ทำความเข้าใจ หลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น” ตามกฎหมาย 2567

ทำความเข้าใจ หลักสูตรอบรม "การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น" ตามกฎหมาย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรถเครน หรือ ปั้นจั่น นายจ้างจำเป็นต้องจัดการฝึกฝนและอบรมปั้นจั่นตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานลง 

วันนี้ผมจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ความสำคัญของหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามที่กฎหมายใหม่กำหนดไว้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ 

ทำไมต้องมีหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ? 

ปั้นจั่นเป็นเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ โดยมีหน้าที่ยกเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องผ่านหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ เพราะถ้าหากเกิดข้อผิดพลาด หรือ อุบัติเหตุก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทันที  

โดยวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้มีการจัดอบรมหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ มีดังนี้ 

  1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกับเครนปั้นจั่นอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 
  3. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินพิกัดการยกวัตถุ สิ่งของโดยใช้หลักการคำนวณที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 
  4. เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจวิธีการตรวจสอบ ซ่อมบำรุง และรักษาปั้นจั่นได้อย่างถูกต้อง 
  5. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินความเสี่ยงและหาวิธีป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรัดกุม  

กฎหมายใหม่เกี่ยวกับหลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนและปั้นจั่น” 

  • ข้อที่ 1 กำหนดให้ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุหรือผู้ควบคุมการใช้งานปั้นจั่น ต้องได้ผ่านการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ.2554 
  • ข้อที่ 2 ประกาศนี้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
  • ข้อที่ 3 กฎกระทรวงเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น บังคับใช้กับปั้นจั่นทุกชนิดที่มีขนาดพิกัดการยกปลอดภัย ตามที่ผู้ผลิตกำหนดตั้งแต่ 1 ตันขึ้นไป 
  • ข้อที่ 4 ความหมายของ ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
  1. ผู้บังคับปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บังคับการทำงานของปั้นจั่นหรือเครนให้ทำงานตามที่วางแผนไว้ 
  2. ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ใช้สัญญาณมือหรือสัญญาณเพื่อสื่อสารกับผู้บังคับปั้นจั่น 
  3. ผู้ยึดเกาะวัสดุ หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ผูก มัด หรือ เกี่ยววัสดุเพื่อใช้ปั้นจั่นยก
  4. ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่มีหน้าที่สั่งการให้ผู้บังคับปั้นจั่นปฏิบัติตาม และมีหน้าที่พิจารณาพิกัดน้ำหนักที่ใช้ยก 
หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ 

หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรมเครนปั้นจั่น ตามที่กฎกระทรวงกำหนด

กฎกระทรวงบังคับให้นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณ ผู้ยึดเกาะวัตถุ และ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น โดยนายจ้างต้องมีการจดบันทึกรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม ชื่อวิทยากร รวมไปถึงวันและเวลาที่ฝึกอบรมเก็บไว้เป็นหลักฐาน หากพนักงานตรวจแรงงานขอตรวจสอบต้องมีหลักฐานแสดงว่าตนได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดไว้ 

โดยหลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรม ได้แก่ 

  1. นายจ้างต้องแจ้งกำหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนการจัดฝึกอบรม 
  2. นายจ้างต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดตามหลักสูตรกำหนดไว้
  3. นายจ้างต้องจัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยกำหนดต้องผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 
  4. นายจ้างต้องออกใบรับรองให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรม 

นอกจากนี้กฎกระทรวงยังกำหนดให้การฝึกอบรมภาคทฤษฎีห้องละไม่เกิน 60 คนต่อวิทยากร 1 คน  และในภาคทดสอบภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย 1 คน และปั้นจั่น 1 เครื่องต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 20 คน 

หลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น”

ในปัจจุบันหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ สามารถแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่นอยู่กับที่ และ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ และทั้ง 2 หลักสูตรจำเป็นต้องมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง 

1. หัวข้อหลักสูตรอบรมเครน ปั้นจั่นชนิด “เคลื่อนที่” 

1.1 ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงข้อ 11  

1.2 ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น 

1.3 ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น 

1.4 ระบบการไฮดรอลิกเบื้องต้น 

1.5 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch 

1.6 วิธีการอ่านค่าตารางพิกัดยก 

1.7 วิธีใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร 

1.8 วิธีเลือกใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ยก 

1.9 วิธีการประเมินน้ำหนักวัตถุ 

1.10 วิธีการผูกมัดและยกเคลื่อนย้ายวัตถุ 

1.11 วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา และ วิธีใช้คู่มือการใช้งาน 

2. หัวข้อหลักสูตรอบรมเครน ปั้นจั่นชนิด “อยู่กับที่”

2.1 ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงข้อ 11  

2.2 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch 

2.3 ระบบไฟฟ้า 

2.4 วิธีใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร 

2.5 วิธีการผูกมัดและยกเคลื่อนย้ายวัตถุ 

2.6 วิธีการประเมินน้ำหนักวัตถุ 

2.7 วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา และ วิธีใช้คู่มือการใช้งาน 

สรุป

หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ถือเป็นข้อบังคับที่นายจ้างและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานกับปั้นจั่น รถเครนควรให้ความสำคัญ และไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุในที่ทำงานได้ 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย