รู้จักป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานก่อสร้าง

สำหรับคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง “สัญลักษณ์ความปลอดภัย” เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ว่าสัญลักษณ์ความปลอดภัยแต่ละแบบ แต่ละสีหมายถึงอะไร เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงานเองและคนที่อยู่รอบ ๆ บทความนี้ผมจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสัญลักษณ์ความปลอดภัยในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ควรรู้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ ว่ามีสัญลักษณ์ความปลอดภัยอะไรบ้าง 

ทำความรู้จักกับสีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย 

สีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย คือ สิ่งที่จะคอยบอกสถานะด้านต่าง ๆ ที่มักมาในรูปแบบป้ายเตือน เพื่อให้คนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น ๆ ระมัดระวังมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ของป้ายความปลอดภัยมักจะเป็นสัญลักษณ์ สี และข้อความสั้น ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ที่พบเห็นป้ายสามารถเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อสารได้ทันที การมีป้ายเตือน หรือ สัญลักษณ์ความปลอดภัยตามจุดต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดอันตรายทำให้สามารถช่วยลดอุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝันลงได้ 

ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นสัญลักษณ์ความปลอดภัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือ อันตรายใด ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล เขตก่อสร้าง ห้องควบคุมไฟฟ้า ห้องเก็บสารเคมี พื้นที่อับอากาศ หรือ บนท้องถนน เป็นต้น 

สัญลักษณ์ความปลอดภัย

ประเภทของสัญลักษณ์ความปลอดภัย

ในปัจจุบันประเภทจองสัญลักษณ์ความปลอดภัย สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 

  1. สัญลักษณ์ห้าม สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทห้าม มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและหยุดยั้งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งมักจะมาในรูปแบบป้ายเตือนที่มีวงกลมแถบสีแดงและมีเส้นทแยงมุม 45 องศา 
  2. สัญลักษณ์เตือน สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทเตือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนเกี่ยวกับอันตรายในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งมักจะมาในรูปแบบป้ายเตือนที่มีสามเหลี่ยมสีเหลืองและข้อความสั้น ๆ สีดำ
  3. สัญลักษณ์บังคับ สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทบังคับ มีวัตถุประสงค์เพื่อทุกคนปฏิบัติตามข้อบังคับ หรือ กฎหมายที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ซึ่งมักจะมาในรูปป้ายเตือนสีฟ้า 
  4. สัญลักษณ์ฉุกเฉิน สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทฉุกเฉิน มักจะเป็นสัญลักษณ์หรือข้อความต่าง ๆ ที่เข้าใจได้ง่าย เช่น ทางออกฉุกเฉิน จุดรวมพล หรือ จุดปฐมพยาบาล เป็นต้น ซึ่งมักจะมาในรูปแบบป้ายเตือนสีเขียวและสัญลักษณ์ความปลอดภัยสีขาว 

ประโยชน์ของสัญลักษณ์ความปลอดภัย 

ในแวดวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างเรา ๆ รู้กันดีใช่ไหมครับ ว่างานที่ทำอยู่ในทุก ๆ วันมีความเสี่ยงและสามารถเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ทุกเมื่อ ถ้าหากเกิดความประมาทแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม ซึ่งการมีสัญลักษณ์ความปลอดภัยถือเป็นหนึ่งในรูปแบบการเตรียมความพร้อมรับมือและลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในที่งานนั่นเองครับ นอกจากนี้การใช้สัญลักษณ์ความปลอดภัยยังสามารถให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องและคนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเข้าใจความหมายได้อย่างตรงกัน เพื่อระมัดระวังและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งกับตนเองและผู้อื่นด้วยครับ 

มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย 

หลังจากที่เข้าใจความหมายของสี ประโยชน์ และสัญลักษณ์ความปลอดภัยแล้ว ทีนี้ผมอยากให้ทุกคนมาทำความรู้จักกับมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัยในระดับสากลกันบ้างครับ 

1. มอก. 635-2554

หลายคนน่าจะคุ้นหู หรือเคยได้ยินคำว่า มอก. กันมาบ้าง โดย มอก. 635-2554 เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สี และ เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ซึ่งจะกำหนดสีและเครื่องหมายต่าง ๆ เพื่อบอกถึงความปลอดภัย ข้อความระวัง ข้อบังคับ หรือข้อห้ามในที่ทำงาน หรือ พื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ มอก. 635-2554 สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 

  1. เครื่องหมายห้าม
  2. เครื่องหมายบังคับ
  3. เครื่องหมายเตือน
  4. เครื่องหมายแสดงสภาวะปลอดภัย
  5. เครื่องหมายแสดงอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย 

2. มาตรฐาน ISO 3864

ISO 3864 เป็นมาตรฐานสากลที่หลายประเทศใช้กัน เพื่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และ พื้นที่สาธารณะ มักมาในรูปแบบป้ายเตือนหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัยกราฟิกต่าง ๆ เพื่อให้ผู้พบเห็นสามารถเข้าใจได้ทันที โดยมาตรฐาน ISO 3864 สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 

  1. ISO 3864-1:2011 ส่วนที่ 1 คือ หลักการออกแบบป้ายความปลอดภัย และ ความปลอดภัย 
  2. ISO 3864-2:2016 ส่วนที่ 2 คือ หลักการออกแบบฉลากความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ 
  3. ISO 3864-3:2012 ส่วนที่ 3 คือ หลักการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิกที่ใช้ในป้ายเตือนต่าง ๆ 
  4. ISO 3864-4:2011 ส่วนที่ 4 คือ คุณสมบัติสี และ โฟโตเมตริกของวัสดุป้ายความปลอดภัย 

3. มาตรฐาน ANSI Z353 

มาตรฐาน ANSI (American National Strandard Institute) เป็นมาตรฐานความปลอดภัยในที่ทำงานกำหนดโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นองค์กรอิสระ โดยมาตรฐาน ANSI เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยได้กำหนดมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัยที่สามารถเข้าใจได้ง่ายไว้ทั้งหมด 6 มาตรฐาน ได้แก่ 

  1. สีแดง หมายถึง อันตราย สถานการณ์ฉุกเฉิน รวมไปถึงวัตถุไวไฟ 
  2. สีส้ม หมายถึง การเตือน บอกสถานะของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่กำลังอยู่ในระหว่างปฏิบัติงาน 
  3. สีเหลือง หมายถึง การแจ้งเตือนเมื่อเกิดอันตรายทางกายภาพ 
  4. สีฟ้า หมายถึง สิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย 
  5. สีเขียว หมายถึง การปฐมพยาบาล และ ความปลอดภัยต่าง ๆ 
  6. สีม่วง หมายถึง กำหนดการใช้งานได้ตามสะดวกในสถานที่ของตนเอง 

สรุป

สัญลักษณ์ความปลอดภัย คือ ข้อความ สี หรือ สัญลักษณ์ที่บ่งชี้ถึงข้อห้าม ข้อควรระวัง และอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยสัญลักษณ์ความปลอดภัยเป็นสิ่งพื้นฐานที่ต้องมีและจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพื่อป้องกันและลดอันตรายที่อาจจะเกิดระหว่างปฏิบัติงาน ซึ่งทุกคนควรปฏิบัติตามสัญลักษณ์ความปลอดภัยอย่างเคร่งครัน 

และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย