Near Miss สัญญาณเตือนที่อาจสร้างอันตรายในภายภาคหน้า 

Near Miss คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน

คำว่า อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ ทั้ง 3 คำนี้มีความหมายแตกต่างกันออกไป ซึ่งบางคนอาจจะยังคงสับสน และใช้ทั้งคำ 3 นี้ ผิดความหมายอยู่ วันนี้ผมจึงอยากจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก กับ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss คืออะไร พร้อมทั้งอธิบายความแตกต่างระหว่างคำว่า อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ ให้เข้าใจอย่างแท้จริง ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปทำความรู้จักว่า Near Miss คืออะไร พร้อม ๆ กันเลยดีกว่าครับ 

Near Miss คืออะไร 

อย่างแรกผมอยากให้ทุกคนลองทำความรู้จักกับคำว่า เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss กันก่อน โดย Near Miss คือ เหตุการณ์ที่เกือบจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือ เกือบเกิดความเสียหาย แต่เหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ เพราะสามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ อาจจะเป็นเพราะโชคช่วยก็ได้ 

เช่น คุณกำลังขับรถบนถนนที่ลื่น เนื่องจากฝนเพิ่งตกหนักไปด้วยความเร็วเกินมาตรฐานกำหนดไว้ ทำให้รถของคุณเสียหลัก แต่คุณสามารถตั้งสติและประคับประคองรถให้รอดพ้นมาได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือ สร้างความเสียหายใด ๆ เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่า Near Miss หรือ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุนั้นเองครับ 

ซึ่งหลายครั้งที่ Near Miss ถูกมองข้าม เพราะไม่ได้สร้างความเสียหายหรือเดือดร้อนใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าหากเกิด Near Miss ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องบันทึกเหตุการณ์และรายงานให้หัวหน้าทราบ เพื่อเรียนรู้จากสถานการณ์ และคิดวิธีป้องกันอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดในอนาคต 

อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

ระหว่าง อุบัติเหตุ และ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ แตกต่างกันยังไง 

มีหลายคนที่สับสนระหว่าง อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss (เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ) ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เพราะทั้ง 3 คำ มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่การแยกความหมายที่แตกต่างของแต่ละคำได้ จะช่วยให้สามารถคิดวิธีป้องกันและแก้ไขได้ดีกว่าครับ 

โดยความแตกต่างระหว่าง อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss ได้แก่ 

  • อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความบาดเจ็บ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกะทันหันไม่มีได้ทันตั้งตัว และมักมีสาเหตุมาจากความประมาท เลินเล่อ หรือ ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจในหน้าที่และเครื่องจักรที่ใช้ 
  • อุบัติการณ์ คือ เหตุการณ์ที่สร้างความบาดเจ็บ หรือ เสียหาย แต่ไม่รุนแรง และไม่อันตรายใด ๆ ต่อชีวิต เช่น พนักงานลื่นล้มเพราะพื้นเปียก ซึ่งอุบัติการณ์มักมีสาเหตุมาจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย หรือ พฤติกรรมที่ไม่ระมัดระวัง 
  • เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss คือ เหตุการณ์ที่เกือบเกิดอุบัติเหตุแต่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน ทำให้ไม่เกิดความเสียหายหรือได้รับบาดใจใด ๆ ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย หรือ พฤติกรรมที่ประมาท 

ระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติการณ์

ในปัจจุบันสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของลักษณะการเกิดอุบัติการณ์ ได้ทั้งหมด 9 ระดับ ดังนี้ 

  1. A ระดับที่ไม่มีความรุนแรง เป็นเหตุการณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 
  2. B ระดับที่ไม่มีความรุนแรง เกิดอุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แต่ไม่ได้รับความเสียหาย หรือ อาการบาดเจ็บใด ๆ 
  3. C ระดับความรุนแรงต่ำ เกิดอุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แต่ได้รับความเสียหาย หรือ อาการบาดเจ็บเล็กน้อย มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 1,000 บาท
  4. D ระดับความรุนแรงปานกลาง เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอาการ หรือ เกิดความเสียหายเล็กน้อย มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 1,000 – 5,000 บาท 
  5. E ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้ได้รับความเสียหาย หรือ ได้รับบาดเจ็บ ทำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาตัว มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 5,000 – 10,000 บาท 
  6. F ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้ได้รับความเสียหาย หรือ ได้รับบาดเจ็บ ทำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาตัว มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 10,000 – 50,000 บาท 
  7. G ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้เกิดความสูญเสีย เช่น อวัยวะ เกิดการร้องเรียน หรือ มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 50,000 – 80,000 บาท 
  8. H ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่อันตรายร้ายแรงจนเกือบเสียชีวิต เช่น การแก้ยา หัวจหยุดเต้น หรือ เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 80,000 – 100,000 บาท 
  9. I ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ จนทำให้เสียชีวิต หรือ มูลค่าความเสียหายมากกว่า 100,000 บาทขึ้นไป 

ถ้าหากสังเกตที่ข้อ 1 และ ข้อ 2 คือ Near Miss หรือ เหตุการณ์ที่เกือบเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้สร้างความเสียหาย หรือ อันตรายจนได้รับบาดเจ็บ

Near Miss คือสัญญาณที่ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในอนาคตได้

สรุป

ผมจึงขอสรุปให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ ว่า Near Miss คือ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียใด ๆ ไม่ได้รับบาดเจ็บและความเสียหายใด ๆ จากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน แต่จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญและแจ้งหัวหน้าทุกครั้งที่เกิด Near Miss เพื่อจะได้หาหนทางและวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้นั้นเองครับ  

ติดตามข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย