ้าระวัง และตรวจสอบสถานที่ทำงานที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัย เช่น กิจกรรมการก่อสร้างต่าง ๆ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซ เป็นต้น เพื่อสร้างความแน่ใจว่าจะสามารถดำเนินงานได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากงานเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟและความร้อน ซึ่งอาจลุกลามและก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้

นอกจากนี้ หากมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น ผู้เฝ้าระวังไฟยังมีหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคเพื่อและใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือคนงานและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง จึงเป็นบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการดำเนินงานก่อสร้างต่าง ๆ นั่นเองครับ

ความสำคัญของผู้เฝ้าระวังไฟในงานก่อสร้าง 

การมีผู้เฝ้าระวังไฟประจำในพื้นที่ก่อสร้างนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก

  1. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล 
  2. สามารถตรวจจับและควบคุมเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่ไฟจะลุกลามและยากต่อการควบคุม 
  3. สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับคนงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ก่อสร้าง 
  4. ช่วยให้งานก่อสร้างดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยไม่มีอุปสรรคหรือความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้

ผู้เฝ้าระวังไฟมีหน้าที่อะไร

ผู้ควบคุมไฟมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากอัคคีภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน โดยมีหน้าที่หลักดังนี้ 

  1. จัดทำแผนงานสำหรับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความร้อนและประกายไฟ เพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ 
  2. ฝึกอบรมและให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย เพื่อลดโอกาสในการเกิดประกายไฟและความร้อนสูง 
  3. ตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของงานที่อาจก่อให้เกิดความร้อนและประกายไฟ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันที่เหมาะสม 
  4. เฝ้าติดตามและควบคุมความปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่มีการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยง พร้อมทั้งเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น 
  5. ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยและความปลอดภัยหลังจากเสร็จสิ้นการทำงานที่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความร้อนและประกายไฟ 
  6. ทดสอบและตรวจวัดระดับของสารไวไฟ สารเคมีอันตราย และสารระเบิดในบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้มั่นใจว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย 
  7. จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็น เช่น ผ้ากันไฟ เครื่องดับเพลิง และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้ในการควบคุมและป้องกันการเกิดเพลิงไหม้

การทำงานของผู้เฝ้าระวังไฟก่อนเริ่มงาน

ก่อนที่จะเริ่มงานก่อสร้าง หรือดำเนินงานใด ๆ ผู้เฝ้าระวังไฟควรวางแผนตรวจสอบความเรียบร้อยตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ประเมินความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้ พร้อมวางมาตรการควบคุมเพลิงไม่ให้เกิดอันตราย
  2. ขอใบอนุญาตในการทำงาน ก่อนเริ่มทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อนและประกายไฟ (Work Permit)
  3. จัดทีมเฝ้าระวังไฟตามจุดที่เสี่ยงเกิดอัคคีภัย พร้อมเตรียมอุปกรณ์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  4. จัดการตรวจสอบเพื่อวัดค่าความเข้มข้นของสารเคมีไวไฟ ที่อาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกติดบริเวณโดยรอบค่า LEL และตรวจสอบสภาพบรรยากาศว่ามีความปลอดภัยพร้อมเริ่มงานหรือไม่
  5. ปิดกั้นแหล่งความร้อนและประกายไฟให้มีความปลอดภัย โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ผ้ากันสะเก็ดไฟ
  6. ประเมินความปลอดภัยและความเสี่ยงเกิดอันตรายในขณะปฏิบัติงาน
  7. ตรวจสอบพื้นที่ให้มีความปลอดภัยหลังจบการทำงาน และทำการปิดใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

หน้าที่ของผู้เฝ้าระวังไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

อัคคีภัย

เมื่อตรวจพบเหตุเพลิงไหม้ ผู้เฝ้าระวังไฟต้องรีบดำเนินการดังนี้

  • แจ้งเหตุไปยังหน่วยดับเพลิงและผู้เกี่ยวข้องทันที
  • ประเมินสถานการณ์และความรุนแรงของเพลิงไหม้
  • ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้นเพื่อควบคุมเพลิงตามความเหมาะสม
  • อพยพคนงานและผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงไปยังจุดรวมพลหรือที่ปลอดภัย
  • ให้ข้อมูลและความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเมื่อเดินทางมาถึงที่เกิดเหตุ

องค์กรที่ควรมีผู้เฝ้าระวังไฟ

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการที่มีกระบวนการผลิตหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประกายไฟและความร้อนสูง ซึ่งเรียกว่า ‘งานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย’ หรือ ‘Hot Work’ นั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องจัดให้มีผู้เฝ้าระวังไฟประจำการอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและก๊าซ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเพลิงไหม้และระเบิด ซึ่งหน้าที่สำคัญของผู้เฝ้าระวังไฟคือการคอยสังเกตการณ์และเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติงาน ตลอดจนดำเนินมาตรการป้องกันและระงับเหตุเพลิงไหม้เบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุดครับ

สรุป

ผู้เฝ้าระวังไฟ นับเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการป้องกันและควบคุมอัคคีภัยในงานก่อสร้าง ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ยังช่วยให้การดำเนินงานก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่นอีกด้วยครับ ดังนั้น ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดให้มีผู้เฝ้าระวังไฟที่มีความรู้ความสามารถ และพร้อมปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกโครงการก่อสร้าง

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย