ทำความเข้าใจกฎหมาย “การทำงานในที่อับอากาศ” อย่างปลอดภัย ต้องปฏิบัติอย่างไร

ทำความเข้าใจกฎหมาย "การทำงานในที่อับอากาศ" อย่างปลอดภัย ต้องปฏิบัติอย่างไร

ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมีหลายครั้ง ที่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อับอากาศ เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ แน่นอนครับว่าการทำงานในสถานที่อับอากาศก็ต้องมีความเสี่ยงอันตรายต่าง ๆ มากกว่าการทำงานในสถานที่ทั่วไป แต่ทุกคนอย่าเพิ่งตกใจหรือกังวลไปครับ เพราะในปัจจุบันกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้มีการกำหนด “กฎหมายการทำงานในที่อับอากาศ” เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ 

และสำหรับวันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกฎหมายการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานในสถานที่อับอากาศจำเป็นต้องรู้ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและความปลอดภัยของส่วนรวม ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยดีกว่า 

สถานที่อับอากาศ หมายถึง 

ในกฎหมายการทำงานในที่อับอากาศได้มีอธิบายไว้ว่า สถานที่อับอากาศ คือ สถานที่ที่มีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ถูกออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ รวมไปถึงสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงอันตรายหรือมีบรรยากาศอันตราย ไม่ว่าจะเป็น บ่อ ท่อ อุโมงค์ หลุม ห้องนิรภัย ห้องใต้ดิน เตา ถังน้ำมัน ถังหมัก และอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นบริเวณที่มีการระบายอากาศไม่เพียงพอ และไม่เหมาะสมสำหรับปฏิบัติงานเป็นประจำ

หลายคนอาจจะเกิดความสงสัยใช่ไหมครับ ว่าแล้ว สภาพอันตรายและบรรยากาศอันตราย หมายถึงอะไรบ้าง?

ผมจะไขข้อสงสัยของทุกคนให้เองครับ โดยสภาพอันตราย คือ สภาวะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติงาน เช่น สภาวะที่อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ ตกจากที่สูง ถูกกักขัง หรือ ติดอยู่ภายใน เป็นต้น ในขณะที่บรรยากาศอันตราย คือ สภาพอากาศที่อาจทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับอันตรายในระหว่างปฏิบัติงาน เช่น ออกซิเจนน้อยกว่า 19.5% มีก๊าซ ละออง หรือ ไอ ที่สามารถติดไฟหรือระเบิดได้ รวมไปถึงค่าความเข้มข้นของสารเคมีที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ 

การทำงานในสถานที่อับอากาศ

อันตรายที่อาจจะเกิดในสถานที่อับอากาศ

อันตรายที่อาจจะเกิดในสถานที่อับอากาศ มีดังนี้ 

  1. อันตรายที่เกิดจากการขาดออกซิเจน 
  2. อันตรายจากการสูดดมแก๊สพิษ ไม่ว่าจะเป็น คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ หรือ แก๊สที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  3. อันตรายที่เกิดจากวัตถุติดไฟ หรือ การระเบิดของแก๊สจนทำให้เกิดไฟไหม้ 
  4. อันตรายที่เกิดจากฝุ่นละอองหรือแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการมองเห็น 
  5. อันตรายที่เกิดจากอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากกว่าปกติ 
  6. ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง เพราะเสียงดัง หรือ เสียงก้อง มากกว่าปกติและเกินค่าที่มาตรฐานกำหนดไว้ 
  7. ผิวหนังอักเสบจากการโดนสารเคมีหรือแก๊สพิษ 
  8. ภาวะเครียดหรือกดดันที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อับอากาศ 

เพราะอันตรายที่เกิดในสถานที่อับอากาศสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของลูกจ้างได้ ทำให้ในปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายการทำงานในสถานที่อับอากาศนั่นเองครับ 

อัปเดต! กฎหมายการทำงานในที่อับอากาศล่าสุด

อัปเดต! กฎหมายการทำงานในที่อับอากาศล่าสุด 2024

  1. นายเจ้าต้องทำป้ายบริเวณทางเข้าออกของพื้นที่อับอากาศทุกแห่ง โดยมีข้อความแจ้งว่า พื้นที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า โดยต้องมีขนาดป้ายและตัวอักษรที่สามารถมองเห็นได้จากชัดเจน และบริเวณทางเข้าออกพื้นที่อับอากาศต้องมีอุปกรณ์เฉพาะในการเปิด-ปิดทางเข้าออกด้วย
  2. นายเจ้าต้องดำเนินเรื่องตามกฎกระทรวงที่กำหนดไว้ก่อนที่จะให้ลูกจ้างเข้าออกในบริเวณพื้นที่อับอากาศ และลูกจ้างที่สามารถเข้าออกพื้นที่อับอากาศได้ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแล้วเท่านั้น 
  3. ไม่อนุญาตให้ลูกจ้างที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ หรือ โรคอื่นที่แพทย์เห็นสมควรว่าการเข้าไปปฏิบัติงานในที่อับอากาศอาจจะเป็นอันตรายต่อบุคคลนั้นๆ 
  4. นายจ้างจำเป็นที่จะต้องประเมินความเสี่ยงและอันตรายในที่อับอากาศ ถ้าหากพบว่ามีสภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย นายจ้างจำเป็นที่จะต้องกำหนดมาตรการควบคุมสภาวะที่เป็นอันตราย เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง 
  5. นายจ้างต้องคอยตรวจประเมิน สภาวะอันตรายในพื้นที่อับอากาศ และต้องบันทึกผลการตรวจประเมินทุกครั้ง 
  6. ถ้าหากนายจ้างได้มีการตรวจประเมินตามที่กฎหมายกำหนด แต่สถานที่อับอากาศยังคงมีสภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย แต่มีความจำเป็นที่จะให้ลูกจ้างหรือบุคคลเข้าไป ต้องมีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิด 
  7. ลูกจ้างทุกคนที่ปฏิบัติงานในที่อับอากาศต้องผ่านการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในสถานที่อับอากาศ
  8. ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงาน 
  9. ถ้าหากเป็นสถานที่ที่มีสภาพเสี่ยงที่จะเกิดการตกลงลงไปในที่อับอากาศ นายจ้างต้องมีการจัดให้มีสิ่งปิดกั้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน 
  10. นายจ้างต้องมีการจัดทางเข้า-ออกที่มีความปลอดภัยและสะดวก 
  11. ห้ามลูกจ้างสูบบุหรี่ หรือ วัตถุติดไฟที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานเข้าไปที่อับอากาศโดยเด็ดขาด 
  12. นายจ้างจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมตามลักษณะการใช้งาน และต้องตรวจสอบให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ชำรุดหรือเกิดความเสียหายที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย 
  13. ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสม และมีจำนวนที่เพียงพอ 
  14. นายจ้างเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ
  15. นายจ้างจำเป็นต้องตัดให้มีหนังสืออนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศทุกครั้ง 
  16. นายจ้างต้องมีการจัดอบรมให้ความรู้กับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่อับอากาศ และจำเป็นต้องเก็บหลักฐานการจัดอบรมไว้ด้วย 

สรุป 

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ ผมคาดว่าหลายคนน่าจะตระหนักถึงความสำคัญของกฎหมายการทำงานในที่อับอากาศกันได้ และปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้การปฏิบัติตามกฎไม่ใช่เพียงเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองเท่านั้น แต่เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์ของส่วนรวมด้วยครับ 

ถ้าไม่อยากห้ามข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

E-mail: [email protected]

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

การวางแผนการยก Lifting Plan ในงานก่อสร้าง พร้อมแบบฟอร์มฟรี

การวางแผนการยก Lifting Plan ในงานก่อสร้าง

อยากที่ทุกคนทราบกันดีกว่ารถเครน หรือที่อีกคนหลายคนเรียกว่า ปั้นจั่น เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ทุ่นแรงที่สามารถช่วยยกวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ๆ ได้ และนิยมใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งแน่นอนครับ ว่าการใช้รถเครนมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นในระหว่างเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ ถ้าหากไม่ได้มีการวางแผน Lifting Plan อย่างครอบคลุม 

วันนี้ทางทีม Ek Crane จึงอยากจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการวางแผนการยกปั้นจั่น หรือ Lifting Plan ที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ  

ทำความรู้จัก Lifting Plan (การวางแผนการยกปั้นจั่น) 

การทำ Lifting Plan คือ การสรุปขั้นตอนการใช้รถเครนทุกขั้นตอน พร้อมทั้งหาวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้การทำ Lifting Plan จำเป็นต้องมีการออกแบบและเขียนขึ้นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ วัตถุที่ยก และกฎหมาย เป็นหลัก นอกจากนี้การทำ Lifting Plan ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 

องค์ประกอบสำหรับ Lifting Plan 

  1. ความเหมาะสม 

การเลือกประเภทรถเครน หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตะขอ หรือ สลิง จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับน้ำหนักวัตถุ เพื่อความปลอดภัยระหว่างที่เจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการเลือกประเภทรถเครนที่สามารถรองรับน้ำหนักวัตถุได้เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม 

  1. น้ำหนัก

การทำ Lifting Plan จำเป็นต้องระบุน้ำหนักวัตถุที่จะเคลื่อนย้ายไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย นอกจากน้ำหนักของวัตถุแล้ว อย่าลืมที่จะคำนึงถึงขนาด ลักษณะ รูปทรง และข้อควรระวังพิเศษ เช่น เป็นวัตถุที่แตกหักง่าย หรือ เป็นวัตถุไวไฟ เป็นต้น

  1. เส้นทาง และ พื้นที่ 

ถ้าหากคุณต้องการทำ Lifting Plan ที่ดี คุณจำเป็นที่จะต้องกำหนดเส้นทางที่รถเครนเคลื่อนผ่าน เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะถ้าหากจำเป็นที่จะต้องใช้พื้นที่สัญจรสาธารณะร่วมกับผู้อื่น คุณควรระบุสิ่งกีดขวางไว้อย่างชัดเจน การกำหนดเส้นทางและพื้นที่ไว้อย่างชัดเจนนอกจากจะช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุแล้ว ยังทำให้สามารถคำนวณเวลาและสามารถคาดคะเนระยะเวลาสำหรับปฏิบัติงานได้อีกด้วย 

วางแผนการยก Lifting Plan
  1. ปฏิบัติตามมาตรฐาน และ ข้อกำหนด 

คือ การตรวจสอบว่า Lifting Plan ที่ทำขึ้นมาเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถเครน เช่น กฎหมายและข้อบังคับของประเทศไทยที่ระบุเกี่ยวกับการใช้งานรถเครน หรือ การเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมาก หรือ มาตรฐานที่มีการกำหนดไว้ในระดับสากล 

  1. ชี้แจงแผนการทำงานให้กับพนักงาน 

หลังจากคุณที่ได้มีการจัดทำ Lifting Plan และ ได้มีการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ควรมีการชี้แจงรายละเอียด ขั้นตอนการทำงาน กฎหมาย รวมไปถึงข้อควรระวังต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน เช่น เจ้าหน้าที่บังคับเครน เจ้าหน้าที่ให้สัญญาณมือ พนักงานขนของ และ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งการชี้แจงแผนการทำงานที่ถูกต้องชัดเจนจะช่วยลดข้อผิดพลาดระหว่างปฏิบัติหน้าที่

  1. ตรวจสอบอุปกรณ์

ก่อนการใช้งานรถเครนทุกครั้งควรมีการตรวจสอบความพร้อมรถเครนและอุปกรณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น สลิง ตะขอ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในการยก ทั้งนี้ถ้าหากเจออุปกรณ์ที่ต้องได้รับการซ่อมบำรุงควรส่งไปซ่อมก่อน ไม่ควรฝืนใช้งาน เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มสำหรับการวางแผน Lifting Plan ฟรี!

สำหรับผู้ที่ต้องการแบบฟอร์มสำหรับการวางแผน Lifting Plan สามารถทำการดาวน์โหลดได้ที่ >>> แบบฟอร์ม Lifting Plan

ขอบคุณเว็บไซต์ www.craneprofessional.in.th สำหรับข้อมูลแบบฟอร์ม Lifting Plan

Lifting Plan มีประโยชน์อย่างไร ?  

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ แต่จริง ๆ แล้วการทำ Lifting Plan ถือว่าเป็นขั้นตอนที่จำเป็น และมีประโยชน์เป็นอย่างมากเลยครับ ซึ่งประโยชน์ของ Lifting Plan ได้แก่

  • เพิ่มความปลอดภัยระหว่างปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน ช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ 
  • เพิ่มความปลอดภัยให้กับวัตถุที่ต้องการเคลื่อนย้าย 
  • เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจ ทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • ช่วยลดปัญหาด้านกฎหมายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าหากปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ 
  • สามารถปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที
ข้อดีของการวางแผนการยก Lifting Plan

สรุป 

สุดท้ายนี้ผมจึงข้อสรุปว่าการทำ Lifting Plan ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องทำทุกครั้ง เพราะสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยลดปัญหาด้านกฎหมายที่อาจจะตามมา และยังช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยการทำ Lifting Plan ผมแนะนำว่าควรทำอย่างรอบคอบ เพื่อให้แผนครอบคลุมกระบวนการทำงานทั้งหมด

ที่สำคัญไม่ควรเสี่ยงใช้รถเครนยกวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ๆ โดยไม่มีการวางแผนก่อน เพราะการใช้รถเครนจำเป็นต้องใช้ทักษะความรู้ ความชำนาญ และการจัดการอย่างระมัดระวัง ซึ่งการใช้รถเครนโดยไม่มีการวางแผนก่อนอาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับเจ้าหน้าที่ วัตถุ อุปกรณ์ และตัวรถเครนเองได้ครับ 

ติดตามข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

Near Miss สัญญาณเตือนที่อาจสร้างอันตรายในภายภาคหน้า 

Near Miss คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน

คำว่า อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ ทั้ง 3 คำนี้มีความหมายแตกต่างกันออกไป ซึ่งบางคนอาจจะยังคงสับสน และใช้ทั้งคำ 3 นี้ ผิดความหมายอยู่ วันนี้ผมจึงอยากจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก กับ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss คืออะไร พร้อมทั้งอธิบายความแตกต่างระหว่างคำว่า อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ ให้เข้าใจอย่างแท้จริง ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปทำความรู้จักว่า Near Miss คืออะไร พร้อม ๆ กันเลยดีกว่าครับ 

Near Miss คืออะไร 

อย่างแรกผมอยากให้ทุกคนลองทำความรู้จักกับคำว่า เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss กันก่อน โดย Near Miss คือ เหตุการณ์ที่เกือบจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือ เกือบเกิดความเสียหาย แต่เหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ เพราะสามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ อาจจะเป็นเพราะโชคช่วยก็ได้ 

เช่น คุณกำลังขับรถบนถนนที่ลื่น เนื่องจากฝนเพิ่งตกหนักไปด้วยความเร็วเกินมาตรฐานกำหนดไว้ ทำให้รถของคุณเสียหลัก แต่คุณสามารถตั้งสติและประคับประคองรถให้รอดพ้นมาได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือ สร้างความเสียหายใด ๆ เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่า Near Miss หรือ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุนั้นเองครับ 

ซึ่งหลายครั้งที่ Near Miss ถูกมองข้าม เพราะไม่ได้สร้างความเสียหายหรือเดือดร้อนใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าหากเกิด Near Miss ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องบันทึกเหตุการณ์และรายงานให้หัวหน้าทราบ เพื่อเรียนรู้จากสถานการณ์ และคิดวิธีป้องกันอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดในอนาคต 

อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

ระหว่าง อุบัติเหตุ และ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ แตกต่างกันยังไง 

มีหลายคนที่สับสนระหว่าง อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss (เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ) ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เพราะทั้ง 3 คำ มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่การแยกความหมายที่แตกต่างของแต่ละคำได้ จะช่วยให้สามารถคิดวิธีป้องกันและแก้ไขได้ดีกว่าครับ 

โดยความแตกต่างระหว่าง อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss ได้แก่ 

  • อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความบาดเจ็บ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกะทันหันไม่มีได้ทันตั้งตัว และมักมีสาเหตุมาจากความประมาท เลินเล่อ หรือ ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจในหน้าที่และเครื่องจักรที่ใช้ 
  • อุบัติการณ์ คือ เหตุการณ์ที่สร้างความบาดเจ็บ หรือ เสียหาย แต่ไม่รุนแรง และไม่อันตรายใด ๆ ต่อชีวิต เช่น พนักงานลื่นล้มเพราะพื้นเปียก ซึ่งอุบัติการณ์มักมีสาเหตุมาจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย หรือ พฤติกรรมที่ไม่ระมัดระวัง 
  • เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss คือ เหตุการณ์ที่เกือบเกิดอุบัติเหตุแต่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน ทำให้ไม่เกิดความเสียหายหรือได้รับบาดใจใด ๆ ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย หรือ พฤติกรรมที่ประมาท 

ระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติการณ์

ในปัจจุบันสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของลักษณะการเกิดอุบัติการณ์ ได้ทั้งหมด 9 ระดับ ดังนี้ 

  1. A ระดับที่ไม่มีความรุนแรง เป็นเหตุการณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 
  2. B ระดับที่ไม่มีความรุนแรง เกิดอุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แต่ไม่ได้รับความเสียหาย หรือ อาการบาดเจ็บใด ๆ 
  3. C ระดับความรุนแรงต่ำ เกิดอุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แต่ได้รับความเสียหาย หรือ อาการบาดเจ็บเล็กน้อย มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 1,000 บาท
  4. D ระดับความรุนแรงปานกลาง เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอาการ หรือ เกิดความเสียหายเล็กน้อย มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 1,000 – 5,000 บาท 
  5. E ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้ได้รับความเสียหาย หรือ ได้รับบาดเจ็บ ทำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาตัว มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 5,000 – 10,000 บาท 
  6. F ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้ได้รับความเสียหาย หรือ ได้รับบาดเจ็บ ทำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาตัว มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 10,000 – 50,000 บาท 
  7. G ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้เกิดความสูญเสีย เช่น อวัยวะ เกิดการร้องเรียน หรือ มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 50,000 – 80,000 บาท 
  8. H ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่อันตรายร้ายแรงจนเกือบเสียชีวิต เช่น การแก้ยา หัวจหยุดเต้น หรือ เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 80,000 – 100,000 บาท 
  9. I ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ จนทำให้เสียชีวิต หรือ มูลค่าความเสียหายมากกว่า 100,000 บาทขึ้นไป 

ถ้าหากสังเกตที่ข้อ 1 และ ข้อ 2 คือ Near Miss หรือ เหตุการณ์ที่เกือบเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้สร้างความเสียหาย หรือ อันตรายจนได้รับบาดเจ็บ

Near Miss คือสัญญาณที่ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในอนาคตได้

สรุป

ผมจึงขอสรุปให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ ว่า Near Miss คือ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียใด ๆ ไม่ได้รับบาดเจ็บและความเสียหายใด ๆ จากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน แต่จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญและแจ้งหัวหน้าทุกครั้งที่เกิด Near Miss เพื่อจะได้หาหนทางและวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้นั้นเองครับ  

ติดตามข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

เข้าใจระบบบริหารงานคุณภาพ และวิธีได้รับการรับรอง ISO 9001

เข้าใจระบบบริหารงานคุณภาพ และวิธีได้รับการรับรอง มาตรฐาน ISO 9001

หากใครที่กำลังทำงานในองค์กร หรือเป็นเจ้าของธุรกิจเองก็ต้องอยากให้องค์กรของตนเองเติบโต เป็นที่น่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า แน่นอนว่าเราก็ต้องหาวิธีที่จะผลักดันให้องค์กรพร้อมที่จะแข็งขันกับท้องตลาดได้ สำหรับใครที่กำลังเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือกำลังประกอบในสายอาชีพใดก็ตาม ต้องไม่พลาดที่จะทำความรู้จักกับมาตรฐาน ISO 9001 ที่จะช่วยให้องค์กรของคุณกลายเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานสากล 

ซึ่งในบทความนี้เราจะพามาเข้าใจระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 รวมถึงบอกวิธีได้รับการรับรอง ISO 9001 เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงองค์กรให้ดียิ่งขึ้น ถ้าอยากรู้แล้วตามมาอ่านกันได้เลย

มาตรฐาน ISO 9001 คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ISO 9001 คือ มาตรฐานการจัดการระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System: QMS) เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากลและองค์กรทั่วโลก ทุกองค์กรสามารถนำ ISO 9001 ไปปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ องค์กรภาคผลิต หรือภาคบริการ 

ซึ่งมาตรฐาน ISO 9001 จัดอยู่ในกลุ่ม ISO 9000 โดยจะมีความเกี่ยวข้องในส่วนของคุณภาพการจัดการ การบริการ การผลิต การบริหารภายในองค์กร หากนำมาตรฐานนี้มาช่วยพัฒนากับองค์กรของตนเอง ก็สามารถผลักดันให้องค์กรเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ เนื่องจากมาตรฐาน ISO 9001 นี้จะต้องมีการตรวจสอบและควบคุม ถึงจะได้รับการยอมรับและเครื่องหมายมาตรฐาน ISO 9001

หลักการของ ISO 9001 

เพื่อให้องค์กรมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้เกิดหลักการของ ISO 9001 หรือการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ ทั้ง 7 ประการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Focus)

ISO 9001 จะมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เข้าใจ และตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อองค์กร  

  1. มีความเป็นผู้นำ (Leadership)

หากคุณเป็นเจ้าของกิจการ หรือดูแลบริหารองค์กร การที่มีวิสัยทัศน์หรือกลยุทธ์ที่กว้างไกล ชัดเจนเกี่ยวกับกิจการ หรือองค์กรของคุณ จะช่วยให้บุคลากรภายในองค์มีเป้าหมายร่วมกัน ทำงานเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน

  1. การมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร (Engagement of People)

นอกจากทีมผู้บริหารแล้ว บุคลากรในองค์กรควรมีส่วนร่วมช่วยในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันความรู้ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพด้วย

  1. การบริหารอย่างเป็นระบบ (Process Approach)

การที่องค์กรบริหารงานอย่างเป็นระบบด้วยหลักการ Plan Do Check Act หรือ PDCA ของ ISO 9001 จะช่วยเสริมให้ภายในองค์กรของคุณสามารถจัดวางระบบกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ง่ายขึ้น

  1. ปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Improvement)

การปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่องควรเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งที่สำคัญสำหรับทุกองค์กร หากคุณสามารถระบุและแก้ไขในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดได้ นั่นหมายความว่าองค์กรคุณสามารถหาวิธีแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาให้องค์กรมีคุณภาพ แข็งแรงมากขึ้น

  1. ตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (Evidence-Based Decision Making)

ในปัจจุบันที่ข้อมูลมาจากหลายแหล่ง หลายประเภท การวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ให้แน่ใจก่อนจะทำการตัดสินใจใด ๆ 

  1. รักษาความสัมพันธ์ (Relationship Management)

แน่นอนว่าการแข่งขันในท้องตลาด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร อย่างเช่น ซัพพลายเออร์ จะเป็นข้อได้เปรียบของหลาย ๆ องค์กร ดังนั้นเราจึงควรสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน สร้างความไว้วางใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อประโยชน์ร่วมกันในอนาคต

หลักการของ ISO 9001 ความสำคัญ และวิธีการได้รับ

วิธีได้รับการรับรอง ISO 9001 ต้องทำอย่างไรบ้าง

การจะได้รับการรับรอง ISO 9001 สามารถปฏิบัติได้ตามวิธีดังต่อไปนี้

  1. หาผู้ตรวจประเมินรับรองระบบที่ได้มาตรฐาน (Certification Body: CB)

เมื่อเริ่มขั้นตอนการทำ ISO 9001 คือเราจะต้องหาผู้ตรวจประเมินรับรองระบบที่ได้มาตรฐานที่เหมาะสมก่อน โดยจะเรียกกันว่า Certification Body หรือ CB มีความเป็นมืออาชีพ รอบรู้ด้านข้อมูลการประเมิน

  1. จัดหาผู้ช่วยจัดทำระบบให้มีมาตรฐาน

ในขั้นตอนต่อมาจะต้องจัดหาผู้ช่วยจัดทำระบบให้มีมาตรฐาน สามารถดูแลจัดทำระบบ จัดอบรมพัฒนาหลักสูตรมาตรฐาน ISO 9001 และด้านอื่น ๆ เพื่อช่วยพัฒนาให้บุคลากรในองค์กรเกิดประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลยอมรับ

  1. เข้ารับการตรวจและประเมินครั้งที่ 1

เมื่อถึงวันเข้ารับการตรวจและประเมินครั้งที่ 1 จะเป็นการตรวจสอบแบบตรงไปตรงมา พร้อมให้คำแนะนำในส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องหรือมีปัญหา เพื่อให้องค์กรนำกลับไปปรับปรุงแก้ไข และสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 9001 มากขึ้น

  1. เข้ารับการตรวจและประเมินครั้งที่ 2

ในขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจประเมินครั้งที่ 2 หรือขอ ISO 9001 คือเราจะต้องยื่นเอกสารเพื่อรับการตรวจประเมินอีกครั้ง พร้อมแสดงให้เห็นว่าสามารถนำข้อแก้ไขไปปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 9001 อย่างสมบูรณ์แล้ว หากทุกอย่างถูกปรับภายใต้ข้อกำหนดของ ISO 9001 แล้วก็จะผ่านการรับรอง และเพื่อให้แน่ใจว่าจะยังคงอยู่ในมาตรฐาน ISO 9001 อย่างสม่ำเสมอ องค์กรของคุณก็จะต้องได้รับการตรวจประเมินเป็นประจำทุกปีนั่นเอง

ISO 9001 มีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร 

การควบคุมคุณภาพถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะนำองค์กร หรือธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ หากต้องการให้องค์กรมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพของสินค้าหรือบริการ การทำ ISO 9001 จึงมีประโยชน์ต่อองค์กร รวมถึงบุคลากรภายในองค์กร ดังนี้ 

  • ลูกค้า หรือผู้อุปโภค บริโภค มีความมั่นใจในสินค้าหรือบริการขององค์กร 
  • องค์กรมีความน่าเชื่อถือ เพราะมีระบบการจัดการที่ได้มาตรฐานระดับสากล สามารถเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในท้องตลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรขนาดเล็ก หรือธุรกิจ SME 
  • ลดความผิดพลาดในเรื่องของระบบการทำงานภายในองค์กร เสริมสร้างกลยุทธ์ให้องค์กรบรรลุตามเป้าหมาย เนื่องจากข้อกำหนดของ ISO 9001 จะเป็นการเน้นไปที่การปรับปรุงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังกำหนดให้ดำเนินการจัดการความเสี่ยงขององค์กร 
  • องค์กรให้ความสำคัญต่อความคิดเห็นของลูกค้ามากขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ ปรับปรุง พัฒนาองค์กรให้ตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้า
  • เสริมสร้างให้บุคลากรภายในองค์ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างมีระบบ มีการทำงานเป็นทีม เสริมสร้างให้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป 

ISO 9001 คือระบบบริหารงานคุณภาพที่ทุกองค์กรไม่ว่าจะในสายไหน ควรเข้ารับการประเมิน ISO 9001 เพื่อผลักดันให้องค์กรรวมถึงบุคลากรเติบโตอย่างมีคุณภาพ ยั่งยืน สามารถแข็งขันในท้องตลาดได้ ลูกค้ามีความพึงพอใจและมีความเชื่อมั่นในตัวองค์กร 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

การใช้เครนอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัย และบำรุงรักษา

ปั้นจั่น หรือ เครน เป็นหนึ่งในเครื่องจักรที่นิยมเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และ อุตสาหกรรมอื่น ๆ เพราะสามารถช่วยทุ่นแรงในกระบวนการขนย้ายสิ่งของได้ และ สามารถขนย้ายสิ่งของที่มนุษย์ไม่สามารถเคลื่อนย้ายด้วยตัวเองได้ และแน่นอนว่าในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครน ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจมากเป็นอันดับต้น ๆ วันนี้ผมจึงจะมาแนะนำวิธีการใช้เครนอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานลง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูการใช้เครนอย่างถูกวิธีไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า 

วิธีการใช้งานเครนอย่างถูกวิธี 

อย่างที่ผมได้กล่าวไปก่อนข้างหน้านี้ว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ในการปฏิบัติงาน การใช้งานเครนให้ถูกวิธีจริงเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน โดยวิธีการใช้งานเครนอย่างถูกวิธี มีดังนี้ 

1. เลือกใช้งานเครนให้ถูกประเภท 

เครน หรือที่หลายคนเรียกว่า ปั้นจั่น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งของ หรือ ขนส่งสินค้าเท่านั้น นั่นดังไม่ควรที่นำเครนไปใช้งานผิดประเภท เช่น การขึ้นลงโดยสาร เพราะการใช้งานเครนผิดประเภทสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิตได้นั่นเองครับ 

2. ตรวจสอบความพร้อมก่อนใช้งานทุกครั้ง 

ทุกครั้งก่อนใช้งานเครนผู้ควบคุมเครนควรตรวจเช็กสภาพว่าเครนอยู่ในสภาพพร้อมใช่งาน ชิ้นส่วนต่าง ๆ สามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ มีส่วนไหนที่เกิดความเสียหายหรือชำรุดที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายระหว่างปฏิบัติงานหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ถ้าหากพบว่าเครนชำรุด หรือ มีชิ้นส่วนที่ไม่สามารถใช้งานได้ปกติ ผมแนะนำว่าไม่ควรใช้งานเครนนั้น ๆ ควรนำไปแก้ไขหรือบำรุงรักษาให้เรียบร้อยแล้วจึงนำกลับมาใช้งานใหม่ครับ 

3. ผู้ควบคุมเครนต้องมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเครน

การจะใช้งานเครนอย่างถูกวิธีได้ ผู้ควบคุมเครนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครนครับ โดยบริษัทควรมีการอบรมให้ความรู้การใช้เครนอย่างถูกวิธีกับผู้ควบคุมเครนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และ ปัจจุบันผู้ควบคุมเครนจำเป็นต้องมีใบเซอร์เครนเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินทั้งของตนเองและผู้อื่นครับ ทั้งนี้ถ้าหากว่าผู้ใช้งานเครนไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเครน ห้ามแตะต้องหรือใช้งานเครื่องจักรโดยเด็ดขาด 

การใช้เครนอย่างถูกวิธี

4. หลีกเลี่ยงการใช้เครนยกวัตถุที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานกำหนดไว้

นอกจากประเภทการใช้งานของเครนที่ต้องคำนึงแล้ว น้ำหนักของวัตถุที่เครนสามารถยกได้ก็สำคัญไม่แพ้กันครับ ผมจึงแนะนำให้ตรวจสอบน้ำหนักที่เครนสามารถยกได้ทุกครั้งก่อนใช้งาน เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน ที่มีสาเหตุมาจากใช้เครนยกวัตถุน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ และรวมไปถึงไม่ควรนำวัตถุวางซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น เพราะอยากให้งานเสร็จเร็ว ๆ ด้วย เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายระหว่างขนย้ายวัตถุได้ครับ 

5. หลีกเลี่ยงการยกวัตถุค้างไว้บนอากาศนาน ๆ 

การใช้เครนอย่างถูกวิธีไม่ควรใช้เครนยกวัตถุขึ้นสูงแล้วค้างไว้บนอากาศนาน ๆ เพราะอาจจะทำให้ตัวเครนรองรับน้ำหนักมากเกินไป และทำให้เครนพัง หรือ หัก ในที่สุด และถ้าหากเกิดเหตุการณ์ตามที่ได้กล่าวมาสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ได้ 

6. ก่อนใช้งานเครนทุกครั้งต้องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง

ก่อนใช้งานเครนทุกครั้งจำเป็นต้องแจ้งผู้อื่น หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่กำลังปฏิบัติงานในบริเวณรอบ ๆ ก่อนเสมอ ว่าจะกระทำสิ่งใด และ อย่างไร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงาน

7. หากพบสิ่งผิดปกติต้องหยุดใช้งานเครนทันที 

ในระหว่างที่กำลังใช้งานเครนถ้าหากเกิดเหตุขัดข้อง สิ่งผิดปกติ หรือ ได้ยินเสียงที่ผิดปกติที่มาจากเครนที่ใช้งานอยู่ ควรหยุดใช้งานเครนทันที และจึงตรวจสอบว่าเหตุขัดข้องที่เกิดมีสาเหตุมาจากอะไร เพื่อช่างจะได้สามารถแก้ไขและซ่อมบำรุงได้อย่างตรงจุด 

8. ห้ามแกล้งหรือเล่นกันในระหว่างใช้งานเครน 

การแกล้งหรือเล่นกันในระหว่างที่เครนทำงาน เช่น การโยกตัวยกไปมาในขณะที่เครนกำลังยกวัตถุขึ้นสูงอยู่บนอากาศ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยเด็ดขาด เพราะสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุที่อาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

9. จัดเก็บเครนทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ

การใช้เครนอย่างถูกวิธีอย่างสุดท้าย คือ การเคลื่อนย้ายเครนไปยังตำแหน่งที่กำหนดไว้ทุกครั้ง พร้อมทั้งทำการตัดไฟที่ปุ่มสวิตซ์หลัก เพื่อป้องกันเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและตัดโอกาสเครนทำงานเองในขณะไม่มีผู้ใช้งาน 

ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากใช้งานเครนผิดวิธี

ถ้าใช้งานเครนผิดวิธีจะเกิดอันตรายอย่างไร 

หลังจากที่รู้การใช้เครนอย่างถูกวิธีแล้ว มาลองดูกันว่าถ้าหากใช้งานเครนผิดวิธี สามารถก่อให้เกิดอันตรายอะไรได้บ้าง โดยถ้าหากผู้ควบคุมใช้งานเครนผิดวิธี จะก่อให้เกิดอันตราย ดังต่อไปนี้ 

1. ความเสียหายต่ออวัยวะ 

บางครั้งการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างปฏิบัติงานอาจจะทำให้ผู้ประสบเหตุกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพ ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตและปฏิบัติงานได้ตามปกติ ซึ่งทำให้ผู้ประสบเหตุศูนย์โอกาสหลาย ๆ อย่างในชีวิต เช่น ความก้าวหน้าในที่ทำงาน เป็นต้น 

2. ความเสียหายต่อชีวิต

การเสียชีวิตของพนักงานในระหว่างปฏิบัติงานที่มีสาเหตุมาจากความประมาทและอุบัติเหตุที่เกิด เป็นความเสียหายที่รุนแรงมากที่สุด และเป็นความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ นอกจากนี้เป็นเหตุการณ์ที่ทุกองค์กรไม่ต้องการให้เกิด

3. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน 

การเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง อย่างน้อยที่สุดทรัพย์สินบางอย่างต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งบริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครนและทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ถ้าหากมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น บริษัทอาจจะต้องจ่ายค่ารักษาพยายามอีกด้วย 

ข้อแนะนำหลังใช้เครน 

  • นำเครน และ อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เก็บตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ 
  • ปิดสวิตซ์หลักในการใช้งาน เพื่อตัดไฟฟ้า 
  • จดบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน 
  • หากพบปัญหาให้แจ้งบริษัทผู้ผลิตเพื่อซ่อมแซมและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้งานครั้งต่อไป 

สรุป

การใช้เครนอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ และช่วยสร้างความอุ่นใจ มั่นใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทุกคน ส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ถ้าหากพบว่ามีระหว่างที่ใช้งานเครนมีสิ่งผิดปกติ หรือ เกิดเหตุขัดข้อง ควรหยุดใช้งานทันที เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นครับ 

และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จักป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานก่อสร้าง

สำหรับคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง “สัญลักษณ์ความปลอดภัย” เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ว่าสัญลักษณ์ความปลอดภัยแต่ละแบบ แต่ละสีหมายถึงอะไร เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงานเองและคนที่อยู่รอบ ๆ บทความนี้ผมจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสัญลักษณ์ความปลอดภัยในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ควรรู้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ ว่ามีสัญลักษณ์ความปลอดภัยอะไรบ้าง 

ทำความรู้จักกับสีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย 

สีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย คือ สิ่งที่จะคอยบอกสถานะด้านต่าง ๆ ที่มักมาในรูปแบบป้ายเตือน เพื่อให้คนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น ๆ ระมัดระวังมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ของป้ายความปลอดภัยมักจะเป็นสัญลักษณ์ สี และข้อความสั้น ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ที่พบเห็นป้ายสามารถเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อสารได้ทันที การมีป้ายเตือน หรือ สัญลักษณ์ความปลอดภัยตามจุดต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดอันตรายทำให้สามารถช่วยลดอุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝันลงได้ 

ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นสัญลักษณ์ความปลอดภัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือ อันตรายใด ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล เขตก่อสร้าง ห้องควบคุมไฟฟ้า ห้องเก็บสารเคมี พื้นที่อับอากาศ หรือ บนท้องถนน เป็นต้น 

สัญลักษณ์ความปลอดภัย

ประเภทของสัญลักษณ์ความปลอดภัย

ในปัจจุบันประเภทจองสัญลักษณ์ความปลอดภัย สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 

  1. สัญลักษณ์ห้าม สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทห้าม มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและหยุดยั้งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งมักจะมาในรูปแบบป้ายเตือนที่มีวงกลมแถบสีแดงและมีเส้นทแยงมุม 45 องศา 
  2. สัญลักษณ์เตือน สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทเตือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนเกี่ยวกับอันตรายในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งมักจะมาในรูปแบบป้ายเตือนที่มีสามเหลี่ยมสีเหลืองและข้อความสั้น ๆ สีดำ
  3. สัญลักษณ์บังคับ สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทบังคับ มีวัตถุประสงค์เพื่อทุกคนปฏิบัติตามข้อบังคับ หรือ กฎหมายที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ซึ่งมักจะมาในรูปป้ายเตือนสีฟ้า 
  4. สัญลักษณ์ฉุกเฉิน สัญลักษณ์ความปลอดภัยประเภทฉุกเฉิน มักจะเป็นสัญลักษณ์หรือข้อความต่าง ๆ ที่เข้าใจได้ง่าย เช่น ทางออกฉุกเฉิน จุดรวมพล หรือ จุดปฐมพยาบาล เป็นต้น ซึ่งมักจะมาในรูปแบบป้ายเตือนสีเขียวและสัญลักษณ์ความปลอดภัยสีขาว 

ประโยชน์ของสัญลักษณ์ความปลอดภัย 

ในแวดวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างเรา ๆ รู้กันดีใช่ไหมครับ ว่างานที่ทำอยู่ในทุก ๆ วันมีความเสี่ยงและสามารถเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ทุกเมื่อ ถ้าหากเกิดความประมาทแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม ซึ่งการมีสัญลักษณ์ความปลอดภัยถือเป็นหนึ่งในรูปแบบการเตรียมความพร้อมรับมือและลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในที่งานนั่นเองครับ นอกจากนี้การใช้สัญลักษณ์ความปลอดภัยยังสามารถให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องและคนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเข้าใจความหมายได้อย่างตรงกัน เพื่อระมัดระวังและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งกับตนเองและผู้อื่นด้วยครับ 

มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย 

หลังจากที่เข้าใจความหมายของสี ประโยชน์ และสัญลักษณ์ความปลอดภัยแล้ว ทีนี้ผมอยากให้ทุกคนมาทำความรู้จักกับมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัยในระดับสากลกันบ้างครับ 

1. มอก. 635-2554

หลายคนน่าจะคุ้นหู หรือเคยได้ยินคำว่า มอก. กันมาบ้าง โดย มอก. 635-2554 เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สี และ เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ซึ่งจะกำหนดสีและเครื่องหมายต่าง ๆ เพื่อบอกถึงความปลอดภัย ข้อความระวัง ข้อบังคับ หรือข้อห้ามในที่ทำงาน หรือ พื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ มอก. 635-2554 สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 

  1. เครื่องหมายห้าม
  2. เครื่องหมายบังคับ
  3. เครื่องหมายเตือน
  4. เครื่องหมายแสดงสภาวะปลอดภัย
  5. เครื่องหมายแสดงอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย 

2. มาตรฐาน ISO 3864

ISO 3864 เป็นมาตรฐานสากลที่หลายประเทศใช้กัน เพื่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และ พื้นที่สาธารณะ มักมาในรูปแบบป้ายเตือนหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัยกราฟิกต่าง ๆ เพื่อให้ผู้พบเห็นสามารถเข้าใจได้ทันที โดยมาตรฐาน ISO 3864 สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 

  1. ISO 3864-1:2011 ส่วนที่ 1 คือ หลักการออกแบบป้ายความปลอดภัย และ ความปลอดภัย 
  2. ISO 3864-2:2016 ส่วนที่ 2 คือ หลักการออกแบบฉลากความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ 
  3. ISO 3864-3:2012 ส่วนที่ 3 คือ หลักการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิกที่ใช้ในป้ายเตือนต่าง ๆ 
  4. ISO 3864-4:2011 ส่วนที่ 4 คือ คุณสมบัติสี และ โฟโตเมตริกของวัสดุป้ายความปลอดภัย 

3. มาตรฐาน ANSI Z353 

มาตรฐาน ANSI (American National Strandard Institute) เป็นมาตรฐานความปลอดภัยในที่ทำงานกำหนดโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นองค์กรอิสระ โดยมาตรฐาน ANSI เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยได้กำหนดมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัยที่สามารถเข้าใจได้ง่ายไว้ทั้งหมด 6 มาตรฐาน ได้แก่ 

  1. สีแดง หมายถึง อันตราย สถานการณ์ฉุกเฉิน รวมไปถึงวัตถุไวไฟ 
  2. สีส้ม หมายถึง การเตือน บอกสถานะของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่กำลังอยู่ในระหว่างปฏิบัติงาน 
  3. สีเหลือง หมายถึง การแจ้งเตือนเมื่อเกิดอันตรายทางกายภาพ 
  4. สีฟ้า หมายถึง สิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย 
  5. สีเขียว หมายถึง การปฐมพยาบาล และ ความปลอดภัยต่าง ๆ 
  6. สีม่วง หมายถึง กำหนดการใช้งานได้ตามสะดวกในสถานที่ของตนเอง 

สรุป

สัญลักษณ์ความปลอดภัย คือ ข้อความ สี หรือ สัญลักษณ์ที่บ่งชี้ถึงข้อห้าม ข้อควรระวัง และอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยสัญลักษณ์ความปลอดภัยเป็นสิ่งพื้นฐานที่ต้องมีและจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพื่อป้องกันและลดอันตรายที่อาจจะเกิดระหว่างปฏิบัติงาน ซึ่งทุกคนควรปฏิบัติตามสัญลักษณ์ความปลอดภัยอย่างเคร่งครัน 

และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย