อย่างที่เราทราบกันดีนะครับว่า ‘ความปลอดภัย’ เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานก่อสร้าง พนักงานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับความปลอดภัยจากความเสี่ยงในการทำงานที่อาจกระทบถึงสุขภาพ ชีวิต และความเป็นอยู่ ผู้ประกอบการจึงควรสนับสนุนด้วยนโยบายต่าง ๆ ที่ให้การคุ้มครองแก่พนักงาน และคอยสังเกตการณ์ รักษาความปลอดภัย เพื่อป้องกันอันตรายจากเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที ซึ่งหนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญและไม่ควรละเลยคือ ‘การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย’ นั่นเองครับ
ทำความรู้จัก การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Risk Assessment) คือ ขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัจจัยหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งอาจนำไปสู่อุบัติภัยหรือสถานการณ์ที่ส่งผลต่อชีวิต เช่น ไฟไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย โดยพิจารณาจากความเป็นไปได้และความรุนแรงของเหตุการณ์เหล่านั้น ที่อาจส่งผลเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสภาพแวดล้อม (ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)
ในขณะที่ การบ่งชี้อันตราย (Hazard Identification) คือ กระบวนการสืบค้นถึงอันตรายต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดและที่ซ่อนอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการผลิต จนมีโอกาสเกิดอันตรายขึ้นได้
วัตถุประสงค์ของการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
ประโยชน์ของการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยภายในงานก่อสร้าง เป็นประโยชน์อย่างมากต่อพนักงานและองค์กร โดยมีข้อดีที่โดดเด่น ดังนี้
1. กระตุ้นให้ผู้ประกอบการ พนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
2. พัฒนาและรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีให้แก่องค์กร
3. ช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุและการได้รับบาดเจ็บ
4. เตรียมความพร้อมให้พนักงานสามารถจัดการกับเหตุการณ์ผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กรที่เกิดจากค่าปรับ ค่าชดเชย และค่ารักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ
การประเมินความเสี่ยงในสถานก่อสร้างถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยบริหารความปลอดภัย คุ้มครองพนักงาน ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย และสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจะได้รับประโยชน์อย่างมากในระยะยาว ทั้งในแง่ของสวัสดิภาพพนักงานและความสำเร็จทางธุรกิจ
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
1. กำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการประเมิน
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะเป็นผู้รับผิดชอบในการวางเกณฑ์ที่ใช้ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง ระดับความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และระดับของความเสี่ยงโดยรวม ซึ่งเกณฑ์เหล่านี้มักถูกแบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นตามระดับที่สูงขึ้น
2. ประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง
นำความเสี่ยงและปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ เพื่อประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและความรุนแรงของความเสียหายที่อาจตามมา ซึ่งจะทำให้เห็นระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้องค์กรวางแผนและจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งในด้านบุคลากรและงบประมาณได้อย่างเหมาะสม
3. การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
หลังจากประเมินโอกาสและความถี่ที่จะเกิดอันตรายในงานก่อสร้าง รวมถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อให้ทราบว่าความเสี่ยงใดควรได้รับการจัดการเป็นลำดับแรก
4. การจัดลำดับความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
เมื่อทราบระดับความรุนแรงของอันตรายแล้ว องค์กรสามารถจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง เพื่อกำหนดกิจกรรมควบคุมความเสี่ยงที่สำคัญและอาจส่งผลร้ายแรงได้อย่างเหมาะสม โดยใช้ข้อมูลจากตารางการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่กำหนดขึ้นเป็นเกณฑ์ในการประเมิน
นอกจากนี้การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยยังเป็นขั้นตอนที่ตอบโจทย์แนวคิด ‘อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์’ หรือ KYT และการวิเคราะห์ความปลอดภัย JSA อีกด้วยครับ
สรุป
การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและการบ่งชี้อันตราย เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารความปลอดภัยในสถานที่ก่อสร้าง เพื่อป้องกันการสูญเสียอันมีค่ายิ่งต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญและดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยให้แก่พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- โทร. 02-745-9999
- Line: @EKCRANE
- E-mail: [email protected]