การป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน (3E) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

การป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน (3E) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

การทำงานในทุกอาชีพสามารถเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือความเสี่ยงต่าง ๆ มากมายที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ ไม่ใช่แค่เพียงอาชีพที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างเท่านั้น โดยความเสี่ยงของแต่ละสายงานก็จะแตกต่างกันออกไป และถ้าหากเกิดการประมาทเลินเล่อก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตของตัวเองและบุคคลรอบข้างได้ครับ ดังนั้นจึงมีกฎหมายออกมาปกป้องและป้องกันอุบัติเหตุในการทำงานที่อาจจะเกิดขึ้น 

และวันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน หรือที่หลายคนเรียกกันว่า หลักการ 3E ว่าจริง ๆ แล้วหมายถึงอะไร และช่วยเพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงานได้อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ ว่าการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอนมีอะไรบ้าง 

การป้องกันอุบัติภัย 3E ขั้นตอน คือ 

การป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน หรือ หลักการ 3E คือ หลักการที่ใช้เพิ่มความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ปัจจัยที่จะช่วยให้การป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน มีประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องได้รับแรงสนับสนุนจากทุกฝ่ายในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน  

โดยหลักการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน จะเสริมสร้างความปลอดภัย และ ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดในโรงงาน พร้อมทั้งช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย 

ทำความเข้าใจสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ 

สาเหตุของอุบัติเหตุสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ 

1. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น 

  • ความประมาทเลินเล่อ
  • ไม่ปฏิบัติตามกฎและมาตรการความปลอดภัยที่กำหนดไว้
  • นิสัยที่ความชอบเสี่ยง 
  • การปฏิบัติงานที่ไม่ถูกตามขั้นตอน 
  • การปฏิบัติงานโดยไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย 
  • การแต่งกายไม่เหมาะสมกับลักษณะงาน
  • การปฏิบัติงานโดยที่สภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เจ็บแขน ปวดขา หรือ ไม่สบาย เป็นต้น 

2. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น 

  • การวางผังโรงงานที่ไม่ถูกต้อง 
  • การวางอุปกรณ์และสิ่งของไม่เป็นระเบียบ 
  • อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรชำรุด แต่ฝืนใช้งาน 
  • ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด 
  • สภาพสถานที่ไม่เหมาะกับการทำงาน เช่น พื้นของโรงงานมีเศษวัสดุแหลมคม มีน้ำ หรือ น้ำมันบนพื้น 
  • บริเวณที่อาจจะเกิดการพลัดตกจากที่สูง แต่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย 

ดังนั้นแล้วเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องมีการนำหลักการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอนมาปรับใช้กับการงานทำนั่นเองครับ

ปัจจัยที่ต้องใช้พิจารณาในการรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน 

เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน มีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องใช้พิจารณาเพื่อรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน 

1. Engineering 

E แรก คือ การใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ หมายถึง ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการทำงานและการคำนวณต่าง ๆ เช่น การคำนวณน้ำหนักวัตถุที่ใช้ปั้นจั่นยก การติดตั้งเครื่องจักรในพื้นที่สามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงการคำนวณระบบไฟฟ้า ระดับแสงสว่าง ระดับเสียง และการระบายอากาศที่เหมาะสมในโรงงาน 

2. Enforcement 

E ที่สอง คือ การออกกฎและข้อบังคับ หมายถึง การกำหนดมาตรการ ข้อบังคับ กฎระเบียบ และวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้องและปลอดภัยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตาม ทั้งนี้ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่มีเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้ จำเป็นต้องมีบทลงโทษเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของมาตรการและกฎที่ตั้งเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน และเพื่อไม่ให้มีการลอกเลียนแบบ

3. Education 

E สุดท้าย คือ การจัดอบรมและการให้ความรู้ หมายถึง นายจ้างต้องมีการจัดฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างปลอดภัยให้กับพนักงานทุกคน ไม่ว่าจะเป็น หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยถือว่าการจัดอบรมเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงาน พร้อมทั้งช่วยหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่  

ทั้งนี้ทุกคนสามารถนำหลักการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการทำงานของคุณได้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และ ยังถือว่าเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงอีกด้วยครับ

สรุป 

ผมจึงขอสรุปสั้น ๆ ว่า การป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน จำเป็นต้องทำควบคู่กันไปและให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนที่ 1 การใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์เพื่อวางแผนและคำนวณ ขั้นตอนที่ 2 การออกกฎ ข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติงานที่รัดกุมเพื่อความปลอดความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม และขั้นตอนที่ 3 การให้รู้จัดอบรมความปลอดภัยในที่ทำงาน จึงจะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นและช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

สุดท้ายนี้ใครที่ไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย