Checklist มาตรการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

checklist การทำงานบนที่สูง

การทำงานบนที่สูงและการทำงานบนนั่งร้านที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานบำรุงรักษา งานสายส่งไฟฟ้า งานทำความสะอาด การช่วยเหลือกู้ภัย หรือแม้กระทั่งการทำงานในหลุม บ่อ เป็นต้น งานที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูงหรือพื้นที่ต่างระดับนี้ จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับการอบรม ฝึกฝน ให้มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะที่ปฏิบัติงานบนที่สูงและปฏิบัติให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยเราได้ทำ checklist การทำงานบนที่สูง มารวบรวมไว้ให้ที่นี่แล้ว

skyscraper

การทำงานบนที่สูง คือ

อย่างแรกเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า “การทำงานบนที่สูง” หมายถึงอะไร การทำงานบนที่สูง คือ การทำงานที่ตัวผู้ปฏิบัติงานอยู่บนพื้นที่ที่สูงจากพื้นดิน หรือสูงจากพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป หรือทางต่างระดับลงไปมากกว่า 2 เมตรก็ตาม ที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานพลัดตกได้ ด้วยความที่การทำงานบนพื้นที่สูงนั้นมีความเสี่ยงสูงที่ตัวผู้ปฏิบัติงานจะเกิดอันตรายต่อชีวิต เช่น พลัดตก จึงทำให้มีการประกาศกฎหมายออกมาบังคับใช้สำหรับการทำงานบนที่สูงให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน และ ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานบนที่สูง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อบังคับสำหรับการทำงานบนที่สูงตามที่กฎหมายกำหนด

checklist ข้อบังคับการทำงานบนที่สูง มีดังนี้

  1. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการอบรมการทำงานบนที่สูง หรือ ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบังคับและขั้นตอนในการทำงานบนที่สูงเพื่อความปลอดภัย 
  2. นายจ้างจะต้องมีเอกสารประกอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE) ที่ออกด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ลูกจ้างอ่านและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 
  3. นายจ้างจะต้องเตรียมอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE) ที่ได้รับมาตรฐาน และพร้อมใช้งาน 100% ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็กหมวกเซฟตี้ และเครื่องมือชนิดอื่นๆ และต้องบังคับใช้อย่างเคร่งครัด 
  4. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการเตรียมความพร้อม ตรวจสอบ และเตรียมอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย เช่น การตรวจสอบว่าอุปกรณ์พร้อมใช้งานก่อนการทำงานทุกครั้ง 
  5. นายจ้างจะต้องจัดให้มีอุปกรณ์กันตก เช่น ราวกั้น รั้วกั้น หรือตาข่ายต่าง ๆ ในกรณีที่มีการทำงานบนพื้นที่สูง 4 เมตรขึ้นไป แต่แนะนำว่าควรมีไม่ว่าจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม 
  6. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการติดตั้งนั่งร้านที่ได้มาตรฐาน
  7. นายจ้างจะต้องจัดให้มีฝาปิดช่องหรือปล่องต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีโอกาสตกลงไปได้ โดยฝาปิดจะต้องเป็นฝาปิดที่ได้มาตรฐาน 
  8. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการติดตั้งนั่งร้านในกรณีที่พื้นที่ปฏิบัติงานมีความลาดชันเกิน 15 องศาขึ้นไป
  9. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการผูกยึดอุปกรณ์ในการทำงานบนที่สูง เพื่อป้องกันไม่ให้ตกลงมาและอาจจะก่อเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่ข้างล่าง 
  10. นายจ้างจะต้องบังคับใช้บันไดที่เคลื่อนย้ายได้ พาดทำมุม 75 องศาเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน 
  11. หากใช้รถเครน จะต้องบังคับใช้แผ่นเหล็กเพื่อมารองขาช้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอ่อนตัวแล้วทำให้รถเครนล้มตัวลงมา โดยคนขับและผู้ให้สัญญาณจะต้องผ่านการอบรม และตัวรถเครนจะต้องผ่านการตรวจสอบเครนจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและมีใบอนุญาต

กฎหมายพื้นฐานสำหรับผู้ที่ทำงานบนที่สูง

กฎพื้นฐานสำหรับผู้ที่ทำงานบนที่สูงที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีดังนี้

  1. ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านหลักสูตรอบรมการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัยหมดทุกคน
  2. ทุกคนต้องบังคับสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ในขณะทำงานบนที่สูง
  3. สวมใส่อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเฉพาะในการทำงาน เช่น ใส่หน้ากากกันฝุ่นเพื่อป้องกันไอควันจากการวัสดุก่อสร้าง
  4. ก่อนผู้ปฏิบัติงานจะดำเนินการก่อสร้างบนพื้นที่สูง ควรหาจุดยืนที่แข็งแรงก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
  5. นายจ้างต้องเตรียมแผนการช่วยเหลือ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุขณะการก่อสร้างแก่ลูกจ้างได้

กฎหมายการทำงานบนที่สูงที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือกันกับการใช้บันได มี 5 ข้อปฏิบัติ ดังนี้

