ปั้นจั่น หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเพื่อขึ้นที่สูง โดยใช้สลิงในการตรึงระหว่างสิ่งของและตัวแขนบูม ซึ่งใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของไปมา สามารถยกขึ้นในแนวดิ่งและเคลื่อนไหวหมุนไปมาได้ในแนวราบแบบ 360 องศา ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างมากในงานระดับอุตสาหกรรม ดังนั้น สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่าปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิด ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัยตามกฎหมายได้อย่างไร คุณสามารถมาหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย
ปั้นจั่นแบ่งออกเป็นกี่ชนิดตามกฎหมาย แล้วมีอะไรบ้าง ?
ปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิดกันแน่ ในทางกฎหมายแล้วปั้นจั่นเป็นเครื่องจักรที่มีด้วยกันทั้งหมด 2 ชนิด คือปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งระบบควบคุม ระบบยกน้ำหนัก โดยจะติดตั้งอยู่บริเวณสถานที่ปฏิบัติงานด้วยขาตั้ง หรือหอสูง ซึ่งปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ยังสามารถแบ่งออกมาเป็นประเภทย่อย ๆ ได้อีก 2 ประเภทคือ
- ปั้นจั่นแบบเหนือศีรษะ มีลักษณะเป็นสะพานที่เคลื่อนที่ได้
- ปั้นจั่นแบบขาสูง มีลักษณะที่คล้ายกับปั้นจั่นแบบเหนือศีรษะ แต่จะมีตัวสะพานที่วางอยู่บนขาของปั้นจั่นนั่นเอง
- ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ คือ ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งระบบควบคุม ระบบยกน้ำหนัก ซึ่งตัวปั้นจั่นจะติดตั้งอยู่กับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้ ซึ่งในปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่นี้ ก็ยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้อีก 4 ประเภทคือ
- รถเครนตีนตะขาบ หรือ ปั้นจั่นที่ถูกติดตั้งกับตัวรถที่มีการเคลื่อนที่ด้วยตีนตะขาบ และส่วนใหญ่มีบูมเป็นแบบบูมสาน ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่กำลังจะเริ่มก่อสร้าง
- รถเครนล้อยาง ซึ่งเป็นตัวรถติดปั้นจั่นที่ขับเคลื่อนไปด้วยล้อยาง สามารถวิ่งได้เร็วเหมือนรถบรรทุก เหมาะแก่การทำงานในพื้นที่ขรุขระ
- รถเครนสี่ล้อ เป็นรถติดปั้นจั่นที่เหมาะแก่การทำงานในพื้นที่ขรุขระ แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องเดินทางไกล
- ปั้นจั่นติดรถบรรทุก เป็นรถบรรทุกที่ติดตั้งปั้นจั่นเอาไว้ ซึ่งเหมาะแก่การใช้ยกของขึ้นไว้บนหลังรถบรรทุก
ส่วนประกอบของปั้นจั่น
ปั้นจั่นมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแนวตั้ง ซึ่งจะต่อด้วยเสาเหล็กขึ้นไปทีละส่วน เพื่อที่จะทำหน้าที่ยกและลำเลียงสิ่งของขึ้นไป และอีกส่วนก็คือส่วนที่เป็นแนวนอน ที่ใช้ในการแขวนสิ่งของ โดยจะประกอบไปด้วย 6 ชิ้นส่วนหลัก ดังนี้
- แขนบูม เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ แขนบูมจะทำหน้าที่ยื่นออกจากตัวเครน เพื่อรับน้ำหนักสิ่งของที่ต้องการจะยก โดยแขนบูมจะทำจากเหล็กกล้า
- กว้าน จะช่วยในการควบคุมลวดสลิงของปั้นจั่นในการยกสิ่งของขึ้นมา โดยจะมีระบบของรอกชุดและสวดสลิงในการช่วยผ่อนแรงอยู่นั่นเอง
- ขายันพื้น เป็นชิ้นส่วนที่จะทำหน้าที่รักษาสมดุลของตัวปั้นจั่น เนื่องจากน้ำหนักของสิ่งของที่ใช้ยกนั้นมีน้ำหนักมาก อาจจะทำให้เอนไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ขายันพื้นจะช่วยให้ปั้นจั่นไม่ล้ม และยังคงตั้งอยู่ได้
- น้ำหนักถ่วง ทำหน้าที่ถ่วงน้ำหนักปั้นจั่น โดยตัวถ่วงน้ำหนักจะต้องมีน้ำหนักมากกว่าสิ่งของที่เคลื่อนย้ายอยู่ ดังนั้นโดยปกติแล้วผู้รับเหมาควรมีตัวถ่วงน้ำหนักสำรองในกรณีที่สิ่งของมีน้ำหนักมาก
- ลวดสลิงปั้นจั่น มีลักษณะเป็นเกลียวละเอียด เป็นลวดเกลียวเหล็กที่ทำหน้าที่แขวนและรับน้ำหนักสิ่งของ
ตะขอ ทำหน้าที่ช่วยในการยกสิ่งของ ด้วยการเกี่ยวของขึ้นมานั่นเอง โดยปกติแล้วผู้รับเหมาควรมีตะขอหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน
วิธีใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัยตามกฎหมาย
- ผู้ควบคุมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมปั้นจั่น หรือจะเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายวัสดุ ควรมีความรู้ในกฎในการใช้ที่ความปลอดภัยและสัญญาณมือในขณะเคลื่อนย้ายสิ่งของ และต้องสวมชุดปฏิบัติงานและสวมอุปกรณ์นิรภัยอย่างรัดกุม
- กรณีที่ห้องควบคุมปั้นจั่นอยู่สูงจากพื้น บันไดขึ้นจะต้องมีครอบป้องกันโดยตลอด ขั้นบันไดต้องมีความแข็งแรง
- ผู้ควบคุมปั้นจั่นต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ขณะปฏิบัติงานต้องสวมชุดปฏิบัติงานที่รัดกุม ใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลตามความเหมาะสม เช่น ปลั๊กอุดหู หรือหมวกนิรภัย เป็นต้น
- ก่อนเปิดสวิตซ์ใหญ่ควบคุมการทำงาน ควรตรวจปุ่มควบคุมการทำงานว่าอยู่ในตำแหน่งปิด จากนั้นจึงเปิดสวิตซ์ใหญ่ แล้วทดสอบระบบการทำงานต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนที่เดินหน้า-ถอยหลัง ขึ้น-ลง เบรก สัญญาณ เสียง และแสง เป็นต้น
- ผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายวัสดุซึ่งอยู่ข้างล่างจะต้องรู้จักวิธีการส่งสัญญาณมือที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายอย่างถูกต้อง และต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น หมวกนิรภัย รองเท้านิรภัย และถุงมือหนัง เป็นต้น
- รู้น้ำหนักของที่จะยก และไม่ยกเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้
- การเริ่มยกขึ้นครั้งแรก ควรดำเนินการอย่างช้า ๆ และยกขึ้นเพียงเล็กน้อยเพื่อตรวจสอบความสมดุลและความสามารถในการยก กรณีที่วัสดุที่ยกหนักใกล้เคียงกับพิกัดกำหนด ควรทดสอบการทำงานของเบรกด้วย
- ขณะวัสดุที่เคลื่อนย้ายลอยสูงจากพื้น จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
- ไม่สัมผัสสิ่งกีดขวาง หรือข้ามศีรษะผู้ปฏิบัติงานอื่น
- ห้ามผู้ปฏิบัติงานเกาะบนสิ่งของที่ยก
- กรณีที่เป็นปั้นจั่นชนิดที่อยู่กับที่ ควรมีสัญญาณเสียงและแสง
- หลีกเลี่ยงการแขวนสิ่งของไว้กลางอากาศ แต่ถ้าจำเป็นต้องล็อกเครื่องด้วย ห้ามใช้เบรกเพียงอย่างเดียว
- กรณีมีลมพัดแรงมากจนวัสดุที่เคลื่อนย้ายแกว่งไปมาอย่างรุนแรงต้องรีบวางวัสดุลงทันที
- เมื่อจำเป็นต้องวางของต่ำมาก ๆ ต้องเหลือลวดสลิงไว้มากกว่า 2 รอบบนดรัม
- การใช้ปั้นจั่นตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปยกของร่วมกัน ให้สัญญาณมือผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายเพียงคนเดียว
- การใช้ปั้นจั่นใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูง ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปั้นจั่นต้องอยู่ห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 3 เมตร หรือตามขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้า ถ้าไม่สามารถทำตามระยะที่กำหนดได้ ต้องมีผู้คอยสังเกตและให้สัญญาณเตือน
- การใช้ปั้นจั่นชนิดที่มีการถ่วงน้ำหนักด้านท้าย ห้ามถ่วงเพิ่มจากที่กำหนด
- การปฏิบัติงานตอนกลางคืนควรมีไฟแสงสว่างให้เพียงพอทั่วบริเวณที่ปฏิบัติงาน แต่แสงไฟต้องไม่รบกวนการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมปั้นจั่น
- กรณีที่ใช้ปั้นจั่นบนตึกสูง ต้องมีสัญญาณไฟหรือสัญญาณบอกตำแหน่งให้เครื่องบินทราบ
- การยกของต้องยกขึ้นในแนวดิ่ง ให้รอกตะขอตรงกับศูนย์กลางของน้ำหนักที่ยก และตรงกึ่งกลางแขนของปั้นจั่น
- เมื่อหยุดหรือเลิกใช้งานปั้นจั่น ผู้ควบคุมควรปฏิบัติ ดังนี้
- วางสิ่งของที่ยกค้างอยู่ลงกับพื้น
- กว้านหรือม้วน ลวดสลิงและตะขอ เก็บเข้าที่
- ใส่เบรกและอุปกรณ์ล็อกชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้
- ปลดสวิตซ์ใหญ่ที่ใช้จ่ายไฟให้ปั้นจั่น
- ห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในห้องควบคุมปั้นจั่น
- ภายในห้องควบคุมปั้นจั่น ไม่ควรมีเครื่องมือที่ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้นถังดับเพลิง
- ต้องหมั่นบำรุงรักษาอุปกรณ์ทุกชิ้น โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องมีการเสียดสี
ต้องมีการเช็กสภาพตรวจสอบปั้นจั่นบ่อยแค่ไหน ?
ควรตรวจเช็กสภาพปั้นจั่นทุกๆ 1 หรือ 3 เดือน หรือตามบริษัทผู้ผลิตแนะนำ แต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด สำหรับปั้นจั่นที่หยุดใช้งานเกินกว่า 1 เดือนนั้น เมื่อนำมาใช้งานควรตรวจสอบสภาพเช่นกัน การตรวจสอบปั้นจั่นทำได้ดังนี้
- ตรวจการทำงานของอุปกรณ์และชิ้นส่วนควบคุมปั้นจั่น เพื่อหาการสึกหรอ การชำรุด หรือความผิดปกติอื่น ๆ
- ตรวจการทำงานและการชำรุดของต้นกำลัง ระบบส่งกำลัง ผ้าเบรกและคลัช เป็นต้น
- ตรวจที่รองรับ เช่น คาน เสา รางเลื่อน แขน และโครงสร้าง เป็นต้น เพื่อหาการสึกหรอ สนิม ผุกร่อน และบิดเบี้ยว โดยเฉพาะบริเวณที่เชื่อมหรือยึดด้วยสลักเกลียว
- ตรวจการชำรุดหรือสึกหรอของรอกหรือดรัม โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของดรัมต้องมากกว่าของลวดสลิง 15 ต่อ 1
- ตรวจการชำรุดหรือสึกหรอของลวดสลิง เชือก หรือโซ่ ตามที่กล่าวแล้ว
- ตรวจตะขอและที่ล็อก เพื่อดูการชำรุด บิดงอ ปากถ่าง หรือแตกร้าว
- สำหรับปั้นจั่นที่ติดตั้งบนรถบรรทุก ต้องตรวจสอบรถบรรทุกเกี่ยวกับเบรก ยาง พวงมาลัย และไฟสัญญาณต่าง ๆ
สรุป
ทุกคนคงได้ทราบแล้วว่าปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิด และได้ทราบว่าปั้นจั่นเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อโรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง โดยปั้นจั่นนั้นยังเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สามารถช่วยเพิ่มความสะดวกในการขนส่งและขนย้ายสินค้าประเภทต่าง ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้น ผู้ใช้งานทุกคนต้องมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อกฎหมายของการใช้งานปั้นจั่น และต้องตรวจสอบปั้นจั่นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อให้ใช้งานปั้นจั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด
หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- โทร. 02-745-9999
- Line: @EKCRANE
- E-mail: [email protected]