การให้สัญญาณมือเครนที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

การให้สัญญาณมือเครนที่ถูกต้อง เสริมความแม่นยำในการทำงาน

นอกจากการวิธีการใช้รถเครนที่ถูกต้องและความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในงานก่อสร้างแล้ว การให้สัญญาณมือเครน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยทั้งผู้ใช้รถเครนและผู้ให้สัญญาณจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการให้สัญญาณมือเครนระดับสากล เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน 

บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับการสัญญาณมือเครน ที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ 

ทำไมต้องมีสัญญาณมือเครน

ทำไมต้องมีสัญญาณมือเครน? สัญญาณมือเครนมีความสำคัญอย่างไร ? ผมสามารถตอบได้เลยครับ ว่าสัญญาณมือเครนมือเป็นสัญญาณที่มีความสำคัญและไม่สามารถขาดได้โดยเด็ดขาด เพราะการให้สัญญาณมือเครน จะช่วยให้ผู้ขับรถเครนสามารถรับรู้ว่าควรเคลื่อนที่ไปทางไหน และ ยังช่วยให้รับรู้บริเวณจุดบอดต่าง ๆ ที่ผู้ขับรถเครนไม่สามารถมองเห็นได้

ซึ่งการให้สัญญาณมือเครน นอกจากจะสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานได้แล้ว ยังช่วยให้การทำงานนั้นเป็นไปได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า ภายในบริเวณไซต์ก่อสร้างนั้นจะมีเสียงดังจากการดำเนินงานของเครื่องจักรต่าง ๆ ทำให้การสื่อสารด้วยเสียง (หรือวิทยุสื่อสาร) นั้นผิดพลาดได้ง่าย จึงทำให้การใช้สัญญาณมือนั้นถูกคิดค้นขึ้นมา ซึ่งได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายและเป็นมาตรฐานสำคัญสำหรับผู้ใช้งานเครนทั่วโลก

นอกจากนี้สัญญาณมือเครนยังมีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ด้วยครับ เพราะจะช่วยให้ผู้ที่อยู่บริเวณโดยรอบ สามารถรับรู้และหลีกเลี่ยงบริเวณที่เครนกำลังทำงานอยู่เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย

โดยสัญญาณมือเครนที่ทาง Ek Crane จะแนะนำให้ทราบภายในบทความนี้ เป็นสัญญาณมือเครนแบบสากลซึ่งสามารถใช้ส่งสัญญาณขณะใช้งานเครนร่วมกันได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของภาษาที่ใช้ทำงานร่วมกันเลยทีเดียว

รวมสัญญาณมือเครนสากล เซฟไปใช้ได้เลย

16 สัญญาณมือเครนสากล ที่จะช่วยให้การทำงานปลอดภัย

หลังจากที่รู้ประโยชน์ของสัญญาณมือเครนแล้ว เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าสัญญาณมือเครนสากลที่ทั่วโลกใช้งานกันนั้นมีอะไรบ้าง และแต่ละสัญญาณมีความหมายว่าอย่างไร 

สัญญาณหยุด

  1. หยุดยกวัตถุ

คว่ำฝ่ามือและเหยียดแขนด้านซ้ายออกไปจนสุดแขน ในระดับไหล่ พร้อมเหวี่ยงไป-มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สัญญาณมือเครนหยุดยกวัตถุ

  1. หยุดยกแบบฉุกเฉิน 

คว่ำฝ่ามือลงและเหยียดแขนทั้งสองข้างจนสุดในระดับหัวไหล่ พร้อมเหวี่ยงไป-มาในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สัญญาณมือเครนหยุดยกวัตถุฉุกเฉิน

  1. หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด 

กำมือทั้งสองข้างเข้าหากันโดยให้มืออยู่ระดับเอว เพื่อส่งสัญญาณให้หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด 

สัญญาณรอก

  1. ใช้รอกเล็ก 

งอกข้อศอกข้างใดข้างหนึ่งขึ้นพร้อมทั้งกำมือให้อยู่ในระดับหัวไหล่ โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มืออีกข้างแตะที่ข้อศอกข้างที่งอ เพื่อให้สัญญาณมือเครนว่าให้ใช้รอกเล็ก

  1. ใช้รอกใหญ่

กำมือข้างใดข้างหนึ่ง แล้วยกมือขึ้นระดับเหนือศีรษะแล้วเคาะเบา ๆ บนศีรษะของตนเอง เพื่อให้สัญญาณใช้รอกใหญ่ 

  1. เลื่อนรอกขึ้น 

งอข้อศอกข้างใดข้างหนึ่งตั้งฉาก ใช้ชี้นิ้วชี้ขึ้นแล้วจึงค่อย ๆ หมุนเป็นวงกลม เพื่อเป็นสัญญาณมือเครนบอกให้เลื่อนรอกขึ้น

  1. เลื่อนรอกลง

กางแขนข้างใดข้างหนึ่งออกเล้กน้อย ใช้นิ้วชี้ชี้ลงพื้น แล้วค่อย ๆ หมุนเป็นวงกลม แล้วจึงกำมือทั้งสองข้างคว่ำลงแล้วยกขึ้น 

สัญญาณบูม

  1. ยกบูม 

กำมือพร้อมเหยียดแขนขวาออกจนสุดแขน และใช้หัวแม่มือชี้ขึ้นข้างบน เพื่อเป็นสัญญาณมือเครนบอกให้ยกบูม 

  1. นอนบูม

กำมือพร้อมเหยียดแขนขวาออกจนสุดแขน และใช้หัวแม่มือชี้ลงที่พื้น เพื่อเป็นสัญญาณมือเครนบอกให้นอนบูม 

  1. ยกบูมพร้อมเลื่อนรอกลง 

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกสุด แบมือให้นิ้วโป้งชี้ลงแล้วกวักนิ้วทั้งสี่นิ้วที่เหลือไป-มา เพื่อให้สัญญาณมือเครนว่ายกบูมพร้อมเลื่อนรอกลง 

  1. ยกบูมพร้อมเลื่อนรอกขึ้น 

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกสุด แบมือให้นิ้วโป้งขึ้นฟ้าแล้วกวักนื้วทั้งสี่นิ้วที่เหลือไป-มา เพื่อให้สัญญาณมือเครนว่ายกบูมพร้อมเลื่อนรอกขึ้น

  1. หดบูม 

กำมือทั้งสองข้างคว่ำลง แล้วยกขึ้นเสมอเอว ให้นิ้วโป้งทั้งสองข้างชี้เข้าหาลำตัว

  1. ยึดบูม 

กำมือทั้งสองข้างแล้วหงายข้อมือ ยกขึ้นระดับเสมอเอว และเหยียดนิ้วโป้งของมือทั้งสองข้างออกนอกลำตัว  

  1. หมุนบูมไปทิศทางที่ต้องการ 

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งจนสุดแขน และชี้ไปตามทิศทางที่ต้องการให้หมุนบูมไป เพื่อเป็นการบอกให้หมุนบูมไปทิศนั้น

สัญญาณมืออื่น ๆ

  1. ยกวัตถุขึ้นอย่างช้า ๆ 

ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งขึ้น โดยคว่ำฝ่ามือไว้ในระดับซ้าย และใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างชี้ขึ้นตรงกลางฝ่ามือแล้วค่อยหมุนช้า ๆ เพื่อเป็นการบอกให้ยกวัตถุขึ้นอย่างช้า ๆ 

  1. สั่งเดินหน้า 

เหยียดฝ่ามือด้านขวาออกตรงไปข้างหน้า ฝ่ามือตั้งตรงในระดับไหล่ และจึงทำท่าผลักไปในทิศทางที่ต้องการให้เครนเคลื่อนที่ 

การให้สัญญาณมือเครนแบบสากล

สรุป

หลังจากที่ทุกคนได้อ่านบทความนี้ หลายคนน่าจะเข้าใจวิธีการใช้สัญญาณมือเครนที่ถูกต้องกันแล้ว แน่นอนว่าการให้สัญญาณมือเครนถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไซต์งานก่อสร้างจำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่องสัญญาณมือเครน เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้บริษัทรับเหมาก่อสร้างก็ควรมีการเทรนและฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้สัญญาณมือเครนระดับสากล แก่พนักงานด้วยเช่นเดียวกัน 

บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้นำด้านรถโมบายเครน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี เน้นความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานและผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ เป็นหลัก พนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมการใช้รถเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

10 ข้อควรทราบในการบริหารความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

10 ข้อควรทราบเพื่อเสริมความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

ความปลอดภัยในงานก่อสร้างถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่สามารถมองข้าม หรือ ละเลยได้โดยเด็ดขาด เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา นอกจากทรัพย์สินที่เสียหายแล้ว อาจจะรวมไปถึงชีวิตของผู้ปฏิบัติหน้าที่และผู้ที่อยู่บริเวณรอบๆ นั่นจึงทำให้ความปลอดภัยในงานก่อสร้างเป็นสิ่งสำคัญ 

บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปดู 10 ข้อควรทราบในการบริหารความภัยในงานก่อสร้าง ที่จะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝันระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ 

ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

สาเหตุที่ก่อเกิดให้เกิดอันตรายในงานก่อสร้าง 

ก่อนจะทราบว่า 10 ข้อควรทราบในการบริหารความปลอดภัยในงานก่อสร้างมีอะไรบ้าง ผมอยากให้ทุกคนทราบถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายในงานก่อสร้างกันก่อนครับ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 

  1. สาเหตุที่เกิดจากตัวบุคคล หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ โดยเกิดจากความประมาท เช่น ไม่สวมอุปกรณ์เซฟตี้ หรือ อุปกรณ์นิรภัยระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่
  2. สาเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น งานก่อสร้างบนอาคารที่มีความสูงและมีแสงสว่างจ้าจนทำให้ตาพร่ามัว หรือ ลมแรงที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานบนนั่งร้าน เป็นต้น
  3. สาเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์และเครื่องจักร โดยเกิดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน หรือ ขาดการตรวจสภาพ ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี ทำให้อุปกรณ์ชำรุดและเสียหาย 

องค์ประกอบของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

หากคุณต้องการสร้างความปลอดภัยในงานก่อสร้าง จำเป็นต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้ ได้แก่ 

1. ความปลอดภัยส่วนบุคคล

องค์ประกอบความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างแรก คือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทุกคนจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้งาน และ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ยังต้องรักษากฎระเบียบที่ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด จำเป็นต้องสวมเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์นิรภัยให้ถูกต้อง

2. ความปลอดภัยของสถานที่

องค์ประกอบความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างที่ 2 คือ ในเขตก่อสร้างจำเป็นต้องมีการทำรั้วกันบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อป้องกันอันตรายและกันไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในเขตก่อสร้าง และจำเป็นต้องแบ่งบริเวณจัดเก็บอุปกรณ์ออกจากเขตก่อสร้างอย่างชัดเจน นอกจากนี้ควรมีแผ่นกั้นกันวัตถุที่อาจจะตกหล่นด้วย  

3. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักร 

องค์ประกอบความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างที่ 3 คือ อุปกรณ์และเครื่องจักรทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างต้องมีการดูแลรักษาและจัดเก็บที่ถูกวิธี มีการตรวจเช็กสภาพตามที่กฎหมายกำหนดไว้ พร้อมทั้งต้องใช้อุปกรณ์ในงานก่อสร้างให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์นั้น ๆ 

องค์ประกอบของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

10 ข้อ ที่ควรทราบเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานก่อสร้าง 

  1. ผู้ใช้งานเครื่องจักรจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น ๆ เพื่อให้รู้วิธีใช้งานที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยสร้างความปลอดภัยในงานก่อสร้างได้ 
  2. เครื่องจักรทุกประเภทต้องใช้งานถูกจุดประสงค์ของอุปกรณ์นั้น ๆ ห้ามใช้อุปกรณ์ผิดวัตถุประสงค์โดยเด็ดขาด เพราะสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ 
  3. จำเป็นต้องมีการทดลองการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องจักรก่อนใช้งานจริงอยู่เสมอ 
  4. ต้องมีการดูแลรักษาและตรวจเช็กสภาพอุปกรณ์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันอุปกรณ์ชำรุด 
  5. ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต้องสวมอุปกรณ์นิรภัยตลอดเวลา เพื่อรักษาความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
  6. คอยสังเกตป้ายตามบริเวณที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ เพราะไซต์งานก่อสร้างค่อนข้างใหญ่ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนไม่สามารถรู้ขั้นตอนการทำงานของส่วนอื่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 
  7. ควรแบ่งสัดส่วนของไซต์งานก่อสร้างให้ชัดเจน เช่น บริเวณไซต์งาน บริเวณที่จัดเก็บอุปกรณ์เครื่อง และบริเวณที่พักอาศัย 
  8. บริเวณไหนที่มีความเสี่ยง ควรทำป้ายหรือสัญลักษณ์เตือนให้ผู้คนอื่นรับรู้
  9. ควรติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เพลิงไหม้ เป็นต้น 
  10. เพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง จำเป็นต้องกำหนดเวลาเข้าออกของแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน 

สรุป

ความปลอดภัยในงานก่อสร้างเป็นเรื่องที่ทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ  เพราะบริเวณไซต์งานสามารถเกิดอันตรายหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานไม่ควรที่จะประมาท หรือ ละเลยกฎระเบียบที่กำหนดไว้ เพราะอาจจะทำมาสู่อันตรายถึงชีวิตและทรัพย์สิน  นอกจากนี้บริษัทรับเหมาก่อสร้างทุกบริษัทควรที่จะต้องมีการอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในงานก่อสร้างให้กับพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถลดอันตรายจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันและช่วยลดอัตราการศูนย์เสียลดได้ 
บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้นำด้านรถโมบายเครน โดยเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี คุณสามารถมั่นใจเรื่องความปลอดภัยได้ เพราะพนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี และมีใบเซอร์คนขับเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย