ทำความรู้จักอาชีพ จป (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน) คือใคร มีหน้าที่อะไร

ทำความรู้จักอาชีพ จป (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน) คือใคร มีหน้าที่อะไร

ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งในคนที่คลุกคลีกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือ โรงงานต่าง ๆ คุณน่าจะคุ้นเคยกับอาชีพ จป หรือที่เรียกเต็ม ๆ ว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย กันมาบ้าง แต่บางคนก็อาจจะยังไม่ทราบใช่ไหมครับ ว่า จป คืออะไร มีหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไรต่อโรงงาน 

วันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าอาชีพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป คืออะไร พร้อมตอบทุกคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับอาชีพนี้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย 

จป คือใคร ? 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป คือ หนึ่งในอาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เพราะมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของระบบต่าง ๆ ทั้งในโรงงานและตัวอาคาร ไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบลิฟต์ รวมไปถึงการตรวจสอบความแข็งแรงของตัวอาคาร ทั้งหมดนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายในระหว่างที่เจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ กำลังปฏิบัติงาน 

ระดับของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 

ระดับของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 

ในปัจจุบันสามารถแบ่ง จป ออกเป็น 5 ระดับใหญ่ ได้ดังนี้ 

  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
  2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
  3. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ 
  4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง 
  5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค 

โดยทุกตำแหน่งจะต้องผ่านการอบรมจากกระทรวงแรงงานมาเป็นพิเศษ และแต่ละระดับก็จะมีความรับผิดชอบและหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปครับ 

ทั้งนี้อาชีพ จป ถือเป็นอาชีพที่โอกาสตกงานค่อนข้างน้อยเพราะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน สำหรับใครที่สนใจอยากทำงานสายนี้ ต้องเรียนจบจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน จป วิชาชีพ และมหาวิทยาลัยนั้นต้องได้รับการขึ้นทะเบียนหลักสูตรกับกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น ถึงจะสามารถประกอบอาชีพ จป ได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 

13 หน้าที่หลักของ จป วิชาชีพ 

หลังจากที่ทุกคนเข้าใจแล้วว่าอาชีพ จป คืออะไร เรามาลองดูกันดีกว่าครับ ว่าหน้าที่หลัก ๆ ตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ของอาชีพ จป มีอะไรบ้าง 

  1. ประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยอาชีวอนามัยในที่ทำงาน 
  2. ประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบการให้เป็นไปตามแบบแผนหรือมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้
  3. ตรวจสอบและแนะนำให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 
  4. ประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงาน
  5. ประเมินอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อนำเสนอให้แก่นายจ้าง 
  6. แนะนำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมใในที่ทำงาน 
  7. ฝึกสอนและอบรมลูกจ้างเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน 
  8. ตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือ นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 
  9. หาสาเหตุและประเมินการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือ อุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งสร้างความเดือดร้อนที่เกิดมาจากการทำงานของลูกจ้าง พร้อมรายงานผลการตรวจสอบและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้แก่นายจ้าง 
  10. เก็บรวบรวมสถิติข้อมูลและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการอันตราย อุบัติเหตุ การเจ็บป่วย ที่มีสาเหตุมาจากการทำงานของลูกจ้างให้แก่นายจ้าง 
  11. แนะนำวิธีป้องกันและแนวทางแก้ไขปัญหาในการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 
  12. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมให้แก่ลูกจ้าง ก่อนเข้าปฏิบัติงาน และจัดอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 
  13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่นายจ้างมอบหมาย 
13 หน้าที่หลักของ จป วิชาชีพ 

สถานประกอบการที่กฎหมายกำหนดให้มี จป 

  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับปิโตรเคมี 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  • อุตสาหกรรมเสื้อผ้า อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือ อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย 
  • อุตสาหกรรมเครื่องหนัง 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้ 
  • อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ 
  • อุตสาหกรรมผลิตยาง
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก 
  • อุตสาหกรรมกระดาษ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ 
  • อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์ หรือ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  • อุตสาหกรรมโลหะ 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่โลหะ 
  • อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 
  • อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า 
  • อุตสาหกรรมเครื่องจักร เครื่องมือกล 
  • อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรือ อุปกรณ์สำหรับยานพาหนะ 
  • อุตสาหกรรมเครื่องประดับ 

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่กฎหมายบังคับให้มีเจ้าหน้าที่ จป ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการทำงานและสถานที่ทำงานนั่นเองครับ 

สรุป

หลังจากอ่านบทความนี้หลายคนน่าจะเข้าใจว่า จปคืออะไร พร้อมทั้งความสำคัญของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยกันแล้ว ทั้งนี้กฎหมายได้มีการกำหนดให้หลาย ๆ อุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ ปจ ก็เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานงาน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ จป ยังสามารถช่วยแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ทำให้ความเสียหายที่ได้รับรุนแรงน้อยลง 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย