รู้จัก การยศาสตร์ (ERGONOMIC) เพื่อลดการบาดเจ็บและเสริมประสิทธิภาพการทำงาน

อาการเจ็บป่วยที่คนวัยทำงานเป็นกันมากขึ้นในทุกวันนี้ คือความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก โดยเฉพาะพนักงานในโรงงาน และพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ นอกจากเป็นเพราะท่าทางของเราในระหว่างที่ทำงาน เช่น นั่งทำงานผิดท่า หรือโหมใช้งานร่างกายหนักเกินไปและยังเป็นเพราะการออกแบบสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น ไม่เป็นไปตามหลัก Ergonomics หรือไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคนเราอีกด้วย นั่นทำให้คำว่า Ergonomics หรือ การยศาสตร์ กลายเป็นสิ่งที่คนพูดถึงมากขึ้น ดังนั้น บทความนี้จึงเชิญชวนให้มาทำความรู้จักกับ Ergonomics หรือ การยศาสตร์ ว่าคืออะไร และจะลดความเสี่ยงในการทำงานได้อย่างไร เพื่อให้คนในองค์กรได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีความสุขไปกับการทำงานนั่นเอง

Ergonomics

การยศาสตร์ คือ 

การยศาสตร์ หรือ Ergonomics มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก โดยคำว่า Ergon หมายถึง งาน และคำว่า Nomos หมายถึง กฎตามธรรมชาติ (Natural Laws) เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า “Laws of Work” หรือที่แปลว่า “ศาสตร์แห่งการทำงาน” โดยเป็นศาสตร์ที่ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน คนทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จนกลายเป็นการออกแบบวิธีการทำงานที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอันตรายต่อคนทำงานน้อยที่สุด 

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 

  1. ลดข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน 
  2. เพิ่มความปลอดภัย ลดความเหนื่อยล้าและความเครียด เพิ่มความสะดวกสบาย รวมถึงการเพิ่ม ความพึงพอใจในงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน 

การยศาสตร์ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ 

การยศาสตร์เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้หลักการทางด้านสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์และจิตวิทยา เพื่อขจัดสิ่งที่อาจเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความไม่สะดวกสบาย ปวดเมื่อย หรือมีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดีเนื่องจากการที่ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ การยศาสตร์จึงสามารถนำไปใช้ในการป้องกันมิให้มีการออกแบบงานที่ไม่เหมาะสมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน โดยให้มีการนำการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบงาน เครื่องมือ หรือหน่วยที่ทำงาน ยกตัวอย่างเช่น เลือกใช้โต๊ะที่ปรับระดับความสูงต่ำได้ เพราะผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนมีความสูงที่แตกต่างกัน และการจัดตำแหน่งของโต๊ะทำงานต้องเหมาะสมกับลักษณะงานของแต่ละฝ่าย เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างสะดวก และเพื่อป้องกันอาการเมื่อยล้าจากการทำงานด้วยท่าทางที่ไม่ถนัด หรือการเลือกเก้าอี้ที่ใช้ในการทำงาน ควรจะเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิง และอาจมีเบาะรองนั่งให้ผู้ปฏิบัติงานตามความเหมาะสมนั่นเอง 

จากข้างต้นองค์ประกอบของการยศาสตร์ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ 3 กลุ่มได้แก่

1. สรีรวิทยา

เป็นการศึกษาขนาดของมนุษย์ โดยมุ่งพิจารณาถึงปัญหาที่อาจเกิดจากขนาดของคน รูปร่างของคน และท่าทางหรืออิริยาบถการทำงานของคน นอกจากนี้ยังสำรวจ ชีวกลศาสตร์ ที่ศึกษาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้แรงในระหว่างการทำงานของคนด้วย

2. กายวิภาคศาสตร์

เป็นการศึกษาและพิจารณาถึงการใช้พลังงานในขณะทำงาน ถ้าหากงานนั้นเป็นงานหนัก พลังงานที่ต้องใช้ไปก็ต้องมากซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ เป็นต้น รวมไปถึงการศึกษาสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อม มุ่งพิจารณาถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความร้อน แสง เสียง ความสั่นสะเทือน เป็นต้น

3. จิตวิทยา

ในกลุ่มนี้จะกล่าวถึงความชำนาญที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในลักษณะงานของบุคคล ว่าควรจะทำงานอะไร และทำอย่างไร ตลอดจนการตัดสินใจในการทำงานนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งนอกจากจะเกิดความเสียหายต่อการผลิตแล้วนั้น อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน

ท่านั่งที่ถูกต้อง

ประโยชน์ของการนำการยศาสตร์มาใช้ในที่ทำงาน

  1. ลดต้นทุน

ค่าใช้จ่ายทางการรักษาพยาบาล ค่าชดเชย ค่าแรง เป็นต้น

  1. เพิ่มผลผลิต

เมื่อมีการปรับปรุงในสายการผลิต  ผู้ปฏิบัติงานมีท่าทางที่ดี ออกแรงหรือเคลื่อนไหวน้อย ปรับความสูงและระยะเอื้อมได้ดีขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น

  1. ปรับปรุงคุณภาพ

หากผู้ปฏิบัติงานเจ็บป่วย เหนื่อยล้า หรือท้อแท้กับการทำงาน สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ปฏิบัติงานได้ ซึ่งส่งผลให้การทำงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 

  1. เพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากร

เมื่อองค์กรใดที่พยายามอย่างเต็มที่ที่จะพัฒนาองค์กรเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานของพวกเขามีสุขภาพและความปลอดภัย พนักงานในบริษัทมีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือและแจ้งให้ทราบหากพวกเขารู้สึกเหนื่อยล้าและไม่สบายตัวระหว่างทำงาน เมื่อเป็นเช่นนี้องค์กรจะสามารถลดอัตราการลาออก ลดการขาดงาน เพิ่มขวัญกำลังใจ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน

  1. สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

การนำหลักการยศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในองค์กรแสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพเป็นค่านิยมหลัก การสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมในทิศทางที่ดีขึ้นสำหรับองค์กรของคุณเป็นอย่างแน่นอน

สรุป

การยศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งหากได้มีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถนำไปสู่การปรับปรุงสภาพการทำงาน โดยให้มีการออกแบบงานที่จะต้องปฏิบัติ กำหนดรายละเอียดของเนื้องาน วิธีการจับถือและการใช้อุปกรณ์การติดตั้งอุปกรณ์ ฯลฯ อย่างเหมาะสม การปฏิบัติตามหลักการยศาสตร์ จะสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ ที่มีสาเหตุจากการไม่ได้นำหลักการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในสถานที่ทำงาน และการดำเนินการปรับปรุงทางด้านการยศาสตร์ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนแต่ประการใด ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน พนักงาน และฝ่ายบริหาร ควรที่จะร่วมมือกันในการดำเนินการค้นหาปัญหา ประเมินปัญหาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ถูกต้อง

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ทำความเข้าใจ หลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น” ตามกฎหมาย 2567

ทำความเข้าใจ หลักสูตรอบรม "การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น" ตามกฎหมาย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรถเครน หรือ ปั้นจั่น นายจ้างจำเป็นต้องจัดการฝึกฝนและอบรมปั้นจั่นตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานลง 

วันนี้ผมจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ความสำคัญของหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามที่กฎหมายใหม่กำหนดไว้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ 

ทำไมต้องมีหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ? 

ปั้นจั่นเป็นเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ โดยมีหน้าที่ยกเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องผ่านหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ เพราะถ้าหากเกิดข้อผิดพลาด หรือ อุบัติเหตุก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทันที  

โดยวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้มีการจัดอบรมหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ มีดังนี้ 

  1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกับเครนปั้นจั่นอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 
  3. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินพิกัดการยกวัตถุ สิ่งของโดยใช้หลักการคำนวณที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 
  4. เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจวิธีการตรวจสอบ ซ่อมบำรุง และรักษาปั้นจั่นได้อย่างถูกต้อง 
  5. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินความเสี่ยงและหาวิธีป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรัดกุม  

กฎหมายใหม่เกี่ยวกับหลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนและปั้นจั่น” 

  • ข้อที่ 1 กำหนดให้ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุหรือผู้ควบคุมการใช้งานปั้นจั่น ต้องได้ผ่านการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ.2554 
  • ข้อที่ 2 ประกาศนี้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
  • ข้อที่ 3 กฎกระทรวงเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น บังคับใช้กับปั้นจั่นทุกชนิดที่มีขนาดพิกัดการยกปลอดภัย ตามที่ผู้ผลิตกำหนดตั้งแต่ 1 ตันขึ้นไป 
  • ข้อที่ 4 ความหมายของ ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
  1. ผู้บังคับปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บังคับการทำงานของปั้นจั่นหรือเครนให้ทำงานตามที่วางแผนไว้ 
  2. ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ใช้สัญญาณมือหรือสัญญาณเพื่อสื่อสารกับผู้บังคับปั้นจั่น 
  3. ผู้ยึดเกาะวัสดุ หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ผูก มัด หรือ เกี่ยววัสดุเพื่อใช้ปั้นจั่นยก
  4. ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่มีหน้าที่สั่งการให้ผู้บังคับปั้นจั่นปฏิบัติตาม และมีหน้าที่พิจารณาพิกัดน้ำหนักที่ใช้ยก 
หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ 

หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรมเครนปั้นจั่น ตามที่กฎกระทรวงกำหนด

กฎกระทรวงบังคับให้นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณ ผู้ยึดเกาะวัตถุ และ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น โดยนายจ้างต้องมีการจดบันทึกรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม ชื่อวิทยากร รวมไปถึงวันและเวลาที่ฝึกอบรมเก็บไว้เป็นหลักฐาน หากพนักงานตรวจแรงงานขอตรวจสอบต้องมีหลักฐานแสดงว่าตนได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดไว้ 

โดยหลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรม ได้แก่ 

  1. นายจ้างต้องแจ้งกำหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนการจัดฝึกอบรม 
  2. นายจ้างต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดตามหลักสูตรกำหนดไว้
  3. นายจ้างต้องจัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยกำหนดต้องผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 
  4. นายจ้างต้องออกใบรับรองให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรม 

นอกจากนี้กฎกระทรวงยังกำหนดให้การฝึกอบรมภาคทฤษฎีห้องละไม่เกิน 60 คนต่อวิทยากร 1 คน  และในภาคทดสอบภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย 1 คน และปั้นจั่น 1 เครื่องต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 20 คน 

หลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น”

ในปัจจุบันหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ สามารถแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่นอยู่กับที่ และ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ และทั้ง 2 หลักสูตรจำเป็นต้องมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง 

1. หัวข้อหลักสูตรอบรมเครน ปั้นจั่นชนิด “เคลื่อนที่” 

1.1 ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงข้อ 11  

1.2 ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น 

1.3 ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น 

1.4 ระบบการไฮดรอลิกเบื้องต้น 

1.5 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch 

1.6 วิธีการอ่านค่าตารางพิกัดยก 

1.7 วิธีใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร 

1.8 วิธีเลือกใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ยก 

1.9 วิธีการประเมินน้ำหนักวัตถุ 

1.10 วิธีการผูกมัดและยกเคลื่อนย้ายวัตถุ 

1.11 วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา และ วิธีใช้คู่มือการใช้งาน 

2. หัวข้อหลักสูตรอบรมเครน ปั้นจั่นชนิด “อยู่กับที่”

2.1 ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงข้อ 11  

2.2 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch 

2.3 ระบบไฟฟ้า 

2.4 วิธีใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร 

2.5 วิธีการผูกมัดและยกเคลื่อนย้ายวัตถุ 

2.6 วิธีการประเมินน้ำหนักวัตถุ 

2.7 วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา และ วิธีใช้คู่มือการใช้งาน 

สรุป

หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ถือเป็นข้อบังคับที่นายจ้างและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานกับปั้นจั่น รถเครนควรให้ความสำคัญ และไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุในที่ทำงานได้ 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อุปกรณ์จำเป็นที่ต้องติดตั้งไว้ในปั้นจั่นตามกฎกระทรวง ฉบับอัปเดต 2567

อุปกรณ์จำเป็นที่ต้องติดตั้งไว้ในปั้นจั่นตามกฎกระทรวง

วันนี้ผมพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องติดตั้งบนปั้นจั่นตามกฎกระทรวงแรงงาน ฉบับล่าสุดที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน บอกเลยครับว่านายจ้างและเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานกับปั้นจั่น หรือ รถเครน ห้ามพลาดบทความนี้ 

ประเภทของปั้นจั่น หรือ เครน 

อย่างที่หลายคนทราบกันดีครับ ว่าปั้นจั่น หรือ เครน เป็นอุปกรณ์ทุ่นแรงที่นิยมใช้กันเป็นอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือ กิจกรรมที่ต้องเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดใหญ่ หรือ วัตถุที่มีน้ำหนักจำนวนมาก โดยสามารถแบ่งประเภทของปั้นจั่นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

  1. ปั้นจั่นที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น รถเครน หรือ ปั้นจั่นที่ติดตั้งบนรถบรรทุก
  2. ปั้นจั่นที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ปั้นจั่นเหนือหัว และ ปั้นจั่นขาสูง

สำหรับใครที่อยากจะศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับปั้นจั่นเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น วิธีใช้ การเช็คสภาพ หรือ ประเภทของปั้นจั่นอย่างละเอียด ทาง EK Crane ได้เตรียมบทความ ปั้นจั่นคืออะไร? แตกต่างจากรถเครนอย่างไรบ้าง ไว้ช่วยตอบคำถามที่หลายคนสงสัยแล้วครับ 

อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งบนปั้นจั่นมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งบนปั้นจั่น ฉบับอัปเดตปี 2567 

กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงาน ปี 2564 ได้มีการกำหนดให้นายจ้างต้องติดตั้งอุปกรณ์บนปั้นจั่น ดังต่อไปนี้ 

  1. ต้องมีสลิงพันอย่างน้อย 2 รอบในม้วนสลิงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์สลิงหมดม้วนแล้วหมุนกลับด้านข้ามร่องในม้วนสลิง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสลิง
  2. ต้องมีที่ปิดปากตะขอและที่ปิดปากต้องสามารถใช้งานได้จริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุวัตถุร่วงหล่นระหว่างเคลื่อนย้าย 
  3. ต้องติดตั้งถังดับเพลิงไว้ในห้องผู้ควบคุมปั้นจั่น หรือ จุดอื่นที่เหมาะ โดยต้องคำนึงถึงการใช้งานเป็นหลัก 
  4. บริเวณท่อไอเสียต้องมีฉนวนห่อหุ้ม 
  5. มีที่กั้น หรือ ตัวครอบปิดส่วนที่สามารถหมุนได้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีเสื้อผ้า อวัยวะ หรือ ชิ้นส่วนใดของเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นจนทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน 
  6. นายจ้างต้องกำหนดให้มีการทำราวกันตก พื้นกันลื่น สำหรับปั้นจั่นที่ต้องจัดทำทางเดินและพื้น เช่น ปั้นจั่นเหนือศีรษะคานคู่ เพราะเจ้าหน้าที่จำเป็นที่จะต้องขึ้นไปปฏิบัติงานด้านบน 
  7. มี Upper Limit Switch เพื่อป้องกันการยกวัตถุขึ้นชนรอกด้านบน 
  8. มี Overload Limit Switch เพื่อป้องกันการยกวัตถุที่มีน้ำหนักเกินค่าที่กำหนด หรือ มากกว่าพิกัดยกปลอดภัย 
  9. มีป้ายบอกพิกัดยกติดที่ปั้นจั่นอย่างชัดเจน 
  10. ในขณะที่ปั้นจั่นทำงานต้องมีสัญญาณเสียงและแสง เตือนอยู่ตลอดเวลา 
  11. ติดตั้งป้ายเตือนระวังอันตราย และ รูปภาพสัญญาณมือตามมาตรฐาน ASME หรือ ที่กรมสวัสดิฯประกาศไว้อย่างชัดเจน 
ข้อแนะนำในการใช้ปั้นจั่นและอุปกรณ์ให้ปลอดภัย

แนะนำ 10 วิธี ใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัย 

หลังจากที่ได้รู้จักประเภท และ อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งบนปั้นจั่นแล้ว ทุกคนลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้งานปั้นจั่นที่ถูก เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงานดีกว่า 

  1. เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมปั้นจั่นต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้งานปั้นจั่น และระหว่างปฏิบัติงานต้องสวมใส่ชุดปฏิบัติงานและอุปกรณ์นิรภัยอย่างรัดกุม
  2. หลีกเลี่ยงการยกวัตถุที่มีน้ำหนักเกินค่าพิกัดยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้สลิงขาดและปั้นจั่นชำรุดเสียหาย 
  3. ในกรณีที่ต้องใช้ปั้นจั่นตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ควรมีผู้ให้สัญญาณมือแค่เพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันการสับสนและทำให้เกิดอุบัติเหตุในที่สุด 
  4. ควรติดตั้งและใช้งานปั้นจั่นห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 3 เมตร ทั้งนี้ถ้าหากไม่สามารถทำได้ ควรจะต้องมีผู้คอยดู และให้สัญญาณเตือน 
  5. ในขณะที่ใช้ปั้นจั่นเคลื่อนย้ายวัตถุไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง และห้ามให้เจ้าหน้าที่เกาะบนวัตถุที่เคลื่อนย้าย
  6. ควรมีการทดสอบน้ำหนักของวัตถุก่อนยกจริง โดยยกขึ้นเล็กน้อยเพื่อตรวจสอบการยกและสมดุลของปั้นจั่น 
  7. ในกรณีที่เกิดลมหรือพายุระหว่างที่ยกวัตถุจนทำให้วัตถุที่ยกแกว่งไปมา เจ้าหน้าที่ควบคุมปั้นจั่นต้องรีบวางวัตถุลงที่พื้นทันที 
  8. ในกรณีที่ใช้งานปั้นจั่นบนอาคารสูง ต้องมีสัญญาณไฟบอกตำแหน่งให้เครื่องบินทราบ เพื่อป้องกันการชน 
  9. ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในห้องควบคุมปั้นจั่น 
  10. ควรบำรุงรักษาอุปกรณ์ทุกชิ้น โดยเฉพาะส่วนที่มักเกิดการเสียดสี 

สรุป

นอกจากการติดตั้งอุปกรณ์บนปั้นจั่นแล้วกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานยังกำหนดให้นายเจ้าทุกคนต้องจัดอบรมปั้นจั่นให้ลูกจ้างที่ทำงานกับปั้นจั่นทุกคน โดยมีเนื้อหาตามที่ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงานและลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานลงนั้นเองครับ

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

การตรวจสอบ Load Test ปั้นจั่น และเครน ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง?

การตรวจสอบ Load Test ปั้นจั่น และเครน ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง?

ในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ระบุให้นายจ้างต้องการตรวจสอบปั้นจั่น หรือที่หลายคนเรียกกันง่าย ๆ ว่า Load Test ตามน้ำหนักที่กำหนดไว้ แต่บางคนอาจจะยังสงสัยว่า Load Test คืออะไร แล้วสำคัญยังไง ทำไมถึงขั้นต้องออกกฎหมายบังคับให้นายจ้างทุกคนปฏิบัติตาม 

วันนี้ผมจะมาช่วยไขข้อสงสัยให้กับทุกคน ว่าจริง ๆ แล้ว Load Test คืออะไร ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญ การทำ Load Test ต้องตรวจสอบและมีข้อกำหนดอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ ด้วยครับ 

Load Test คือ 

อย่างแรกผมว่าทุกคนควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจคำว่า Load Test กันก่อนดีกว่าครับ 

Load Test คือ การทดสอบรถเครนหรือปั้นจั่น ว่ารถเครนคันนั้น ๆ สามารถรองรับน้ำหนักได้ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้หรือไม่ 

ซึ่งการทำ Load Test มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานและทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และตามประกาศที่ได้มีการกำหนดไว้ การทำ Load Test ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิศวกรที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการทดสอบปั้นจั่น หรือ รถเครน เท่านั้น พร้อมทั้งต้องมีการบันทึกข้อมูลเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐาน 

การตรวจสอบ Load Test ปั้นจั่น และเครน ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง?

เครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำ Load Test ปั้นจั่นและเครน

เครื่องมือที่ต้องใช้สำหรับการทำ Load Test ได้แก่ 

  1. รถเครน หรือ ปั้นจั่นที่ต้องการทำการทดสอบ 
  2. วัตถุที่ใช้สำหรับการทำ Load Test เช่น สินค้า เหล็ก ลูกตุ้มน้ำหนักเหล็กสำหรับใช้ทดสอบ และวัสดุทั่วไป ที่สามารถหาได้หน้างาน ทั้งนี้สามารถใช้ได้หมดเลยครับ เพียงแค่ขอให้เป็นวัตถุที่สามารถยกหิ้วได้ และมีน้ำหนักเพียงพอตามที่มาตรฐาน Load Test กำหนดไว้ 
  3. เอกสารรายงานการทดสอบ

ข้อกำหนดสำหรับการทำงาน Load Test 

ระหว่างที่ทำ Load Test ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากวิศวกรเท่านั้น และน้ำหนักที่ใช้สำหรับทำ Load Test รถเครน ได้แก่ 

1. รถเครนที่ผ่านการใช้งานแล้ว 

สำหรับรถเครนที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ต้องทดสอบว่าสามารถรองรับน้ำหนักที่ 1 – 1.25 เท่าของพิกัดยกปลอดภัยได้หรือไม่ 

ส่วนรถเครนที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ต้องทดสอบว่าสามารถรองรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดยกปลอดภัยได้

2. รถเครนใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านการใช้งาน 

สำหรับรถเครนใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน ให้ทดสอบว่าสามารถรองรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักใช้งานจริงสูงสุดได้หรือไม่ แต่น้ำหนักที่ใช้ทดสอบจะต้องไม่เกินพิกัดยกปล่อยภัยที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ 

ทั้งนี้ในกรณีที่รถเครนไม่ได้มีการกำหนดพิกัดยกปล่อยภัยจากผู้ผลิตจะต้องให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกปล่อยภัยและพิกัดยกสำหรับทำการทดสอบ 

การตรวจสอบ Load Test ปั้นจั่น และเครน ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง?

วิธีการตรวจสอบ Load Test รถเครน

สำหรับการวิธีการทำ Load Test ก็ไม่ได้ยุ่งยากเลยครับ เพียงแค่ใช้รถเครนที่ต้องการทดสอบยกวัตถุตามน้ำหนักที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งรถเครนแต่ละชนิดก็จะกำหนดน้ำหนักวัตถุที่ต้องยกแตกต่างกันออกไปตามที่ผมได้บอกไปก่อนหน้านี้ (สามารถใช้ได้ทั้งน้ำหนักจริง หรือ ทดสอบด้วยน้ำหนักจำลองก็ได้เช่นเดียวกันครับ) ซึ่งในปัจจุบันก็มีวิศวกรบางคนที่ไม่ได้ทำ Load Test ตามน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยใช้การเปรียบเทียบโมเมนต์สำหรับการยกแทน เพราะยิ่งน้ำหนักมากก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงตาม 

แต่ผมไม่แนะนำวิธีนี้นะครับ เพราะการเปรียบเทียบโมเมนต์สำหรับการยกไม่สามารถเป็นตัวแทนการทำ Load Test ได้อย่างแท้จริง และการทำ Load Test ที่ไม่ถูกต้องและไม่ครอบคลุม จะทำให้วิศวกรไม่สามารถทราบปัญหาของรถเครนคันนั้น ๆ ได้ 

สรุป

การทำ Load Test ที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้จะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานและช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน นอกจากนี้การทำ Load Test ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบำรุงรักษารถเครนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานและสามารถใช้งานได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น 

ซึ่งข้อสำคัญในการทำ Load Test คือ น้ำหนักวัตถุ และทุกขั้นตอนการทดสอบต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิศวกรที่มีความชำนาญ และผมแนะนำให้ทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัยแบบง่าย ๆ คือ ทดสอบน้ำหนักเท่าไหร่ ก็ใช้รถเครนยกวัตถุที่มีน้ำหนักไม่เกินเท่านั้น 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เช่ารถเครนที่ไหนดี? และสิ่งที่ควรทราบก่อนตัดสินใจเช่ารถเครน

เช่ารถเครนที่ไหนดี? และสิ่งที่ควรทราบก่อนตัดสินใจเช่ารถเครน

สำหรับใครกำลังเผชิญปัญหา เกิดความสับสน และสงสัย ไม่รู้จะเช่ารถเครนที่ไหนดี ควรจะเลือกบริษัทที่ให้บริการเช่ารถเครนยังไงดี  เพราะในปัจจุบันมีหลายบริษัทที่เปิดให้บริการเช่ารถเครน ซึ่งแน่นอนว่าในฐานะผู้ใช้บริการก็ต้องอย่างได้สิ่งที่ดีและเหมาะกับตนเองมากที่สุด วันนี้ผมจะมาแนะนำสิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจเช่ารถเครน พร้อมทั้งแชร์ 5 เทคนิคที่จะช่วยให้คุณสามารถเลือกบริษัทที่ได้มาตรฐานและได้รถเครนที่ถูกใจ สามารถใช้งานได้ถูกประเภท ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ 

รถเครน คือ 

ก่อนที่จะตัดสินเช่ารถเครนที่ไหนดี ควรจะทำความรู้จักกับรถเครนและประเภทของรถเครนกันก่อนครับ 

รถเครน คือ หนึ่งในเครื่องจักรที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพราะสามารถใช้ยกวัตถุที่มีน้ำหนักจำนวนมากได้ ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น โดยจะยกวัตถุขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายวัตถุที่ยก ในลักษณะแขวนลอยตามแนวราบ ทั้งนี้การใช้รถเครน (บางคนอาจจะเรียกว่าปั้นจั่น) จำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่มีความชำนาญและเคยได้รับการฝึกอบรม ให้ความรู้เรื่องวิธีการใช้งานและกฎระเบียบเกี่ยวกับรถเครนเป็นคนดำเนินการ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง 

รถเครนมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ในปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทรถเครนตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ 

  1. รถเครนที่สามารถเคลื่อนที่ได้ (Mobile Cranes) จะติดตั้งบนอุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนได้ด้วยตนเอง เช่น รถเครนตีนตะขาบ รถเครนล้อยาง เครนติดรถบรรทุก หรือ รถเครน 4 ล้อ เป็นต้น
  2. รถเครนที่ไม่สามารถเคลื่อนได้ (Satationaty Cranes) มักจะติดตั้งบนขาตั้ง หรือ หอคอสูง เช่น เครนหอสูง เครนราง เครนติดผนัง หรือ เครนขาสูง เป็นต้น 

แชร์! 5 เทคนิค เลือกบริษัทให้บริการเช่ารถเครน ที่ไหนดี? 

หลังจากที่รู้แล้วว่ารถเครนใช้ทำอะไรและมีกี่ประเภท ผมจะมาแชร์เทคนิค เลือกบริษัทเช่ารถเครนที่ไหนดี ที่จะช่วยให้ทุกคนได้รถเครนที่ได้มาตรฐานและตรงกับลักษณะการใช้งาน เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับทุกคน 

1. เลือกบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในรถเครน 

สิ่งแรกที่ผมอยากให้ทุกคนคำนึงก่อนตัดสินใจเลือกบริษัทเช่ารถเครน คือ ความเชี่ยวชาญของบริษัทนั้น ๆ โดยอาจจะลองศึกษาข้อมูลบริษัท ว่าเปิดให้บริการมานานแค่ไหนแล้ว (ยิ่งนานก็หมายความว่ายิ่งเชี่ยวชาญครับ) พร้อมทั้งลองพูดคุยสอบถามข้อจำกัดหรือข้อสงสัยกับทางบริษัทดูก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการ 

2. เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือ 

หลายคนน่าจะเคยเห็นตามข่าวบนอินเทอร์เน็ตหรือทีวีที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดจากรถเครนกันใช่ไหมครับ ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจใช้บริการเช่ารถเครนบริษัทไหน ผมแนะนำให้เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือโดยอาจจะลองหารีวิวจากผู้ใช้งานจริง หรือ ศึกษาข้อมูลของบริษัท หรือ คุณอาจจะลองเอาชื่อบริษัทที่สนใจไปค้นหาบนอินเทอร์เน็ตว่ามีตัวตนจริง ๆ หรือไม่ เพื่อป้องกันการโดนหลอกด้วยครับ

3. เลือกบริษัทที่มีรถเครนให้บริการหลากหลายประเภท 

บริษัทไหนที่มีประเภทรถเครนไว้ให้บริการหลากหลาย ก็ยิ่งดีครับ เพราะคุณก็จะสามารถเลือกประเภทรถเครนที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานได้ ซึ่งการเลือกรถเครนให้เหมาะกับลักษณะงานถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อีกหนึ่งอย่างเลยครับ เพราะสามารถช่วยสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานได้นั่นเอง 

4. เลือกบริษัทที่ให้คำปรึกษาอย่างตรงไปตรงมา 

แน่นอนว่าพนักงานขายก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจเช่ารถเครนที่ไหนดีด้วยครับ โดยควรเลือกบริษัทที่พนักงานให้คำปรึกษาอย่างตรงไปตรงมา และสามารถช่วยแนะนำรถเครนแต่ละประเภทให้กับลูกค้าได้ นอกจากนี้การเช่ารถเครนยังต้องคำนึงถึงบริการหลังจากตกลงทำสัญญาเช่าด้วย เพราะถ้าหากรถเครนที่เช่าเกิดปัญหาทั้ง ๆ ที่อยู่ในระหว่างสัญญาเช่า ก็จำเป็นที่จะต้องติดต่อคุยรายละเอียดและวิธีแก้ไขกับพนักงานด้วยครับ 

5. เลือกบริษัทที่คนขับรถเครนได้รับการฝึกอบรม 

การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ขับรถเครนจัดอยู่ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างหนึ่ง นั้นก็เพื่อความปลอดภัยของทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้รถเครน สำหรับบางที่อาจจะไม่มีเจ้าหน้าที่ขับรถเครนที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้งานรถเครนอย่างถูกต้อง อาจจะลองมองหาบริษัทที่มีคนขับรถเครนที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจและช่วยส่งเสริมปลอดภัยในที่ทำงานด้วยครับ 

สรุป 

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับ 5 เทคนิค เลือกบริษัทเช่ารถเครน ที่ไหนดี ทุกคนสามารถนำเอาไปปรับใช้การตัดสินใจเลือกบริษัทกันได้ตามความเหมาะสมเลยครับ 

และสำหรับใครที่กำลังมองหาบริษัทที่ให้บริการเช่ารถเครน EK CRANE เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามานานกว่า 30 ปี สามารถให้บริการรถเครนได้ทั่วประเทศไทย และเรามีรถเครนทุกขนาด ทุกประเภท เพื่อตอบโจทย์การทำงานทุกรูปแบบ พนักงานขับรถเครนของเราทุกคนผ่านการอบรมด้านการทำงาน และมีทีมงานมากประสบการณ์ด้านรถเครนคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

แนวทางการตรวจเครนและปั้นจั่น ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด อัปเดต 2024

แนวทางการตรวจเครนและปั้นจั่น ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

หลายคนน่าจะเคยเห็นข่าวอุบัติเหตุรถเครน หรือ ปั้นจั่น ชำรุดในระหว่างดำเนินงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างกันมาบ้างใช่ไหมครับ ?  แน่นอนว่าถ้าหากเกิดอุบัติเหตุหนึ่งครั้งก็จะตามมาด้วยความเสียหายที่มีมูลค่ามหาศาล ไม่ว่าจะเป็น ความเสียหายที่ได้รับทางร่างกาย หรือ ความเสียหายทางทรัพย์สินก็ตาม และเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิด การทดสอบปั้นจั่นและเครื่องจักรที่ใช้ดำเนินงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่นายจ้างและลูกจ้างทุกคนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้

และเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงาน ที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ วันนี้ผมตั้งใจจะพาทุกคนไปรู้จักกับแนวทางการทดสอบปั้นจั่นที่ถูกต้องตามที่กฎหมายที่ทางกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยครับ 

ทำความรู้จักกับการทดสอบปั้นจั่น 

เครน หรือ ปั้นจั่น เป็นหนึ่งในเครื่องจักรที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพราะสามารถอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ช่วยทุ่นแรง และเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากได้ โดยทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้มีประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น ในปี 2554 เพื่อเป็นแนวทางดำเนินการทดสอบปั้นจั่นให้กับนายจ้างและวิศวกร ซึ่งการทดสอบปั้นจั่นตามที่กฎหมายกำหนดจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงานให้กับทุก ๆ ฝ่าย 

การตรวจสอบและการทดสอบปั้นจั่นต้องทำอะไรบ้าง 

สำหรับการทดสอบปั้นจั่นผมขอแยกออกเป็น  3 ข้อใหญ่ ๆ  ได้แก่

1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดสำหรับทดสอบปั้นจั่น 

กฎหมายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบปั้นจั่นมีอยู่ 2 อย่าง ได้แก่ 

  • ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น 2554 
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ 2564 

ทั้งนี้การทดสอบปั้นจั่นต้องดำเนินการโดยวิศวกรเท่านั้น โดยต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงและประกาศของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 

2. เอกสารรายงานการทดสอบปั้นจั่น 

นายจ้างจำเป็นที่จะต้องมีเอกสารเพื่อยืนยันว่าตนเองปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเอกสารที่ใช้ยืนยัน ได้แก่

  • รายงานการทดสอบปั้นจั่น โดยต้องได้รับการับรองจากวิศวกรเครื่องกล ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น
  • สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
  • ภาพถ่ายของวิศวกรในขณะทำการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น 

3. ความถี่ในการทดสอบปั้นจั่น 

สำหรับความถี่ในการทดสอบสามารถแบ่งได้ตามประเภทและลักษณะการใช้งานครับ โดยแบ่ง 4 ประเภท ได้แก่ 

  • ปั้นจั่นที่ใช้สำหรับงานก่อสร้าง 

สำหรับปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้างที่ผู้ผลิตกำหนดพิกัดยกปลอดภัยไม่เกิน 3 ตัน กำหนดให้มีการทดสอบทุก ๆ 6 เดือน และ ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้างที่ผู้ผลิตกำหนดพิกัดยกปลอดภัยมากกว่า 3 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน กำหนดให้มีการทดสอบทุก ๆ 3 เดือน 

  • ปั้นจั่นที่ใช้สำหรับงานอื่น ๆ 

สำหรับปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ ที่ผู้ผลิตกำหนดพิกัดยกปลอดภัยไม่เกิน 3 ตัน กำหนดให้มีการทดสอบทุก ๆ 1 ปี และ ปั้นจั่นที่ผู้ผลิตกำหนดพิกัดยกปลอดภัยมากกว่า 3 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน กำหนดให้มีการทดสอบทุก ๆ 6 เดือน และ ปั้นจั่นที่ผู้ผลิตกำหนดพิกัดยกปลอดภัยมากกว่า 50 ตัน กำหนดให้มีการทดสอบทุก ๆ 3 เดือน 

  • ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกปลอดภัย 

สำหรับปั้นจั่นที่ผู้ผลิตไม่ได้กำหนดพิกัดยกปลอดภัยไว้ นายจ้างต้องให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกปลอดภัย รายละเอียดวิธีการใช้งาน วิธีเก็บรักษาและซ่อมบำรุง รวมไปถึงความถี่ในการทดสอบเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน 

  • ปั้นจั่นที่ชำรุด หรือ หยุดใช้งาน 

สำหรับปั้นจั่นที่เพิ่งซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อย หรือ ปั้นจั่นที่หยุดใช้งานมากเป็นระยะเวลานานเกิน 6 เดือน กฎหมายกำหนดให้มีการทดสอบใหม่ก่อนนำไปใช้งานจริง 

น้ำหนักวัตถุที่ใช้สำหรับทดสอบปั้นจั่น 

แน่นอนครับว่าการทดสอบปั้นจั่นต้องเกี่ยวข้องกับน้ำหนักวัตถุ โดยน้ำหนักวัตถุที่ใช้สำหรับทดสอบปั้นจั่นจะเป็นตามอายุการใช้งาน ได้แก่ 

1. ปั้นจั่นที่ผ่านการใช้งานแล้ว 

กฎหมายกำหนดให้นายจ้างทดสอบการรับน้ำหนักของเครนที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกปลอดภัยที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ และสำหรับปั้นจั่นที่ผู้ผลิตไม่ได้กำหนดพิกัดยกปลอดภัย นายจ้างต้องให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบปั้นจั่น 

2. ปั้นจั่นใหม่ 

  • ปั้นจั่นที่ผู้ผลิตกำหนดพิกัดยกปลอดภัยไว้ ไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรองรับน้ำหนักที่ 1 เท่า และไม่เกิน 1.25 เท่า 
  • ปั้นจั่นที่ผู้ผลิตกำหนดพิกัดยกปลอดภัยไว้ มากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน  ให้ทดสอบการรองรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากค่าพิกัดยกปลอดภัยที่กำหนดไว้ 

สรุป 

เพราะการทดสอบปั้นจั่นเป็นตัวช่วยที่จะเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงาน ช่วยลดความรุนแรง และลดมูลค่าความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ผมแนะนำให้ทุกคนให้ความสำคัญและปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพราะถ้าหากนายจ้างคนไหนที่ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรืออาจจะทั้งจำทั้งปรับเลยก็ได้นะครับ 

สุดท้ายนี้ถ้าหากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ 

เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย