รู้จัก PPE 8 อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ตัวช่วยเสริมความปลอดภัยไซต์ก่อสร้าง

รู้จัก PPE 8 อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ตัวช่วยเสริมความปลอดภัยไซต์ก่อสร้าง

เมื่อต้องทำงานในสายอาชีพที่อาจเจอกับอันตรายจากสถานที่ทำงานในทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น ของมีคม เครื่องจักรกล การกระเด็นของพวกโลหะ รังสี สารเคมี กระแสไฟฟ้า เป็นต้น การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือที่รู้จักกันในชื่อ “PPE” จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่ทำงานในสายอาชีพเหล่านี้ 

ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ 8 อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล กันให้มากขึ้นว่ามีอะไรบ้าง ทำไมจำเป็นถึงต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล 

ทำความรู้จักอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ PPE คืออะไร

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล คือ อุปกรณ์ที่เอาไว้สวมใส่เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยจากสถานที่ทำงาน ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพ ซึ่งอาจเกิดจากการสัมผัสสารเคมี กระแสไฟฟ้า รังสี เครื่องกล หรืออันตรายอื่น ๆ มีชื่อเต็มว่า Personal Protective Equipment หรือตัวย่อที่คุ้นหู “PPE” นั่นเอง

ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่สวมใส่ต้องได้รับการออกแบบที่ได้คุณภาพ ปลอดภัย ผ่านมาตรฐาน และควรได้รับการดูแลรักษาที่สะอาด นอกจากนี้การสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลควรพอดีกับตัวผู้สวมใส่ ไม่หลวมหรือแน่นจนเกินไป

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

ทำไมต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายอาชีพอุตสาหกรรมการก่อสร้าง จะช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ต่อร่างกายและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้ เพราะถึงแม้ว่าจะระมัดระวังตัวเองแค่ไหนก็อาจเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดได้เสมอ

1. ช่วยป้องกันการบาดเจ็บต่อร่างกายและอันตรายต่อสุขภาพ

แน่นอนว่าเหตุผลสำคัญอันดับแรกของการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล คือ ช่วยป้องกันการบาดเจ็บต่อร่างกาย และป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อตัวคุณเอง จึงควรสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลตามนโยบายด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลยังช่วยป้องกันไม่ให้คุณต้องรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของตัวคุณเองอีกด้วย โดยนายจ้างหรือบริษัทจะเป็นผู้คุ้มครองหรือรับผิดชอบในส่วนนี้เอง 

2. ช่วยป้องกันโรคภัยระยะยาวที่อาจสั่งสมจากการทำงา

การสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลยังสำคัญมาก สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพในสายอุตสาหกรรมที่เสี่ยงสัมผัสอยู่กับสารเคมี รังสี น้ำมัน สารระเหย หรือสารประกอบต่าง ๆ ที่สามารถสั่งสมในร่างกายและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพคุณในระยะยาวได้ 

3. สามารถเสริมคุณภาพให้กับงานที่ทำ

เมื่อคุณได้สวมใส่ชุด PPE หรืออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน จะช่วยเสริมให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เนื่องจากคุณจะรู้สึกว่ามีความปลอดภัยมากขึ้น ช่วยลดอาการบาดเจ็บหรืออันตรายได้

8 อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล PPE มาตรฐานมีอะไรบ้าง

8 อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล PPE มาตรฐานมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล PPE มาตรฐานนั้นจะมีด้วยกันทั้งหมด 8 ชิ้น จะมีอะไรบ้าง แต่ละประเภทใช้งานต่างกันอย่างไร สามารถอ่านรายละเอียดดังนี้

  1. หมวกนิรภัยป้องกันศีรษะ (Head Protection)

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลชนิดหมวกนิรภัยป้องกันศีรษะ เป็นอุปกรณ์ PPE พื้นฐานที่ช่วยป้องกันของแข็งตกกระแทกใส่ศีรษะ ส่วนใหญ่แล้วหมวกนิรภัยมักทำมาจากพลาสติกแข็ง ใยแก้วหรือไฟเบอร์กลาส หรือโลหะ เป็นต้น และจำเป็นจะต้องมีสายรัดคางที่สามารถปรับระดับให้พอดีกับศีรษะผู้ปฏิบัติงาน

  1. แว่น หรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตาและใบหน้า (Eye and Face Protection)

การสวมใส่แว่น หรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตาและใบหน้าที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ จะช่วยลดความเสี่ยงได้รับอันตรายจากการปฏิบัติงานได้ เช่น มีเศษวัสดุกระเด็นเข้าตา แสงเซอร์ หรือสารเคมีต่าง ๆ กระเด็นเข้าตา ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลประเภทแว่น สามารถแบ่งออกตามการใช้งานได้เป็น 4 ประเภทหลัก คือ 

2.1 แว่นตานิรภัยทั่วไป เป็นแว่นตาที่มีระดับการป้องกันต่ำ แนะนำให้ใช้กับสารเคมีที่ไม่ทำลายดวงตาเท่านั้น 

2.2 แว่นตากันสารเคมี เป็นแว่นตาที่ป้องกันสารเคมีต่าง ๆ กระเด็นเข้าตา ควรพิจารณาเลือกซื้อตามที่หน่วยงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมแนะนำ

2.3 แว่นตานิรภัยแบบกันแสงเลเซอร์ เลนส์แว่นจะช่วยป้องกันแสงเลเซอร์กระทบที่ดวงตา

2.4 แว่นตากันกระแทก เป็นแว่นตาที่ช่วยป้องกันเศษชิ้นส่วนที่มีโอกาสกระเด็นเข้าตา

  1. ที่อุดหูป้องกันระบบการได้ยิน

สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานที่มีสภาพแวดล้อมเสียงดังอยู่ตลอดเวลามากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือมีค่าเสียงที่ดังเกินกว่ามาตรฐานกำหนด จำเป็นจะต้องใช้เครื่องป้องกันเสียงโดยเฉพาะ หรือที่อุดหู เพราะอาจเกิดอันตรายต่อแก้วหูและกระดูกหูได้

  1. ถุงมือ หรืออุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection)

การเลือกถุงมือป้องกันสารเคมีต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ผู้ปฏิบัติงานควรเลือกใช้ประเภทถุงมือให้เหมาะกับการทำงาน เช่น ถุงมือยางไนไตรแบบใช้แล้วใช้แล้วทิ้ง เหมาะกับงานที่อาจสัมผัสกับสารเคมีอันตราย หรือถุงมือฉนวนชนิดทนความร้อน เหมาะสำหรับการทำงานกับอุปกรณ์ที่มีความร้อน อย่างเปลวไฟ อ่างน้ำมัน เป็นต้น

นอกจากนี้ควรเปลี่ยนถุงมือเป็นระยะ ๆ เพราะอาจมีการเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน และเพื่อให้มั่นใจว่ามีประสิทธิภาพการป้องกันอย่างเพียงพอ

  1. ชุดอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (Body Protection)

ชุด PPE หรือชุดอุปกรณ์ป้องกันร่างกายมีให้เลือกหลากหลายแบบตามความเหมาะสมของการปฏิบัติงาน เช่น 

  • ชุด Traditional ชุดแบบดั้งเดิมใช้สำหรับปกป้องผิวหนังจากสิ่งสกปรก หรือสารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย 
  • ชุด Flame Resistant ชุดป้องกันการติดไฟ สามารถใช้ทำงานกับสารเคมีที่อาจระเบิด หรือสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับอากาศและน้ำได้
  1. อุปกรณ์ป้องกันเท้า

ผู้ที่จำเป็นต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อันตราย อย่างไซต์ก่อสร้าง พื้นที่เกี่ยวกับไฟฟ้า อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลประเภทรองเท้าเซฟตี้ จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับนิ้วเท้า ข้อเท้าเราได้ รวมถึงช่วยลดการกระแทกอีกด้วย

  1. หน้ากากป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Protection)

การเลือกใช้หน้ากากป้องกันระบบทางเดินหายใจ มักจะถูกใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ใช้จึงจำเป็นจะต้องผ่านการอบรมรายบุคคลและประเมินโดยหน่วยงานที่ดูแลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

สำหรับหน้ากากป้องกันระบบทางเดินหายใจมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น หน้ากากชนิด N-95 ใช้ป้องกันฝุ่น ควัน หรือละอองต่าง ๆ , หน้ากากครึ่งหน้า ช่วยในการฟอกอากาศ ป้องกันอนุภาคต่าง ๆ และหน้ากากแบบเต็มใบหน้า จะช่วยป้องกันได้มากกว่าหน้ากากครึ่งหน้า สามารถใช้ในสถานที่ที่มีโรคติดต่อผ่านทางอากาศได้

  1. อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง (Falling Protection Equipment)

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงอย่างเข็มขัดนิรภัย จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่สูง เสี่ยงอันตรายจากการพลัดตก อย่างเช่น งานเช็ดกระจกบนตึกอาคาร งานช่างไฟ เป็นต้น ซึ่งก่อนจะสวมใส่เข็มขัดนิรภัยจำเป็นจะต้องตรวจเช็กให้ละเอียดถี่ถ้วน ทั้งตัวล็อก สายรัดลำตัว จุดยึด ต่าง ๆ 

สรุป

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ PPE เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นมาก ๆ ในสายงานที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเกิดอันตราย เพราะสามารถช่วยป้องกันอันตรายที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดกับร่างกายและสุขภาพของคุณได้ 

และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ความสำคัญของหมวกนิรภัย และการเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน

ความสำคัญของหมวกนิรภัย และการเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน

สำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างคงไม่มีใครไม่รู้จักกับ หมวกนิรภัย ที่เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคล เพราะหมวกนิรภัยเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์เซฟตี้ที่สำคัญที่สามารถช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี วันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับประเภทของหมวกนิรภัย วิธีการใช้หมวกนิรภัยที่ถูกต้อง พร้อมทั้งวิธีการดูแลรักษ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ 

หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ สำคัญอย่างไรต่องานก่อสร้าง 

หมวกนิรภัย หรือที่หลายคนเรียกว่า หมวกเซฟตี้ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคลที่ใช้สำหรับปกป้องอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับศีรษะ เช่น สิ่งของหล่นกระแทกศีรษะ หรือ ลื่นล้มแล้วศีรษะไปกระแทกกับพื้น ซึ่งคุณสมบัติของหมวกนิรภัยนอกจากจะต้องมีความแข็งแรงและทนทานต่อแรงกระแทกแล้ว จำเป็นที่จะต้องสามารถป้องกันการเจาะทะลุ และสามารถกันไฟฟ้าได้อีกด้วย 

โดยหมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอันตรายจากสิ่งของและวัตถุต่าง ๆ หล่นใส่ศีรษะ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจำเป็นที่จะต้องสวมใส่หมวกนิรภัยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานตามข้อบังคับและกฎที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น 

หมวกนิรภัย

ประเภทของหมวกนิรภัย 

ประเภทของหมวกนิรภัยสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของหมวกและการใช้งาน ดังนี้ 

  1. หมวกนิรภัยที่มีปีกรอบ หมวกนิรภัยประเภทนี้จะมีขอบหมวกยื่นออกมารอบตัวหมวก ช่วยสามารถป้องกันอันตรายได้จากทุกทิศทาง โดยหมวกนิรภัยที่มีปีกรอบจะเหมาะกับที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสายไฟ ไฟฟ้า หรือ ช่างไฟฟ้า 
  2. หมวกนิรภัยที่มีกระบังด้านหน้า หมวกนิรภัยประเภทนี้จะมีปีกเฉพาะบริเวณด้านหน้า ด้านข้าของตัวหมวกอาจจะเป็นขอบนูนก็ได้ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบปรับเลื่อน ปรับหมุน หรือแบบรองใน สำหรับหมวกนิรภัยที่มีกระบังด้านหน้าเหมาะกับผู้ที่ปฏิบัติงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง 

การทดสอบคุณสมบัติของหมวกนิรภัย 

หมวกนิรภัยจำเป็นต้องได้รับมาตรฐาน มอก.368-2554 โดยผ่านการทดสอบจากสถาบันที่เชื่อได้ ซึ่งการทดสอบคุณสมบัติของหมวกนิรภัยมีทั้งหมด ดังนี้ 

  1. เปลือกของหมวกนิรภัยต้องไม่มีรอยแตกร้าว ผิวเปลือกหมวกต้องเกลี้ยง ไม่มีเสี้ยน ส้น หรือแหลมคม 
  2. หมวกนิรภัยต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 440 กรัม 
  3. แรงส่งผ่านสูงสุดในแต่ละใบต้องไม่เกิน 4,450 นิวตัน และ แรงส่งผ่านเฉลี่ยต้องไม่เกิน 3,780 นิวตัน
  4. หมวกนิรภัยต้องไม่ลุกติดไฟ หรือ ในกรณีที่หมวกนิรภัยลุกติดไฟต้องสามารถดับได้เองภายใน 5 วินาที 
  5. หมวกนิรภัยต้องสามารถป้องกันการเจาะละทุได้ 
  6. สายรัดคางต้องมีความกว้างไม่ร้อยกว่า 13 มิลลิเมตร 
  7. สายรัดศีรษะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 13 มิลลิเมตร และต้องสามารถปรับได้ 
การทดสอบ หมวกนิรภัย

ข้อแนะนำในการใช้หมวกนิรภัย 

  1. ก่อนใช้งานหมวกนิรภัยจำเป็นต้องมีการตรวจเช็กสภาพทุกครั้ง เพื่อดูว่าหมวกนิรภัยอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่ 
  2. ห้ามนำหมวกนิรภัยที่ชำรุด หรือ อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งานมาใช้โดยเด็ดขาด 
  3. พลาสติก ABS จะมีอายุการใช้งานสูงกว่าพลาสติกชนิดอื่น ๆ ที่นำมาผลิตหมวกนิรภัย 
  4. ชิ้นส่วนของหมวกนิรภัย ไม่ว่าจะเป็น สายรัดศีรษะ สายรัดค้าง แถบซับเหงื่อ หรือ รองใน ควรเปลี่ยนใหม่ทุก ๆ 6 – 12 เดือน เพื่อความปลอดภัย และสุขอนามัยที่ดีของผู้ใช้งานทุกคน 

วิธีดูแลหมวกนิรภัย 

วิธีการดูแลหมวกนิรภัยเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานควรใส่ใจ เพราะการดูแลและเก็บรักษาที่ถูกวิธีที่สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของหมวกนิรภัยได้ครับ ซึ่งวิธีดูแลหมวกนิรภัยที่ถูกวิธี ได้แก่ 

  1. หลังจากที่ใช้งานหมวกนิรภัยเสร็จแล้ว ควรนำมาทำความสะอาดสามารถใช้น้ำสบู่ หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพื่อทำความสะอาด โดยแนะนำให้ทำความสะอาดหมวกนิรภัยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2- 3 ครั้ง หรือ ทุกวัน เฉพาะบริเวณแถบซับเหงื่อ เพื่อสุขอนาภัยที่ดี 
  2. หลีกเลี่ยงการนำหมวกนิรภัยไว้กลางแดด หรือ ที่ที่มีอุณหภูมิสูง เพราะอาจจะทำให้วัสดุพลาสติกเสื่อมสภาพเร็วขึ้น นอกจากนี้แสงแดด และ อุณหภูมิที่สูงจนเกินไปยังส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของหมวกนิรภัยอีกด้วย
  3. ห้ามนำหมวกนิรภัยที่มีรอยแตกร้าวมาใช้งาน เพราะประสิทธิภาพในการป้องกันและลดความรุนแรงจากอันตรายที่อาจจะเกิดจะลดลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้สวมใส่ 
  4. ห้ามโยนหมวกนิรภัยลงจากที่สูงเพราะอาจจะทำให้หมวกนิรภัยเกิดรอยร้าว หรือ แตกหักได้ 
  5. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือ สารละลาย ทำความสะอาดหมวกนิรภัย เพราะอาจจะทำให้พื้นเปลือกหมวกนิรภัยเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ 

สรุป

หมวกนิรภัยถือเป็นอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคลที่สำคัญอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งประโยชน์ของหมวกนิรภัยหมวก ได้แก่ การป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และ การลดความรุนแรงจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน โดยคุณควรเลือกหมวกนิรภัยที่เหมาะสมกับงานที่จะทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน  นอกจากนี้อย่าลืมถึงความสำคัญของการดูแลและจัดเก็บหมวกนิรภัยที่ถูกวิธี เพื่อยืดอายุการใช้งานอีกด้วย 

และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จัก KYT มือชี้-ปากย้ำ ช่วยลดอุบัติเหตุการทำงาน

รู้จัก KYT มือชี้-ปากย้ำ ช่วยลดอุบัติเหตุการทำงาน

“อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์” หรือ  แนวคิด KYT คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับการทำงาน ? เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่หัวหน้างาน ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่มีความเกี่ยวข้องจำเป็นต้องให้ความสำคัญ ไม่สามารถละเลยได้ การที่ที่ทำงานมีความปลอดภัยจะช่วยสร้างความอุ่นใจและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้พนักงานทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ 

วันนี้ผมจึงจะพาทุกคนมารู้จักกับแนวคิด KYT ว่าคืออะไร พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนการทำ KYT ที่จะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานให้น้อยลง หรือ อันตรายในที่ทำงานเหลือศูนย์ ถ้าหากพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ ว่า KYT คืออะไรกันแน่ 

KYT คืออะไร ช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างไร

ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ค่อยคุ้นชินกับแนวคิด KYT กันมากนัก โดยแนวคิด KYT  คือ เทคนิคเชิงจิตวิทยาจากประเทศญี่ปุ่น ที่จะนำเอาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เกี่ยวข้อง หรือ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายระหว่างปฏิบัติงาน ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การหาวิธีป้องกันที่ช่วยลด หลีกเลี่ยง และขจัดอุบัติเหตุให้เหลือน้อยมากที่สุด หรือ อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ ตามศาสตร์แนวคิด KYT 

KYT เป็นตัวย่อจากภาษาญี่ปุ่น โดยความหมายของ KYT คือ  

  • K มาจากคำว่า Kiken ที่หมายถึง อันตราย
  • Y มาจากคำว่า Yoshi ที่หมายถึง การทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ หรือ การคาดการณ์ จากปัจจัยโดยรอบ
  • T มาจากคำว่า Trainning ที่หมายถึง การฝึกอบรมจนเป็นนิสัย 
ความสำคัญการทำของ KYT

ความสำคัญการทำของ KYT

หลังจากที่ได้รู้ความของการทำ KYT คืออะไรกันแล้ว ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจความสำคัญ หรือ ประเด็นหลักในการทำ KYT ดังนี้ 

  1. การทำ KYT เป็นการสร้างนิสัยและปลูกฝังจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน โดยองค์กรจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมและให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานตระหนักและเข้าใจความสำคัญของความปลอดภัย 
  2. ผู้ปฏิบัติงานต้องคิด พิจารณา และระมัดระวังระหว่างปฏิบัติงานอยู่เสมอ เพื่อให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุเหลือน้อยมากที่สุด โดยจำเป็นต้องคิดถึงแนวทางป้องกันและวิธีแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้าด้วย
  3. ผู้ปฏิบัติงานต้องให้คำมั่นสัญญา หรือ ปฏิญาณตน “อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์​” ก่อนทำงานทุก 
  4. ผู้ปฏิบัติงานต้องเตือนตัวเองทุกครั้งก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกอย่างอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน ต้องไม่เกิดความประมาทระหว่างปฏิบัติงาน 

ประโยชน์ในการทำ KYT มีอะไรบ้าง

  1. การทำ KYT คือ แนวคิดที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนตระหนักและรับรู้ถึงความสำคัญของความปลอดภัยในที่ทำงาน ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานลดได้ 
  2. การทำ KYT สามารถช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที 
  3. การทำ KYT สามารถช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงาน พร้อมทั้งยังสร้างความอุ่นใจ ช่วยให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องอุบัติเหตุ 
  4. สามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถคาดการณ์และวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งสามารถคิดวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 
  5. สามารถทำให้มองเห็นอันตรายที่แอบแฝงอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้งานเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด 
  6. ช่วยสร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากรในทีม เพราะการทำ KYT เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความร่วมมือของทุกฝ่าย 
ขั้นตอนในการทำ KYT ให้สำเร็จ

ขั้นตอนในการทำ KYT ให้สำเร็จตามเป้าที่ตั้งไว้ 

หลังจากที่เข้าใจแนวคิดการทำ KYT แล้ว หลายคนน่าจะสงสัยใช่ไหมครับ ว่าถ้าจากทำ KYT เพื่อความปลอดภัยในที่ทำงานต้องทำยังไง ? ไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะการทำ KYT ไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนกังวล โดยขั้นตอนในการทำ KYT ได้แก่

  1. วิเคราะห์ปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายในก่อน ระหว่าง และหลังปฏิบัติงาน
  2. เรียงลำดับความรุนแรงของอันตรายที่อาจจะเกิด หรือ จัดลำดับความสำคัญของอันตราย
  3. กำหนดแนวทางหรือมาตราการป้องกัน ควบคุม แก้ไข และขจัดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยพยายามให้อัตราการเกิดอันตรายเหลือน้อยที่สุด หรือ อันตรายต้องเป็นศูนย์ ตามแนวคิด KYT 
  4. ตัดสินใจเลือกแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุด ทั้งขององค์กร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

สรุป

การทำ KTY คือ การหาปัจจัยที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายระหว่างที่ปฏิบัติงาน นำมาวิเคราะห์ จัดลำดับความสำคัญ และกำหนดแนวทางป้องกันและควบคุมอันตรายที่อาจจะเกิด เพื่อให้อันตรายในที่ทำงานกลายเป็นศูนย์ ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดที่จำเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่เป็นอาชีพค่อนข้างเสี่ยงอันตรายแทบจะอยู่ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน 

สำหรับองค์กร หรือ หน่วยงานไหน ที่อยากลดอัตราการเกิดอันตรายและอุบัติเหตุในที่ทำงานที่เกิดขึ้น ผมแนะนำให้ลองแนวคิด KTY ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรของคุณดู เพราะสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานลดลงด้วย 

สุดท้ายนี้ใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จัก JSA ตัวช่วยวิเคราะห์ความปลอดภัย เสริมความอุ่นใจในการทำงาน

รู้จัก JSA ตัวช่วยวิเคราะห์ความปลอดภัย

การทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างมักถูกนับเป็นงานที่ท้าทายและสามารถเกิดอันตรายได้ตลอดเวลา ถ้าหากไม่มีการป้องกันที่รัดกุมมากพอ ซึ่งหลายคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้น่าจะเคยได้ยินคำว่า JSA  แต่บางคนอาจจะยังไม่ทราบใช่ไหมครับ ว่า JSA คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการทำงานอย่างไร วันนี้ผมจะมาแนะนำ JSA ตัวช่วย หรือ Tools ที่จะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างทำงาน ช่วยสร้างความสบายในใจการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่า

JSA คืออะไร 

JSA ย่อมาจาก Job Safety Analysis หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานทีละขั้นตอน เพื่อหาต้นตอของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน โดย JSA เป็น tool ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน หลังจากที่ทราบถึงสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแล้ว จึงหาแนวทางป้องกัน ลดอัตราการเกิด หลีกเลี่ยง หรือควบคุมอันตรายนั้น ๆ 

โดยองค์กร หรือ หน่วยงานที่มีการทำ JSA อย่างจริงจังพร้อมทั้งนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จะช่วยให้การทำงานสำเร็จรวดเร็วมากขึ้นและมีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้การทำ JSA ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยสร้างความมั่นใจและความอุ่นใจให้กับผู้ที่ปฏิบัติงานด้วยครับ 

งานประเภทใด ที่จำเป็นต้องทำ JSA

หลังจากที่ได้รู้แล้วว่า JSA คือ ตัวช่วยที่จะช่วยวิเคราะห์อันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน หลายคนอาจจะสงสัยใช่ไหมครับ ว่าแล้วงานประเภทใด งานแบบไหนที่ควรทำ JSA สำหรับการเลือกงานที่ต้องการนำมาวิเคราะห์อันตราย เพื่อทำ JSA ผมแนะนำให้เลือกตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ได้แก่ 

  1. เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดอันตรายระหว่างปฏิบัติงาน โดยคุณจำเป็นต้องมีการสำรวจหน้างานด้วยตนเอง 
  2. งานที่มีความถี่ในการเกิดอุบัติงานค่อนข้างสูง โดยสามารถดูได้จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานย้อนหลังสักประมาณ 2-3 ปี ก็ได้ครับ 
  3. งานใหม่ หรือ งานที่มีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ หรือ เครื่องจักร ที่ใช้ในการทำงาน 
  4. งานที่มีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนและเข้าใจได้ยาก 
  5. งานที่จำเป็นต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก 

ตัวอย่างแบบฟอร์มสำหรับการทำ JSA

แบบฟอร์มสำหรับการทำ JSA

ตัวอย่างแบบฟอร์มสำหรับการทำ JSA ขอบคุณภาพจาก SAFESIRI

4 ขั้นตอนการทำ JSA เพื่อสร้างความอุ่นใจในการทำงาน

การทำ JSA เพื่อสร้างความอุ่นใจและความปลอดภัยในการทำงาน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ได้ดังนี้ 

  1. ขั้นตอนแรก คือ การเลือกงานที่จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อทำ JSA 
  2. ขั้นตอนที่สอง คือ แยกขั้นตอนการทำงานออกมาเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่ามีขั้นตอนใดบ้างที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ โดยการแยกขั้นตอนควรเริ่มด้วยคำกริยา เช่น ยกของ หยิบ เตรียม เป็นต้น 
  3. ขั้นตอนที่สาม คือ การวิเคราะห์อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการทำงาน ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นต้องใช้ความละเอียดรอบคอบสูง เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด หรือ ละเลยสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ถ้าหากการวิเคราะห์ในขั้นตอนเกิดข้อผิดพลาดจะทำให้อันตรายยังคงแผงอยู่ในขั้นตอนทำงาน 
  4. ขั้นตอนที่สี่ คือ การหาแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิด โดยการนำสาเหตุที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 มาวิเคราะห์และหาแนวทางการป้องกัน 
ขั้นตอนการทำ JSA เพื่อสร้างความอุ่นใจในการทำงาน

ตำแหน่งใดที่ควรเป็นผู้จัดทำ JSA

การทำ JSA คือ การนำขั้นตอนการทำงานวิเคราะห์เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น ทำให้บางคนคิดว่าการทำ JSA คือหน้าที่ของหัวหน้างาน หรือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วการทำ JSA จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความเสี่ยงและหาแนวทางป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นรัดกุมมากที่สุด โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำ JSA ได้แก่ 

  1. หัวหน้างาน เป็นผู้ที่มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลกระบวนและวิธีการทำงานทั้งหมด พร้อมทั้งเป็นผผู้ที่มีความรู้ในหน้างาน จึงจำเป็นอย่างมากในการร่วมวิเคราะห์งานเพื่อสร้างความปลอดภัย
  2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ จป การทำ JSA จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเข้าร่วมวางแผนและวิเคราะห์ด้วยทุกครั้ง เพราะเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานต้องเป็นผู้กำหนดมาตรป้องกันอันตรายต่าง ๆ 
  3. ผู้ปฏิบัติงาน เพราะผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้ที่รู้ว่าหน้างานเคยเกิดปัญหาอะไรบ้าง จึงเหมาะสมและจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมการวิเคราะหืเพื่อทำ JSA เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในระหว่างปฏิบัติงาน

สรุป

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้กันแล้ว ผมหวังว่าหลายคนน่าจะเข้าใจว่าการทำ JSA คือ การนำขั้นตอนการทำงานทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางเพื่อลด หลีกเลี่ยง หรือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน ซึ่งการทำ JSA ถือเป็น Tools ที่สำคัญอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะช่วยลดอัตรราการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างปฏิบัติงานลด ถ้าหากทุกคนให้ความร่วมมืออย่างเคร่งครัน และที่สำคัญการทำ JSA จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าหากไม่ได้ความร่วมมืออย่างทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 

สุดท้ายนี้ใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จักกฎความปลอดภัย 5 ข้อ เสริมความอุ่นใจในการทำงานไซต์ก่อสร้าง

รู้จักกฎความปลอดภัย 5 ข้อ เสริมความอุ่นใจในการทำงานไซต์ก่อสร้าง

การทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง นับว่าเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ค่อนข้างสูง ทำให้การรักษาความปลอดภัยกลายเป็นสิ่งจำเป็น และ ผู้ที่ปฏิบัติงานทุกคนต้องให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ห้ามละเลยเด็ดขาด ซึ่งวันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “กฎความปลอดภัย 5 ข้อ” ที่จะช่วยเสริมสร้างความอุ่นใจในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ถ้าหากพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลยดีกว่าครับว่า กฎความปลอดภัย 5 ข้อคืออะไร และมีอะไรบ้าง 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับกฎความปลอดภัย 5 ข้อ ผมอยากให้ทุกคนลองมาค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในระหว่างทำงานกันก่อนครับ โดยสาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ 

  1. สาเหตุที่เกิดจากตัวผู้ปฏิบัติงานเอง 

โดยส่วนใหญ่สาเหตุนี้มักมาจากความประมาณและพฤติกรรมที่ไม่ใส่ในความไม่ปลอดภัย เช่น ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย การไม่ปฏิบัติตามกฎที่กำหนดไว้ หรือไม่จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ นิสัยชอบเสี่ยง และการปฏิบัติหน้าที่โดยที่ร่างกายไม่พร้อม จนทำให้เกิดอันตรายระหว่างปฏิบัติงาน 

  1. สาเหตุที่เกิดจากสถานที่ปฏิบัติงานไม่ปลอดภัย 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานอันดับที่ 2 ได้แก่ สถานที่ปฏิบัติงานไม่ปลอดภัย เช่น การวางผังโครงสร้างไม่ถูกต้อง พื้นโรงงานเป็นหลุมเป็นบ่อ มีเศษวัสดุ น้ำมัน หรือน้ำบนพื้น เครื่องจักรชำรุดและไม่ได้รับการซ่อมบำรุงดูแล นอกจากนี้ยังรวมไปถึงไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตราย 

กฎความปลอดภัย 5 ข้อ 

กฎความปลอดภัย 5 ข้อมีอะไรบ้าง

กฎความปลอดภัย 5 ข้อ ที่ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างจำเป็นต้องรู้ มีดังนี้ 

  • รู้ที่ 1 รู้ว่างานที่ตนเองปฏิบัติมีความเสี่ยงและมีอันตรายอย่างไร พร้อมทั้งเข้าใจกระบวนการและขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน นอกจากนี้สำคัญเป็นต้องคิดถึงวิธีป้องกันอุบัติเหตุที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นด้วย 
  • รู้ที่ 2 รู้จักและศึกษาเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการทำงานอย่างถ่องแท้ โดยจำเป็นต้องรู้ว่าอุปกรณ์แต่ละชนิดเหมาะสำหรับงานประเภทใดและไม่เหมาะกับงานประเภทใด 
  • รู้ที่ 3 รู้และศึกษาวิธีใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อป้องกันและลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าที่ที่อาจจะเกิด 
  • รู้ที่ 4 รู้ขีดจำกัดและคุณสมบัติในการใช้งานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต้องใช้งาน เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ที่ผิดวิธี
  • รู้ที่ 5 รู้วิธีบำรุงดูแลรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยจำเป็นต้องรู้วิธีดูแลรักษาให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งาน นอกจากนี้ต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ต้องตรวจเช็กสภาพอุปกรณ์

หลัก 5 ส. ที่คนทำงานต้องรู้

นอกจากสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุในที่ทำงาน และ กฎความปลอดภัย 5 ข้อ ที่ผู้ปฏิบัติงานควรรู้แล้ว ยังมีหลัก 5 ส. ที่คนทำงานต้องรู้ เพื่อนำไปปรับใช้ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยหลัก 5 ส. ที่คนทำงานอุตสาหกรรมต้องรู้ ได้แก่ 

  1. สะสาง หมายความว่า สามารถแยกสิ่งที่สำคัญและจำเป็น กับ สิ่งที่ไม่สำคัญและไม่จำเป็นต่องานออกจากกันได้อย่างชัดเจน 
  2. สะดวก หมายความว่า สามารถจัดระเบียบเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้งานได้อย่างเป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้ 
  3. สะอาด หมายความว่า สามารถรักษาความสะอาดของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ต้องใช้งาน ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ 
  4. สุขลักษณะ หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่ 
  5. สร้างนิสัย หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องฝึกและพยายามสร้างนิสัย โดยต้องนำ 4 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นไปปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย 
กฎความปลอดภัย 5 ข้อ

สรุป

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้และทราบถึงความสำคัญของกฎความปลอดภัย 5 ข้อแล้ว ผมหวังว่าผู้ที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงในระหว่างปฏิบัติงานทุกคนจะตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงานไว้เสมอ เพราะนั้นเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนปลอดภัยจากอุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะร้ายแรงถึงขั้นพิการ หรือ เสียชีวิต แน่นอนว่าการพยายามป้องกันอุบัติเหตุย่อมเป็นวิธีที่ดีกว่าและจัดการง่ายมากกว่าการแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว 

ทั้งนี้ทุกคนสามารถนำหลักการ 5 ส. ที่คนทำงานควรรู้ และ กฎความปลอดภัย 5 ข้อ ไปปรับใช้ให้เหมาะกับวิธีการทำงานของแต่ละบุคคล และอย่าลืมที่จะสวมใส่อุปกรณ์หรือชุดเซปตี้ที่จะสามารถช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่เกิดด้วยครับ สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ 

และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อัปเดต 2567 กฎหมาย จป. ว่าด้วยเรื่องอะไรบ้าง ผู้รับเหมาต้องอ่าน!

อัพเดท กฎหมาย จป

กฎหมาย จป. หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย จะมีอัปเดตอะไรบ้างในปี พ.ศ. 2567 ถ้าอยากรู้ผู้รับเหมาต้องอ่าน!

ทำความรู้จัก กฎหมาย จป. คืออะไร

กฎหมาย จป. คือ กฎกระทรวงเรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 กำหนดไว้ในข้อที่ 2 โดย จป. จะทำหน้าที่ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

จป. แบ่งออกเป็นกี่ระดับ

จป. หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จะมีการแบ่งแยกสัดส่วนการทำงานกันอย่างชัดเจน สามารถแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. จป. ระดับบริหาร
  2. จป. ระดับหัวหน้างาน
  3. จป. ระดับเทคนิค
  4. จป. ระดับเทคนิคขั้นสูง
  5. จป. ระดับวิชาชีพ

โดยในแต่ละระดับนั้นก็จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะแบ่งจากสาขาอาชีพที่ได้เรียนรู้กันมา และในแต่ละสาขาของตนเองจะมีการทดสอบ รวมถึงปรับระดับของตนเองอยู่เสมอ

หน้าที่ของ จป.

หน้าที่และขอบเขตการทำงานของ จป.

สำหรับหน้าที่และขอบเขตการทำงานของ จป. โดยหลัก ๆ แล้วมีประมาณ 10 ขั้นตอน ได้แก่

  1. ทำการตรวจและแนะนำให้กับนายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย สอดคล้องถูกต้องกับความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
  2. วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในที่ทำงาน เช่น ในส่วนของระบบไฟฟ้า น้ำประปา อาคารสถานที่ ซึ่งทุกอย่างจะต้องถูกประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งหมด
  3. วิเคราะห์การทำงาน โดยมองจากจุดเด่นและจุดด้อยในการทำงาน กำหนดมาตรฐานในการทำงาน และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดเสนอต่อผู้ว่าจ้าง
  4. อบรมความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ และพนักงานทุกแผนก รวมถึงทุกตำแหน่งถึงการดูแลความปลอดภัย และป้องกันอันตรายจากสิ่งที่จะเกิดขึ้น
  5. นำเสนอแผนและโครงการในเรื่องของผลกระทบ และความปลอดภัย ให้กับนายจ้าง
  6. ทำการประเมินและตรวจสอบสถานที่ประกอบการ สถานที่ทำงาน 
  7. ร่วมตรวจประเมินสถานที่ทำงาน ทั้งเรื่องของสภาพแวดล้อม พร้อมเอกสารในการดูแลความปลอดภัยทั้งหมด
  8. เมื่อเกิดเหตุการณ์ หรืออันตรายต่าง ๆ หน่วยงานต้องรีบทำการประเมินและเสนอกับหน่วยงาน เพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ โดยต้องลดความเสี่ยงหรือปัญหาให้ได้มากที่สุด
  9. พัฒนาความปลอดภัยในหน่วยงานให้ได้มาตรฐาน
  10. รวบรวมสถิติ หรือข้อมูลต่าง ๆ ส่งให้นายจ้าง ประเมินการวางแผน ระบบความปลอดภัยให้มั่นคง เพื่อลดอัตราการสูญเสีย 
กฎหมาย จป. 2566

กฎหมาย จป. 2567 มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

“กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565”

กฎกระทรวงฉบับนี้ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 60 วันนับจากวันที่ประกาศ ซึ่งตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้ออกประกาศและยกเลิกฉบับเก่า 

สำหรับกฎกระทรวงฯ ฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการด้านความปลอดภัยค่อนข้างมาก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. หมวดที่ 1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

กฎหมายใหม่ได้แบ่งประเภทของ จป. ออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยตำแหน่ง แบ่งเป็น
  • หัวหน้างาน
  • บริหาร
  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยหน้าที่เฉพาะ แบ่งเป็น
  • เทคนิค
  • เทคนิคขั้นสูง
  • วิชาชีพ

กฎกระทรวงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ จป. หัวหน้างาน ตามกฎหมาย 2565 ระบุหน้าที่ของ จป. ระดับหัวหน้างานทั้งหมด 10 ข้อ โดยมีสิ่งที่เพิ่มมาจากกฎหมายเก่าคือ จป. หัวหน้างานจะต้องเป็นคนจัดทำคู่มือความปลอดภัยฯ และทบทวนคู่มือทุก 6 เดือน

อีกทั้งกฎหมายใหม่ได้มีการระบุหน้าที่ของ จป. ระดับวิชาชีพทั้งหมด 12 ข้อ โดยเพิ่มมา 1 ข้อจากกฎหมายเก่าคือ ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม แก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

นอกจากนี้กฎหมายยังได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติตามระดับตำแหน่งงานอีกด้วย

  1. หมวดที่ 2 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ
  • ต้องได้รับการฝึกอบรมภายใน 60 วันนับจากวันแต่งตั้ง เว้นแต่เคยผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว
  • วาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี
  • ปิดประกาศรายชื่อ และหน้าที่รับผิดชอบไม่น้อยกว่า 15 วัน
  • มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  1. หมวดที่ 3 หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

กฎหมายใหม่มีการเพิ่มเติม นอกจากจะต้องมีหน่วยงานความปลอดภัยแล้ว จะต้องจัดให้มีผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยประจำสถานประกอบกิจการ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะการบริหาร และรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน โดยผู้บริหารหน่วยงานต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

  • เคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย และต้องไม่เป็น จป. วิชาชีพ
  • หากเคยเป็น จป. วิชาชีพ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย สามารถแต่งตั้งได้เลย
  1. หมวดที่ 4 การขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย
  • นายจ้างจะต้องเอารายชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ รวมถึงผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย ไปขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมเอกสาร ภายใน 30 วัน นับจากวันที่แต่งตั้ง
  • กรณีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทุกระดับ หรือผู้บริหารพ้นจากตำแหน่งหรือหน้าที่ นายจ้างจะจ้องแจ้งต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้ทราบ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่พ้นจากหน้าที่หรือตำแหน่ง
  1. หมวดที่ 5 การแจ้งและการส่งเอกสารทำงาน
  • คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย ให้ส่งสำเนาภายใน 15 วัน นับจากวันที่แต่งตั้ง
  • รายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค เทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกภายใน 30 วัน นับแต่ 30 มิถุนายน ของทุกปี และ ครั้งที่ 2 ภายใน 30 วัน นับแต่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
กฎหมาย จป. 2566

สรุป

กฎหมาย จป. 2567 ที่มีการอัปเดตเพิ่มเติมนั้นมีการเพิ่มหัวข้อบทบาทหน้าที่ของ จป. แต่ละระดับให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น กฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่องค์กร หรือหัวหน้างานจะต้องจัดให้ลูกจ้างที่เข้ามาทำงานใหม่ ได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานก่อนเริ่มงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย