มาดูกันว่า ปัจจุบันปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิด อัปเดต 2024

ปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิด

ปั้นจั่น หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเพื่อขึ้นที่สูง โดยใช้สลิงในการตรึงระหว่างสิ่งของและตัวแขนบูม ซึ่งใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของไปมา สามารถยกขึ้นในแนวดิ่งและเคลื่อนไหวหมุนไปมาได้ในแนวราบแบบ 360 องศา ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างมากในงานระดับอุตสาหกรรม ดังนั้น สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่าปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิด ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัยตามกฎหมายได้อย่างไร คุณสามารถมาหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย

ปั้นจั่นแบ่งออกเป็นกี่ชนิดตามกฎหมาย แล้วมีอะไรบ้าง ? 

ปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิดกันแน่ ในทางกฎหมายแล้วปั้นจั่นเป็นเครื่องจักรที่มีด้วยกันทั้งหมด 2 ชนิด คือปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งระบบควบคุม ระบบยกน้ำหนัก โดยจะติดตั้งอยู่บริเวณสถานที่ปฏิบัติงานด้วยขาตั้ง หรือหอสูง ซึ่งปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ยังสามารถแบ่งออกมาเป็นประเภทย่อย ๆ ได้อีก 2 ประเภทคือ

ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่
  • ปั้นจั่นแบบเหนือศีรษะ มีลักษณะเป็นสะพานที่เคลื่อนที่ได้
  • ปั้นจั่นแบบขาสูง มีลักษณะที่คล้ายกับปั้นจั่นแบบเหนือศีรษะ แต่จะมีตัวสะพานที่วางอยู่บนขาของปั้นจั่นนั่นเอง
  1. ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ คือ ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งระบบควบคุม ระบบยกน้ำหนัก ซึ่งตัวปั้นจั่นจะติดตั้งอยู่กับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้ ซึ่งในปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่นี้ ก็ยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้อีก 4 ประเภทคือ
ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่
  • รถเครนตีนตะขาบ หรือ ปั้นจั่นที่ถูกติดตั้งกับตัวรถที่มีการเคลื่อนที่ด้วยตีนตะขาบ และส่วนใหญ่มีบูมเป็นแบบบูมสาน ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่กำลังจะเริ่มก่อสร้าง
  • รถเครนล้อยาง ซึ่งเป็นตัวรถติดปั้นจั่นที่ขับเคลื่อนไปด้วยล้อยาง สามารถวิ่งได้เร็วเหมือนรถบรรทุก เหมาะแก่การทำงานในพื้นที่ขรุขระ
  • รถเครนสี่ล้อ เป็นรถติดปั้นจั่นที่เหมาะแก่การทำงานในพื้นที่ขรุขระ แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องเดินทางไกล
  • ปั้นจั่นติดรถบรรทุก เป็นรถบรรทุกที่ติดตั้งปั้นจั่นเอาไว้ ซึ่งเหมาะแก่การใช้ยกของขึ้นไว้บนหลังรถบรรทุก

ส่วนประกอบของปั้นจั่น 

ปั้นจั่นมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแนวตั้ง ซึ่งจะต่อด้วยเสาเหล็กขึ้นไปทีละส่วน เพื่อที่จะทำหน้าที่ยกและลำเลียงสิ่งของขึ้นไป และอีกส่วนก็คือส่วนที่เป็นแนวนอน ที่ใช้ในการแขวนสิ่งของ โดยจะประกอบไปด้วย 6 ชิ้นส่วนหลัก ดังนี้

  1. แขนบูม เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ แขนบูมจะทำหน้าที่ยื่นออกจากตัวเครน เพื่อรับน้ำหนักสิ่งของที่ต้องการจะยก โดยแขนบูมจะทำจากเหล็กกล้า
  2. กว้าน จะช่วยในการควบคุมลวดสลิงของปั้นจั่นในการยกสิ่งของขึ้นมา โดยจะมีระบบของรอกชุดและสวดสลิงในการช่วยผ่อนแรงอยู่นั่นเอง
  3. ขายันพื้น เป็นชิ้นส่วนที่จะทำหน้าที่รักษาสมดุลของตัวปั้นจั่น เนื่องจากน้ำหนักของสิ่งของที่ใช้ยกนั้นมีน้ำหนักมาก อาจจะทำให้เอนไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ขายันพื้นจะช่วยให้ปั้นจั่นไม่ล้ม และยังคงตั้งอยู่ได้
  4. น้ำหนักถ่วง ทำหน้าที่ถ่วงน้ำหนักปั้นจั่น โดยตัวถ่วงน้ำหนักจะต้องมีน้ำหนักมากกว่าสิ่งของที่เคลื่อนย้ายอยู่ ดังนั้นโดยปกติแล้วผู้รับเหมาควรมีตัวถ่วงน้ำหนักสำรองในกรณีที่สิ่งของมีน้ำหนักมาก
  5. ลวดสลิงปั้นจั่น มีลักษณะเป็นเกลียวละเอียด เป็นลวดเกลียวเหล็กที่ทำหน้าที่แขวนและรับน้ำหนักสิ่งของ

ตะขอ ทำหน้าที่ช่วยในการยกสิ่งของ ด้วยการเกี่ยวของขึ้นมานั่นเอง โดยปกติแล้วผู้รับเหมาควรมีตะขอหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน

การให้สัญญาณมือ

วิธีใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัยตามกฎหมาย

  1. ผู้ควบคุมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมปั้นจั่น หรือจะเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายวัสดุ ควรมีความรู้ในกฎในการใช้ที่ความปลอดภัยและสัญญาณมือในขณะเคลื่อนย้ายสิ่งของ และต้องสวมชุดปฏิบัติงานและสวมอุปกรณ์นิรภัยอย่างรัดกุม
  2. กรณีที่ห้องควบคุมปั้นจั่นอยู่สูงจากพื้น บันไดขึ้นจะต้องมีครอบป้องกันโดยตลอด ขั้นบันไดต้องมีความแข็งแรง
  3. ผู้ควบคุมปั้นจั่นต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ขณะปฏิบัติงานต้องสวมชุดปฏิบัติงานที่รัดกุม ใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลตามความเหมาะสม เช่น ปลั๊กอุดหู หรือหมวกนิรภัย เป็นต้น
  4. ก่อนเปิดสวิตซ์ใหญ่ควบคุมการทำงาน ควรตรวจปุ่มควบคุมการทำงานว่าอยู่ในตำแหน่งปิด จากนั้นจึงเปิดสวิตซ์ใหญ่ แล้วทดสอบระบบการทำงานต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนที่เดินหน้า-ถอยหลัง ขึ้น-ลง เบรก สัญญาณ เสียง และแสง เป็นต้น
  5. ผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายวัสดุซึ่งอยู่ข้างล่างจะต้องรู้จักวิธีการส่งสัญญาณมือที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายอย่างถูกต้อง และต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น หมวกนิรภัย รองเท้านิรภัย และถุงมือหนัง เป็นต้น
  6. รู้น้ำหนักของที่จะยก และไม่ยกเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้
  7. การเริ่มยกขึ้นครั้งแรก ควรดำเนินการอย่างช้า ๆ และยกขึ้นเพียงเล็กน้อยเพื่อตรวจสอบความสมดุลและความสามารถในการยก กรณีที่วัสดุที่ยกหนักใกล้เคียงกับพิกัดกำหนด ควรทดสอบการทำงานของเบรกด้วย
  8. ขณะวัสดุที่เคลื่อนย้ายลอยสูงจากพื้น จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
  • ไม่สัมผัสสิ่งกีดขวาง หรือข้ามศีรษะผู้ปฏิบัติงานอื่น
  • ห้ามผู้ปฏิบัติงานเกาะบนสิ่งของที่ยก
  • กรณีที่เป็นปั้นจั่นชนิดที่อยู่กับที่ ควรมีสัญญาณเสียงและแสง
  • หลีกเลี่ยงการแขวนสิ่งของไว้กลางอากาศ แต่ถ้าจำเป็นต้องล็อกเครื่องด้วย ห้ามใช้เบรกเพียงอย่างเดียว
  • กรณีมีลมพัดแรงมากจนวัสดุที่เคลื่อนย้ายแกว่งไปมาอย่างรุนแรงต้องรีบวางวัสดุลงทันที
  • เมื่อจำเป็นต้องวางของต่ำมาก ๆ ต้องเหลือลวดสลิงไว้มากกว่า 2 รอบบนดรัม
  1. การใช้ปั้นจั่นตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปยกของร่วมกัน ให้สัญญาณมือผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายเพียงคนเดียว
  2. การใช้ปั้นจั่นใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูง ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปั้นจั่นต้องอยู่ห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 3 เมตร หรือตามขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้า ถ้าไม่สามารถทำตามระยะที่กำหนดได้ ต้องมีผู้คอยสังเกตและให้สัญญาณเตือน
  3. การใช้ปั้นจั่นชนิดที่มีการถ่วงน้ำหนักด้านท้าย ห้ามถ่วงเพิ่มจากที่กำหนด
  4. การปฏิบัติงานตอนกลางคืนควรมีไฟแสงสว่างให้เพียงพอทั่วบริเวณที่ปฏิบัติงาน แต่แสงไฟต้องไม่รบกวนการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมปั้นจั่น
  5. กรณีที่ใช้ปั้นจั่นบนตึกสูง ต้องมีสัญญาณไฟหรือสัญญาณบอกตำแหน่งให้เครื่องบินทราบ
  6. การยกของต้องยกขึ้นในแนวดิ่ง ให้รอกตะขอตรงกับศูนย์กลางของน้ำหนักที่ยก และตรงกึ่งกลางแขนของปั้นจั่น
  7. เมื่อหยุดหรือเลิกใช้งานปั้นจั่น ผู้ควบคุมควรปฏิบัติ ดังนี้
  • วางสิ่งของที่ยกค้างอยู่ลงกับพื้น
  • กว้านหรือม้วน ลวดสลิงและตะขอ เก็บเข้าที่
  • ใส่เบรกและอุปกรณ์ล็อกชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้
  • ปลดสวิตซ์ใหญ่ที่ใช้จ่ายไฟให้ปั้นจั่น
  1. ห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในห้องควบคุมปั้นจั่น
  2. ภายในห้องควบคุมปั้นจั่น ไม่ควรมีเครื่องมือที่ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้นถังดับเพลิง
  3. ต้องหมั่นบำรุงรักษาอุปกรณ์ทุกชิ้น โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องมีการเสียดสี
การตรวจเช็กปั้นจั่น

ต้องมีการเช็กสภาพตรวจสอบปั้นจั่นบ่อยแค่ไหน ? 

ควรตรวจเช็กสภาพปั้นจั่นทุกๆ 1 หรือ 3 เดือน หรือตามบริษัทผู้ผลิตแนะนำ แต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด สำหรับปั้นจั่นที่หยุดใช้งานเกินกว่า 1 เดือนนั้น เมื่อนำมาใช้งานควรตรวจสอบสภาพเช่นกัน การตรวจสอบปั้นจั่นทำได้ดังนี้

  1. ตรวจการทำงานของอุปกรณ์และชิ้นส่วนควบคุมปั้นจั่น เพื่อหาการสึกหรอ การชำรุด หรือความผิดปกติอื่น ๆ
  2. ตรวจการทำงานและการชำรุดของต้นกำลัง ระบบส่งกำลัง ผ้าเบรกและคลัช เป็นต้น
  3. ตรวจที่รองรับ เช่น คาน เสา รางเลื่อน แขน และโครงสร้าง เป็นต้น เพื่อหาการสึกหรอ สนิม ผุกร่อน และบิดเบี้ยว โดยเฉพาะบริเวณที่เชื่อมหรือยึดด้วยสลักเกลียว
  4. ตรวจการชำรุดหรือสึกหรอของรอกหรือดรัม โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของดรัมต้องมากกว่าของลวดสลิง 15 ต่อ 1
  5. ตรวจการชำรุดหรือสึกหรอของลวดสลิง เชือก หรือโซ่ ตามที่กล่าวแล้ว
  6. ตรวจตะขอและที่ล็อก เพื่อดูการชำรุด บิดงอ ปากถ่าง หรือแตกร้าว
  7. สำหรับปั้นจั่นที่ติดตั้งบนรถบรรทุก ต้องตรวจสอบรถบรรทุกเกี่ยวกับเบรก ยาง พวงมาลัย และไฟสัญญาณต่าง ๆ

สรุป

ทุกคนคงได้ทราบแล้วว่าปั้นจั่นตามกฎหมายมีกี่ชนิด และได้ทราบว่าปั้นจั่นเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อโรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง โดยปั้นจั่นนั้นยังเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สามารถช่วยเพิ่มความสะดวกในการขนส่งและขนย้ายสินค้าประเภทต่าง ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้น ผู้ใช้งานทุกคนต้องมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อกฎหมายของการใช้งานปั้นจั่น และต้องตรวจสอบปั้นจั่นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อให้ใช้งานปั้นจั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ใบตรวจเครน ปจ.1 ปจ.2 คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อการใช้งานปั้นจั่น

ปจ.1 ปจ.2

ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การผลิต หรือไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครื่องจักร และการขนส่ง มักจะมีการใช้เครื่องจักรเป็นเครื่องทุ่นแรงและอำนวยความสะดวกที่สำคัญในการดำเนินงานอยู่เสมอ นอกจากจะช่วยลดการทำงานของคนลงได้แล้ว ยังสะดวก รวดเร็ว ประหยัดต้นทุนและมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้แรงงานคนด้วย หนึ่งในเครื่องจักรที่ใช้ทุ่นแรงนั้นก็คือ “ปั้นจั่น” อย่างไรก็ตาม นอกจากชื่อปั้นจั่นแล้ว หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ปจ.1 ปจ.2” ด้วยเช่นกัน แล้ว ปจ.1 ปจ.2 เกี่ยวข้องอะไรกับปั้นจั่น มีกี่ชนิด การตรวจเครนหรือปั้นจั่น ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง การทดสอบพิกัดการยกเป็นอย่างไร และความถี่ในการตรวจสอบให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดคือเท่าไร วันนี้ผมจึงมีข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอ เพื่อไขคำตอบให้กับทุกคน

ปจ.1 vs ปจ.2 แตกต่างกันตรงไหน

ปั้นจั่นหรือเครน คือ เครื่องจักรกลที่ใช้สำหรับยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ ปัจจุบันนิยมนำมาไว้ใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก พวกโครงสร้างเพื่อประกอบ ติดตั้ง จัดเก็บเข้าชั้นเก็บสินค้าในคลังสินค้า เป็นต้น โดยปั้นจั่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่

  1. ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว โดยปั้นจั่นชนิดนี้มักติดตั้งอยู่บนหอสูง บนล้อเลื่อน หรือขาตั้ง
  2. ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่นั้นจะติดอยู่บนพาหนะที่สามารถขับเคลื่อนได้นั่นเอง

ปจ.1 ก็คือ ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ยกตัวอย่างเช่น โอเวอร์เฮดเครน ทาวเวอร์เครน รอกยกสิ่งของ ลิฟต์ขนส่ง เป็นต้น

โดยกฎหมายระบุไว้ว่าต้องทำการ ตรวจ ปจ.1 ตามที่กฎหมายกำหนดและให้วิศวกรเซ็นรับรองความปลอดภัยตามแบบตรวจ ปจ.1 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

overhead crane

ปจ.2 ก็คือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้ ยกตัวอย่างเช่น โมบายเครน รถบรรทุกติดเครน (รถเฮี๊ยบ), เรือติดเครน และเครื่องจักรอื่น ๆ ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ หรือติดตั้งอยู่บนพาหนะที่สามารถเคลื่อนที่ได้

ซึ่งปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้จะต้องได้รับการตรวจ ปจ.2 ตามกฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันกับ ปจ.1 โดยความถี่ในการตรวจสอบสามารถดูได้จากเนื้อหาด้านล่าง

mobile crane

ทำไมต้องตรวจปั้นจั่นก่อนใช้งาน ? 

  • เพื่อให้แน่ใจว่าปั้นจั่นจะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  • เพื่อเตรียมความพร้อมของปั้นจั่นก่อนใช้งาน และป้องกันการเกิดความเสียหายระหว่างใช้งานปั้นจั่น
  • เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆในส่วนประกอบของปั้นจั่น
  • เพื่อปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับปั้นจั่น
  • เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงานกับปั้นจั่น

เพื่อให้การใช้งานปั้นจั่น หรือ เครน ให้ได้ประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด จึงได้มีการกำหนด “กฎหมายปั้นจั่น” หรือ “กฎกระทรวงปั้นจั่น” ให้ทุกอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานเครื่องจักรชนิดนี้ได้ยึดเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัย โดยกฎหมายปั้นจั่นหรือกฎหมายเครนใหม่ล่าสุดที่อัปเดตในปี พ.ศ. 2564 ได้ระบุข้อกำหนดที่ว่าด้วยการทดสอบความปลอดภัยของปั้นจั่นไว้ดังนี้

น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบ ปจ.1 ปจ.2 เพื่อความปลอดภัยตามกฎหมาย

โดยวิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ปั้นจั่นใหม่
  • ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
  • ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
  1. ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
  • ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
  • กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ

ความถี่ในการตรวจสภาพ ปจ.1 ปจ.2 

นอกจากนั้นกฎหมายยังได้กำหนดความถี่ในการตรวจสอบปั้นจั่นไว้ดังนี้

  1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
  1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
  1. ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
  2. ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน 

โดยเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบ จะใช้เป็นแบบที่ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแนะนำ ดังต่อไปนี้

  • แบบ ปจ.1 : รายการการตรวจสอบและทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นหอสูง และปั้นจั่นขาสูง (ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่)
  • แบบ ปจ.2 : รายการการตรวจสอบและทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับรถปั้นจั่น และเรือปั้นจั่น (ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่)

สรุป

ปั้นจั่นทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่หรือปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ต้องได้รับการตรวจเครน และ ทดสอบเครน ตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยเมื่อปั้นจั่นได้รับการทดสอบแล้ว จะมีเอกสาร แบบ ปจ.1 และแบบ ปจ.2 เพื่อรับรองว่าปั้นจั่นนั้นผ่านการทดสอบเครนตามที่กฎหมายกำหนด มีความปลอดภัยพร้อมใช้งาน  และการใช้งานปั้นจั่นทั้งหมดต้องได้รับการควบคุมโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ห้ามผู้ที่ไม่ผ่านการฝึกอบรมใช้งานโดยเด็ดขาด

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

หมวกนิรภัยมีกี่แบบ? ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับงาน

หมวกนิรภัยมีกี่แบบ

หมวกนิรภัยมีกี่แบบ

หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ (Safety Helmet) คือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) หรืออุปกรณ์นิรภัยประเภทหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับศีรษะในขณะทำงาน โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จะต้องสวมใส่หมวกนิรภัยนี้ เพราะเป็นกฎข้อบังคับส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของกระทรวงแรงงาน นายจ้างหรือสถานประกอบการต้องจัดหาให้พนักงานได้สวมใส่หมวกนิรภัย รวมถึงผู้ที่ต้องทำงานบนที่สูง เช่น รุกขกร (หมอต้นไม้) ต้องสวมใส่หมวกหมวกนิรภัยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าหมวกนิรภัยถือเป็นอุปกรณ์หรือไอเท็มได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับสวมใส่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับศีรษะ (Head Protection) เพื่อให้ทุกคนได้รู้ข้อมูลของหมวกนิรภัยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น หมวกนิรภัยมีกี่แบบ ประโยชน์ของการสวมใส่หมวกนิรภัยในสถานที่ทำงานเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดกับศีรษะ รวมถึงความหมายของสีหมวกนิรภัยและการเลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับงาน

หมวกนิรภัย

ประเภทหมวกนิรภัย

ตามมาตรฐาน ANSI Z89.1-2003 แบ่งหมวกนิรภัยออกได้ตามลักษณะของการกันกระแทก และการกันไฟฟ้า โดยทั่วไป หมวกนิรภัยควรจะกันกระแทกได้ในแบบประเภท 1 หรือไม่ก็ประเภทที่ 2

  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ 1 หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกจากด้านบน แต่ไม่ได้ออกแบบสำหรับกันกระแทกจากด้านข้าง
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ 2 หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้าง
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ E (Electrical) ดังนั้นหมวกนิรภัยประเภทนี้จึงออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าแรงสูงได้ดี  โดยจะต้องผ่านการทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ G (General) หมวกนิรภัยประเภทนี้สามารถถูกใช้เพื่อช่วยลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงต่ำได้ โดยหมวกนิรภัยประเภทนี้จะต้องผ่านการทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์ 
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ C (Conductive) หมวกนิรภัยประเภทนี้ไม่กันไฟฟ้า และไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า สามารถทนแรงกระแทกได้อย่างเดียว

ประโยชน์ของหมวกนิรภัย

ประโยชน์ของการสวมใส่หมวกนิรภัย มีดังนี้

  • ช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะ : หมวกนิรภัยเป็นหมวกที่มีลักษณะแข็ง (Hard Hat) ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้ปฏิบัติงานในสถานที่เสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บทะลุศีรษะ (Injury Penetration) การบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้า (Electric Injury) และช่วยลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ จากวัตถุที่ร่วงหล่นหรือลอยมาโดนศีรษะ
  • ช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากการลื่นไถลหรือหกล้ม : การสวมใส่หมวกนิรภัยขณะทำงานในโรงงานผลิตสินค้าประเภทของเหลวจะช่วยลดการบาดเจ็บที่ศีรษะลง หากผู้ปฏิบัติงานลื่นล้มในสถานที่ทำงานเพราะเป็นสถานที่เปียก
  • ช่วยเพิ่มโอกาสรอดจากอุบัติเหตุ : ในขณะปฏิบัติงานอาจต้องเผชิญกับอุบัติเหตุ เช่น การเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบขนาดใหญ่ หรือเกิดข้อผิดพลาดในการดูแลชิ้นส่วนงานขนาดใหญ่และร่วงหล่นสู่พื้น ในกรณีเช่นนี้ หมวกนิรภัยจะช่วยลดการบาดเจ็บจากสถานการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยให้การมองเห็นผู้ปฏิบัติงานง่ายขึ้น : เนื่องจากหมวกนิรภัยมีหลายสีและเป็นสีที่สว่างสดใส ดังนั้น การสวมหมวกนิรภัยจะช่วยให้มองเห็นผู้ปฏิบัติงานรวมถึงผู้อื่นที่อยู่ในสถานที่ทำงานได้อย่างง่ายขึ้นทั้งในกลางวันและกลางคืน สีของหมวกนิรภัยยังช่วยแยกว่าใครเป็นใครในสถานที่ทำงาน เช่น ผู้มาเยี่ยมชม (Visitors) ผู้บริหารหรือวิศวกร เป็นต้น
  • ช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดด : สำหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานกลางแจ้ง เช่น ไซต์ก่อสร้างต่าง ๆ ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะต้องเผชิญกับแสงแดดในช่วงกลางวัน การสวมใส่หมวกนิรภัยจะช่วยป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายกับร่างกายได้ และยังช่วยลดโอกาสการเกิดโรคลมแดด (Heatstroke) หรืออาการอ่อนเพลียได้ (Fatigue)
หมวกนิรภัย

ความหมายของสีหมวกนิรภัย

มาพูดถึงความหมายของสีหมวกนิรภัยที่พบบ่อยที่สุด โดยหมวกนิรภัยมีสีสันมากมายหลากหลายเต็มไปหมด แต่ละสีมีความหมายยังไงบ้าง แต่ละสีมักแสดงถึงที่มาของผู้ผลิตหรือการใช้ที่แตกต่างกันออกไป

สามารถบอกถึงตำแหน่ง หน้าที่ ดังนี้

  • หมวกนิรภัยสีเหลือง สำหรับพนักงานทั่วไป
  • หมวกนิรภัยสีขาว สำหรับผู้จัดการ ผู้บริหาร วิศวกร หัวหน้างาน และผู้เยี่ยมชม
  • หมวกนิรภัยสีน้ำเงิน สำหรับช่างไฟฟ้า ช่างไม้ และเจ้าหน้าที่เทคนิคอื่น ๆ
  • หมวกนิรภัยสีเขียว สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย จป.วิชาชีพ เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คปอ.
  • หมวกนิรภัยสีส้มหรือสีน้ำตาล สำหรับช่างซ่อมบำรุงทั่วไป ผู้ส่งสัญญาณปั้นจั่น ทีมช่วยเหลือ หรือ เจ้าหน้าที่จราจร
  • หมวกนิรภัยสีแดง สำหรับเจ้าหน้าที่งานดับเพลิง ช่างเชื่อม และการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน

หมวกนิรภัยสีเทา บางโรงงานหรือองค์กรนำมาใช้สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมไซต์งาน

วิธีเลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับการทำงาน

พบกับ 6 วิธี ในการเลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะสมกับการทำงาน ซึ่งอุปกรณ์เซฟตี้ชิ้นนี้ถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับพนักงานในการปฏิบัติงาน 6 วิธีดังกล่าวคือ

  1. เลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับลักษณะงาน เช่น งานก่อสร้าง ต้องใช้หมวกนิรภัยที่มีความแข็งแรงทนแรงกระแทกระดับหนึ่ง
  2. หมวกนิรภัยต้องได้มาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.368-2554) หรือ NSI Z98.1-2003 และเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันที่น่าเชื่อถือ
  3. เลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีขนาดเหมาะกับศีรษะของผู้สวมใส่ เพื่อไม่ให้คับเกินไป และต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
  4. หมวกนิรภัยต้องมีสีสันที่เด่นชัด มีน้ำหนักเบา หาซื้อได้ง่ายในราคาที่เหมาะสม
  5. วิธีการใช้งานหมวกนิรภัยต้องง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  6. ควรมีการเปลี่ยนหมวกนิรภัยใหม่ หากมีรอยร้าวจากการได้รับการกระแทกมาแล้ว หรือการสัมผัสกับอากาศที่เป็นพิษ

สรุป

หมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์หรือไอเท็มสำหรับความปลอดภัยที่ปกป้องอันตราย อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ศีรษะของมนุษย์ อันเนื่องมาจากการทำงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยง เช่น ไซต์ก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เพราะอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ คือ สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตหรือความพิการที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด ดังนั้น นายจ้างหรือผู้ที่รับผิดชอบดูแลสวัสดิภาพของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษนั่นเอง

เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

Kaizen คืออะไร? ส่งผลดีอย่างไรต่อความปลอดภัยในการทำงาน

kaizen คือ

ในโลกของธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา แทบจะไม่มีให้เวลาให้เหล่าผู้บริหารหยุดคิด หากลยุทธ์ หรือ แนวทางการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมาช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงานได้เลย เพราะถ้าคุณช้ากว่าคู่แข่งแค่เพียงหนึ่งก้าว นั้นหมายความว่าลูกค้าคุณอาจจะถูกแย่งไปด้วย และแนวคิดแบบ Kaizen คือ หนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยให้การบริหารจัดการธุรกิจของคุณดียิ่งขึ้น 

แล้วแนวทางการบริหารแบบ Kaizen คืออะไรกันล่ะ ? วันนี้ผมจะช่วยไขข้อสงสัยให้กับทุกคนเองครับ ว่า กลยุทธ์การบริหารจัดการแบบ Kaizen คืออะไร แล้วมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร 

การวางกลยุทธ์แบบ Kaizen คือ 

Kaizen มาจากภาษาญี่ปุ่นครับ โดย Kai หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ส่วน Zen มีความหมายว่า ดี  เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกัน Kaizen จึงหมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม 

ในภาคอุตสาหกรรม Kaizen (ไคเซน) คือ การบริหารจัดการที่เน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีดำเนินการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิตให้ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนาวิธีดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยเน้นให้การทำงานน้อยลงแต่ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานทุกคน 

และแนวคิดแบบ Kaizen เชื่อว่าการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องอาศัยการสังเกตจากคนที่ปฏิบัติงานจริงจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 

กลยุทธ์หลักของ Kaizen

แนวคิดการบริหารจัดการแบบ Kaizen

กลยุทธ์หลักของ Kaizen สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลยุทธ์ใหญ่ ๆ  ได้แก่ 

  1. รายการตรวจสอบ 3 Mu’s

3 Mu’s ของ Kaizen คือ ระบบตรวจสอบที่จะช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานช่วยกันแก้ไขปัญหาที่พบ โดย 3 Mu’s ประกอบไปด้วย ความสูญเปล่า (Muda) , ความแตกต่างขัดแย้งกัน (Mura) และ ความดึง (Muri) ซึ่งจะนำเอา 3 Mu’s ทั้ง 3 มาพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา 

  1. หลักการ 5ส 

หลักการ 5ส ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบได้มากในวงการอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมก่อสร้าง และโรงพยาบาล โดยหัวใจหลักของหลัก 5ส คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ข้อ ได้แก่ สะอาด (Seisou) , สะสาง (Seiri) , สะดวก (Seition) , สุขลักษณะ (Seiketsu) และ สร้างนิสัย (Shitsuke) 

  1. หลักการ 5W 1H

หลักการ 5W 1H คือ ระบบชุดคำถามเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดในการทำการตลาดเพื่อระบุลักษณะที่แท้จริงของปัญหาและพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจวางแผนการตลาดแม่นยำมากยิ่งขึ้น 

โดยประกอบไปด้วย กลุ่มเป้าหมายคือใคร (Who) , อะไรคือสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ (What) , เมื่อที่ลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการ (When) , กลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ไหน (Where) , ทำไมกลุ่มเป้าหมายต้องซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Why) และ ทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (How) 

  1. รายการตรวจสอบ 4M 

รายการตรวจสอบ 4M คือ การควบคุมการผลิตเพื่อสร้างความเชื่อมั่นใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการให้แก่ลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้รายการตรวจสอบ 4M จะประกอบไปด้วย การบริหารจัดการการใช้วัสดุดิบให้สูญเสียน้อยที่สุด (Meterial) , การจัดสรรบุคลากรที่มีทักษะเหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำ (Man) , การจัดหาวัสดุ เครื่องจักร และสถานที่ที่เอื้อต่อการทำงาน (Machine) และ การเลือกวิธีปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ (Method) 

4 เทคนิคที่จะช่วยให้การวางกลยุทธ์ Kaizen ประสบความสำเร็จ

หลังจากที่ทุกคนเข้าใจแล้วว่าแนวคิด Kaizen คืออะไร มาลองดูเทคนิคที่จะช่วยให้การวางกลยุทธ์ Kaizen ประสบความสำเร็จกันดีกว่าครับ 

  1. ผู้บริหารหรือหัวหน้าจำเป็นที่ต้องการมีการแจ้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำกลยุทธ์ Kaizen มาใช้ เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่านี่ไม่ใช่เพียงเป้าหมายขององค์กรหรือบริษัท แต่เป็นเป้าหมายของเราทุกคนที่จะช่วยกันให้ประสบความสำเร็จ 
  2. จัดสรรให้พื้นที่ให้พนักงานทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นและพูดถึงปัญหาได้อย่างตรงไป ตรงมา เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด 
  3. มีการให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทุกคนอยากมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง
  4. ต้องมีการติดตามผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอและต้องนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ต่อเพื่อปรับปรุงและพัฒนา 

สรุป

กลยุทธ์การบริหารแบบ Kaizen คือ การให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในแสดงความคิดเห็นเพื่อแจ้งปัญหาที่พบ รวมไปถึงการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน โดยคาดหวังให้พนักงานทำงานน้อยลง เหนื่อยลงน้อย แต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม 

ซึ่งในปัจจุบันกลยุทธ์การบริหารแบบ Kaizen ไม่ได้เป็นที่นิยมในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง โรงงานผลิต หรือ โรงพยาบาล เท่านั้น แต่ยังมีหลาย ๆ องค์กรที่นำกลยุทธ์ Kaizen ไปใช้และได้ผลตอบรับที่ดีเกินคาด ทั้งนี้ทุกคนสามารถนำกลยุทธ์ Kaizen ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรหรือบริษัทของคุณได้

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย