จากสถิติที่ได้มีการรวบรวมพบว่าการทำงานบนนั่งร้าน หรือ การทำงานบนที่สูง มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ค่อนข้างสูง และมากกว่า 50% การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานบนนั่งร้านทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับอาการบาดเจ็บ พิการ และอาจจะรุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิต จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทั้งนายจ้างและเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานบนนั่งร้านต้องให้ความสำเร็จกับกฎหมายนั่งร้าน
วันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก กฎหมายนั่งร้าน ปี 2565 ซึ่งเป็นฉบับอัปเดตใหม่ล่าสุดที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันในปี 2567 ที่จะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน ซึ่งกฎหมายนั่งร้านนั้นถือว่าเป็นกฎหมายที่นายจ้างจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มาดูเหคุผลกันเลยว่าทำไมจึงต้องเป็นเช่นนั้น
ความสำคัญของกฎหมายนั่งร้าน
นายจ้างและเจ้าหน้าที่หลายคนยังคงละเลยความสำคัญของกฎหมายนั่งร้าน และนั่นเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติทำงานครับ เพราะในบางครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ ความเสียหายที่ได้รับมักจะไม่สามารถประเมินค่าได้ เช่น พิการ ร่างกายไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ หรือ การเสียชีวิต
ทีนี้ทุกคนพอน่าจะเข้าใจกันแล้วใช่ไหมครับ ว่าทำไมกฎหมายนั่งร้านจึงมีความสำคัญ เพราะการปฏิบัติตามกฎกระทรวงสามารถช่วยสร้างความปลอดภัยในระหว่างทำงาน ช่วยทำให้เจ้าหน้าที่มีความมั่นใจทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอุบัติเหตุได้ด้วยครับ
สรุปกฎหมายนั่งร้านปีล่าสุด 2567 ที่คนทำงานต้องรู้!
ผมได้สรุปใจความสำคัญของกฎหมายนั่งร้านฉบับล่าสุด โดยเป็นฉบับประจำปี 2565 ที่นายจ้างและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรรู้ไว้ให้แล้ว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.นายจ้างต้องจัดให้มีการคำนวณออกแบบโดยวิศวกร
สำหรับนั่งร้านที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป หรือ นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยวที่มีความสูงเกิน 7.20 เมตร โดยที่ไม่มีคุณสมบัติและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนด กฎกระทรวงบังคับให้นายจ้างต้องจัดให้มีการคำนวณออกแบบโดยวิศวกรเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
2.เจ้าหน้าที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์นิรภัย (PPE)
กฎหมายนั่งร้าน 2565 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานบนนั่งร้าน ต้องสวมใส่ชุดและอุปกรณ์นิรภัยที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงานบนนั่งร้าน และลักษณะอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และกำหนดให้สวมใส่อุปกรณ์นิรภัยตลอดระยะเวลาการทำงาน โดยอุปกรณ์ที่สวมใส่ต้องพร้อมใช้งาน ไม่มีการชำรุดหรือได้รับความเสียหาย
3.จัดอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานบนนั่งร้าน
นายจ้างต้องมีการจัดอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานบนนั่งร้าน หรือ การทำงานบนที่สูง โดยต้องจัดอบรมและชี้แจ้งรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน นอกจากนี้นายจ้างจำเป็นที่จะต้องจัดเตรียมสำเนาเอกสารที่รวบรวมรายละเอียดการทำงานและมาตรการควบคุมความปลอดภัยต่าง ๆ ในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน
4.กำหนดพื้นที่อันตราย
กฎหมายนั่งร้าน 2656 ได้ระบุให้จัดทำรั้วหรือกั้นเขตพื้นที่อันตรายด้วยวัสดุที่เหมาะสมและต้องมีป้ายเตือนว่า “เขตอันตราย” ไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ป้ายเตือนจำเป็นที่จะต้องสามารถมองเห็นได้ทั้งในตอนกลางวันและตอนกลางคืน ซึ่งสำหรับพื้นที่อันตรายต้องมีการกำหนดบุคคลเข้าออก และห้ามไม่ให้บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใกล้ หรือ เคลื่อนย้ายและรื้อถอนวัสดุก่อนได้รับอนุญาต
5.ปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด
สำหรับการประกอบ ติดตั้ง เคลื่อนย้าย ตรวจสอบ และรื้อถอน ต้องปฏิบัติตามรายละเอียดในคู่มือที่ผู้ผลิตกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ถ้าหากไม่มีคู่มือการใช้งานจากผู้ผลิต ในนายจ้างต้องจัดให้วิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเป็นหนังสือ และต้องมีสำเนาให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย
6.ตรวจเช็คสภาพนั่งร้าน
นั่งร้านจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน โดยทุกครั้งที่มีการตรวจสอบต้องมีการทำรายงานผลการตรวจสอบไว้ เพื่อให้พนักงานตรวจสอบความปลอดภัยสามารถตรวจเช็คอีกรอบได้ และต้องมีการตรวจเช็คสภาพนั่งร้านทุกครั้งก่อนใช้งาน
7.ติดตั้งสัญลักษณ์หรือป้ายเตือน
กฎหมายนั่งร้าน 2565 กำหนดให้พื้นที่อันตราย หรือ พื้นที่ที่จะเกิดอาจจะอันตราย ต้องติดตั้งป้ายเตือน หรือ สัญลักษณ์เตือนอันตราย ไม่ว่าจะเป็น ห้ามเข้า ระวังวัสดุตกหล่น ระวังลื่น หรือ เขตอันตราย นอกจากนี้การติดตั้งสัญลักษณ์เตือนยังรวมไปถึงการเตือนให้สวมใส่อุปกรณ์นิรภัย เช่น หมวก รองเท้า ถุงมือ และอื่น ๆ
8.มาตรการป้องกันวัสดุตกหล่น
การทำงานบนนั่งร้าน หรือ การทำงานบนที่สูง มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุวัสดุตกหล่น ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ หรือ พนักงานที่อยู่บริเวณรอบ ๆ มาตรการป้องกันวัสดุตกหล่นจะช่วยลดอันตรายที่เกิดขึ้นได้ โดยกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการป้องกันวัสดุตกหล่นให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน
9.ลักษณะของนั่งร้านที่ไม่สามารถใช้งานได้
ห้ามไม่ให้ลูกจ้างปฏิบัติงานบนนั่งร้านที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- นั่งร้านที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งชำรุด
- นั่งร้านที่มีพื้นลื่น
- นั่งที่อยู่ในสภาพที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้
- นั่งร้านที่อยู่นอกอาคาร ในระหว่างที่เกิดพายุ ลมแรง ฝนตก หรือ ฟ้าผ่า เป็นต้น
ทั้งนี้สำหรับนั่งร้านที่อยู่นอกอาคารที่สภาพอากาศไม่เหมาะสมตาม ข้อ 4 จะถูกยกเว้น ถ้าเป็นการทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาเหตุ แต่ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก
สรุป
สำหรับผู้ที่อ่านมาถึงตรงนี้ ผมหวังว่าทุกคนจะเข้าใจและให้ความสำคัญกับกฎหมายนั่งร้านกันมากขึ้น เพราะอุบัติเหตุสามารถก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างมหาศาลและเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองและคนที่คุณรัก ทั้งนี้นายจ้างและเจ้าหน้าที่ทุกคนควรปฏิบัติตามกฎหมายนั่งร้านอย่างเคร่นครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและส่วนรวมครับ
สุดท้ายนี้ถ้าหากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ
เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- โทร. 02-745-9999
- Line: @EKCRANE