รู้จัก การยศาสตร์ (ERGONOMIC) เพื่อลดการบาดเจ็บและเสริมประสิทธิภาพการทำงาน

อาการเจ็บป่วยที่คนวัยทำงานเป็นกันมากขึ้นในทุกวันนี้ คือความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก โดยเฉพาะพนักงานในโรงงาน และพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ นอกจากเป็นเพราะท่าทางของเราในระหว่างที่ทำงาน เช่น นั่งทำงานผิดท่า หรือโหมใช้งานร่างกายหนักเกินไปและยังเป็นเพราะการออกแบบสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น ไม่เป็นไปตามหลัก Ergonomics หรือไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคนเราอีกด้วย นั่นทำให้คำว่า Ergonomics หรือ การยศาสตร์ กลายเป็นสิ่งที่คนพูดถึงมากขึ้น ดังนั้น บทความนี้จึงเชิญชวนให้มาทำความรู้จักกับ Ergonomics หรือ การยศาสตร์ ว่าคืออะไร และจะลดความเสี่ยงในการทำงานได้อย่างไร เพื่อให้คนในองค์กรได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีความสุขไปกับการทำงานนั่นเอง

Ergonomics

การยศาสตร์ คือ 

การยศาสตร์ หรือ Ergonomics มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก โดยคำว่า Ergon หมายถึง งาน และคำว่า Nomos หมายถึง กฎตามธรรมชาติ (Natural Laws) เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า “Laws of Work” หรือที่แปลว่า “ศาสตร์แห่งการทำงาน” โดยเป็นศาสตร์ที่ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน คนทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จนกลายเป็นการออกแบบวิธีการทำงานที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอันตรายต่อคนทำงานน้อยที่สุด 

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 

  1. ลดข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน 
  2. เพิ่มความปลอดภัย ลดความเหนื่อยล้าและความเครียด เพิ่มความสะดวกสบาย รวมถึงการเพิ่ม ความพึงพอใจในงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน 

การยศาสตร์ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ 

การยศาสตร์เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้หลักการทางด้านสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์และจิตวิทยา เพื่อขจัดสิ่งที่อาจเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความไม่สะดวกสบาย ปวดเมื่อย หรือมีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดีเนื่องจากการที่ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ การยศาสตร์จึงสามารถนำไปใช้ในการป้องกันมิให้มีการออกแบบงานที่ไม่เหมาะสมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน โดยให้มีการนำการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบงาน เครื่องมือ หรือหน่วยที่ทำงาน ยกตัวอย่างเช่น เลือกใช้โต๊ะที่ปรับระดับความสูงต่ำได้ เพราะผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนมีความสูงที่แตกต่างกัน และการจัดตำแหน่งของโต๊ะทำงานต้องเหมาะสมกับลักษณะงานของแต่ละฝ่าย เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างสะดวก และเพื่อป้องกันอาการเมื่อยล้าจากการทำงานด้วยท่าทางที่ไม่ถนัด หรือการเลือกเก้าอี้ที่ใช้ในการทำงาน ควรจะเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิง และอาจมีเบาะรองนั่งให้ผู้ปฏิบัติงานตามความเหมาะสมนั่นเอง 

จากข้างต้นองค์ประกอบของการยศาสตร์ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ 3 กลุ่มได้แก่

1. สรีรวิทยา

เป็นการศึกษาขนาดของมนุษย์ โดยมุ่งพิจารณาถึงปัญหาที่อาจเกิดจากขนาดของคน รูปร่างของคน และท่าทางหรืออิริยาบถการทำงานของคน นอกจากนี้ยังสำรวจ ชีวกลศาสตร์ ที่ศึกษาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้แรงในระหว่างการทำงานของคนด้วย

2. กายวิภาคศาสตร์

เป็นการศึกษาและพิจารณาถึงการใช้พลังงานในขณะทำงาน ถ้าหากงานนั้นเป็นงานหนัก พลังงานที่ต้องใช้ไปก็ต้องมากซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ เป็นต้น รวมไปถึงการศึกษาสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อม มุ่งพิจารณาถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความร้อน แสง เสียง ความสั่นสะเทือน เป็นต้น

3. จิตวิทยา

ในกลุ่มนี้จะกล่าวถึงความชำนาญที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในลักษณะงานของบุคคล ว่าควรจะทำงานอะไร และทำอย่างไร ตลอดจนการตัดสินใจในการทำงานนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งนอกจากจะเกิดความเสียหายต่อการผลิตแล้วนั้น อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน

ท่านั่งที่ถูกต้อง

ประโยชน์ของการนำการยศาสตร์มาใช้ในที่ทำงาน

  1. ลดต้นทุน

ค่าใช้จ่ายทางการรักษาพยาบาล ค่าชดเชย ค่าแรง เป็นต้น

  1. เพิ่มผลผลิต

เมื่อมีการปรับปรุงในสายการผลิต  ผู้ปฏิบัติงานมีท่าทางที่ดี ออกแรงหรือเคลื่อนไหวน้อย ปรับความสูงและระยะเอื้อมได้ดีขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น

  1. ปรับปรุงคุณภาพ

หากผู้ปฏิบัติงานเจ็บป่วย เหนื่อยล้า หรือท้อแท้กับการทำงาน สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ปฏิบัติงานได้ ซึ่งส่งผลให้การทำงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 

  1. เพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากร

เมื่อองค์กรใดที่พยายามอย่างเต็มที่ที่จะพัฒนาองค์กรเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานของพวกเขามีสุขภาพและความปลอดภัย พนักงานในบริษัทมีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือและแจ้งให้ทราบหากพวกเขารู้สึกเหนื่อยล้าและไม่สบายตัวระหว่างทำงาน เมื่อเป็นเช่นนี้องค์กรจะสามารถลดอัตราการลาออก ลดการขาดงาน เพิ่มขวัญกำลังใจ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน

  1. สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

การนำหลักการยศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในองค์กรแสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพเป็นค่านิยมหลัก การสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมในทิศทางที่ดีขึ้นสำหรับองค์กรของคุณเป็นอย่างแน่นอน

สรุป

การยศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งหากได้มีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถนำไปสู่การปรับปรุงสภาพการทำงาน โดยให้มีการออกแบบงานที่จะต้องปฏิบัติ กำหนดรายละเอียดของเนื้องาน วิธีการจับถือและการใช้อุปกรณ์การติดตั้งอุปกรณ์ ฯลฯ อย่างเหมาะสม การปฏิบัติตามหลักการยศาสตร์ จะสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ ที่มีสาเหตุจากการไม่ได้นำหลักการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในสถานที่ทำงาน และการดำเนินการปรับปรุงทางด้านการยศาสตร์ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนแต่ประการใด ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน พนักงาน และฝ่ายบริหาร ควรที่จะร่วมมือกันในการดำเนินการค้นหาปัญหา ประเมินปัญหาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ถูกต้อง

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จักเข็มขัดนิรภัย Safety Harness สิ่งนี้คืออะไร ช่วยป้องกันการตกจากที่สูงได้อย่างไร

safety harness คือ

หากคุณคือหนึ่งในผู้ที่ทำงานในแวดวงอุตสาหกรรมก่อสร้างคงคุ้นเคยกับ Safety Harness หรือ เข็มขัดนิรภัย กันมาบ้างไม่มากก็น้อย เพราะถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง แต่สำหรับบางคนที่ยังไม่รู้ว่า Safety Harness คืออะไร มีประโยชน์และสำคัญต่อผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างยังไง บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยให้คุณเองครับ ถ้าอยากรู้แล้วลองไปหาคำตอบพร้อมกันเลยดีกว่า 

Safety Harness คืออะไร ? 

เข็มขัดนิรภัย หรือที่เรียกอีกชื่อว่า Safety Harness คือ อุปกรณ์ป้องกันการพลัดตกจากที่สูง และเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วยป้องกันการพลัดตกจากที่สูงระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ลดความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุ และช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานบนที่สูง หรือ พื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายในการพลัดตกลงมา สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดย Safety Harness เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับงานบนพื้นที่สูงมากกว่า 4 เมตร ไม่ว่าจะเป็น งานก่อสร้าง งานไฟฟ้า หรือ งานทำความสะอาด เป็นต้น 

ประเภทของเข็มขัดนิรภัย 

ในปัจจุบันมี Safety Harness หลายรูปแบบเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ Safety Harness ที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานได้ ซึ่งจะแบ่งประเภทของเข็มขัดนิรภัยตามการใช้งาน ฟังก์ชันการใช้งาน และน้ำหนักที่สามารถรองรับนั้นเองครับ โดยผมขอแบ่งประเภทของ Safety Harness ออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

ประเภทของ Sefety harness คือ

1. เข็มขัดนิรภัยแบบรัดตัว (Body Belts)

เข็มขัดนิรภัยแบบรัดตัว หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ เข็มขัดหนีภัย นิยมใช้กับงานที่ต้องปีนขึ้นที่สูง ปีนขึ้นหลังคา หรือ บันได ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุต่าง ๆ  โดยเข็มขัดนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบมาให้สวมใส่รอบเอว และมี D-Ring ใช้ในการเกี่ยวกับตะขอต่าง ๆ เหมาะสำหรับงานในกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากมีเข็มขัดเส้นเดียวทำให้สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้น้อย จึงไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่ครับ 

2. เข็มขัดนิรภัยแบบเบาะนั่ง (Seat Harnesses)

หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกับเข็มขัดนิรภัยแบบเบาะนั่ง สำหรับเข็มขัดนิรภัยแบบเบาะนั่งนิยมใช้ในการปืนหน้าผา หรือ ปืนขึ้นต้นไม้ โดยเข็มขัดนิรภัยประเภทนี้ออกแบบสายรัดให้ยึดติดกับตัวผู้ใช้งานในท่านั่ง ซึ่งจะประกอบไปด้วยเข็มขัดเส้นเล็ก 2 เส้น ที่รัดบริเวณต้นขา และเข็มขัดคาดรอบเอวอีก 1 เส้น ทั้งนี้ผู้ที่สวมใส่สามารถปรับระดับความแน่นได้ตามความเหมาะสม 

3. เข็มขัดนิรภัยหน้าอก (Chest Harnesses)

เข็มขัดนิรภัยหน้าอกจะมีลักษณะคล้ายกับเสื้อกั๊ก หรือ เสื้อเกราะครับ โดยถูกออกแบบมาให้สวมใส่บริเวณหน้าอกจนไปถึงหน้าท้อง เข็มขัดนิรภัยประเภทนี้เหมาะกับงานที่ไม่ได้ต้องการความปลอดภัยสูง เน้นเคลื่อนไหวร่างกายสะดวก คล่องตัว และมักใช้เข็มขัดนิรภัยหน้าอกในกรณีฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุต่าง ๆ เช่น เหตุอัคคีภัย เป็นต้น 

4. เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว (Full Body Harnesses)

เป็นเข็มขัดนิรภัยที่มีความปลอดภัยสูงมากที่สุด โดยถูกออกแบบมาเป็นชุดสามารถสวมใส่ได้ทั้งตัว และมีจุดคล้องเชือก คล้องตะขอเซฟตี้ที่ช่วยดังรั้ง หรือ พยุงหลายจุด ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่าเข็มขัดนิรภัยประเภทอื่น ๆ สำหรับเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวนิยมใช้กับการทำงานบนที่สูงทุกระดับ ทุกลักษณะงาน รวมไปถึงงานที่อันตรายมาก ๆ ก็มักจะเลือกใช้เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวครับ แต่เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวก็มีข้อเสีย คือ มีน้ำหนักมากกว่าเข็มขัดนิรภัยประเภทอื่น ๆ ทำให้ไม่ค่อยคล่องตัวสักเท่าไหร่ 

ทีนี้หลายคนคงเข้าใจว่า Safety Harness คืออะไร และมีทั้งหมดกี่แบบ เหมาะกับงานลักษณะกันบ้างแล้ว ต่อไปผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับวิธีเลือก Safety Harness ให้เหมาะกับการใช้งานเองครับ 

5 เทคนิค เลือก Safety Harness ให้เหมาะกับการใช้งาน

  1. เลือก Safety Harness ที่มีมาตรฐานสากลรองรับ เช่น มาตรฐาน ANSI หรือ มาตรฐาน EN เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน นอกจากนี้อย่าลืมดูว่า D-Ring ผ่านมาตรฐานตามที่สากลกำหนดไว้หรือไม่ 
  2. ดูฟังก์ชันการใช้งานให้เหมาะกับลักษณะงานที่จะนำไป เช่น ถ้าหากเป็นงานที่ต้องการความปลอดภัยสูงควรเลือกเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว แต่ถ้าหากเป็นงานที่เน้นความคล่องตัวอาจจะเลือกเข็มขัดนิรภัยแบบครึ่งตัว เป็นต้น 
  3. เลือกแบรนด์ Safety Harness ที่น่าเชื่อถือ ผ่านการทดลองความปลอดภัย หรือ คุณอาจจะดูไปถึงโรงงานที่ผลิตว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ 
  4. เช็กความสามารถในการรองรับน้ำหนักของ Safety Harness ต้องเหมาะสมกับลักษณะงานที่นำไปใช้ 
  5. สำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้เลือก Safety Harness ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต และต้องมีผลทดสอบรองรับด้วย 

สรุป

ผมจึงขอสรุปสั้น ๆ ว่า Safety Harness คือ อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยที่จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการพลัดตกจากที่สูง ทั้งนี้ความปลอดภัยในระหว่างทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจและให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เพราะการป้องกันปัญหาสามารถช่วยลดความรุนแรงและสูญเสียลงได้ ย่อมดีกว่าการแก้ไขหลังจากที่ปัญหาเกิดขึ้นแล้วครับ 

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

E-mail: [email protected]

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง คืออะไร มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง คืออะไร มีอะไรบ้าง

เพราะการทำงานบนที่สูงถือว่าเป็นการทำงานที่มีความเสี่ยงและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดและอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งก็อาจจะสร้างความเสียหายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยครับ ทำให้ปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยกฎหมายบังคับให้ลูกจ้างทุกคนต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง เพื่อป้องกันอันตรายและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น 

วันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ว่าคืออะไร และมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย! 

ประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง 

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่องานก่อสร้าง งานทำความสะอาดบนที่สูง งานไฟฟ้า และ งานอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานบนที่สูง โดยประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง คือ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานในสถานที่เสี่ยงอันตรายต่อการตกได้อย่างปลอดภัย ลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุ และยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไม่ต้องคอยกังวลว่าจะพลัดตกลงไปอีกด้วย 

ประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง 

สาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูง 

อุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาจากความประมาทไม่ระมัดระวังของผู้ปฏิบัติงานจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงจากที่สูง ไม่ว่าจะเป็น 

  1. การใช้งานอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงผิดวิธี เช่น การที่ผู้ปฏิบัติงานสวมอุปกรณ์ป้องกันไม่ครบ สวมแค่บางชิ้นเท่านั้น หรือ การใช้งานเข็มขัดนิรภัยแบบผิดวิธี 
  2. สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในการทำงาน เช่น การทำงานบนที่สูงที่เสี่ยงอันตรายและมีพื้นผิวลื่น หรือ การปฏิบัติหน้าที่ในสภาพอากาศที่ย่ำแย่ ไม่ว่าจะเป็น ฝนตก ลมแรง หรือ พายุเข้า เป็นต้น 
  3. การใช้งานเครื่องจักรที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมต่อการปฏิบัติหน้าที่  ส่วนใหญ่มักเกิดจากการละเลย ไม่ได้ตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ 
  4. สภาวะจิตใจและร่างกายของผู้ปฏิบัติงานไม่พร้อมสำหรับทำงาน เช่น มีอาการมึนเมา ขาดสติ ที่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การใช้สารเสพติด รวมอาการเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทำงานบนที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ 
  5. การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงที่ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ มักมีสาเหตุจากการที่พนักงานขาดความรู้ในการเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุในที่สุด 

แนะนำอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง 

ส่วนใหญ่มักจะเรียกอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงว่า “อุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคล PPE” 

ซึ่งในปัจจุบันสามารถแบ่งระบบ หรือ อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น 

  1. เข็มขัดนิรภัย
  2. สายเซฟตี้ สายรัดตัวนิรภัย หรือ สายพยุงตัว 
  3. ตะขอกันตก
  4. อุปกรณ์เชื่อมต่อ 
องค์ประกอบหลักของระบบการป้องกันการพลัดตกจากที่สูง

องค์ประกอบหลักของระบบการป้องกันการพลัดตกจากที่สูง (Elements of Fall protection System)

  1. จุดยึด (Anchor Point) คือ จุดที่ใช้ยึดอุปกรณ์ป้องกันการจากที่สูง ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งบนโครงสร้างที่มั่นคงและบริเวณที่ปลอดภัย เหมาะสมสำหรับการติดสายรัดนิรภัยหรือเชือกเส้นเล็ก โดยกฎหมายกำหนดให้อุปกรณ์ต้องสามารถรับแรงได้อย่างน้อย 5000 lb หรือ 22 kN 
  2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connecting Device) คือ ต้องมีอย่างน้อย 2 จุด ที่เชื่อมต่อกับจุดยึด และต้องทนต่อการกัดกร่อน ผิวจะต้องเรียบ ไม่มีรอยต่อและทำจากเหล็กที่หล่อขึ้นรูป โดยตัวเชื่อมที่เชื่อมกับจุดยึดจะต้องไม่มีรอยแตกร้าว หรือ การเปลี่ยนรูปถาวร และต้องสามารถรับแรงได้อย่างน้อย 16 kN 
  3. เข็มขัดนิรภัยแบบรัดทั้งตัว (Full body harness) ผู้สวมใส่ต้องเลือกเข็มขัดให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน และต้องมีจุดเชื่อมต่ออย่างน้อย 1 จุด และสายรัดจะต้องผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ที่อ่อนนุ่ม แต่มีความแข็งแรงทนทาน เช่น โพลีเอสเตอร์ หรือ โพลีเอไมด์ โดยผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องสวมใส่เข็มขัดนิรภัยทั้งตัวอย่างถูกวิธี โดยเข็มขัดนิรภัยแบบรัดทั้งตัวจะช่วยดึงผู้ปฏิบัติงานถ้าหากเกิดอุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูง 

สรุป

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ เพราะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน และยังช่วยลดความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุ แต่นอกเหนือจากอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงแล้วเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานบนที่สูงต้องได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานบนที่สูงที่ถูกต้อง รวมไปถึงต้องมีความเข้าใจสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงาน และเข้าใจวิธีใช้งานอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงที่ถูกต้องด้วยครับ 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ทำความรู้จักอาชีพ จป (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน) คือใคร มีหน้าที่อะไร

ทำความรู้จักอาชีพ จป (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน) คือใคร มีหน้าที่อะไร

ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งในคนที่คลุกคลีกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือ โรงงานต่าง ๆ คุณน่าจะคุ้นเคยกับอาชีพ จป หรือที่เรียกเต็ม ๆ ว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย กันมาบ้าง แต่บางคนก็อาจจะยังไม่ทราบใช่ไหมครับ ว่า จป คืออะไร มีหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไรต่อโรงงาน 

วันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าอาชีพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป คืออะไร พร้อมตอบทุกคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับอาชีพนี้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย 

จป คือใคร ? 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป คือ หนึ่งในอาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เพราะมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของระบบต่าง ๆ ทั้งในโรงงานและตัวอาคาร ไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบลิฟต์ รวมไปถึงการตรวจสอบความแข็งแรงของตัวอาคาร ทั้งหมดนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายในระหว่างที่เจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ กำลังปฏิบัติงาน 

ระดับของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 

ระดับของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 

ในปัจจุบันสามารถแบ่ง จป ออกเป็น 5 ระดับใหญ่ ได้ดังนี้ 

  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
  2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
  3. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ 
  4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง 
  5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค 

โดยทุกตำแหน่งจะต้องผ่านการอบรมจากกระทรวงแรงงานมาเป็นพิเศษ และแต่ละระดับก็จะมีความรับผิดชอบและหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปครับ 

ทั้งนี้อาชีพ จป ถือเป็นอาชีพที่โอกาสตกงานค่อนข้างน้อยเพราะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน สำหรับใครที่สนใจอยากทำงานสายนี้ ต้องเรียนจบจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน จป วิชาชีพ และมหาวิทยาลัยนั้นต้องได้รับการขึ้นทะเบียนหลักสูตรกับกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น ถึงจะสามารถประกอบอาชีพ จป ได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 

13 หน้าที่หลักของ จป วิชาชีพ 

หลังจากที่ทุกคนเข้าใจแล้วว่าอาชีพ จป คืออะไร เรามาลองดูกันดีกว่าครับ ว่าหน้าที่หลัก ๆ ตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ของอาชีพ จป มีอะไรบ้าง 

  1. ประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยอาชีวอนามัยในที่ทำงาน 
  2. ประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบการให้เป็นไปตามแบบแผนหรือมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้
  3. ตรวจสอบและแนะนำให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 
  4. ประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงาน
  5. ประเมินอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อนำเสนอให้แก่นายจ้าง 
  6. แนะนำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมใในที่ทำงาน 
  7. ฝึกสอนและอบรมลูกจ้างเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน 
  8. ตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือ นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 
  9. หาสาเหตุและประเมินการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือ อุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งสร้างความเดือดร้อนที่เกิดมาจากการทำงานของลูกจ้าง พร้อมรายงานผลการตรวจสอบและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้แก่นายจ้าง 
  10. เก็บรวบรวมสถิติข้อมูลและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการอันตราย อุบัติเหตุ การเจ็บป่วย ที่มีสาเหตุมาจากการทำงานของลูกจ้างให้แก่นายจ้าง 
  11. แนะนำวิธีป้องกันและแนวทางแก้ไขปัญหาในการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 
  12. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมให้แก่ลูกจ้าง ก่อนเข้าปฏิบัติงาน และจัดอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 
  13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่นายจ้างมอบหมาย 
13 หน้าที่หลักของ จป วิชาชีพ 

สถานประกอบการที่กฎหมายกำหนดให้มี จป 

  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับปิโตรเคมี 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  • อุตสาหกรรมเสื้อผ้า อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือ อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย 
  • อุตสาหกรรมเครื่องหนัง 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้ 
  • อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ 
  • อุตสาหกรรมผลิตยาง
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก 
  • อุตสาหกรรมกระดาษ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ 
  • อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์ หรือ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  • อุตสาหกรรมโลหะ 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่โลหะ 
  • อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 
  • อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า 
  • อุตสาหกรรมเครื่องจักร เครื่องมือกล 
  • อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรือ อุปกรณ์สำหรับยานพาหนะ 
  • อุตสาหกรรมเครื่องประดับ 

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่กฎหมายบังคับให้มีเจ้าหน้าที่ จป ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการทำงานและสถานที่ทำงานนั่นเองครับ 

สรุป

หลังจากอ่านบทความนี้หลายคนน่าจะเข้าใจว่า จปคืออะไร พร้อมทั้งความสำคัญของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยกันแล้ว ทั้งนี้กฎหมายได้มีการกำหนดให้หลาย ๆ อุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ ปจ ก็เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานงาน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ จป ยังสามารถช่วยแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ทำให้ความเสียหายที่ได้รับรุนแรงน้อยลง 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ทำความเข้าใจ หลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น” ตามกฎหมาย 2567

ทำความเข้าใจ หลักสูตรอบรม "การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น" ตามกฎหมาย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรถเครน หรือ ปั้นจั่น นายจ้างจำเป็นต้องจัดการฝึกฝนและอบรมปั้นจั่นตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานลง 

วันนี้ผมจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ความสำคัญของหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามที่กฎหมายใหม่กำหนดไว้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ 

ทำไมต้องมีหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ? 

ปั้นจั่นเป็นเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ โดยมีหน้าที่ยกเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องผ่านหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ เพราะถ้าหากเกิดข้อผิดพลาด หรือ อุบัติเหตุก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทันที  

โดยวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้มีการจัดอบรมหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ มีดังนี้ 

  1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกับเครนปั้นจั่นอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 
  3. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินพิกัดการยกวัตถุ สิ่งของโดยใช้หลักการคำนวณที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 
  4. เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจวิธีการตรวจสอบ ซ่อมบำรุง และรักษาปั้นจั่นได้อย่างถูกต้อง 
  5. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินความเสี่ยงและหาวิธีป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรัดกุม  

กฎหมายใหม่เกี่ยวกับหลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนและปั้นจั่น” 

  • ข้อที่ 1 กำหนดให้ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุหรือผู้ควบคุมการใช้งานปั้นจั่น ต้องได้ผ่านการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ.2554 
  • ข้อที่ 2 ประกาศนี้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
  • ข้อที่ 3 กฎกระทรวงเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น บังคับใช้กับปั้นจั่นทุกชนิดที่มีขนาดพิกัดการยกปลอดภัย ตามที่ผู้ผลิตกำหนดตั้งแต่ 1 ตันขึ้นไป 
  • ข้อที่ 4 ความหมายของ ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
  1. ผู้บังคับปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บังคับการทำงานของปั้นจั่นหรือเครนให้ทำงานตามที่วางแผนไว้ 
  2. ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ใช้สัญญาณมือหรือสัญญาณเพื่อสื่อสารกับผู้บังคับปั้นจั่น 
  3. ผู้ยึดเกาะวัสดุ หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ผูก มัด หรือ เกี่ยววัสดุเพื่อใช้ปั้นจั่นยก
  4. ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่มีหน้าที่สั่งการให้ผู้บังคับปั้นจั่นปฏิบัติตาม และมีหน้าที่พิจารณาพิกัดน้ำหนักที่ใช้ยก 
หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ 

หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรมเครนปั้นจั่น ตามที่กฎกระทรวงกำหนด

กฎกระทรวงบังคับให้นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณ ผู้ยึดเกาะวัตถุ และ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น โดยนายจ้างต้องมีการจดบันทึกรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม ชื่อวิทยากร รวมไปถึงวันและเวลาที่ฝึกอบรมเก็บไว้เป็นหลักฐาน หากพนักงานตรวจแรงงานขอตรวจสอบต้องมีหลักฐานแสดงว่าตนได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดไว้ 

โดยหลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรม ได้แก่ 

  1. นายจ้างต้องแจ้งกำหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนการจัดฝึกอบรม 
  2. นายจ้างต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดตามหลักสูตรกำหนดไว้
  3. นายจ้างต้องจัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยกำหนดต้องผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 
  4. นายจ้างต้องออกใบรับรองให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรม 

นอกจากนี้กฎกระทรวงยังกำหนดให้การฝึกอบรมภาคทฤษฎีห้องละไม่เกิน 60 คนต่อวิทยากร 1 คน  และในภาคทดสอบภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย 1 คน และปั้นจั่น 1 เครื่องต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 20 คน 

หลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น”

ในปัจจุบันหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ สามารถแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่นอยู่กับที่ และ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ และทั้ง 2 หลักสูตรจำเป็นต้องมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง 

1. หัวข้อหลักสูตรอบรมเครน ปั้นจั่นชนิด “เคลื่อนที่” 

1.1 ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงข้อ 11  

1.2 ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น 

1.3 ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น 

1.4 ระบบการไฮดรอลิกเบื้องต้น 

1.5 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch 

1.6 วิธีการอ่านค่าตารางพิกัดยก 

1.7 วิธีใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร 

1.8 วิธีเลือกใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ยก 

1.9 วิธีการประเมินน้ำหนักวัตถุ 

1.10 วิธีการผูกมัดและยกเคลื่อนย้ายวัตถุ 

1.11 วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา และ วิธีใช้คู่มือการใช้งาน 

2. หัวข้อหลักสูตรอบรมเครน ปั้นจั่นชนิด “อยู่กับที่”

2.1 ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงข้อ 11  

2.2 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch 

2.3 ระบบไฟฟ้า 

2.4 วิธีใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร 

2.5 วิธีการผูกมัดและยกเคลื่อนย้ายวัตถุ 

2.6 วิธีการประเมินน้ำหนักวัตถุ 

2.7 วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา และ วิธีใช้คู่มือการใช้งาน 

สรุป

หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ถือเป็นข้อบังคับที่นายจ้างและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานกับปั้นจั่น รถเครนควรให้ความสำคัญ และไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุในที่ทำงานได้ 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อุปกรณ์จำเป็นที่ต้องติดตั้งไว้ในปั้นจั่นตามกฎกระทรวง ฉบับอัปเดต 2567

อุปกรณ์จำเป็นที่ต้องติดตั้งไว้ในปั้นจั่นตามกฎกระทรวง

วันนี้ผมพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องติดตั้งบนปั้นจั่นตามกฎกระทรวงแรงงาน ฉบับล่าสุดที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน บอกเลยครับว่านายจ้างและเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานกับปั้นจั่น หรือ รถเครน ห้ามพลาดบทความนี้ 

ประเภทของปั้นจั่น หรือ เครน 

อย่างที่หลายคนทราบกันดีครับ ว่าปั้นจั่น หรือ เครน เป็นอุปกรณ์ทุ่นแรงที่นิยมใช้กันเป็นอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือ กิจกรรมที่ต้องเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดใหญ่ หรือ วัตถุที่มีน้ำหนักจำนวนมาก โดยสามารถแบ่งประเภทของปั้นจั่นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

  1. ปั้นจั่นที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น รถเครน หรือ ปั้นจั่นที่ติดตั้งบนรถบรรทุก
  2. ปั้นจั่นที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ปั้นจั่นเหนือหัว และ ปั้นจั่นขาสูง

สำหรับใครที่อยากจะศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับปั้นจั่นเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น วิธีใช้ การเช็คสภาพ หรือ ประเภทของปั้นจั่นอย่างละเอียด ทาง EK Crane ได้เตรียมบทความ ปั้นจั่นคืออะไร? แตกต่างจากรถเครนอย่างไรบ้าง ไว้ช่วยตอบคำถามที่หลายคนสงสัยแล้วครับ 

อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งบนปั้นจั่นมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งบนปั้นจั่น ฉบับอัปเดตปี 2567 

กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงาน ปี 2564 ได้มีการกำหนดให้นายจ้างต้องติดตั้งอุปกรณ์บนปั้นจั่น ดังต่อไปนี้ 

  1. ต้องมีสลิงพันอย่างน้อย 2 รอบในม้วนสลิงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์สลิงหมดม้วนแล้วหมุนกลับด้านข้ามร่องในม้วนสลิง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสลิง
  2. ต้องมีที่ปิดปากตะขอและที่ปิดปากต้องสามารถใช้งานได้จริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุวัตถุร่วงหล่นระหว่างเคลื่อนย้าย 
  3. ต้องติดตั้งถังดับเพลิงไว้ในห้องผู้ควบคุมปั้นจั่น หรือ จุดอื่นที่เหมาะ โดยต้องคำนึงถึงการใช้งานเป็นหลัก 
  4. บริเวณท่อไอเสียต้องมีฉนวนห่อหุ้ม 
  5. มีที่กั้น หรือ ตัวครอบปิดส่วนที่สามารถหมุนได้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีเสื้อผ้า อวัยวะ หรือ ชิ้นส่วนใดของเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นจนทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน 
  6. นายจ้างต้องกำหนดให้มีการทำราวกันตก พื้นกันลื่น สำหรับปั้นจั่นที่ต้องจัดทำทางเดินและพื้น เช่น ปั้นจั่นเหนือศีรษะคานคู่ เพราะเจ้าหน้าที่จำเป็นที่จะต้องขึ้นไปปฏิบัติงานด้านบน 
  7. มี Upper Limit Switch เพื่อป้องกันการยกวัตถุขึ้นชนรอกด้านบน 
  8. มี Overload Limit Switch เพื่อป้องกันการยกวัตถุที่มีน้ำหนักเกินค่าที่กำหนด หรือ มากกว่าพิกัดยกปลอดภัย 
  9. มีป้ายบอกพิกัดยกติดที่ปั้นจั่นอย่างชัดเจน 
  10. ในขณะที่ปั้นจั่นทำงานต้องมีสัญญาณเสียงและแสง เตือนอยู่ตลอดเวลา 
  11. ติดตั้งป้ายเตือนระวังอันตราย และ รูปภาพสัญญาณมือตามมาตรฐาน ASME หรือ ที่กรมสวัสดิฯประกาศไว้อย่างชัดเจน 
ข้อแนะนำในการใช้ปั้นจั่นและอุปกรณ์ให้ปลอดภัย

แนะนำ 10 วิธี ใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัย 

หลังจากที่ได้รู้จักประเภท และ อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งบนปั้นจั่นแล้ว ทุกคนลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้งานปั้นจั่นที่ถูก เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงานดีกว่า 

  1. เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมปั้นจั่นต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้งานปั้นจั่น และระหว่างปฏิบัติงานต้องสวมใส่ชุดปฏิบัติงานและอุปกรณ์นิรภัยอย่างรัดกุม
  2. หลีกเลี่ยงการยกวัตถุที่มีน้ำหนักเกินค่าพิกัดยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้สลิงขาดและปั้นจั่นชำรุดเสียหาย 
  3. ในกรณีที่ต้องใช้ปั้นจั่นตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ควรมีผู้ให้สัญญาณมือแค่เพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันการสับสนและทำให้เกิดอุบัติเหตุในที่สุด 
  4. ควรติดตั้งและใช้งานปั้นจั่นห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 3 เมตร ทั้งนี้ถ้าหากไม่สามารถทำได้ ควรจะต้องมีผู้คอยดู และให้สัญญาณเตือน 
  5. ในขณะที่ใช้ปั้นจั่นเคลื่อนย้ายวัตถุไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง และห้ามให้เจ้าหน้าที่เกาะบนวัตถุที่เคลื่อนย้าย
  6. ควรมีการทดสอบน้ำหนักของวัตถุก่อนยกจริง โดยยกขึ้นเล็กน้อยเพื่อตรวจสอบการยกและสมดุลของปั้นจั่น 
  7. ในกรณีที่เกิดลมหรือพายุระหว่างที่ยกวัตถุจนทำให้วัตถุที่ยกแกว่งไปมา เจ้าหน้าที่ควบคุมปั้นจั่นต้องรีบวางวัตถุลงที่พื้นทันที 
  8. ในกรณีที่ใช้งานปั้นจั่นบนอาคารสูง ต้องมีสัญญาณไฟบอกตำแหน่งให้เครื่องบินทราบ เพื่อป้องกันการชน 
  9. ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในห้องควบคุมปั้นจั่น 
  10. ควรบำรุงรักษาอุปกรณ์ทุกชิ้น โดยเฉพาะส่วนที่มักเกิดการเสียดสี 

สรุป

นอกจากการติดตั้งอุปกรณ์บนปั้นจั่นแล้วกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานยังกำหนดให้นายเจ้าทุกคนต้องจัดอบรมปั้นจั่นให้ลูกจ้างที่ทำงานกับปั้นจั่นทุกคน โดยมีเนื้อหาตามที่ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงานและลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานลงนั้นเองครับ

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย