การใช้เครนอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัย และบำรุงรักษา

ปั้นจั่น หรือ เครน เป็นหนึ่งในเครื่องจักรที่นิยมเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และ อุตสาหกรรมอื่น ๆ เพราะสามารถช่วยทุ่นแรงในกระบวนการขนย้ายสิ่งของได้ และ สามารถขนย้ายสิ่งของที่มนุษย์ไม่สามารถเคลื่อนย้ายด้วยตัวเองได้ และแน่นอนว่าในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครน ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจมากเป็นอันดับต้น ๆ วันนี้ผมจึงจะมาแนะนำวิธีการใช้เครนอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานลง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูการใช้เครนอย่างถูกวิธีไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า 

วิธีการใช้งานเครนอย่างถูกวิธี 

อย่างที่ผมได้กล่าวไปก่อนข้างหน้านี้ว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ในการปฏิบัติงาน การใช้งานเครนให้ถูกวิธีจริงเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน โดยวิธีการใช้งานเครนอย่างถูกวิธี มีดังนี้ 

1. เลือกใช้งานเครนให้ถูกประเภท 

เครน หรือที่หลายคนเรียกว่า ปั้นจั่น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งของ หรือ ขนส่งสินค้าเท่านั้น นั่นดังไม่ควรที่นำเครนไปใช้งานผิดประเภท เช่น การขึ้นลงโดยสาร เพราะการใช้งานเครนผิดประเภทสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิตได้นั่นเองครับ 

2. ตรวจสอบความพร้อมก่อนใช้งานทุกครั้ง 

ทุกครั้งก่อนใช้งานเครนผู้ควบคุมเครนควรตรวจเช็กสภาพว่าเครนอยู่ในสภาพพร้อมใช่งาน ชิ้นส่วนต่าง ๆ สามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ มีส่วนไหนที่เกิดความเสียหายหรือชำรุดที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายระหว่างปฏิบัติงานหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ถ้าหากพบว่าเครนชำรุด หรือ มีชิ้นส่วนที่ไม่สามารถใช้งานได้ปกติ ผมแนะนำว่าไม่ควรใช้งานเครนนั้น ๆ ควรนำไปแก้ไขหรือบำรุงรักษาให้เรียบร้อยแล้วจึงนำกลับมาใช้งานใหม่ครับ 

3. ผู้ควบคุมเครนต้องมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเครน

การจะใช้งานเครนอย่างถูกวิธีได้ ผู้ควบคุมเครนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครนครับ โดยบริษัทควรมีการอบรมให้ความรู้การใช้เครนอย่างถูกวิธีกับผู้ควบคุมเครนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และ ปัจจุบันผู้ควบคุมเครนจำเป็นต้องมีใบเซอร์เครนเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินทั้งของตนเองและผู้อื่นครับ ทั้งนี้ถ้าหากว่าผู้ใช้งานเครนไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเครน ห้ามแตะต้องหรือใช้งานเครื่องจักรโดยเด็ดขาด 

การใช้เครนอย่างถูกวิธี

4. หลีกเลี่ยงการใช้เครนยกวัตถุที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานกำหนดไว้

นอกจากประเภทการใช้งานของเครนที่ต้องคำนึงแล้ว น้ำหนักของวัตถุที่เครนสามารถยกได้ก็สำคัญไม่แพ้กันครับ ผมจึงแนะนำให้ตรวจสอบน้ำหนักที่เครนสามารถยกได้ทุกครั้งก่อนใช้งาน เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน ที่มีสาเหตุมาจากใช้เครนยกวัตถุน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ และรวมไปถึงไม่ควรนำวัตถุวางซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น เพราะอยากให้งานเสร็จเร็ว ๆ ด้วย เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายระหว่างขนย้ายวัตถุได้ครับ 

5. หลีกเลี่ยงการยกวัตถุค้างไว้บนอากาศนาน ๆ 

การใช้เครนอย่างถูกวิธีไม่ควรใช้เครนยกวัตถุขึ้นสูงแล้วค้างไว้บนอากาศนาน ๆ เพราะอาจจะทำให้ตัวเครนรองรับน้ำหนักมากเกินไป และทำให้เครนพัง หรือ หัก ในที่สุด และถ้าหากเกิดเหตุการณ์ตามที่ได้กล่าวมาสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ได้ 

6. ก่อนใช้งานเครนทุกครั้งต้องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง

ก่อนใช้งานเครนทุกครั้งจำเป็นต้องแจ้งผู้อื่น หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่กำลังปฏิบัติงานในบริเวณรอบ ๆ ก่อนเสมอ ว่าจะกระทำสิ่งใด และ อย่างไร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงาน

7. หากพบสิ่งผิดปกติต้องหยุดใช้งานเครนทันที 

ในระหว่างที่กำลังใช้งานเครนถ้าหากเกิดเหตุขัดข้อง สิ่งผิดปกติ หรือ ได้ยินเสียงที่ผิดปกติที่มาจากเครนที่ใช้งานอยู่ ควรหยุดใช้งานเครนทันที และจึงตรวจสอบว่าเหตุขัดข้องที่เกิดมีสาเหตุมาจากอะไร เพื่อช่างจะได้สามารถแก้ไขและซ่อมบำรุงได้อย่างตรงจุด 

8. ห้ามแกล้งหรือเล่นกันในระหว่างใช้งานเครน 

การแกล้งหรือเล่นกันในระหว่างที่เครนทำงาน เช่น การโยกตัวยกไปมาในขณะที่เครนกำลังยกวัตถุขึ้นสูงอยู่บนอากาศ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยเด็ดขาด เพราะสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุที่อาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

9. จัดเก็บเครนทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ

การใช้เครนอย่างถูกวิธีอย่างสุดท้าย คือ การเคลื่อนย้ายเครนไปยังตำแหน่งที่กำหนดไว้ทุกครั้ง พร้อมทั้งทำการตัดไฟที่ปุ่มสวิตซ์หลัก เพื่อป้องกันเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและตัดโอกาสเครนทำงานเองในขณะไม่มีผู้ใช้งาน 

ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากใช้งานเครนผิดวิธี

ถ้าใช้งานเครนผิดวิธีจะเกิดอันตรายอย่างไร 

หลังจากที่รู้การใช้เครนอย่างถูกวิธีแล้ว มาลองดูกันว่าถ้าหากใช้งานเครนผิดวิธี สามารถก่อให้เกิดอันตรายอะไรได้บ้าง โดยถ้าหากผู้ควบคุมใช้งานเครนผิดวิธี จะก่อให้เกิดอันตราย ดังต่อไปนี้ 

1. ความเสียหายต่ออวัยวะ 

บางครั้งการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างปฏิบัติงานอาจจะทำให้ผู้ประสบเหตุกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพ ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตและปฏิบัติงานได้ตามปกติ ซึ่งทำให้ผู้ประสบเหตุศูนย์โอกาสหลาย ๆ อย่างในชีวิต เช่น ความก้าวหน้าในที่ทำงาน เป็นต้น 

2. ความเสียหายต่อชีวิต

การเสียชีวิตของพนักงานในระหว่างปฏิบัติงานที่มีสาเหตุมาจากความประมาทและอุบัติเหตุที่เกิด เป็นความเสียหายที่รุนแรงมากที่สุด และเป็นความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ นอกจากนี้เป็นเหตุการณ์ที่ทุกองค์กรไม่ต้องการให้เกิด

3. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน 

การเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง อย่างน้อยที่สุดทรัพย์สินบางอย่างต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งบริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครนและทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ถ้าหากมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น บริษัทอาจจะต้องจ่ายค่ารักษาพยายามอีกด้วย 

ข้อแนะนำหลังใช้เครน 

  • นำเครน และ อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เก็บตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ 
  • ปิดสวิตซ์หลักในการใช้งาน เพื่อตัดไฟฟ้า 
  • จดบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน 
  • หากพบปัญหาให้แจ้งบริษัทผู้ผลิตเพื่อซ่อมแซมและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้งานครั้งต่อไป 

สรุป

การใช้เครนอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ และช่วยสร้างความอุ่นใจ มั่นใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทุกคน ส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ถ้าหากพบว่ามีระหว่างที่ใช้งานเครนมีสิ่งผิดปกติ หรือ เกิดเหตุขัดข้อง ควรหยุดใช้งานทันที เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นครับ 

และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จักป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานก่อสร้าง

สำหรับคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง “สัญลักษณ์ความปลอดภัย” เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ว่าสัญลักษณ์ความปลอดภัยแต่ละแบบ แต่ละสีหมายถึงอะไร เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงานเองและคนที่อยู่รอบ ๆ บทความนี้ผมจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสัญลักษณ์ความปลอดภัยในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ควรรู้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ ว่ามีสัญลักษณ์ความปลอดภัยอะไรบ้าง 

ทำความรู้จักกับสีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย 

สีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย คือ สิ่งที่จะคอยบอกสถานะด้านต่าง ๆ ที่มักมาในรูปแบบป้ายเตือน เพื่อให้คนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น ๆ ระมัดระวังมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ของป้ายความปลอดภัยมักจะเป็นสัญลักษณ์ สี และข้อความสั้น ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ที่พบเห็นป้ายสามารถเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อสารได้ทันที การมีป้ายเตือน หรือ สัญลักษณ์ความปลอดภัยตามจุดต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดอันตรายทำให้สามารถช่วยลดอุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝันลงได้ 

ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นสัญลักษณ์ความปลอดภัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือ อันตรายใด ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล เขตก่อสร้าง ห้องควบคุมไฟฟ้า ห้องเก็บสารเคมี พื้นที่อับอากาศ หรือ บนท้องถนน เป็นต้น 

สัญลักษณ์ความปลอดภัย

ประเภทของสัญลักษณ์ความปลอดภัย

ในปัจจุบันประเภทจองสัญลักษณ์ความปลอดภัย สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 

  1. สัญลักษณ์ห้าม สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทห้าม มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและหยุดยั้งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งมักจะมาในรูปแบบป้ายเตือนที่มีวงกลมแถบสีแดงและมีเส้นทแยงมุม 45 องศา 
  2. สัญลักษณ์เตือน สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทเตือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนเกี่ยวกับอันตรายในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งมักจะมาในรูปแบบป้ายเตือนที่มีสามเหลี่ยมสีเหลืองและข้อความสั้น ๆ สีดำ
  3. สัญลักษณ์บังคับ สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทบังคับ มีวัตถุประสงค์เพื่อทุกคนปฏิบัติตามข้อบังคับ หรือ กฎหมายที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ซึ่งมักจะมาในรูปป้ายเตือนสีฟ้า 
  4. สัญลักษณ์ฉุกเฉิน สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทฉุกเฉิน มักจะเป็นสัญลักษณ์หรือข้อความต่าง ๆ ที่เข้าใจได้ง่าย เช่น ทางออกฉุกเฉิน จุดรวมพล หรือ จุดปฐมพยาบาล เป็นต้น ซึ่งมักจะมาในรูปแบบป้ายเตือนสีเขียวและสัญลักษณ์ความปลอดภัยสีขาว 

ประโยชน์ของสัญลักษณ์ความปลอดภัย 

ในแวดวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างเรา ๆ รู้กันดีใช่ไหมครับ ว่างานที่ทำอยู่ในทุก ๆ วันมีความเสี่ยงและสามารถเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ทุกเมื่อ ถ้าหากเกิดความประมาทแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม ซึ่งการมีสัญลักษณ์ความปลอดภัยถือเป็นหนึ่งในรูปแบบการเตรียมความพร้อมรับมือและลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในที่งานนั่นเองครับ นอกจากนี้การใช้สัญลักษณ์ความปลอดภัยยังสามารถให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องและคนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเข้าใจความหมายได้อย่างตรงกัน เพื่อระมัดระวังและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งกับตนเองและผู้อื่นด้วยครับ 

มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย 

หลังจากที่เข้าใจความหมายของสี ประโยชน์ และสัญลักษณ์ความปลอดภัยแล้ว ทีนี้ผมอยากให้ทุกคนมาทำความรู้จักกับมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัยในระดับสากลกันบ้างครับ 

1. มอก. 635-2554

หลายคนน่าจะคุ้นหู หรือเคยได้ยินคำว่า มอก. กันมาบ้าง โดย มอก. 635-2554 เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สี และ เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ซึ่งจะกำหนดสีและเครื่องหมายต่าง ๆ เพื่อบอกถึงความปลอดภัย ข้อความระวัง ข้อบังคับ หรือข้อห้ามในที่ทำงาน หรือ พื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ มอก. 635-2554 สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 

  1. เครื่องหมายห้าม
  2. เครื่องหมายบังคับ
  3. เครื่องหมายเตือน
  4. เครื่องหมายแสดงสภาวะปลอดภัย
  5. เครื่องหมายแสดงอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย 

2. มาตรฐาน ISO 3864

ISO 3864 เป็นมาตรฐานสากลที่หลายประเทศใช้กัน เพื่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และ พื้นที่สาธารณะ มักมาในรูปแบบป้ายเตือนหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัยกราฟิกต่าง ๆ เพื่อให้ผู้พบเห็นสามารถเข้าใจได้ทันที โดยมาตรฐาน ISO 3864 สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 

  1. ISO 3864-1:2011 ส่วนที่ 1 คือ หลักการออกแบบป้ายความปลอดภัย และ ความปลอดภัย 
  2. ISO 3864-2:2016 ส่วนที่ 2 คือ หลักการออกแบบฉลากความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ 
  3. ISO 3864-3:2012 ส่วนที่ 3 คือ หลักการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิกที่ใช้ในป้ายเตือนต่าง ๆ 
  4. ISO 3864-4:2011 ส่วนที่ 4 คือ คุณสมบัติสี และ โฟโตเมตริกของวัสดุป้ายความปลอดภัย 

3. มาตรฐาน ANSI Z353 

มาตรฐาน ANSI (American National Strandard Institute) เป็นมาตรฐานความปลอดภัยในที่ทำงานกำหนดโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นองค์กรอิสระ โดยมาตรฐาน ANSI เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยได้กำหนดมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัยที่สามารถเข้าใจได้ง่ายไว้ทั้งหมด 6 มาตรฐาน ได้แก่ 

  1. สีแดง หมายถึง อันตราย สถานการณ์ฉุกเฉิน รวมไปถึงวัตถุไวไฟ 
  2. สีส้ม หมายถึง การเตือน บอกสถานะของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่กำลังอยู่ในระหว่างปฏิบัติงาน 
  3. สีเหลือง หมายถึง การแจ้งเตือนเมื่อเกิดอันตรายทางกายภาพ 
  4. สีฟ้า หมายถึง สิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย 
  5. สีเขียว หมายถึง การปฐมพยาบาล และ ความปลอดภัยต่าง ๆ 
  6. สีม่วง หมายถึง กำหนดการใช้งานได้ตามสะดวกในสถานที่ของตนเอง 

สรุป

สัญลักษณ์ความปลอดภัย คือ ข้อความ สี หรือ สัญลักษณ์ที่บ่งชี้ถึงข้อห้าม ข้อควรระวัง และอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยสัญลักษณ์ความปลอดภัยเป็นสิ่งพื้นฐานที่ต้องมีและจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพื่อป้องกันและลดอันตรายที่อาจจะเกิดระหว่างปฏิบัติงาน ซึ่งทุกคนควรปฏิบัติตามสัญลักษณ์ความปลอดภัยอย่างเคร่งครัน 

และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย