Near Miss สัญญาณเตือนที่อาจสร้างอันตรายในภายภาคหน้า 

Near Miss คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน

คำว่า อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ ทั้ง 3 คำนี้มีความหมายแตกต่างกันออกไป ซึ่งบางคนอาจจะยังคงสับสน และใช้ทั้งคำ 3 นี้ ผิดความหมายอยู่ วันนี้ผมจึงอยากจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก กับ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss คืออะไร พร้อมทั้งอธิบายความแตกต่างระหว่างคำว่า อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ ให้เข้าใจอย่างแท้จริง ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปทำความรู้จักว่า Near Miss คืออะไร พร้อม ๆ กันเลยดีกว่าครับ 

Near Miss คืออะไร 

อย่างแรกผมอยากให้ทุกคนลองทำความรู้จักกับคำว่า เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss กันก่อน โดย Near Miss คือ เหตุการณ์ที่เกือบจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือ เกือบเกิดความเสียหาย แต่เหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ เพราะสามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ อาจจะเป็นเพราะโชคช่วยก็ได้ 

เช่น คุณกำลังขับรถบนถนนที่ลื่น เนื่องจากฝนเพิ่งตกหนักไปด้วยความเร็วเกินมาตรฐานกำหนดไว้ ทำให้รถของคุณเสียหลัก แต่คุณสามารถตั้งสติและประคับประคองรถให้รอดพ้นมาได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือ สร้างความเสียหายใด ๆ เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่า Near Miss หรือ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุนั้นเองครับ 

ซึ่งหลายครั้งที่ Near Miss ถูกมองข้าม เพราะไม่ได้สร้างความเสียหายหรือเดือดร้อนใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าหากเกิด Near Miss ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องบันทึกเหตุการณ์และรายงานให้หัวหน้าทราบ เพื่อเรียนรู้จากสถานการณ์ และคิดวิธีป้องกันอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดในอนาคต 

อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

ระหว่าง อุบัติเหตุ และ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ แตกต่างกันยังไง 

มีหลายคนที่สับสนระหว่าง อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss (เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ) ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เพราะทั้ง 3 คำ มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่การแยกความหมายที่แตกต่างของแต่ละคำได้ จะช่วยให้สามารถคิดวิธีป้องกันและแก้ไขได้ดีกว่าครับ 

โดยความแตกต่างระหว่าง อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss ได้แก่ 

  • อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความบาดเจ็บ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกะทันหันไม่มีได้ทันตั้งตัว และมักมีสาเหตุมาจากความประมาท เลินเล่อ หรือ ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจในหน้าที่และเครื่องจักรที่ใช้ 
  • อุบัติการณ์ คือ เหตุการณ์ที่สร้างความบาดเจ็บ หรือ เสียหาย แต่ไม่รุนแรง และไม่อันตรายใด ๆ ต่อชีวิต เช่น พนักงานลื่นล้มเพราะพื้นเปียก ซึ่งอุบัติการณ์มักมีสาเหตุมาจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย หรือ พฤติกรรมที่ไม่ระมัดระวัง 
  • เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss คือ เหตุการณ์ที่เกือบเกิดอุบัติเหตุแต่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน ทำให้ไม่เกิดความเสียหายหรือได้รับบาดใจใด ๆ ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย หรือ พฤติกรรมที่ประมาท 

ระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติการณ์

ในปัจจุบันสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของลักษณะการเกิดอุบัติการณ์ ได้ทั้งหมด 9 ระดับ ดังนี้ 

  1. A ระดับที่ไม่มีความรุนแรง เป็นเหตุการณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 
  2. B ระดับที่ไม่มีความรุนแรง เกิดอุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แต่ไม่ได้รับความเสียหาย หรือ อาการบาดเจ็บใด ๆ 
  3. C ระดับความรุนแรงต่ำ เกิดอุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แต่ได้รับความเสียหาย หรือ อาการบาดเจ็บเล็กน้อย มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 1,000 บาท
  4. D ระดับความรุนแรงปานกลาง เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอาการ หรือ เกิดความเสียหายเล็กน้อย มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 1,000 – 5,000 บาท 
  5. E ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้ได้รับความเสียหาย หรือ ได้รับบาดเจ็บ ทำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาตัว มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 5,000 – 10,000 บาท 
  6. F ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้ได้รับความเสียหาย หรือ ได้รับบาดเจ็บ ทำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาตัว มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 10,000 – 50,000 บาท 
  7. G ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้เกิดความสูญเสีย เช่น อวัยวะ เกิดการร้องเรียน หรือ มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 50,000 – 80,000 บาท 
  8. H ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่อันตรายร้ายแรงจนเกือบเสียชีวิต เช่น การแก้ยา หัวจหยุดเต้น หรือ เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 80,000 – 100,000 บาท 
  9. I ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ จนทำให้เสียชีวิต หรือ มูลค่าความเสียหายมากกว่า 100,000 บาทขึ้นไป 

ถ้าหากสังเกตที่ข้อ 1 และ ข้อ 2 คือ Near Miss หรือ เหตุการณ์ที่เกือบเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้สร้างความเสียหาย หรือ อันตรายจนได้รับบาดเจ็บ

Near Miss คือสัญญาณที่ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในอนาคตได้

สรุป

ผมจึงขอสรุปให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ ว่า Near Miss คือ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียใด ๆ ไม่ได้รับบาดเจ็บและความเสียหายใด ๆ จากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน แต่จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญและแจ้งหัวหน้าทุกครั้งที่เกิด Near Miss เพื่อจะได้หาหนทางและวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้นั้นเองครับ  

ติดตามข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

เข้าใจระบบบริหารงานคุณภาพ และวิธีได้รับการรับรอง ISO 9001

เข้าใจระบบบริหารงานคุณภาพ และวิธีได้รับการรับรอง มาตรฐาน ISO 9001

หากใครที่กำลังทำงานในองค์กร หรือเป็นเจ้าของธุรกิจเองก็ต้องอยากให้องค์กรของตนเองเติบโต เป็นที่น่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า แน่นอนว่าเราก็ต้องหาวิธีที่จะผลักดันให้องค์กรพร้อมที่จะแข็งขันกับท้องตลาดได้ สำหรับใครที่กำลังเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือกำลังประกอบในสายอาชีพใดก็ตาม ต้องไม่พลาดที่จะทำความรู้จักกับมาตรฐาน ISO 9001 ที่จะช่วยให้องค์กรของคุณกลายเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานสากล 

ซึ่งในบทความนี้เราจะพามาเข้าใจระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 รวมถึงบอกวิธีได้รับการรับรอง ISO 9001 เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงองค์กรให้ดียิ่งขึ้น ถ้าอยากรู้แล้วตามมาอ่านกันได้เลย

มาตรฐาน ISO 9001 คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ISO 9001 คือ มาตรฐานการจัดการระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System: QMS) เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากลและองค์กรทั่วโลก ทุกองค์กรสามารถนำ ISO 9001 ไปปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ องค์กรภาคผลิต หรือภาคบริการ 

ซึ่งมาตรฐาน ISO 9001 จัดอยู่ในกลุ่ม ISO 9000 โดยจะมีความเกี่ยวข้องในส่วนของคุณภาพการจัดการ การบริการ การผลิต การบริหารภายในองค์กร หากนำมาตรฐานนี้มาช่วยพัฒนากับองค์กรของตนเอง ก็สามารถผลักดันให้องค์กรเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ เนื่องจากมาตรฐาน ISO 9001 นี้จะต้องมีการตรวจสอบและควบคุม ถึงจะได้รับการยอมรับและเครื่องหมายมาตรฐาน ISO 9001

หลักการของ ISO 9001 

เพื่อให้องค์กรมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้เกิดหลักการของ ISO 9001 หรือการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ ทั้ง 7 ประการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Focus)

ISO 9001 จะมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เข้าใจ และตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อองค์กร  

  1. มีความเป็นผู้นำ (Leadership)

หากคุณเป็นเจ้าของกิจการ หรือดูแลบริหารองค์กร การที่มีวิสัยทัศน์หรือกลยุทธ์ที่กว้างไกล ชัดเจนเกี่ยวกับกิจการ หรือองค์กรของคุณ จะช่วยให้บุคลากรภายในองค์มีเป้าหมายร่วมกัน ทำงานเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน

  1. การมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร (Engagement of People)

นอกจากทีมผู้บริหารแล้ว บุคลากรในองค์กรควรมีส่วนร่วมช่วยในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันความรู้ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพด้วย

  1. การบริหารอย่างเป็นระบบ (Process Approach)

การที่องค์กรบริหารงานอย่างเป็นระบบด้วยหลักการ Plan Do Check Act หรือ PDCA ของ ISO 9001 จะช่วยเสริมให้ภายในองค์กรของคุณสามารถจัดวางระบบกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ง่ายขึ้น

  1. ปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Improvement)

การปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่องควรเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งที่สำคัญสำหรับทุกองค์กร หากคุณสามารถระบุและแก้ไขในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดได้ นั่นหมายความว่าองค์กรคุณสามารถหาวิธีแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาให้องค์กรมีคุณภาพ แข็งแรงมากขึ้น

  1. ตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (Evidence-Based Decision Making)

ในปัจจุบันที่ข้อมูลมาจากหลายแหล่ง หลายประเภท การวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ให้แน่ใจก่อนจะทำการตัดสินใจใด ๆ 

  1. รักษาความสัมพันธ์ (Relationship Management)

แน่นอนว่าการแข่งขันในท้องตลาด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร อย่างเช่น ซัพพลายเออร์ จะเป็นข้อได้เปรียบของหลาย ๆ องค์กร ดังนั้นเราจึงควรสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน สร้างความไว้วางใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อประโยชน์ร่วมกันในอนาคต

หลักการของ ISO 9001 ความสำคัญ และวิธีการได้รับ

วิธีได้รับการรับรอง ISO 9001 ต้องทำอย่างไรบ้าง

การจะได้รับการรับรอง ISO 9001 สามารถปฏิบัติได้ตามวิธีดังต่อไปนี้

  1. หาผู้ตรวจประเมินรับรองระบบที่ได้มาตรฐาน (Certification Body: CB)

เมื่อเริ่มขั้นตอนการทำ ISO 9001 คือเราจะต้องหาผู้ตรวจประเมินรับรองระบบที่ได้มาตรฐานที่เหมาะสมก่อน โดยจะเรียกกันว่า Certification Body หรือ CB มีความเป็นมืออาชีพ รอบรู้ด้านข้อมูลการประเมิน

  1. จัดหาผู้ช่วยจัดทำระบบให้มีมาตรฐาน

ในขั้นตอนต่อมาจะต้องจัดหาผู้ช่วยจัดทำระบบให้มีมาตรฐาน สามารถดูแลจัดทำระบบ จัดอบรมพัฒนาหลักสูตรมาตรฐาน ISO 9001 และด้านอื่น ๆ เพื่อช่วยพัฒนาให้บุคลากรในองค์กรเกิดประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลยอมรับ

  1. เข้ารับการตรวจและประเมินครั้งที่ 1

เมื่อถึงวันเข้ารับการตรวจและประเมินครั้งที่ 1 จะเป็นการตรวจสอบแบบตรงไปตรงมา พร้อมให้คำแนะนำในส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องหรือมีปัญหา เพื่อให้องค์กรนำกลับไปปรับปรุงแก้ไข และสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 9001 มากขึ้น

  1. เข้ารับการตรวจและประเมินครั้งที่ 2

ในขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจประเมินครั้งที่ 2 หรือขอ ISO 9001 คือเราจะต้องยื่นเอกสารเพื่อรับการตรวจประเมินอีกครั้ง พร้อมแสดงให้เห็นว่าสามารถนำข้อแก้ไขไปปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 9001 อย่างสมบูรณ์แล้ว หากทุกอย่างถูกปรับภายใต้ข้อกำหนดของ ISO 9001 แล้วก็จะผ่านการรับรอง และเพื่อให้แน่ใจว่าจะยังคงอยู่ในมาตรฐาน ISO 9001 อย่างสม่ำเสมอ องค์กรของคุณก็จะต้องได้รับการตรวจประเมินเป็นประจำทุกปีนั่นเอง

ISO 9001 มีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร 

การควบคุมคุณภาพถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะนำองค์กร หรือธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ หากต้องการให้องค์กรมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพของสินค้าหรือบริการ การทำ ISO 9001 จึงมีประโยชน์ต่อองค์กร รวมถึงบุคลากรภายในองค์กร ดังนี้ 

  • ลูกค้า หรือผู้อุปโภค บริโภค มีความมั่นใจในสินค้าหรือบริการขององค์กร 
  • องค์กรมีความน่าเชื่อถือ เพราะมีระบบการจัดการที่ได้มาตรฐานระดับสากล สามารถเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในท้องตลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรขนาดเล็ก หรือธุรกิจ SME 
  • ลดความผิดพลาดในเรื่องของระบบการทำงานภายในองค์กร เสริมสร้างกลยุทธ์ให้องค์กรบรรลุตามเป้าหมาย เนื่องจากข้อกำหนดของ ISO 9001 จะเป็นการเน้นไปที่การปรับปรุงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังกำหนดให้ดำเนินการจัดการความเสี่ยงขององค์กร 
  • องค์กรให้ความสำคัญต่อความคิดเห็นของลูกค้ามากขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ ปรับปรุง พัฒนาองค์กรให้ตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้า
  • เสริมสร้างให้บุคลากรภายในองค์ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างมีระบบ มีการทำงานเป็นทีม เสริมสร้างให้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป 

ISO 9001 คือระบบบริหารงานคุณภาพที่ทุกองค์กรไม่ว่าจะในสายไหน ควรเข้ารับการประเมิน ISO 9001 เพื่อผลักดันให้องค์กรรวมถึงบุคลากรเติบโตอย่างมีคุณภาพ ยั่งยืน สามารถแข็งขันในท้องตลาดได้ ลูกค้ามีความพึงพอใจและมีความเชื่อมั่นในตัวองค์กร 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย