วิธีคำนวณ Load Chart ตารางการรับน้ำหนักของรถเครน

การคำนวณ Load Chart ตารางรับน้ำหนัก เพื่อความปลอดภัยในการใช้เครน

บางคนอาจจะเคยได้ยิน หรือ เคยได้อ่านข่าว ลวดสลิงของรถเครนขาด รถปั้นจั่นล้ม หรือ วัตถุที่ยกตกหล่นทำให้ทรัพย์สินบริเวณรอบ ๆ ได้รับความเสียหาย หรือ อาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แน่นอนว่าเป็นเหตุการณ์ที่อันตรายและไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น 

วันนี้ผมจึงจะมาแนะนำทุกคนเกี่ยวกับ การคำนวณเครน หรือ คำนวณน้ำหนักที่เครนสามารถรับได้ไหว หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Load Chart เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ถ้าหากพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่า ว่าวิธีการคำนวณเครน ต้องทำยังไง 

การคำนวณ Load Chart สำคัญอย่างไร 

บางคนอาจจะยังสงสัยว่าทำไมต้องคำนวณเครน การคำนวณเครน (Load Chart) สำคัญอย่างไร ? จริง ๆ แล้ว การคำนวณเครนถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เลยทีเดียวครับ เพราะถ้าหากน้ำหนักวัตถุที่ยก กับ น้ำหนักที่รถเครนสามารถยกได้ ไม่เหมาะสมกัน สามารถเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่ส่งผลกับทรัพย์สินและชีวิตของผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ได้ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

วิธีคำนวณน้ำหนักที่เครนสามารถยกได้ 

1. คำนวณหาระยะยก B หรือ ระยะทำงาน

อย่างแรกที่ต้องทำในการคำนวณเครน คือ การคำนวณหาระยะทำงาน หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Working radius โดยสามารถหาได้จาก 

ระยะยก B = การวัดตั้งแต่จุดศูนย์กลางของเอวสวิงเครนไปจนถึงจุดที่วางชิ้นงาน 

2. คำนวณหาระยะความสูง

ขั้นต่อมาในการคำนวณเครนได้แก่การหาระยะความสูง หรือ Lifting Hight โดยทุกคนสามารถหาได้จาก

ระยะความสูง = ความสูงที่จุดวาง + ความสูงชิ้นงานและอุปกรณ์ช่วยยก + ระยะเผื่อที่ 1 และ 2 

3. คำนวณหาระยะความยาวบูม 

ขั้นที่ 3 ในการคำนวณเครน หลังจากที่เราได้ค่าระยะทำงาน และ ระยะความสูง แล้วจะช่วยให้เราสามารถหาความยาวบูมที่จะช่วยให้เราสามารถอ่านค่าตารางยก (Load Chart) ได้ โดยสามารถหาระยะความยาวบูมได้จาก

  1. ทำเครื่องหมาย ตามระยะการทำงานที่หาได้ (กราฟแนวนอน)
  2. ทำเครื่องหมาย ตามระยะความสูงที่หาได้ (กราฟแนวตั้ง)
  3. ลากเส้นจากเครื่องหมายที่ทำไว้ทั้ง 2 จุด จบบรรจบกัน และดูว่าจุดที่ได้อยู่ใต้สวิงบูมที่ความยาวเท่าไหร่ 
  4. อ่านค่าองศาระยะความยาวบูมที่ได้ 
Load chart การคำนวณเครน

4. อ่านตาราง Loading Chart เพื่อค่าพิกัดยก

หลังจากที่เราได้ค่าความยาวบูมแล้วก็สามารถอ่านค่าตารางยก หรือ Load Chart ซึ่งก็จะช่วยให้เราทราบว่าค่าพิกัดยกของรถเครนคันนั้น ๆ 

5. การคำนวณน้ำหนักที่เครนสามารถยกได้ทั้งหมด 

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายในการคำนวณเครนแล้วครับ คือ การคำนวณน้ำหนักที่เครนสามารถยกได้ โดยหาจาก 

น้ำหนักที่เครนสามารถยกได้ = น้ำหนักชิ้นงาน + น้ำหนักสลิง และ ตะขอเครน + น้ำหนักของอุปกรณ์ช่วยยก 

ความหมายข้อความและสัญลักษณ์บน Load Chart 

นอกจากการคำนวณเครนแล้ว การเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์บน Load Chart ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ดังนั้นผมแนะนำว่าผู้ที่ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถเครน รถปั้นจั่น จำเป็นต้องศึกษาความหมายข้อความ และ สัญลักษณ์ 

โดยวันนี้ผมได้นำข้อความ และ สัญลักษณ์ที่จำเป็นเกี่ยวกับการอ่าน Load Chart มาแนะนำครับ 

  1. หน่วยน้ำหนักที่ใช้นิยมใช้เป็นหน่วยน้ำหนัก ตัน (ton)
  2. รุ่นผลิต จะช่วยให้ทราบประเภทเครน และ ความสามารถในการยกน้ำหนัก เช่น TR250M-6 หมายความว่า รถเครนยี่ห้อ Tanano ประเภท Rough Treeain Carne สามารถยกได้ 25 ตัน 
  3. ความกว้างของขาเครน จะช่วยให้ตอนอ่านตาราง Load Chart ว่าภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ควรใช้ความกว้างของขาเครนเท่าไหร่ 

สรุป

นอกจากความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทรถเครนที่จะทำให้ใช้รถเครนได้ตรงวัตถุประสงค์แล้ว การคำนวณเครน การอ่านตาราง Load Chart เพื่อหาน้ำหนักที่สามารถยกได้ เป็นอีกเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ดังนั้นทุกบริษัทที่ให้บริการรถเครน หรือ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง จำเป็นต้องเทรนและให้ความรู้กับพนักงานเกี่ยวกับการคำนวณเครน เพื่อความปลอดภัยในการทำงานครับ 

บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้นำด้านรถโมบายเครน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี เน้นความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานและผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ เป็นหลัก พนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมการใช้รถเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE