รู้จัก JSA ตัวช่วยวิเคราะห์ความปลอดภัย เสริมความอุ่นใจในการทำงาน

รู้จัก JSA ตัวช่วยวิเคราะห์ความปลอดภัย

การทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างมักถูกนับเป็นงานที่ท้าทายและสามารถเกิดอันตรายได้ตลอดเวลา ถ้าหากไม่มีการป้องกันที่รัดกุมมากพอ ซึ่งหลายคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้น่าจะเคยได้ยินคำว่า JSA  แต่บางคนอาจจะยังไม่ทราบใช่ไหมครับ ว่า JSA คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการทำงานอย่างไร วันนี้ผมจะมาแนะนำ JSA ตัวช่วย หรือ Tools ที่จะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างทำงาน ช่วยสร้างความสบายในใจการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่า

JSA คืออะไร 

JSA ย่อมาจาก Job Safety Analysis หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานทีละขั้นตอน เพื่อหาต้นตอของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน โดย JSA เป็น tool ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน หลังจากที่ทราบถึงสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแล้ว จึงหาแนวทางป้องกัน ลดอัตราการเกิด หลีกเลี่ยง หรือควบคุมอันตรายนั้น ๆ 

โดยองค์กร หรือ หน่วยงานที่มีการทำ JSA อย่างจริงจังพร้อมทั้งนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จะช่วยให้การทำงานสำเร็จรวดเร็วมากขึ้นและมีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้การทำ JSA ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยสร้างความมั่นใจและความอุ่นใจให้กับผู้ที่ปฏิบัติงานด้วยครับ 

งานประเภทใด ที่จำเป็นต้องทำ JSA

หลังจากที่ได้รู้แล้วว่า JSA คือ ตัวช่วยที่จะช่วยวิเคราะห์อันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน หลายคนอาจจะสงสัยใช่ไหมครับ ว่าแล้วงานประเภทใด งานแบบไหนที่ควรทำ JSA สำหรับการเลือกงานที่ต้องการนำมาวิเคราะห์อันตราย เพื่อทำ JSA ผมแนะนำให้เลือกตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ได้แก่ 

  1. เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดอันตรายระหว่างปฏิบัติงาน โดยคุณจำเป็นต้องมีการสำรวจหน้างานด้วยตนเอง 
  2. งานที่มีความถี่ในการเกิดอุบัติงานค่อนข้างสูง โดยสามารถดูได้จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานย้อนหลังสักประมาณ 2-3 ปี ก็ได้ครับ 
  3. งานใหม่ หรือ งานที่มีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ หรือ เครื่องจักร ที่ใช้ในการทำงาน 
  4. งานที่มีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนและเข้าใจได้ยาก 
  5. งานที่จำเป็นต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก 

ตัวอย่างแบบฟอร์มสำหรับการทำ JSA

แบบฟอร์มสำหรับการทำ JSA

ตัวอย่างแบบฟอร์มสำหรับการทำ JSA ขอบคุณภาพจาก SAFESIRI

4 ขั้นตอนการทำ JSA เพื่อสร้างความอุ่นใจในการทำงาน

การทำ JSA เพื่อสร้างความอุ่นใจและความปลอดภัยในการทำงาน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ได้ดังนี้ 

  1. ขั้นตอนแรก คือ การเลือกงานที่จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อทำ JSA 
  2. ขั้นตอนที่สอง คือ แยกขั้นตอนการทำงานออกมาเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่ามีขั้นตอนใดบ้างที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ โดยการแยกขั้นตอนควรเริ่มด้วยคำกริยา เช่น ยกของ หยิบ เตรียม เป็นต้น 
  3. ขั้นตอนที่สาม คือ การวิเคราะห์อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการทำงาน ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นต้องใช้ความละเอียดรอบคอบสูง เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด หรือ ละเลยสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ถ้าหากการวิเคราะห์ในขั้นตอนเกิดข้อผิดพลาดจะทำให้อันตรายยังคงแผงอยู่ในขั้นตอนทำงาน 
  4. ขั้นตอนที่สี่ คือ การหาแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิด โดยการนำสาเหตุที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 มาวิเคราะห์และหาแนวทางการป้องกัน 
ขั้นตอนการทำ JSA เพื่อสร้างความอุ่นใจในการทำงาน

ตำแหน่งใดที่ควรเป็นผู้จัดทำ JSA

การทำ JSA คือ การนำขั้นตอนการทำงานวิเคราะห์เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น ทำให้บางคนคิดว่าการทำ JSA คือหน้าที่ของหัวหน้างาน หรือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วการทำ JSA จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความเสี่ยงและหาแนวทางป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นรัดกุมมากที่สุด โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำ JSA ได้แก่ 

  1. หัวหน้างาน เป็นผู้ที่มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลกระบวนและวิธีการทำงานทั้งหมด พร้อมทั้งเป็นผผู้ที่มีความรู้ในหน้างาน จึงจำเป็นอย่างมากในการร่วมวิเคราะห์งานเพื่อสร้างความปลอดภัย
  2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ จป การทำ JSA จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเข้าร่วมวางแผนและวิเคราะห์ด้วยทุกครั้ง เพราะเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานต้องเป็นผู้กำหนดมาตรป้องกันอันตรายต่าง ๆ 
  3. ผู้ปฏิบัติงาน เพราะผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้ที่รู้ว่าหน้างานเคยเกิดปัญหาอะไรบ้าง จึงเหมาะสมและจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมการวิเคราะหืเพื่อทำ JSA เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในระหว่างปฏิบัติงาน

สรุป

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้กันแล้ว ผมหวังว่าหลายคนน่าจะเข้าใจว่าการทำ JSA คือ การนำขั้นตอนการทำงานทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางเพื่อลด หลีกเลี่ยง หรือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน ซึ่งการทำ JSA ถือเป็น Tools ที่สำคัญอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะช่วยลดอัตรราการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างปฏิบัติงานลด ถ้าหากทุกคนให้ความร่วมมืออย่างเคร่งครัน และที่สำคัญการทำ JSA จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าหากไม่ได้ความร่วมมืออย่างทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 

สุดท้ายนี้ใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย