Checklist มาตรการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

checklist การทำงานบนที่สูง

การทำงานบนที่สูงและการทำงานบนนั่งร้านที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานบำรุงรักษา งานสายส่งไฟฟ้า งานทำความสะอาด การช่วยเหลือกู้ภัย หรือแม้กระทั่งการทำงานในหลุม บ่อ เป็นต้น งานที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูงหรือพื้นที่ต่างระดับนี้ จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับการอบรม ฝึกฝน ให้มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะที่ปฏิบัติงานบนที่สูงและปฏิบัติให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยเราได้ทำ checklist การทำงานบนที่สูง มารวบรวมไว้ให้ที่นี่แล้ว

skyscraper

การทำงานบนที่สูง คือ

อย่างแรกเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า “การทำงานบนที่สูง” หมายถึงอะไร การทำงานบนที่สูง คือ การทำงานที่ตัวผู้ปฏิบัติงานอยู่บนพื้นที่ที่สูงจากพื้นดิน หรือสูงจากพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป หรือทางต่างระดับลงไปมากกว่า 2 เมตรก็ตาม ที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานพลัดตกได้ ด้วยความที่การทำงานบนพื้นที่สูงนั้นมีความเสี่ยงสูงที่ตัวผู้ปฏิบัติงานจะเกิดอันตรายต่อชีวิต เช่น พลัดตก จึงทำให้มีการประกาศกฎหมายออกมาบังคับใช้สำหรับการทำงานบนที่สูงให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน และ ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานบนที่สูง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อบังคับสำหรับการทำงานบนที่สูงตามที่กฎหมายกำหนด

checklist ข้อบังคับการทำงานบนที่สูง มีดังนี้

  1. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการอบรมการทำงานบนที่สูง หรือ ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบังคับและขั้นตอนในการทำงานบนที่สูงเพื่อความปลอดภัย 
  2. นายจ้างจะต้องมีเอกสารประกอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE) ที่ออกด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ลูกจ้างอ่านและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 
  3. นายจ้างจะต้องเตรียมอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE) ที่ได้รับมาตรฐาน และพร้อมใช้งาน 100% ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็กหมวกเซฟตี้ และเครื่องมือชนิดอื่นๆ และต้องบังคับใช้อย่างเคร่งครัด 
  4. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการเตรียมความพร้อม ตรวจสอบ และเตรียมอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย เช่น การตรวจสอบว่าอุปกรณ์พร้อมใช้งานก่อนการทำงานทุกครั้ง 
  5. นายจ้างจะต้องจัดให้มีอุปกรณ์กันตก เช่น ราวกั้น รั้วกั้น หรือตาข่ายต่าง ๆ ในกรณีที่มีการทำงานบนพื้นที่สูง 4 เมตรขึ้นไป แต่แนะนำว่าควรมีไม่ว่าจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม 
  6. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการติดตั้งนั่งร้านที่ได้มาตรฐาน
  7. นายจ้างจะต้องจัดให้มีฝาปิดช่องหรือปล่องต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีโอกาสตกลงไปได้ โดยฝาปิดจะต้องเป็นฝาปิดที่ได้มาตรฐาน 
  8. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการติดตั้งนั่งร้านในกรณีที่พื้นที่ปฏิบัติงานมีความลาดชันเกิน 15 องศาขึ้นไป
  9. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการผูกยึดอุปกรณ์ในการทำงานบนที่สูง เพื่อป้องกันไม่ให้ตกลงมาและอาจจะก่อเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่ข้างล่าง 
  10. นายจ้างจะต้องบังคับใช้บันไดที่เคลื่อนย้ายได้ พาดทำมุม 75 องศาเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน 
  11. หากใช้รถเครน จะต้องบังคับใช้แผ่นเหล็กเพื่อมารองขาช้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอ่อนตัวแล้วทำให้รถเครนล้มตัวลงมา โดยคนขับและผู้ให้สัญญาณจะต้องผ่านการอบรม และตัวรถเครนจะต้องผ่านการตรวจสอบเครนจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและมีใบอนุญาต

กฎหมายพื้นฐานสำหรับผู้ที่ทำงานบนที่สูง

กฎพื้นฐานสำหรับผู้ที่ทำงานบนที่สูงที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีดังนี้

  1. ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านหลักสูตรอบรมการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัยหมดทุกคน
  2. ทุกคนต้องบังคับสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ในขณะทำงานบนที่สูง
  3. สวมใส่อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเฉพาะในการทำงาน เช่น ใส่หน้ากากกันฝุ่นเพื่อป้องกันไอควันจากการวัสดุก่อสร้าง
  4. ก่อนผู้ปฏิบัติงานจะดำเนินการก่อสร้างบนพื้นที่สูง ควรหาจุดยืนที่แข็งแรงก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
  5. นายจ้างต้องเตรียมแผนการช่วยเหลือ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุขณะการก่อสร้างแก่ลูกจ้างได้

กฎหมายการทำงานบนที่สูงที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือกันกับการใช้บันได มี 5 ข้อปฏิบัติ ดังนี้

  1. บันไดที่ใช้ในการปีนขึ้นไปจะต้องถูกยึดเหนี่ยวแน่น ไม่โยกในขณะการปีนขึ้นไป
  2. สวมใส่ถุงมือเซฟตี้ และรองเท้าเซฟตี้ขณะขึ้นบันไดทุกครั้ง
  3. ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ใช้บันไดร่วมกัน ต้องบังคับการขึ้นและลงทีละคนเท่านั้น
  4. ในขณะผู้ปฏิบัติงานกำลังขึ้นบันได ให้จับราวบันไดทั้งสองข้างด้วยความเร็วปกติ
  5. ผู้ปฏิบัติงานที่กำลังขึ้นบันไดต้องไม่พบอุปกรณ์พกพาติดมือในขณะปีน หากจำเป็นต้องพกพาให้ใส่ในกระเป๋าติดตัวเท่านั้น

กฎหมายอีกฉบับที่ประบังคับใช้กับสถานประกอบกิจการและนายจ้าง คือ

  1. นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือ คู่มือการทำงานนั่นเอง โดยก่อนเริ่มทำงานเราจะต้องทำการอบรมให้กับพนักงานก่อนเริ่มทำงานบนที่สูง อาจจะใช้การประเมินอันตรายด้วย JSA มาทำเป็นคู่มือก็ได้เช่นกัน
  2. นายจ้างและผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามคู่มือการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานบนที่สูงอย่างเคร่งครัด
  3. จะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตก เข็มขัดนิรภัย หรือ PPE ตลอดระยะเวลาที่ทำงานบนที่สูง รวมทั้งจัดให้มีส่วนประกอบของระบบกันตกดังนี้

3.1 จุดยึดที่แข็งแรง (A)

3.2 เข็มขัดกันตกยึดกับร่างกาย (B)

3.3 อุปกรณ์เชื่อมต่อในแต่ละส่วนที่ได้มาตรฐานแข็งแรง ©

Working at height

ข้อกำหนดเพื่อใช้สำหรับการขึ้นทำงานบนที่สูงให้ปลอดภัย

checklist ข้อกำหนดการขึ้นทำงานบนที่สูงให้ปลอดภัย มีดังต่อไปนี้

  • ห้ามทำงานบนที่สูงเพียงลำพังคนเดียว
  • ห้ามวิ่งหรือเคลื่อนไหวตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อทำงานบนที่สูงกว่าพื้นดินเกิน 2 เมตร
  • ขณะทำงานงาน ห้ามโยนสิ่งของหรือเครื่องมือให้แก่ผู้ที่อยู่บนที่สูงอย่างเด็ดขาด
  • เมื่อทำงานอยู่บนที่สูง ห้ามทิ้งสิ่งของหรือเครื่องมือลงสู่เบื้องล่างโดยเด็ดขาด
  • การตัด การเชื่อมบนที่สูง ให้ตรวจสอบและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิง และสารไวไฟทุกชนิดในพื้นที่เบื้องล่างก่อน รวมถึงขณะตัดหรือเชื่อม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง
  • ผู้ควบคุมงานต้องดูแลไม่ให้ใครเดินผ่านเบื้องล่างขณะทำงานบนที่สูง
  • หากจำเป็นต้องยกแฮงเกอร์แขวนท่อเคลื่อนย้าย ควรทำการเคลื่อนที่ภายในเส้นทางบริเวณเขตก่อสร้างเท่านั้น
  • ขณะยืนบนหลังคากระเบื้องและกระจก ควรวางน้ำหนักเท้าให้เบาที่สุด และห้ามเหยียบที่แผ่นกระเบื้องโดยตรง

อันตรายที่พบได้บ่อยเมื่อทำงานบนที่สูง

การทำงานบนที่สูงมีอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน เนื่องจากเป็นงานที่มีความเสี่ยง โดยอันตรายที่พบได้บ่อย คืออันตรายจากการพลัดตกจากที่สูง ที่อาจส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้ และอันตรายอื่นๆ จากการทำงานบนที่สูงยังรวมถึง

  • วัตถุที่ตกลงมาจากที่สูง ที่อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ด้านล่างได้รับบาดเจ็บจากวัตถุนั้น
  • การยุบตัวของโครงสร้างที่อาจพังทลายลงมาทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บ
  • อันตรายจากไฟฟ้าช็อต ที่เกิดจากสายไฟฟ้าที่อยู่บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • การบาดเจ็บจากการลื่นไถล สะดุด ล้ม บนพื้นบริเวณที่ทำงาน
  • การบาดเจ็บจากการขนย้ายเครื่องมือและอุปกรณ์

นอกจากอันตรายที่กล่าวไปข้างต้น ในการทำงานบนที่สูงอาจมีอันตรายอื่นๆ ที่แอบแฝงอยู่ เพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างเหมาะสม ซึ่งรวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันการตก เช่น เข็มขัดนิรภัยและเชือกช่วยชีวิต การใช้ราวกั้น ตาข่ายนิรภัย และมาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆ และต้องแน่ใจว่าผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมในการใช้อุปกรณ์อย่างปลอดภัย

สรุป

การทำงานบนที่สูง มีความเสี่ยงจากการพลัดตก จนทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องได้รับการอบรมให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย และนอกจากการอบรมแล้ว นายจ้างยังต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เพียงพอ และต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่แค่เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงาน แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้อื่นด้วยนั่นเอง เพราะการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยอย่างจริงจังและการใช้มาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด สามารถสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บได้  หากสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความปลอดภัยก็จะสามารถนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาภายในไซต์ก่อสร้างด้วย Why Why Analysis

why why analysis คือ

ในปัจจุบันปัญหาต่าง ๆ ของการทำงานมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะในกระบวนการทำงานภายในไซต์ก่อสร้าง ซึ่งทักษะการวิเคราะห์ปัญหาด้วย Why Why Analysis คือ พื้นฐานสำคัญและมีความเหมาะสมกับการแก้ปัญหาในกระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างมาก การใช้ Why Why Analysis ส่งผลให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความเป็นระบบ มีขั้นตอนและมีเหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์ จึงนับว่าการใช้ Why Why Analysis คือ “การป้องกันการแก้ปัญหาแบบไม่สมเหตุผล” ที่เกิดจากการนึกคิดเองของผู้ปฏิบัติงานไปด้วยในตัว ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจการใช้ Why Why Analysis มาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ผมจึงได้รวบรวมเนื้อหาและสาระที่น่ารู้ว่า Why Why Analysis คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง มาให้ทุกคนได้อ่านในบทความนี้แล้ว

Why Why Analysis

การแก้ไขปัญหาด้วย Why Why Analysis คือ

Why Why Analysis คือ “การวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริง (Root Cause) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหรือปรากฏการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น (Effect) ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอน โดยไม่ให้เกิดสภาพการณ์ที่ตกหล่นและซ้ำซ้อน และไม่จินตนาการไปเอง” ดังนั้น Why Why Analysis เปรียบเสมือนการมองเห็น “ผลกระทบ” และ “สาเหตุ” ในบางประเด็น แต่ยังไม่ด่วนสรุปทันทีว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่พยายามค้นหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและสอดคล้องเพื่อค้นหาว่า “สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร”

หรือให้ทุกคนเข้าใจอย่างง่ายๆ Why Why Analysis หรือ 5 Why คือ เครื่องมือวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาด้วยการถามหาสาเหตุด้วยคำว่า “Why” หรือ “ทำไม” เพื่อหาว่าสาเหตุของปัญหามาจากอะไร และถามซ้ำเพื่อหาว่าทำไมสาเหตุดังกล่าวจึงเกิดขึ้นได้ โดยการตั้งคำถามซ้ำไปเรื่อยๆ 5 ครั้งหรือจนกว่าจะพบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา จนกระทั่งได้สาเหตุที่เป็นต้นตอของปัญหา โดยสาเหตุที่อยู่หลังสุดจะต้องเป็นสาเหตุที่สามารถพลิกกลับกลายมาเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพหรือเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำได้อีกนั่นเอง

ขั้นตอนทำ Why Why Analysis

ขั้นตอนทำ Why Why Analysis ประกอบไปด้วย

  1. ระบุปัญหาหลักที่ต้องการแก้ไข: เริ่มต้นด้วยการระบุปัญหาหลักที่ต้องการแก้ไขอย่างชัดเจน
  2. สอบถามที่ 1 (Why?) : สอบถามว่าทำไมเกิดปัญหานี้ขึ้น ซึ่งจะเป็นการค้นหาสาเหตุหลักที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
  3. สอบถามที่ 2 (Why?) : ต่อมาสอบถามว่าทำไมสาเหตุที่ตอบมาจากขั้นตอนที่ 2 นั้นเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นการค้นหาสาเหตุย่อยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุหลัก
  4. ทำขั้นตอนที่ 3 จนกระทั่งได้สาเหตุหลักและสาเหตุย่อยทั้งหมด : ทำขั้นตอนการสอบถามสาเหตุย่อยต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้สาเหตุหลักและสาเหตุย่อยทั้งหมด (Why ที่ดีควรสอบถามให้ถึง 5 Why)
  5. หาวิธีแก้ไขสาเหตุหลัก : หลังจากได้สาเหตุหลักและสาเหตุย่อยทั้งหมดแล้ว จะต้องหาวิธีแก้ไขสาเหตุหลักเพื่อแก้ไขปัญหาให้หมดไป
  6. ดำเนินการแก้ไข : หลังจากได้วางแผนวิธีแก้ไขสาเหตุหลักแล้ว ก็ทำการดำเนินการแก้ไขเพื่อแก้ไขปัญหา
  7. ตรวจสอบผล : หลังจากดำเนินการแก้ไขแล้ว จะต้องทำการตรวจสอบผลเพื่อให้แน่ใจว่าปัญหานั่นได้คลี่คลายแล้ว
  8. ประเมินและป้องกันปัญหาเดียวกัน : หลังจากแก้ไขปัญหาแล้ว จะต้องประเมินว่าการแก้ไขนั้นเป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่ และควรมีการวางแผนการป้องกันปัญหาเดียวกันในอนาคต เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นซ้ำอีก
5Why

9 ข้อ ที่ต้องคำนึกเมื่อทำ Why Why Analysis

9 ข้อที่ต้องคำนึกถึงเมื่อทำ Why Why Analysis เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยเทคนิคดังต่อไปนี้

  1. หาความชัดเจนกับปัญหา (Specification) และไม่เป็นนามธรรม
  2. การวิเคราะห์ต้องดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง (3G)
  3. ต้องระวังต้นเหตุเทียมหรือต้นกำเนิดที่ไม่สมเหตุสมผล
  4. ต้องพิจารณาปัญหา (สาเหตุ) ให้รอบด้าน
  5. หลีกเลี่ยงสาเหตุจากสภาพจิตใจ (Emotional Cause)
  6. ต้นเหตุต้องนำมากำหนดเป็นมาตรการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ
  7. ไม่นิยมนำมาตรการแก้ปัญหามากำหนดเป็นต้นเหตุ
  8. ต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ด้วย MECE Technique
  9. พิจารณาว่าสาเหตุใดควรเป็นต้นเหตุสุดท้าย

5 Gen ที่จะช่วยให้การทำ Why Why Analysis มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

นอกจากการใช้ Why Why Analysis มาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแล้วนั่น ยังมีอีกหลักการหนึ่งที่ยังสามารถช่วยให้การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือ “หลักการ 5 Gen” โดยประกอบไปด้วย Genba, Genbutsu, Genjitsu, Genri และ Gensoku โดยเฉพาะใน 3 Gen แรกที่จะให้ความสำคัญกับการดำเนินการค้นหาปัญหา เป็นการลงไปเห็นที่จุดเกิดเหตุของปัญหานั้นๆ เพื่อที่จะนำมันมาแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยในแต่ละหลักการมีความหมายดังนี้

  • Genba คือ สถานที่จริง/หน้างานจริง หรือก็คือ การลงพื้นที่เพื่อค้นหาปัญหาจริง ๆ
  • Genbutsu คือ สิ่งที่เป็นตัวปัญหาจริง หมายถึง การสังเกตหรือจับต้องสิ่งนั้น ๆ ที่กำลังจะถูกผลิตหรือกำลังถูกตรวจสอบนั่นเอง
  • Genjitsu คือ สถานการณ์จริง หมายถึง เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดปัญหาจริง
  • Genri คือ ทฤษฎีที่ใช้ได้จริง หมายถึง หลักการที่ใช้ในการทำงาน หรือสมมุติฐานในการแก้ไขหรือตรวจสอบ
  • Gensoku คือ เงื่อนไขประกอบที่เกี่ยวข้องจริง หมายถึง ข้อจำกัด ข้อตกลง หรือกฎที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

ซึ่งเหตุผลที่ควรนำหลักการ 5 Gen มาใช้ด้วยนั้น ก็เป็นเพราะว่าการวิเคราะห์ด้วย Why Why Analysis ในอดีตมีข้อด้อยคือ ขาดการทวนสอบจากสถานที่จริง จึงทำให้เกิดการวิเคราะห์อยู่เพียงแค่บนโต๊ะทำงาน ทำให้ปัญหาจริงๆไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้น จึงต้องใช้หลักการของ 5 Gen เข้าไปร่วมด้วย โดยจะช่วยทำให้เราสามารถค้นหาปัญหาที่เรากำลังตามหาได้อย่างแท้จริงนั่นเอง

สรุป

จากบทความข้างต้น Why Why Analysis คือการถกถามหาปัญหาไปเรื่อยๆ เพื่อหาต้นเหตุของปัญหาไปจนกว่าจะเจอสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นอาจจะน้อยกว่าหรือมากกว่า 5 คำถามก็ได้ และในแต่ละคำถามอาจจะมีมากกว่า 1 คำตอบก็เป็นได้ ซึ่งจะช่วยทำให้เข้าใกล้ถึงปัญหาได้มากขึ้นจนสามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และตรงประเด็น

ซึ่งในปัจจุบันหลักการวิเคราะห์ด้วย Why Why Analysis ไม่ได้เป็นที่นิยมในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง โรงงานผลิต หรือ โรงพยาบาล เท่านั้น แต่ยังมีหลาย ๆ องค์กรที่นำหลักการวิเคราะห์ด้วย Why Why Analysis ไปใช้และได้ผลตอบรับที่ดีเกินคาด ทั้งนี้ทุกคนสามารถนำหลักการวิเคราะห์ด้วย Why Why Analysis ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรหรือบริษัทของคุณได้เช่นกัน

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย