ในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ระบุให้นายจ้างต้องการตรวจสอบปั้นจั่น หรือที่หลายคนเรียกกันง่าย ๆ ว่า Load Test ตามน้ำหนักที่กำหนดไว้ แต่บางคนอาจจะยังสงสัยว่า Load Test คืออะไร แล้วสำคัญยังไง ทำไมถึงขั้นต้องออกกฎหมายบังคับให้นายจ้างทุกคนปฏิบัติตาม
วันนี้ผมจะมาช่วยไขข้อสงสัยให้กับทุกคน ว่าจริง ๆ แล้ว Load Test คืออะไร ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญ การทำ Load Test ต้องตรวจสอบและมีข้อกำหนดอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ ด้วยครับ
Load Test คือ
อย่างแรกผมว่าทุกคนควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจคำว่า Load Test กันก่อนดีกว่าครับ
Load Test คือ การทดสอบรถเครนหรือปั้นจั่น ว่ารถเครนคันนั้น ๆ สามารถรองรับน้ำหนักได้ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้หรือไม่
ซึ่งการทำ Load Test มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานและทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และตามประกาศที่ได้มีการกำหนดไว้ การทำ Load Test ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิศวกรที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการทดสอบปั้นจั่น หรือ รถเครน เท่านั้น พร้อมทั้งต้องมีการบันทึกข้อมูลเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
เครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำ Load Test ปั้นจั่นและเครน
เครื่องมือที่ต้องใช้สำหรับการทำ Load Test ได้แก่
- รถเครน หรือ ปั้นจั่นที่ต้องการทำการทดสอบ
- วัตถุที่ใช้สำหรับการทำ Load Test เช่น สินค้า เหล็ก ลูกตุ้มน้ำหนักเหล็กสำหรับใช้ทดสอบ และวัสดุทั่วไป ที่สามารถหาได้หน้างาน ทั้งนี้สามารถใช้ได้หมดเลยครับ เพียงแค่ขอให้เป็นวัตถุที่สามารถยกหิ้วได้ และมีน้ำหนักเพียงพอตามที่มาตรฐาน Load Test กำหนดไว้
- เอกสารรายงานการทดสอบ
ข้อกำหนดสำหรับการทำงาน Load Test
ระหว่างที่ทำ Load Test ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากวิศวกรเท่านั้น และน้ำหนักที่ใช้สำหรับทำ Load Test รถเครน ได้แก่
1. รถเครนที่ผ่านการใช้งานแล้ว
สำหรับรถเครนที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ต้องทดสอบว่าสามารถรองรับน้ำหนักที่ 1 – 1.25 เท่าของพิกัดยกปลอดภัยได้หรือไม่
ส่วนรถเครนที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ต้องทดสอบว่าสามารถรองรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดยกปลอดภัยได้
2. รถเครนใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านการใช้งาน
สำหรับรถเครนใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน ให้ทดสอบว่าสามารถรองรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักใช้งานจริงสูงสุดได้หรือไม่ แต่น้ำหนักที่ใช้ทดสอบจะต้องไม่เกินพิกัดยกปล่อยภัยที่ผู้ผลิตกำหนดไว้
ทั้งนี้ในกรณีที่รถเครนไม่ได้มีการกำหนดพิกัดยกปล่อยภัยจากผู้ผลิตจะต้องให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกปล่อยภัยและพิกัดยกสำหรับทำการทดสอบ
วิธีการตรวจสอบ Load Test รถเครน
สำหรับการวิธีการทำ Load Test ก็ไม่ได้ยุ่งยากเลยครับ เพียงแค่ใช้รถเครนที่ต้องการทดสอบยกวัตถุตามน้ำหนักที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งรถเครนแต่ละชนิดก็จะกำหนดน้ำหนักวัตถุที่ต้องยกแตกต่างกันออกไปตามที่ผมได้บอกไปก่อนหน้านี้ (สามารถใช้ได้ทั้งน้ำหนักจริง หรือ ทดสอบด้วยน้ำหนักจำลองก็ได้เช่นเดียวกันครับ) ซึ่งในปัจจุบันก็มีวิศวกรบางคนที่ไม่ได้ทำ Load Test ตามน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยใช้การเปรียบเทียบโมเมนต์สำหรับการยกแทน เพราะยิ่งน้ำหนักมากก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงตาม
แต่ผมไม่แนะนำวิธีนี้นะครับ เพราะการเปรียบเทียบโมเมนต์สำหรับการยกไม่สามารถเป็นตัวแทนการทำ Load Test ได้อย่างแท้จริง และการทำ Load Test ที่ไม่ถูกต้องและไม่ครอบคลุม จะทำให้วิศวกรไม่สามารถทราบปัญหาของรถเครนคันนั้น ๆ ได้
สรุป
การทำ Load Test ที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้จะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานและช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน นอกจากนี้การทำ Load Test ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบำรุงรักษารถเครนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานและสามารถใช้งานได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น
ซึ่งข้อสำคัญในการทำ Load Test คือ น้ำหนักวัตถุ และทุกขั้นตอนการทดสอบต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิศวกรที่มีความชำนาญ และผมแนะนำให้ทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัยแบบง่าย ๆ คือ ทดสอบน้ำหนักเท่าไหร่ ก็ใช้รถเครนยกวัตถุที่มีน้ำหนักไม่เกินเท่านั้น
สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
- โทร. 02-745-9999
- Line: @EKCRANE
- E-mail: [email protected]