  1. บันไดที่ใช้ในการปีนขึ้นไปจะต้องถูกยึดเหนี่ยวแน่น ไม่โยกในขณะการปีนขึ้นไป
  2. สวมใส่ถุงมือเซฟตี้ และรองเท้าเซฟตี้ขณะขึ้นบันไดทุกครั้ง
  3. ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ใช้บันไดร่วมกัน ต้องบังคับการขึ้นและลงทีละคนเท่านั้น
  4. ในขณะผู้ปฏิบัติงานกำลังขึ้นบันได ให้จับราวบันไดทั้งสองข้างด้วยความเร็วปกติ
  5. ผู้ปฏิบัติงานที่กำลังขึ้นบันไดต้องไม่พบอุปกรณ์พกพาติดมือในขณะปีน หากจำเป็นต้องพกพาให้ใส่ในกระเป๋าติดตัวเท่านั้น

กฎหมายอีกฉบับที่ประบังคับใช้กับสถานประกอบกิจการและนายจ้าง คือ

  1. นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือ คู่มือการทำงานนั่นเอง โดยก่อนเริ่มทำงานเราจะต้องทำการอบรมให้กับพนักงานก่อนเริ่มทำงานบนที่สูง อาจจะใช้การประเมินอันตรายด้วย JSA มาทำเป็นคู่มือก็ได้เช่นกัน
  2. นายจ้างและผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามคู่มือการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานบนที่สูงอย่างเคร่งครัด
  3. จะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตก เข็มขัดนิรภัย หรือ PPE ตลอดระยะเวลาที่ทำงานบนที่สูง รวมทั้งจัดให้มีส่วนประกอบของระบบกันตกดังนี้

3.1 จุดยึดที่แข็งแรง (A)

3.2 เข็มขัดกันตกยึดกับร่างกาย (B)

3.3 อุปกรณ์เชื่อมต่อในแต่ละส่วนที่ได้มาตรฐานแข็งแรง ©

Working at height

ข้อกำหนดเพื่อใช้สำหรับการขึ้นทำงานบนที่สูงให้ปลอดภัย

checklist ข้อกำหนดการขึ้นทำงานบนที่สูงให้ปลอดภัย มีดังต่อไปนี้

  • ห้ามทำงานบนที่สูงเพียงลำพังคนเดียว
  • ห้ามวิ่งหรือเคลื่อนไหวตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อทำงานบนที่สูงกว่าพื้นดินเกิน 2 เมตร
  • ขณะทำงานงาน ห้ามโยนสิ่งของหรือเครื่องมือให้แก่ผู้ที่อยู่บนที่สูงอย่างเด็ดขาด
  • เมื่อทำงานอยู่บนที่สูง ห้ามทิ้งสิ่งของหรือเครื่องมือลงสู่เบื้องล่างโดยเด็ดขาด
  • การตัด การเชื่อมบนที่สูง ให้ตรวจสอบและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิง และสารไวไฟทุกชนิดในพื้นที่เบื้องล่างก่อน รวมถึงขณะตัดหรือเชื่อม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง
  • ผู้ควบคุมงานต้องดูแลไม่ให้ใครเดินผ่านเบื้องล่างขณะทำงานบนที่สูง
  • หากจำเป็นต้องยกแฮงเกอร์แขวนท่อเคลื่อนย้าย ควรทำการเคลื่อนที่ภายในเส้นทางบริเวณเขตก่อสร้างเท่านั้น
  • ขณะยืนบนหลังคากระเบื้องและกระจก ควรวางน้ำหนักเท้าให้เบาที่สุด และห้ามเหยียบที่แผ่นกระเบื้องโดยตรง

อันตรายที่พบได้บ่อยเมื่อทำงานบนที่สูง

การทำงานบนที่สูงมีอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน เนื่องจากเป็นงานที่มีความเสี่ยง โดยอันตรายที่พบได้บ่อย คืออันตรายจากการพลัดตกจากที่สูง ที่อาจส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้ และอันตรายอื่นๆ จากการทำงานบนที่สูงยังรวมถึง

  • วัตถุที่ตกลงมาจากที่สูง ที่อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ด้านล่างได้รับบาดเจ็บจากวัตถุนั้น
  • การยุบตัวของโครงสร้างที่อาจพังทลายลงมาทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บ
  • อันตรายจากไฟฟ้าช็อต ที่เกิดจากสายไฟฟ้าที่อยู่บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • การบาดเจ็บจากการลื่นไถล สะดุด ล้ม บนพื้นบริเวณที่ทำงาน
  • การบาดเจ็บจากการขนย้ายเครื่องมือและอุปกรณ์

นอกจากอันตรายที่กล่าวไปข้างต้น ในการทำงานบนที่สูงอาจมีอันตรายอื่นๆ ที่แอบแฝงอยู่ เพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างเหมาะสม ซึ่งรวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันการตก เช่น เข็มขัดนิรภัยและเชือกช่วยชีวิต การใช้ราวกั้น ตาข่ายนิรภัย และมาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆ และต้องแน่ใจว่าผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมในการใช้อุปกรณ์อย่างปลอดภัย

สรุป

การทำงานบนที่สูง มีความเสี่ยงจากการพลัดตก จนทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องได้รับการอบรมให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย และนอกจากการอบรมแล้ว นายจ้างยังต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เพียงพอ และต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่แค่เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงาน แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้อื่นด้วยนั่นเอง เพราะการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยอย่างจริงจังและการใช้มาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด สามารถสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บได้  หากสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความปลอดภัยก็จะสามารถนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย