ใบเซอร์คนขับเครนคืออะไร สามารถอบรมได้ที่ไหน ราคาเท่าไร

สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพควบคุมรถเครนหลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า “ใบเซอร์คนขับเครน” กันมาบ้าง เพราะเป็นสิ่งที่เรียกว่า ผู้ควบคุมเครนทุกคนต้องมี  แต่สำหรับบางคนที่สนใจอยากประกอบอาชีพผู้ควบคุมเครนอาจจะยังไม่รู้ใช่ไหมครับ ว่าใบเซอร์คนขับเครนคืออะไร มีไว้ทำไม และต้องไปอบรมที่ไหนถึงจะได้ใบเซอร์คนขับเครนมา ?

มาครับวันนี้ผมจะพาทุกคนไปหาคำตอบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับใบเซอร์คนขับเครน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ! 

ใบเซอร์คนขับเครน

ใบเซอร์คนขับเครนคืออะไร จำเป็นต้องมีไหม ผมสามารถตอบได้อย่างมั่นใจเลยครับว่า ใบเซอร์คนขับเครนนับเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ขับรถเครน หรือ ควบคุมเครน จำเป็นต้องมี เนื่องจากในปี พ.ศ. 2554 กฎหมายได้มีกำหนดให้ผู้ที่ควบคุมเครนทุกคนต้องผ่านการอบรมและทดสอบจากวิศวกร เพื่อเป็นการรับประกันความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งของตัวผู้ควบคุมเครนและผู้อื่น 

โดยหลักสูตรอบรมและทดสอบสำหรับใบเซอร์คนขับเครนจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ อบรมปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ และ อบรมปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมและทดสอบจากวิศวกรแล้วจะได้รับใบเซอร์มาครอบครอง โดยใบเซอร์จะมีอายุการใช้งานทั้งหมด 2 ปี 

ใบเซอร์คนขับเครน

ใบปจ.2 คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อพนักงานขับเครน

นอกจากใบเซอร์คนขับเครนแล้ว หลายคนน่าจะต้องเคยเห็นคำว่า ใบปจ.2 กันมาบ้างใช่ไหมครับ ซึ่งถ้าให้ผมอธิบายเพื่อให้เข้าใจกันง่าย ๆ จริง ๆ แล้ว ใบปจ.2 คือ ใบอนุญาตใช้งานเครนเคลื่อนที่ตามที่กฎหมายกำหนด หรือที่เรียกว่า แบบฟอร์มตรวจสภาพเครนเคลื่อนที่นั่นเอง 

สำหรับผู้ที่ให้บริการเช่ารถเครน หรือ ผู้รับเหมาเจ้าไหนที่ไม่มีใบปจ.2 ก็จะไม่สามารถรับงานหรือให้บริการได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยหลักการตรวจปจ.2 ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มีดังนี้

  • ตรวจสอบสลิงของเครน
  • ตรวจสภาพรถเครน
  • ตรวจขาช้างระดับน้ำว่าตรงหรือไม่ 
  • ตรวจลิมิตสวิทช์เครน 
  • ตรวจบูมเครน
  • ตรวจรอยเชื่อมต่อจุดสำคัญทุกจุด
  • ทดสอบการยกของรถเครน 

ใบปจ.2 และ ใบเซอร์คนขับเครน ต่างกันยังไง 

บางคนอาจจะสับสนและคิดว่าใบปจ.2 และ ใบเซอร์คนขับเครน คือ ใบเดียวกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ครับ ทั้งใบปจ.2 และ ใบเซอร์คนขับเครนแตกต่างกันอย่างชัดเจนครับ โดย ใบปจ.2 คือ หลักฐานที่แสดงว่าเครนชนิดเคลื่อนที่คันนั้น ๆ ได้รับการตรวจสอบคุณภาพและพร้อมสำหรับใช้งานแล้ว 

ส่วนใบเซอร์คนขับเครน คือ หลักฐานที่แสดงว่าผู้ควบคุมเครนได้ผ่านการอบรมและทดสอบจากวิศวกรหรือสถาบันฝึกอบรม ว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการควบคุมรถเครนได้นั่นเองครับ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับใบเซอร์คนขับเครน

คำถามที่พบบ่อย

ใบปจ.2 มีอายุเท่าไหร่

สำหรับเครนที่ได้ผ่านการตรวจสภาพโดยวิศวกรแล้วจะได้รับใบปจ.2 เป็นหลักฐานยืนยัน โดยใบปจ.2 จะมีอายุการใช้งานทั้งหมด 3 เดือน

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อบรมตามหลักสูตรแล้ว สามารถขับรถเครนได้เป็นเลยหรือไม่ 

มีหลายคนที่สงสัยและถามผมว่า หลังจากอบรมตามหลักฐานใบเซอร์คนขับเครนแล้วจะสามารถครับรถเครนได้เป็น 100% เลยไหม ? 

สำหรับหลักสูตรอบรมและทดสอบใบเซอร์คนขับเครนเป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ขับรถเครนมาก่อนหน้าแล้ว โดยมีระยะเวลาในการอบรมประมาณ 18 ชั่วโมง ถ้าหากคุณเป็นผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการควบคุมเครนหรือขับรถเครนมาก่อน อาจจะไม่สามารถขับเครนได้อย่างชำนาญโดยทันทีครับ 

สรุป

หลังจากปี 2554 ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ขับเครนทุกคนจำเป็นต้องมีใบเซอร์คนขับเครน ทำให้ใบเซอร์คนขับเครนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถขาดได้ เพราะถ้าหากคุณขับรถเครนโดยไม่มีใบเซอร์คนขับเครนนั่นหมายความว่าคุณกำลังฝ่าฝืนและไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนด 

ทั้งนี้ผมแนะนำว่าทุกคนที่ควบคุมเครนจำเป็นต้องมีใบเซอร์คนขับเครนเพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและชีวิต ทั้งของตัวผู้ขับเครนเองและผู้อื่นด้วยครับ 

*** ทั้งนี้ ทางบริษัท เอกเครน ไม่มีบริการอบรมใบเซอร์สำหรับการขับรถเครน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพียงเผยแพพร่ข้อมูลเพื่อความปลอดภัยสำหรับการขับรถเครนเท่านั้นครับ

สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครน บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้นำด้านรถโมบายเครน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก พนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมการใช้รถเครน และมีใบเซอร์คนขับเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE

Mobile Crane คืออะไร เหมาะสำหรับใช้งานในรูปแบบใด

รถเครน หรือที่คนไทยนิยมเรียกกันว่า “ปั้นจั่น” เป็นเครื่องจักรเฉพาะทางที่ใช้ยกหรือเคลื่อนย้ายของหนักขึ้นลงตามแนวดิ่ง โดยรถเครนนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือ Mobile Crane เครนที่เน้นความสะดวกเป็นหลัก

ซึ่งในบทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับรถเครนประเภทเคลื่อนที่ได้ หรือ Mobile Crane ว่าคืออะไร มีกี่แบบ เหมาะกับการใช้งานรูปแบบใด รวมถึงคู่มือการใช้งาน Mobile Crane เบื้องต้นเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งานรถเครน

ทำความรู้จักกับ Mobile Crane คืออะไร?

Mobile Crane คือ เครนประเภทเคลื่อนที่ได้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง โดย Mobile Crane นี้มักใช้ในการเคลื่อนที่ไปยังที่ต่าง ๆ เน้นด้านความสะดวกเป็นหลักคือ ยกน้ำหนัก 

Mobile Crane มีกี่แบบ?

รถเครนชนิดเคลื่อนที่ได้ หรือ Mobile Crane ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 แบบด้วยกัน ดังนี้

Crawler Crane

1. รถเครนตีนตะขาบ (Crawler Crane)

รถเครนตีนตะขาบคือ เครนที่มีล้อแบบสายพานเหล็ก คล้ายตีนตะขาบ ส่วนใหญ่มีบูมเป็นแบบบูมสาน (Lattices Boom) ลักษณะเด่นของ Mobile Crane แบบตีนตะขาบนี้จะมีขนาดตัวใหญ่ มีล้อแบบสายพานเหล็กคล้ายรถแบคโฮ 

โดยแขนเครนจะเป็นโครงถักยาวและสูง สามารถทำงานได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ทั้งแข็ง อ่อน ราบ เรียบ หรือขรุขระก็สามารถทำงานได้ แต่มีข้อเสียคือแขนเครนไม่สามารถหดกลับให้สั้นลงได้ จึงมีข้อจำกัดในเรื่องระยะการเดินทาง ทำให้เดินทางได้ไม่ไกล เหมาะแก่การเคลื่อนที่ไปมาในบริเวณพื้นที่ทำงานมากกว่า

Truck Loader Crane

2. รถเครนบรรทุก (Truck Loader Crane)

รถเครนบรรทุกเป็นเครนล้อยางชนิดหนึ่ง มีลักษณะโดดเด่นคือมีการติดตั้งเครนขนาดใหญ่เอาไว้ โดยแขนเครนจะพาดยาวตลอดช่วงตัวรถ สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง เหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่ค่อนข้างเรียบและแข็งแรง ไม่เหมาะกับดินอ่อน อีกทั้งยังสามารถเข้า-ออกสู่พื้นที่ทำงานได้อย่างสะดวกอีกด้วย เนื่องจากตัวรถเครนสามารถเลี้ยวได้มุมแคบ

นอกจากนี้รถเครนบรรทุกยังมีขนาดให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่สิบตันไปจนถึงร้อยตัน

Rough Terrain Crane

3. รถเครน 4 ล้อ (Rough Terrain Crane)

รถเครน 4 ล้อ คือเครนล้อยางชนิดหนึ่ง มี 4 ล้อ แต่จะมีล้อขนาดใหญ่กว่ารถเครนบรรทุก โดย Mobile Crane ชนิดนี้มีลักษณะโดดเด่นคือ เครนมีขนาดตัวสั้นและแขนเครนยาวเลยออกมาจากตัวรถ สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะการเดินทางที่ไม่สามารถไปไหนไกล ๆ ได้

เครน 4 ล้อนี้ยังสามารถทำงานในพื้นที่ดินอ่อน หรือพื้นที่ไม่ราบเรียบได้อีกด้วย เนื่องจากขนาดลำตัวที่สั้นทำให้สามารถเข้าถึงพื้นที่แคบได้อย่างสะดวกสบาย

All Terrain Crane

4. รถเครนล้อยาง (All Terrain Crane)

รถเครนล้อยางเป็นรถเครนที่มีขนาดใหญ่ สามารถวิ่งเร็วคล้ายรถบรรทุก มีล้อยางขนาดใหญ่จำนวนมาก และยังมีความแข็งแรงมากเช่นกัน ทำให้สามารถยกของหนัก ๆ ได้ โดยทั่วไปแล้วเครนล้อยางจะมีขนาดตั้งแต่ 25 ตันขึ้นไป

นอกจากนี้ Mobile Crane ชนิดนี้สามารถทำงานได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ทั้งพื้นแข็ง อ่อน ราบเรียบ หรือขรุขระ แต่รถเครนล้อยางจะสมบุกสมบันน้อยกว่ารถเครนแบบตีนตะขาบ มีบูมเฟรมเป็นท่อน ๆ เคลื่อนที่เข้าออกภายในบูมท่อนแรก 

ส่วนประกอบหลักของ Mobile Crane

  1. แขนบูม
  2. ขายันพื้น
  3. กว้าน
  4. ลวดสลิงเครน
  5. น้ำหนักถ่วง
  6. ตะขอ

ประโยชน์ของการใช้งาน Mobile Crane?

ประโยชน์ของ Mobile Crane

Mobile Crane สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้หลากหลายรูปแบบ ดังนี้

  1. รถ Mobile Crane มักนำใช้ในการก่อสร้าง เช่น อาคาร ตึกสูง ๆ หรือบ้านเรือน 
  2. รถ Mobile Crane ใช้ในงานแสดง เช่น การติดกล้องกับกระเช้าเพื่อให้ได้ภาพมุมสูง หรือใช้ในการแสดงที่ต้องการความสมจริง
  3. รถ Mobile Crane ใช้ในการทำความสะอาดอาคารสูง โดยจะเริ่มจากการยกกระเช้าของรถเครนจากมุมสูง จากนั้นค่อยไล่ทำความสะอาดไล่ระดับลงมา
  4. รถ Mobile Crane ใช้ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่คาดฝัน เช่น ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรืออุบัติเหตุ ด้วยความสูงของรถเครนจึงสามารถช่วยเหลือผู้คนที่อยู่ในอาคารสูงได้
  5. รถ Mobile Crane ใช้ในแปลงการเกษตร โดยสามารถช่วยยกของหนัก หรือใช้เก็บพืชผลที่อยู่บนตนไม้สูงได้

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

วิธีตรวจสอบ Mobile Crane ก่อนเริ่มใช้งาน

ก่อนเริ่มใช้งาน Mobile Crane ทุกครั้ง ผู้ควบคุมรถจะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของรถเครน และระบบต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย และอันตรายขณะปฏิบัติงาน โดยวิธีตรวจสอบ Mobile Crane ก่อนเริ่มใช้งานมีข้อปฏิบัติดังนี้

  1. ตรวจสอบสวิตช์เปิด-ปิดการทำงาน
  2. ตรวจสอบสวิตช์ที่ใช้ควบคุมการสั่งการต่าง ๆ ได้แก่ สวิตช์เดินหน้า ถอยหลัง ยกขึ้น ยกลง ระบบเบรก ระบบเสียงสัญญาณ ระบบสายพาน

สัญญาณมือเครนสากลที่สำคัญมีอะไรบ้าง?

ในระหว่างการปฏิบัติงานอาจมีความวุ่นวาย และมีเสียงดังจากเครื่องจักรรบกวนการสื่อสาร ทำให้การพูดคุยด้วยเสียงอาจมีประสิทธิภาพไม่มากพอ จนอาจทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นผู้ควบคุมรถ Mobile Crane จึงควรเรียนรู้สัญญาณมือเครนสำคัญ ๆ เพื่อใช้ในการทำงาน หรือสั่งการ โดย 12 สัญญาณมือเครนสากลที่ควรรู้มีดังนี้

  1. เดินหน้า : ให้เหยียดแขนขวาออกไปข้างหน้า แล้วยกฝ่ามือขวาขึ้นให้อยู่ในระดับไหล่ จากนั้นทำท่าผลักไปในทิศทางที่ต้องการให้รถ Mobile Crane เคลื่อนที่ไป
  2. หยุดยกของ : เหยียดแขนซ้ายออกไปด้านข้าง โดยให้ความสูงอยู่ระดับไหล่ คว่ำฝ่ามือแล้วเหวี่ยงไปมาเร็ว ๆ 
  3. หยุดยกของฉุกเฉิน : เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปด้านข้างลำตัว โดยให้ความสูงอยู่ในระดับไหล่ คว่ำฝ่ามือลงแล้วเหวี่ยงไปมาเร็ว ๆ 
  4. สั่งให้ยกของขึ้นช้า ๆ : ยกแขนหนึ่งข้างโดยคว่ำฝ่ามือให้อยู่ในระดับคาง จากนั้นใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือที่คว่ำอยู่ แล้วหมุนช้า ๆ 
  5. ยกบูม : ให้เหยียดแขนขวาออกไปด้านข้างให้สุดแขน จากนั้นกำมือและยกหัวแม่มือขึ้น
  6. นอนบูม : ให้เหยียดแขนขวาออกไปด้านข้างให้สุดแขน จากนั้นกำมือและยกหัวแม่มือลง
  7. สวิงบูมไปด้านที่มือชี้ : เหยียดแขนขวาหรือซ้าย โดยชี้ไปตามทิศทางที่ต้องการให้บูมหมุนไป
  8. สั่งให้หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด : กำมือทั้งสองเข้าหากัน โดยให้ความสูงอยู่ในระดับเอว
  9. ใช้รอกใหญ่ : ให้กำมือยกขึ้นเหนือศีรษะแล้วเคาะเบา ๆ บนศีรษะหลาย ๆ ครั้ง จากนั้นใช้สัญญาณอื่น ๆ ที่ต้องการต่อได้
  10. ใช้รอกเล็ก : งอข้อศอกขึ้น กำมือระดับไหล่ โดยให้โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อย จากนั้นใช้มืออีกข้างหนึ่งแตะที่ข้อศอก จากนั้นใช้สัญญาณอื่น ๆ ที่ต้องการ
  11. เลื่อนรอกขึ้น : งอข้อศอกขึ้นให้เป็นมุมฉาก แล้วใช้นิ้วชี้ชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม
  12. เลื่อนรอกลง : กางแขนข้างใดข้างหนึ่งออกเล็กน้อย จากนั้นใช้นิ้วชี้ชี้ลงแล้วหมุนเป็นวงกลม

สรุป

Mobile Crane เป็นรถเครนที่เน้นในเรื่องความสะดวกเป็นหลัก มีทั้งหมดด้วยกัน 4 ประเภทให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของเนื้องาน อีกทั้ง Mobile Crane ยังมีประโยชน์สามารถใช้ในงานนอกเหนือจากงานก่อสร้างได้อีกด้วย ทั้งนี้ก่อนเริ่มใช้งานเครน ผู้ควบคุมรถเครนควรตรวจสอบความเรียบร้อยให้ถี่ถ้วนก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตราย หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับรถเครนประเภทต่าง ๆ หรือต้องการเช่ารถเครน สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้ให้บริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

รถเครนคืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับงานแบบใดบ้าง

รถเครนคืออะไร มีกี่ประเภท

หลายครั้งที่ได้ยินคำว่า รถเครน บางคนอาจจะพอนึกภาพออก แต่คงมีอีกหลายคนเลยใช่ไหมครับ ที่สงสัยว่ารถเครนคืออะไร และใช้กับงานลักษณะแบบไหน ? วันนี้ทีมงานจากบริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จะช่วยเฉลยคำตอบที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับรถเครน พร้อมแนะนำความรู้เรื่องเครนที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่จำเป็นต้องรู้ ไม่ว่าจะเป็น รถเครนคืออะไรมีกี่ประเภท เหมาะกับงานแบบไหน และต้องใช้อย่างไรถึงจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ! 

ทำความรู้จักกับรถเครน คืออะไร

อย่างแรกผมขออธิบายเกี่ยวกับรถเครนก่อนครับ ว่ารถเครนคืออะไร บางคนอาจจะเรียก รถเครน (Crane) หรือบางคนอาจจะเรียก ปั้นจั่น ซึ่งจริงๆ แล้ว ทั้งสองชื่อมีความหมายเดียวกันครับ คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยกสิ่งของหรือวัตถุที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายยาก โดยการเคลื่อนย้ายวัตถุโดยรถเครน วัตถุจะอยู่ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบนั่นเอง

รถเครนคือ

  

ประเภทของรถเครน มีทั้งหมด 2 แบบ

ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมักจะแบ่งประเภทรถเครนออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 

  1. รถเครนชนิดอยู่กับที่ หรือที่หลายคนเรียกว่า Stationaty Cranes คือ รถเครนที่ติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน ได้แก่ 
  • เครนราง (Overhead Cranes)
  • เครนขาสูง (Gantry Cranes)
  • เครนขาสูงข้างเดียว (Semi Gantry Cranes)
  • เครนหอสูง หรือ ปั้นจั่นหอสูง (Tower Cranes)
  • เครนติดผนัง (Wall Cranes)
  1. รถเครนชนิดเคลื่อนที่ หรือที่หลายคนเรียกว่า Mobile Creanes คือ เครนที่ติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์หรือรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น
  • เครนติดรถบรรทุก (Truck Loader Crane) เป็นรถเครนที่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว เลี้ยวมุมแคบได้ เหมาะกับงานที่จำเป็นต้องเดินทางระยะไกล โดยรถเครนประเภทนี้สามารถยกของหนักได้สูงถึง 8 ตัน
  • รถเครนล้อยาง (All Terrain Cranes) คือ รถบรรทุกล้อยางที่มีเครนติดตั้งอยู่บนหลังรถ เหมาะสำหรับงานในพื้นที่ขรุขระ มีตั้งแต่ขนาด 25 ตันขึ้นไป แต่รถเครนประเภทนี้จะมีมุมเลี้ยวที่ค่อนข้างแคบ 
  • รถเครน 4 ล้อ (Rough Terrain Cranes) รถเครนประเภทนี้สามารถใช้งานในพื้นที่ขรุขระ สมบุกสมบันได้ มีขนาดตั้งแต่ 8 ตันขึ้นไป แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องเดินทางระยะไกล เพราะเคลื่อนที่ได้ช้า 
  • รถเครนตีนตะขาบ (Crawler Cranes) เหมาะกับไซด์งานที่เพิ่งเริ่ม พื้นยังไม่ถูกบดอัด เนื่องจากติดหล่มได้ยาก มีขนาดตั้งแต่ 50 ตันไปจนถึง 100 ตัน สำหรับรถเครนประเภทนี้ไม่แนะนำให้ใช้งานระยะทางไกล เพราะจะทำให้ล้อสึกเร็ว 
รวมความรู้เรื่องรถเครน

ประโยชน์ของรถเครน 

หลายๆ น่าจะพอทราบกันใช่ไหมครับ ว่ารถเครนสามารถใช้ยกสิ่งของหรือวัตถุต่างๆ ในงานก่อสร้างได้ดีแต่จริงๆ และรถเครนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น 

  • ทำความสะอาด สำหรับตึกอาคารที่มีขนาดสูง สามารถนำรถเครนมาประยุกต์ใช้ช่วยให้การทำความสะอาดเป็นเรื่องง่ายได้ 
  • การแสดง บางครั้งเพื่อให้ได้ภาพในมุมสูงที่สวยถูกใจผู้กำกับ การใช้รถเครนเพื่อติดตั้งกล้องเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถพบรถได้บ่อย 
  • อุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ด้วยรถเครนเป็นรถที่มีขนาดสูงใหญ่ และสามารถเคลื่อนได้ทำให้สามารถใช้รถเครนเพื่อช่วยเหลือเพื่อประสบภัยได้ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถเครน

อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากรถเครน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ 

  1. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งสาเหตุนี้มีอัตราที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในระหว่างปฏิบัติหน้าที่สูงถึง 88% โดยส่วนใหญ่มักจะมาจาก 3 องค์ประกอบต่อไปนี้ 
  • ไม่ปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับที่กำหนดไว้ เช่น ใช้รถเครนยกสิ่งของที่มีน้ำหนักเกินกว่าที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ลัดขั้นตอนระหว่างปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ได้ตรวจเช็คสภาพรถเครนก่อนใช้งาน 
  • ผู้ปฏิบัติหน้าที่ขาดความรู้ ผู้ควบคุมรถเครนและผู้ให้สัญญาณมือทุกคนจำเป็นต้องเข้าอบรมและมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ การขาดความรู้ถือเป็นสาเหตุที่ร้ายแรงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย 
  • ทัศนคติไม่ถูก มองว่าการเกิดอุบัติเหตุเป็นเรื่องของดวงชะตา อุบัติเหตุเกิดเพราะซวย โชคร้าย ทำให้ไม่ทันระวังตัว 
  1. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากสภาวะไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน สถานที่ทำงานไม่ปลอดภัย พื้นผิวเป็นหลุมเป็นบ่อ ปฏิบัติงานใกล้ทางลาดชัน และไม่สวมใส่อุปกรณ์นิรภัย 

วิธีใช้งานรถเครนที่ถูกต้องและปลอดภัย

  1. ผู้บังคับรถเครนจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับรถเครน และสัญญาณมือ
  2. ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยทุกครั้ง 
  3. ไม่ควรวางอุปกรณ์เกะกะภายในห้องควบคุม 
  4. ทำความสะอาดใบเตือนต่างๆ ให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน 
  5. ปรับเบาะนั่งให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย 
  6. ไม่ควรวางวัตถุไว้บนสิ่งของในขณะที่ใช้รถเครนเคลื่อนย้ายวัตถุ 
  7. ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ หากไม่ได้อยู่ภายในห้องควบคุม 
  8. ในกรณีที่ใช้ถนนสาธารณะให้ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด 
  9. จำเป็นต้องมีการตรวจเช็คสภาพรถเครนตามที่กฎหมายกำหนด 

สรุป

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ หลายคนน่าจะได้คำตอบกันแล้วใช่ไหมครับ ว่ารถเครนคืออะไร  จริงๆ แล้วรถเครนก็คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากนั้นเองครับ และรถเครนยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์กับกิจกรรมอื่นๆ ได้หลายหลาก 

ผู้ที่สนใจเช่ารถเครน บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้นำด้านรถโมบายเครน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก พนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมการใช้รถเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE

ปั้นจั่นคืออะไร แตกต่างจากรถเครนอย่างไรบ้าง

ปั้นจั่นคืออะไร แตกต่างจากเครนอย่างไร

หากพูดถึงอุปกรณ์ก่อสร้างหลายคนอาจจะยังไม่เคยได้ยิน หรือ ยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า “ปั้นจั่น” ทำให้เกิดความสงสัยว่า ปั้นจั่นคืออะไร ลักษณะเป็นยังไง และใช้สำหรับงานก่อสร้างประเภทไหน ? แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องผิดแปลก เพราะในปัจจุบันที่มีอุปกรณ์ก่อสร้างหลากหลายประเภท ตามลักษณะงานที่ใช้แตกต่าง และในบางครั้งอุปกรณ์ชิ้นเดียว ยังสามารถเรียกได้หลายชื่ออีกด้วย  

บทความนี้ผมจะช่วยไขข้อสงสัยทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น ถ้าหากพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยดีกว่าครับ 

ปั้นจั่นคืออะไร มีความสำคัญกับงานก่อสร้างอย่างไร

ปั้นจั่น หรือที่หลายคนเรียกว่า เครน คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของ หรือวัสดุตามแนวดิ่ง โดยขณะที่เคลื่อนย้ายสิ่งของจะอยู่ในลักษณะแขวนลอยตามแนวราบ ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ปั้นจั่นกับสิ่งของที่มีน้ำหนักมากและมีรูปร่างแข็ง ซึ่งองค์ประกอบของปั้นจั่นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักได้แก่ ส่วนที่เป็นเสาตั้งใช้ทำหน้าที่ยกสิ่งของ  และส่วนที่เป็นแนวนอนในส่วนนี้จำเป็นติดตั้งด้วยเครน

ปั้นจั่นคืออะไร

รู้จักปั้นจั่นทั้ง 2 ประเภท

ในปัจจุบันปั้นจั่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 

  1. ปั้นจั่นที่สามารถเคลื่อนที่ได้ คือ ปั้นจั่นที่สามารถนำไปติดตั้งกับอุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น รถยนต์ โดยปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ยังแบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อย คือ 
  • ปั้นจั่นติดรถบรรทุก ปั้นจั่นประเภทนี้มักใช้กับงานยกสิ่งของที่มีน้ำหนักขึ้นบนหลังรถบรรทุก
  • รถเครน 4 ล้อ ปั้นจั่นประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้ในพื้นผิวที่ขรุขระ แต่ไม่แนะนำสำหรับงานที่ต้องเดินทางไกล 
  • รถเครนตีนตะขาบ เป็นปั้นจั่นที่ติดตั้งกับตัวรถที่เคลื่อนด้วยตีนตะขาบ โดยปั้นจั่นประเภทนี้เหมาะสำหรับงานที่กำลังเริ่มก่อสร้าง 
  • รถเครนล้อยาง เป็นปั้นจั่นที่ติดตั้งกับตัวรถที่เคลื่อนที่ด้วยล้อยาง ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้เหมือนรถบรรทุก และสามารถใช้ในพื้นผิวที่ขรุขระได้ดี 
  1. ปั้นจั่นที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หรือ ปั้นจั่นแบบอยู่กับที่ เป็นการติดตั้งปั้นจั่นกับอุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างจำกัด ซึ่งปั้นจั่นประเภทนี้จะเหมาะกับงานก่อสร้างอาคารที่มีความสูงหลายเมตร หรืองานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยปั้นจั่นแบบอยู่กับที่ มีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ 
  • ปั้นจั่นเหนือหัว ลักษณะคล้ายกับสะพานที่สามารถเคลื่อนที่ได้ 
  • ปั้นจั่นขาสูง ลักษณะคล้ายกับปั้นจั่นเหนือ แต่บนขาของปั้นจั่นจะมีสะพานวางอยู่
วิธีใช้งานปั้นจั่น

วิธีการใช้ปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัย

หลังจากที่ทุกคนได้รู้แล้วว่า ปั้นจั่นคืออะไร เหมาะสำหรับงานประเภทไหน เรามาลองดูวิธีใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน โดยวิธีใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัย ได้แก่

  1. ผู้ควบคุมปั้นจั่นทุกคน จำเป็นต้องศึกษากฎ วิธีใช้งาน และสัญญาณมืออย่างละเอียดและมีความเชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัย 
  2. ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่จำเป็นต้องสวมชุดปฏิบัติงานและอุปกรณ์นิรภัย พร้อมปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด 
  3. ในกรณีที่ห้องควบคุมปั้นจั่นอยู่สูงกว่าระดับพื้น ต้องมีกรอบครอบบันไดและขั้นบันไดจำเป็นต้องแข็งแกร่ง สามารถรองรับน้ำหนักได้ 
  4. ไม่ควรใช้ปั้นจั่นยกสิ่งที่เกินน้ำหนักที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ 
  5. ในกรณีที่ใช้ปั้นจั่นยกสิ่งของครั้งแรก ควรทดสอบระบบการทำงานต่างๆ และทดลองยกสิ่งของขึ้นสักเล็กหน่อย เพื่อเช็คว่าระหว่างที่ยกปั้นจั่นเสียสมดุลหรือไม่ 
  6. ในระหว่างที่ใช้ปั้นจั่นยกสิ่งของ ห้ามสัมผัสกับสิ่งกีดขวาง และห้ามผู้ปฏิบัติหน้าที่เกาะอยู่บนสิ่งของที่ยก
  7. ในระหว่างที่ยกสิ่งของ หากเกิดลมแรงจนทำให้สิ่งของที่ยกแกว่งไปมา ควรรีบวางสิ่งของลงทันที
  8. ในกรณีที่ต้องวางสิ่งของในพื้นที่ต่ำมาก ควรเหลือลวดสลิงไว้มากกว่า 2 รอบบนดรัม 
  9. ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ปั้นจั่นมากกว่า 1 เครื่อง ผู้ให้สัญญาณมือควรมีคนเดียว เพื่อปกป้องความสับสนที่อาจจะเกิดขึ้น 
  10. หากใช้ปั้นจั่นบนอาคารสูง จำเป็นต้องสัญญารไฟบอกตำแหน่งให้เครื่องบินทราบ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ความถี่สำหรับการตรวจเช็คสภาพปั้นจั่น 

นอกจากปั้นจั่นคืออะไร และวิธีการใช้งานที่ถูกต้องแล้ว การตรวจเช็คสภาพเป็นสิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ไม่ควรละเลย เพราะงานก่อสร้างเป็นงานที่สามารถก่ออันตรายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ จึงมีกฎหมายกำหนดความถี่สำหรับการตรวจเช็คสภาพปั้นจั่น โดย 

  • ปั้นจั่นที่ใช้สำหรับงานก่อสร้าง กฎหมายกำหนดไว้ว่า 
  1. ปั้นจั่นที่ใช้ยกสิ่งของน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ต้องตรวจเช็คสภาพทุกๆ 6 เดือน 
  2. ปั้นจั่นที่ใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่า 3 ตัน ต้องตรวจเช็คสภาพทุกๆ 3 เดือน 
  • ปั้นจั่นที่ใช้สำหรับงานอื่นๆ กฏหมายกำหนดไว้ว่า 
  1. ปั้นจั่นที่ใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1 ตัน และไม่เกิน 3 ตัน ต้องตรวจเช็คสภาพทุก 1 ปี
  2. ปั้นจั่นที่ใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่า 3 ตัน และไม่เกิน ถ50 ตัน ต้องตรวจเช็คสภาพทุก 6 เดือน
  3. ปั้นจั่นที่ใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่า 50 ตัน ต้องตรวจเช็คสภาพทุก 3 เดือน 

ทั้งนี้สำหรับปั้นจั่นที่หยุดใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้น ต้องตรวจเช็คสภาพและทดสอบใหม่ก่อนใช้งาน 

สรุป

หลังจากที่ทุกคนได้อ่านมาถึงหัวข้อนี้แล้ว น่าจะเข้าใจเกี่ยวกับปั้นจั่นกันมากขึ้น ซึ่งในอุตสาหกรรมการก่อสร้างปั้นจั่นคืออุปกรณ์ที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก ไม่สามารถขาดได้ เพราะสามารถช่วยยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากที่ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถยกได้ 

โดยวิธีการใช้งานที่ถูก สัญญาณมือ และการตรวจเช็คสภาพปั้นจั่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ผมจึงอยากจะแนะนำให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยนั่นเองครับ 
ผู้ที่สนใจเช่าปั้นจั่น บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้นำด้านรถโมบายเครน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก โดยพนักงานควบคุมรถปั้นจั่นของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมการใช้ปั้นจั่นหรือรถเครนมาอย่างดี สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE