สำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างคงไม่มีใครไม่รู้จักกับ หมวกนิรภัย ที่เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคล เพราะหมวกนิรภัยเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์เซฟตี้ที่สำคัญที่สามารถช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี วันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับประเภทของหมวกนิรภัย วิธีการใช้หมวกนิรภัยที่ถูกต้อง พร้อมทั้งวิธีการดูแลรักษ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ
หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ สำคัญอย่างไรต่องานก่อสร้าง
หมวกนิรภัย หรือที่หลายคนเรียกว่า หมวกเซฟตี้ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคลที่ใช้สำหรับปกป้องอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับศีรษะ เช่น สิ่งของหล่นกระแทกศีรษะ หรือ ลื่นล้มแล้วศีรษะไปกระแทกกับพื้น ซึ่งคุณสมบัติของหมวกนิรภัยนอกจากจะต้องมีความแข็งแรงและทนทานต่อแรงกระแทกแล้ว จำเป็นที่จะต้องสามารถป้องกันการเจาะทะลุ และสามารถกันไฟฟ้าได้อีกด้วย
โดยหมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอันตรายจากสิ่งของและวัตถุต่าง ๆ หล่นใส่ศีรษะ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจำเป็นที่จะต้องสวมใส่หมวกนิรภัยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานตามข้อบังคับและกฎที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประเภทของหมวกนิรภัย
ประเภทของหมวกนิรภัยสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของหมวกและการใช้งาน ดังนี้
- หมวกนิรภัยที่มีปีกรอบ หมวกนิรภัยประเภทนี้จะมีขอบหมวกยื่นออกมารอบตัวหมวก ช่วยสามารถป้องกันอันตรายได้จากทุกทิศทาง โดยหมวกนิรภัยที่มีปีกรอบจะเหมาะกับที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสายไฟ ไฟฟ้า หรือ ช่างไฟฟ้า
- หมวกนิรภัยที่มีกระบังด้านหน้า หมวกนิรภัยประเภทนี้จะมีปีกเฉพาะบริเวณด้านหน้า ด้านข้าของตัวหมวกอาจจะเป็นขอบนูนก็ได้ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบปรับเลื่อน ปรับหมุน หรือแบบรองใน สำหรับหมวกนิรภัยที่มีกระบังด้านหน้าเหมาะกับผู้ที่ปฏิบัติงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง
การทดสอบคุณสมบัติของหมวกนิรภัย
หมวกนิรภัยจำเป็นต้องได้รับมาตรฐาน มอก.368-2554 โดยผ่านการทดสอบจากสถาบันที่เชื่อได้ ซึ่งการทดสอบคุณสมบัติของหมวกนิรภัยมีทั้งหมด ดังนี้
- เปลือกของหมวกนิรภัยต้องไม่มีรอยแตกร้าว ผิวเปลือกหมวกต้องเกลี้ยง ไม่มีเสี้ยน ส้น หรือแหลมคม
- หมวกนิรภัยต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 440 กรัม
- แรงส่งผ่านสูงสุดในแต่ละใบต้องไม่เกิน 4,450 นิวตัน และ แรงส่งผ่านเฉลี่ยต้องไม่เกิน 3,780 นิวตัน
- หมวกนิรภัยต้องไม่ลุกติดไฟ หรือ ในกรณีที่หมวกนิรภัยลุกติดไฟต้องสามารถดับได้เองภายใน 5 วินาที
- หมวกนิรภัยต้องสามารถป้องกันการเจาะละทุได้
- สายรัดคางต้องมีความกว้างไม่ร้อยกว่า 13 มิลลิเมตร
- สายรัดศีรษะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 13 มิลลิเมตร และต้องสามารถปรับได้
ข้อแนะนำในการใช้หมวกนิรภัย
- ก่อนใช้งานหมวกนิรภัยจำเป็นต้องมีการตรวจเช็กสภาพทุกครั้ง เพื่อดูว่าหมวกนิรภัยอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่
- ห้ามนำหมวกนิรภัยที่ชำรุด หรือ อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งานมาใช้โดยเด็ดขาด
- พลาสติก ABS จะมีอายุการใช้งานสูงกว่าพลาสติกชนิดอื่น ๆ ที่นำมาผลิตหมวกนิรภัย
- ชิ้นส่วนของหมวกนิรภัย ไม่ว่าจะเป็น สายรัดศีรษะ สายรัดค้าง แถบซับเหงื่อ หรือ รองใน ควรเปลี่ยนใหม่ทุก ๆ 6 – 12 เดือน เพื่อความปลอดภัย และสุขอนามัยที่ดีของผู้ใช้งานทุกคน
วิธีดูแลหมวกนิรภัย
วิธีการดูแลหมวกนิรภัยเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานควรใส่ใจ เพราะการดูแลและเก็บรักษาที่ถูกวิธีที่สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของหมวกนิรภัยได้ครับ ซึ่งวิธีดูแลหมวกนิรภัยที่ถูกวิธี ได้แก่
- หลังจากที่ใช้งานหมวกนิรภัยเสร็จแล้ว ควรนำมาทำความสะอาดสามารถใช้น้ำสบู่ หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพื่อทำความสะอาด โดยแนะนำให้ทำความสะอาดหมวกนิรภัยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2- 3 ครั้ง หรือ ทุกวัน เฉพาะบริเวณแถบซับเหงื่อ เพื่อสุขอนาภัยที่ดี
- หลีกเลี่ยงการนำหมวกนิรภัยไว้กลางแดด หรือ ที่ที่มีอุณหภูมิสูง เพราะอาจจะทำให้วัสดุพลาสติกเสื่อมสภาพเร็วขึ้น นอกจากนี้แสงแดด และ อุณหภูมิที่สูงจนเกินไปยังส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของหมวกนิรภัยอีกด้วย
- ห้ามนำหมวกนิรภัยที่มีรอยแตกร้าวมาใช้งาน เพราะประสิทธิภาพในการป้องกันและลดความรุนแรงจากอันตรายที่อาจจะเกิดจะลดลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้สวมใส่
- ห้ามโยนหมวกนิรภัยลงจากที่สูงเพราะอาจจะทำให้หมวกนิรภัยเกิดรอยร้าว หรือ แตกหักได้
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือ สารละลาย ทำความสะอาดหมวกนิรภัย เพราะอาจจะทำให้พื้นเปลือกหมวกนิรภัยเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
สรุป
หมวกนิรภัยถือเป็นอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคลที่สำคัญอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งประโยชน์ของหมวกนิรภัยหมวก ได้แก่ การป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และ การลดความรุนแรงจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน โดยคุณควรเลือกหมวกนิรภัยที่เหมาะสมกับงานที่จะทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน นอกจากนี้อย่าลืมถึงความสำคัญของการดูแลและจัดเก็บหมวกนิรภัยที่ถูกวิธี เพื่อยืดอายุการใช้งานอีกด้วย
และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- โทร. 02-745-9999
- Line: @EKCRANE
- E-mail: [email protected]