อัปเดต 2567 กฎหมายกระทรวงแรงงานในการใช้ ปั้นจั่น เครื่องจักร

อัปเดตกฎหมายกระทรวงแรงงานในการใช้ ปั้นจั่น เครื่องจักร

อัปเดตกฎหมายปั้นจั่นฉบับล่าสุด โดยปัจจุบันนั้นประเทศไทยยังคงใช้ กฎหมายปั้นจั่น 2564 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน สำหรับใครที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้อง หรือ มีการใช้งานปั้นจั่น หรือ รถเครน ผมแนะนำว่าจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับที่กระทรวงได้มีการกำหนดไว้ก่อนครับ ทั้งนี้การศึกษากฎหมายปั้นจั่น 2564 ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติหน้าที่เองและทุกคนที่มีส่วนร่วม 

โดยบทความนี้ผมได้สรุปกฎหมายปั้นจั่น 2564 ฉบับล่าสุด พร้อมทั้งตอบคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายปั้นจั่น 2564 ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยดีกว่าครับว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงบ้าง 

ทำความรู้จักกับ ‘กฎหมายปั้นจั่น’ ฉบับล่าสุดจากกระทรวงแรงงาน

บางคนอาจจะยังไม่รู้ใช่ไหมครับ ว่ากฎหมายปั้นจั่น หรือกฎหมายการใช้งานปั้นจั่น และเครื่องจักรอุตสาหกรรมฉบับ 2564 คืออะไร แล้วหมายถึงอะไร วันนี้ผมจะช่วยสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ เองครับ 

กฎหมายปั้นจั่น 2564 คือ มาตรฐานและข้อบังคับที่กระทรวงได้มีการกำหนด เพื่อใช้บริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร หม้อน้ำ และปั้นจั่น (หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า รถเครน) ซึ่งเป็นข้อกำหนดให้นายจ้างบริหารจัดการและดูแลความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้นนั่นเองครับ 

อัปเดตกฎหมายการใช้ปั้นจั่นฉบับล่าสุด

อัปเดต กฎหมายกระทรวงแรงงานในการใช้ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ากฎหมายปั้นจั่นมีมาหลายปีแล้ว โดยฉบับล่าสุด ได้แก่ กฎหมายปั้นจั่น 2564 ซึ่งรายละเอียดของกฎหมายปั้นจั่น 2564 ก็มีทั้งปรับเพิ่มและปรับลดข้อบังคับค่อนข้างหลายข้อกันเลยทีเดียว แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะผมก็ได้เตรียมสรุปคร่าว ๆ ไว้ให้ทุกคนข้างล่างนี้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยดีกว่า

1. หมวกที่ 1 เครื่องจักร

  • ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 9 เครื่องจักรต้องมีการตรวจสอบประจำปีก่อนใช้งาน 
  • ส่วนที่ 3 เครื่องเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องเชื่อมก๊าซ ข้อ 11 ในบริการที่ทำงานต้องมีการติดตั้งวิธีการทำงานของเครื่องปั๊มโลหะ เครื่องตัด เครื่องกลึง เครื่องตัด เครื่องขัด ฯลฯ 
  • ส่วนที่ 6 เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานที่สูง ข้อ 12 เครื่องจักรที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายจำเป็นต้องมีการประเมินอันตราย 

2. หมวกที่ 2 ปั้นจั่น

  • ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 58 นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบอุปกรณ์และส่วนประกอบของปั้นจั่นอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี และต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจสอบความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้ 
  • ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 60 สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่นที่ใช้เครื่องยนต์ นายจ้างต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ต่อไปนี้ 
  1. จัดให้มีที่ครอบปิดหรือฉนวนหุ้มท่อไอเสีย
  2. จัดให้มีถังเก็บเชื้อเพลิงและต้องติดตั้งท่อส่งเชื้อเพลิงที่อยู่ในลักษณะที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์เชื้อเพลิงหก รั่ว หรือล้นออกมา
  3. กำหนดมาตรการการจัดเก็บและเครื่องย้ายเชื้อเพลิงสำรองที่มีความปลอดภัย 
  • ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 62 นายจ้างต้องไม่ให้ลูกจ้างใช้ปั้นจั่นที่ชำรุด เสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมปฏิบัติงาน 
  • ส่วนที่ 2 ปั้นจั่นเหนือศีรษะและปั้นจั่นขาสูง ข้อ 75 สำหรับนายที่ให้ลูกจ้างขึ้นไปทำงานบนปั้นจั่นที่มีความสูงเกิน 2 เมตร ต้องมีบันไดพร้อมราวจับ และโครงโลหะกันตก หรือ อุปกรณ์เซฟตี้อื่น ๆ ที่สามารถเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับลูกจ้างในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานฯ
  • ส่วนที่ 3 ปั้นจั่นหอสูง ข้อ 77 สำหรับปั้นจั่นที่มีรางล้อเลื่อนที่ ที่อยู่บนแขนปั้นจั่น กฎกำหนดว่านายจ้างจำเป็นต้องมีการติดตั้งสวิตซ์หยุดการทำงานของปั้นจั่นโดยอัตโนมัติ และ มีกันชนหรือกันกระแทกที่ปลายสองข้างของราว 

3. หมวกที่ 3 หม้อน้ำ

  • ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 100 สำหรับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบควบคุมหม้อต้มหรือหม้อน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้งานและความปลอดภัย และจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • ส่วนที่ 2 หม้อน้ำ ข้อ 107 ในการติดตั้งหม้อน้ำนายจ้างต้องมีการทดสอบตามที่คู่มือกำหนด และต้องมีวิศวกรคอยดูแลควบคุมระหว่างติดตั้ง 
  • ส่วนที่ 2 หม้อน้ำ ข้อ 108 นายจ้างต้องใช้น้ำที่ได้มาตรฐาน และ มีการควบคุมคุณภาพน้ำ ที่ใช้ในหม้อน้ำ โดยน้ำที่ใช้ต้องได้มาตรฐานตามที่กฎ ASME, EN, ISO, JIS หรือ ตามหลักวิศวกรรม 
กฎหมายปั้นจั่นมีอะไรบ้าง มีผลบังคับใช้เมื่อไร

กฎหมาย ปั้นจั่นฉบับปี 2564 มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ 

เมื่อมีการอัปเดตกฎหมายปั้นจั่น 2564 มาใหม่ทำให้หลายคนเกิดความสับสนว่าแล้วกฎที่กระทรวงออกมาจะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ใช่ไหมครับ  กฎหมายปั้นจั่น 2564 มีผลบังคับใช้หลังพ้นกำหนด 90 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2564 

สรุป

หลังจากที่ได้อ่านบทความอัปเดต กฎหมายปั้นจั่น 2564 ผมหวังว่าทุกคนจะได้รับข้อมูล ข่าวสาร และสามารถใช้งานปั้นจั่น หรือ เครน ได้ถูกวิธี ถูกต้องตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติหน้าที่และผู้ที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับการใช้งานปั้นจั่น สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE คลิกเลยครับ!

สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ตำแหน่ง โฟร์แมน คืออะไร สำคัญอย่างไรต่องานก่อสร้าง

ตำแหน่ง โฟร์แมน คืออะไร สำคัญอย่างไรต่องานก่อสร้าง

จากผลสำรวจในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในอุตสาหกรรมก่อสร้างไม่ได้รับความนิยมเท่าสมัยก่อน ซึ่งมาจากปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่มองข้ามอาชีพในอุตสาหกรรมนี้ แต่จริง ๆ แล้วอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นกลุ่มอาชีพที่เงินเดือนและค่าตอบแทนที่ค่อนข้างน่าพึงพอใจ และยังมีอัตราเติบโตในหน้าที่การงานและความมั่นคงในอาชีพที่ค่อนข้างสูง 

วันนี้ผมจะมาแนะนำอาชีพที่เด็กรุ่นใหม่บางคนอาจจะยังไม่รู้จักอย่างอาชีพ โฟร์แมน คืออะไร พร้อมบอกรายละเอียดที่คนอยากประกอบอาชีพโฟร์แมนจำต้องรู้ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ 

ทำความรู้จัก กับ อาชีพโฟร์แมน

หลายคนที่ได้ยินคำว่าอาชีพโฟร์แมน อาจจะสงสัยว่าคืออะไร หรือ อาจจะนึกว่าต้องทำงานใช้แรงงาน งานหนัก งานถึก ซึ่งจริง ๆ แล้วอาชีพโฟร์แมน คือ ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง นั้นหมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องไปยกของ หรือ แบกหามของหนัก ๆ ในระหว่างที่ทำงาน แต่ต้องคอยดูแลควบคุม คุณภาพงานและความเรียบร้อย ให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางเอาไว้นั่นเองครับ 

อาชีพโฟร์แมน คือ

ตำแหน่งโฟร์แมน ทำหน้าที่อะไร 

หลังจากที่ทราบกันแล้วว่าโฟร์แมนคืออะไร เรามาดูหน้าที่อาชีพโฟร์แมนกันดีกว่าครับ ว่าจริง ๆ แล้วการเป็นโฟร์แมนต้องรับผิดชอบอะไรบ้างในแต่ละวัน 

  1. วางแผนภาพรวมและทิศทางในการก่อสร้างของโครงการ 
  2. ควบคุมและดูแลการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาในการก่อสร้างให้เป็นไปตามที่กำหนด
  3. ควบคุมการใช้วัสดุของผู้รับเหมา
  4. ตรวจเช็กสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยกำหนดไว้ 
  5. ตรวจสอบและรายงานความก้าวหน้าให้แก่ผู้ว่าจ้าง 
  6. ตรวจสอบและติดตามผลการทำงานของผู้รับเหมาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 
  7. ควบคุมให้การก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด 
ทักษะที่จำเป็นสำหรับโฟร์แมน คือ

5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับโฟร์แมน 

สำหรับผู้ที่สนใจอาชีพโฟร์แมน ผมได้เตรียมทักษะที่จำเป็นมาแนะนำทุกคน โดย 5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพโฟร์แมน คือ 

1. ทักษะในการวางแผนงาน

อย่างที่ผมได้พูดไปก่อนหน้านี้ครับว่า คนที่เป็นโฟร์แมนไม่จำเป็นต้องลงไปปฏิบัติหน้าที่เอง แต่คุณต้องคอยควบคุมการก่อสร้างของโครงการทั้งหมดให้เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ ซึ่งทักษะที่จำเป็นอย่างแรกที่โฟร์แมนต้องมี คือ ทักษะในการวางแผนงาน แต่ถึงผมจะบอกว่าโฟร์แมนไม่จำเป็นต้องลงไปปฏิบัติงานเอง แต่ถ้าหากคุณไม่เคยลงไปดูหน้างานจริง ๆ หรือ ไม่เคยคุยกับช่างเลย อาจจะทำให้คุณไม่สามารถมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น 

ดังนั้นผมแนะนำว่าโฟร์แมนที่ดีจำเป็นต้องลงไปหน้างานอย่างสม่ำเสมอ อยู่กับช่างและคนงานตั้งแต่ต้นเริ่มโครงการจนจบ การทำแบบนี้เมื่อคุณเจอปัญหาระหว่างก่อสร้างจะสามารถช่วยให้คุณพลิกแพลงสถานการณ์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 

2. ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน

ทักษะด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน เป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพโฟร์แมน เพราะเป็นอาชีพที่ต้องพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด ความต้องการ ปัญหา และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการก่อสร้างโครงการ โดยโฟร์แมนถือเป็นคนกลาง ระหว่างฝั่งลูกค้าและฝั่งผู้รับเหมา ว่าลูกค้าต้องการอะไร และ ช่างสามารถทำตามได้มากน้อยแค่ไหน หรือ มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ทำให้ทักษะด้านการติดต่อสื่อสารจำเป็นอย่างมากสำหรับอาชีพโฟร์แมน 

3. ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะ

ต้องยอมรับครับว่างานก่อสร้างเรามันจะเจอปัญหาหน้างานเกือบตลอดเวลา หรือเรียกได้ว่าในทุก ๆ วัน และบางปัญหาก็มักจะเป็นปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อน เช่น สั่งของไปแต่ของมาไม่ครบทำให้วัสดุไม่พอ ขนส่งติดปัญหา เครื่องจักรเสีย สั่งอย่างหนึ่งแต่ช่างทำอีกอย่าง หรือ ปัญหาคนงานทะเลาะกันเอง ทำให้ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะ เป็นอีกหนึ่งทักษะที่โฟร์แมนจำเป็นต้องมี  

4. ทักษะเรื่องต้นทุน 

อย่างที่เรารู้กันว่าโฟร์แมนจำเป็นต้องวางแผนงานก่อสร้างของโครงการ ซึ่งการที่จะวางแผนได้จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับต้นทุน และ ราคาวัสดุต่าง ๆ เพื่อให้ต้นทุนเป็นไปตามที่กำหนดและตกลงกันไว้ ดังนั้นโฟร์แมนจำเป็นต้องมีทักษะในการคำนวณและวางแผนเรื่องต้นทุนด้วยครับ 

5. ทักษะด้านการบริหารจัดการงาน 

โฟร์แมนคืออาชีพที่ต้องคอยควบคุมคนงานและกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามแผน ดังนั้นทักษะที่ขาดไม่ได้เลยคือทักษะด้านการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็น การบริหารคน หรือ บริหารงานก็ตาม ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้นำทุกคนจำเป็นต้องมีด้วยครับ 

สรุป

หลังจากที่อ่านบทความนี้แล้ว ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจว่าอาชีพโฟร์แมนคืออะไร มีหน้าที่ และมีความสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากแค่ไหน ทั้งนี้สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระน่ารู้ดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถดูบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ EK CRANE คลิกได้เลยครับ! 

สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย