การอบรม คปอ คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

อบรมคณะกรรมการความปลอดภัย

การอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรการมีความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุขในการทำงาน และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงมีการจัดการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยขึ้นมา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายมากขึ้น และสามารถดำเนินงานตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในบทความนี้ผมจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกันว่าการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร และมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง มาดูไปพร้อมกันเลยครับ

คณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) คือใคร

ก่อนจะไปดูกันว่าการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร เรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าครับว่าคณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) คือใคร?
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า คปอ. นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยในองค์กร บุคลากรเหล่านี้ได้ผ่านการฝึกอบรมตามข้อกำหนดของกฎหมาย และได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างในสัดส่วนที่เหมาะสม

ความสำคัญของการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย

คปอ.

โดยการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยมีความสำคัญต่อองค์กร ดังนี้

  • ช่วยให้คณะกรรมการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัยและอาชีวอนามัย รวมถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในการดูแลความปลอดภัยในองค์กร
  • ทำให้คณะกรรมการสามารถวางแผนและกำหนดมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • ช่วยให้คณะกรรมการสามารถสื่อสารและประสานงานกับพนักงานในเรื่องความปลอดภัยได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย 
  • ช่วยสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ทำให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานอย่างปลอดภัย

ประเภทของการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย

1. การอบรมคณะรักษาความปลอดภัยแบบภายในองค์กร

การอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยภายในองค์กร สามารถทำได้โดยให้หน่วยฝึกที่ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการมาจัดอบรมภายในองค์กร

2. การอบรมคณะรักษาความปลอดภัยแบบภายในบุคคลทั่วไป

การอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยภายในองค์กร สามารถทำได้โดยส่งพนักงานไปอบรมที่ศูนย์ฝึกอบรมของหน่วยฝึกอบรม

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการรักษาความปลอดภัย

หลังจากที่เราทราบถึงความสำคัญของการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยกันแล้ว เรามาดูกันดีกว่าครับว่าหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามข้อกำหนดของกฎหมาย มีความสำคัญการดูแลและคุ้มครองแรงงานในองค์กร โดยคณะกรรมการมีหน้าที่สำคัญ 12 ประการ ที่ต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดประกอบด้วย

คณะกรรมการความปลอดภัย

1. กำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมสำหรับองค์กร และนำเสนอต่อนายจ้างเพื่อพิจารณา

2. วางแผนและกำหนดแนวทางเชิงป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงาน รวมถึงป้องกันเหตุรำคาญต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกจ้าง โดยเสนอมาตรการเหล่านี้ต่อนายจ้าง

3. ตรวจสอบสภาพแวดล้อมและสภาพการทำงาน พร้อมรายงานและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือใช้บริการในองค์กร

4. ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในองค์กร

5. ทบทวนและให้ความเห็นต่อคู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กร ก่อนนำเสนอต่อนายจ้างเพื่อนำไปปฏิบัติใช้

6. ดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบ ตลอดจนข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุภายในองค์กร ต่อที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยเป็นประจำทุกครั้ง 

7. พิจารณาและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมไปถึงหลักสูตรการอบรมที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยของบุคลากรทุกระดับ ตั้งแต่พนักงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร ไปจนถึงเจ้าของกิจการ เพื่อนำเสนอต่อนายจ้างพิจารณาต่อไป 

8. จัดวางระบบและกระบวนการเพื่อให้พนักงานทุกคนทุกระดับมีหน้าที่ในการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้นายจ้างรับทราบ 

9. ติดตามความคืบหน้าในประเด็นต่าง ๆ ที่ได้มีการนำเสนอต่อนายจ้างไปแล้ว 

10. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี โดยระบุถึงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอให้นายจ้างรับทราบ 

11. ทำการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร

12. ดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง

สรุป

การอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน ส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งตัวพนักงานเองและต่อองค์กรในระยะยาว สถานประกอบการจึงควรให้ความสำคัญและจัดอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย หัวใจสำคัญก่อนเริ่มงานก่อสร้าง

ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

อย่างที่เราทราบกันดีนะครับว่า ‘ความปลอดภัย’ เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานก่อสร้าง พนักงานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับความปลอดภัยจากความเสี่ยงในการทำงานที่อาจกระทบถึงสุขภาพ ชีวิต และความเป็นอยู่ ผู้ประกอบการจึงควรสนับสนุนด้วยนโยบายต่าง ๆ ที่ให้การคุ้มครองแก่พนักงาน และคอยสังเกตการณ์ รักษาความปลอดภัย เพื่อป้องกันอันตรายจากเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที ซึ่งหนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญและไม่ควรละเลยคือ ‘การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย’ นั่นเองครับ

ทำความรู้จัก การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Risk Assessment) คือ ขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัจจัยหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งอาจนำไปสู่อุบัติภัยหรือสถานการณ์ที่ส่งผลต่อชีวิต เช่น ไฟไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย โดยพิจารณาจากความเป็นไปได้และความรุนแรงของเหตุการณ์เหล่านั้น ที่อาจส่งผลเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสภาพแวดล้อม (ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)

ในขณะที่ การบ่งชี้อันตราย (Hazard Identification) คือ กระบวนการสืบค้นถึงอันตรายต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดและที่ซ่อนอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการผลิต จนมีโอกาสเกิดอันตรายขึ้นได้

วัตถุประสงค์ของการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

การบ่งชี้อันตราย

ประโยชน์ของการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยภายในงานก่อสร้าง เป็นประโยชน์อย่างมากต่อพนักงานและองค์กร โดยมีข้อดีที่โดดเด่น ดังนี้

1. กระตุ้นให้ผู้ประกอบการ พนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง 

2. พัฒนาและรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีให้แก่องค์กร

3. ช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุและการได้รับบาดเจ็บ 

4. เตรียมความพร้อมให้พนักงานสามารถจัดการกับเหตุการณ์ผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

5. ลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กรที่เกิดจากค่าปรับ ค่าชดเชย และค่ารักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ 

การประเมินความเสี่ยงในสถานก่อสร้างถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยบริหารความปลอดภัย คุ้มครองพนักงาน ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย และสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจะได้รับประโยชน์อย่างมากในระยะยาว ทั้งในแง่ของสวัสดิภาพพนักงานและความสำเร็จทางธุรกิจ

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

Risk Assessment

1. กำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการประเมิน

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะเป็นผู้รับผิดชอบในการวางเกณฑ์ที่ใช้ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง ระดับความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และระดับของความเสี่ยงโดยรวม ซึ่งเกณฑ์เหล่านี้มักถูกแบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นตามระดับที่สูงขึ้น

2. ประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง

นำความเสี่ยงและปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ เพื่อประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและความรุนแรงของความเสียหายที่อาจตามมา ซึ่งจะทำให้เห็นระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้องค์กรวางแผนและจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งในด้านบุคลากรและงบประมาณได้อย่างเหมาะสม

3. การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

หลังจากประเมินโอกาสและความถี่ที่จะเกิดอันตรายในงานก่อสร้าง รวมถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อให้ทราบว่าความเสี่ยงใดควรได้รับการจัดการเป็นลำดับแรก

4. การจัดลำดับความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

เมื่อทราบระดับความรุนแรงของอันตรายแล้ว องค์กรสามารถจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง เพื่อกำหนดกิจกรรมควบคุมความเสี่ยงที่สำคัญและอาจส่งผลร้ายแรงได้อย่างเหมาะสม โดยใช้ข้อมูลจากตารางการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่กำหนดขึ้นเป็นเกณฑ์ในการประเมิน 

นอกจากนี้การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยยังเป็นขั้นตอนที่ตอบโจทย์แนวคิด ‘อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์’ หรือ KYT และการวิเคราะห์ความปลอดภัย JSA อีกด้วยครับ

สรุป

การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและการบ่งชี้อันตราย เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารความปลอดภัยในสถานที่ก่อสร้าง เพื่อป้องกันการสูญเสียอันมีค่ายิ่งต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญและดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยให้แก่พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จัก ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire Watch) ตำแหน่งสำคัญป้องกันอัคคีภัยในงานก่อสร้าง

ผู้เฝ้าระวังไฟ

ในงานก่อสร้างนั้น ความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ผู้ประกอบการต้องให้ความใส่ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการป้องกันอัคคีภัย ซึ่งเป็นภัยอันตรายที่สร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและชีวิตให้กับผู้ที่อยู่บริเวณโดยรอบ ซึ่งหนึ่งในตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและควบคุมเหตุเพลิงไหม้ในงานก่อสร้างก็คือ ‘ผู้เฝ้าระวังไฟ’ หรือ ‘Fire Watch’ บทความนี้ผมจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับหน้าที่ของผู้เฝ้าระวังไฟ และความสำคัญของตำแหน่งนี้ในงานก่อสร้างกันครับ

ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire Watch Man) คือใคร

ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire  Watch Man) คือ ผู้ที่มีหน้าที่ในการเฝ้าระวัง และตรวจสอบสถานที่ทำงานที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัย เช่น กิจกรรมการก่อสร้างต่าง ๆ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซ เป็นต้น เพื่อสร้างความแน่ใจว่าจะสามารถดำเนินงานได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากงานเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟและความร้อน ซึ่งอาจลุกลามและก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้

นอกจากนี้ หากมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น ผู้เฝ้าระวังไฟยังมีหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคเพื่อและใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือคนงานและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง จึงเป็นบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการดำเนินงานก่อสร้างต่าง ๆ นั่นเองครับ

ความสำคัญของผู้เฝ้าระวังไฟในงานก่อสร้าง 

การมีผู้เฝ้าระวังไฟประจำในพื้นที่ก่อสร้างนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก

  1. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล 
  2. สามารถตรวจจับและควบคุมเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่ไฟจะลุกลามและยากต่อการควบคุม 
  3. สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับคนงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ก่อสร้าง 
  4. ช่วยให้งานก่อสร้างดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยไม่มีอุปสรรคหรือความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้

ผู้เฝ้าระวังไฟมีหน้าที่อะไร

ผู้ควบคุมไฟมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากอัคคีภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน โดยมีหน้าที่หลักดังนี้ 

  1. จัดทำแผนงานสำหรับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความร้อนและประกายไฟ เพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ 
  2. ฝึกอบรมและให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย เพื่อลดโอกาสในการเกิดประกายไฟและความร้อนสูง 
  3. ตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของงานที่อาจก่อให้เกิดความร้อนและประกายไฟ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันที่เหมาะสม 
  4. เฝ้าติดตามและควบคุมความปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่มีการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยง พร้อมทั้งเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น 
  5. ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยและความปลอดภัยหลังจากเสร็จสิ้นการทำงานที่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความร้อนและประกายไฟ 
  6. ทดสอบและตรวจวัดระดับของสารไวไฟ สารเคมีอันตราย และสารระเบิดในบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้มั่นใจว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย 
  7. จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็น เช่น ผ้ากันไฟ เครื่องดับเพลิง และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้ในการควบคุมและป้องกันการเกิดเพลิงไหม้

การทำงานของผู้เฝ้าระวังไฟก่อนเริ่มงาน

ก่อนที่จะเริ่มงานก่อสร้าง หรือดำเนินงานใด ๆ ผู้เฝ้าระวังไฟควรวางแผนตรวจสอบความเรียบร้อยตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ประเมินความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้ พร้อมวางมาตรการควบคุมเพลิงไม่ให้เกิดอันตราย
  2. ขอใบอนุญาตในการทำงาน ก่อนเริ่มทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อนและประกายไฟ (Work Permit)
  3. จัดทีมเฝ้าระวังไฟตามจุดที่เสี่ยงเกิดอัคคีภัย พร้อมเตรียมอุปกรณ์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  4. จัดการตรวจสอบเพื่อวัดค่าความเข้มข้นของสารเคมีไวไฟ ที่อาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกติดบริเวณโดยรอบค่า LEL และตรวจสอบสภาพบรรยากาศว่ามีความปลอดภัยพร้อมเริ่มงานหรือไม่
  5. ปิดกั้นแหล่งความร้อนและประกายไฟให้มีความปลอดภัย โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ผ้ากันสะเก็ดไฟ
  6. ประเมินความปลอดภัยและความเสี่ยงเกิดอันตรายในขณะปฏิบัติงาน
  7. ตรวจสอบพื้นที่ให้มีความปลอดภัยหลังจบการทำงาน และทำการปิดใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

หน้าที่ของผู้เฝ้าระวังไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

อัคคีภัย

เมื่อตรวจพบเหตุเพลิงไหม้ ผู้เฝ้าระวังไฟต้องรีบดำเนินการดังนี้

  • แจ้งเหตุไปยังหน่วยดับเพลิงและผู้เกี่ยวข้องทันที
  • ประเมินสถานการณ์และความรุนแรงของเพลิงไหม้
  • ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้นเพื่อควบคุมเพลิงตามความเหมาะสม
  • อพยพคนงานและผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงไปยังจุดรวมพลหรือที่ปลอดภัย
  • ให้ข้อมูลและความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเมื่อเดินทางมาถึงที่เกิดเหตุ

องค์กรที่ควรมีผู้เฝ้าระวังไฟ

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการที่มีกระบวนการผลิตหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประกายไฟและความร้อนสูง ซึ่งเรียกว่า ‘งานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย’ หรือ ‘Hot Work’ นั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องจัดให้มีผู้เฝ้าระวังไฟประจำการอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและก๊าซ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเพลิงไหม้และระเบิด ซึ่งหน้าที่สำคัญของผู้เฝ้าระวังไฟคือการคอยสังเกตการณ์และเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติงาน ตลอดจนดำเนินมาตรการป้องกันและระงับเหตุเพลิงไหม้เบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุดครับ

สรุป

ผู้เฝ้าระวังไฟ นับเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการป้องกันและควบคุมอัคคีภัยในงานก่อสร้าง ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ยังช่วยให้การดำเนินงานก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่นอีกด้วยครับ ดังนั้น ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดให้มีผู้เฝ้าระวังไฟที่มีความรู้ความสามารถ และพร้อมปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกโครงการก่อสร้าง

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อความพร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินในงานก่อสร้าง

อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หากพูดถึงการทำงานก่อสร้างสิ่งแรกที่หลายคนคำนึงคือ ‘ความปลอดภัย’ ใช่ไหมครับ? เพราะเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดอันตรายต่อชีวิต เช่น การตกจากที่สูง การเดินเหยียบตะปูหรือเหล็ก อุบัติเหตุจากเครื่องจักรขัดข้อง อุบัติเหตุจากลวดสลิงขาด เป็นต้น ซึ่งงานที่มีความเสี่ยงในระดับนี้ พนักงานควรได้รับอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานได้อย่างถูกวิธี โดยผมได้รวบรวมวัตถุประสงค์ และความสำคัญของการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาให้ในบทความนี้ มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

การอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น คืออะไร

อย่างที่เราทราบกันว่าการทำงานก่อสร้างเป็นงานที่มีความเสี่ยงอันตรายสูง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นจึงเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการช่วยชีวิตและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บ การอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่องค์ต่าง ๆ ให้ความสำคัญในการบริหารความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที โดยการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ First Aid และ CPR ครับ

อ่านเพิ่มเติม: รู้จักกฎความปลอดภัย 5 ข้อ เสริมความอุ่นใจในการทำงานไซต์ก่อสร้าง

First Aid คืออะไร

First Aid

First Aid หรือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ การช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้บาดเจ็บในที่เกิดเหตุทันที เพื่อประคับประคองอาการผู้บาดเจ็บจนกว่าจะนำส่งโรงพยาบาล หรือรับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ โดยจะใช้เพียงอุปกรณ์ที่หาได้ในขณะนั้น

CPR คืออะไร

CPR

CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) คือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยวิธีปั๊มหัวใจ เป็นทักษะที่ใช้ในการคืนชีพให้กับผู้บาดเจ็บที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ซึ่งเป็นภาวะที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมองได้อย่างถาวรภายในเวลา 4 นาที และอาจเสียชีวิตภายในเวลา 8-10 นาที การปั๊มหัวใจจึงเป็นการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในงานก่อสร้าง

วัตถุประสงค์ในการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น

โดยการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

  • เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการปฐมพยาบาลและการคืนชีพให้กับผู้บาดเจ็บได้อย่างถูกวิธี 
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถนำทักษะมาใช้ในการประคับประคองอาการผู้บาดเจ็บได้เบื้องต้น ก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์
  • เพื่อลดความรุนแรงและบรรเทาอาการของผู้บาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นเกิดความตระหนักถึงการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง และป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดมากขึ้น
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถนำความรู้และทักษะมาใช้ได้จริง

ความสำคัญของอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. ลดความเสี่ยงในการทำงาน

เมื่อพนักงานได้รับการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ส่งผลให้เกิดการตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างมากขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับการป้องกันอุบัติเหตุตามแนวคิด KYT จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นก็สามารถนำทักษะจากการอบรมมาใช้ได้จริง

2. เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต

การที่พนักงานได้รับอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ CPR ทำให้มีทักษะในการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ซึ่งเป็นการประคับประคองอาการก่อนที่จะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือรอนำส่งโรงพยาบาล เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้อย่างถูกวิธี

3. ลดความเสี่ยงทางการแพทย์

หลังจากผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือ CPR แล้ว จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถประเมินอาการและทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยลดความเสี่ยงทางการแพทย์ที่อาจเกิดขึ้นหาไม่ได้รับการปฐมพยาบาลอย่างทันท่วงที การให้พนักงานเข้ารับอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นจึงจำเป็นอย่างมากในงานก่อสร้างที่มีความเสี่ยงสูง

4. มีความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน

ในการทำงานก่อสร้างสามารถเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้เสมอ การได้รับการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นจึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานได้เป็นอย่างดีเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และสามารถรับมือได้กับทุกเหตุการณ์

5. เพิ่มความมั่นใจในการช่วยเหลือ

จากเดิมที่พนักงานไม่มีทักษะด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือ CPR อาจทำให้ขาดความมั่นใจในการช่วยเหลือทางการแพทย์ และไม่กล้าช่วยเหลือจนไม่สามารถรักษาผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้ทัน การอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นจึงช่วยให้พนักงานมีทักษะทางการแพทย์ที่ถูกต้อง สามารถนำใช้ได้จริง และมีความมั่นใจในการช่วยเหลือมากขึ้นครับ

สรุป

โดยสรุปแล้ว การอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่องค์กรไม่ควรละเลย เพราะการก่อสร้างเป็นงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายสูง การเพิ่มพูนทักษะให้แก่พนักงานจึงช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บ ลดความเสี่ยงทางการแพทย์ เพิ่มความมั่นใจในการช่วยเหลือ และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดคิดได้อย่างถูกวิธี 

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ผู้รับเหมาต้องรู้! ประกันภัยงานก่อสร้าง ดีอย่างไร ทำไมถึงควรมี

ประกันงานก่อสร้าง

งานก่อสร้างเป็นงานอันตรายที่มีความเสี่ยงเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้มากมาย ด้วยลักษณะงานที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร การขนย้ายวัสดุขนาดใหญ่ การทำงานบนที่สูง ฯลฯ แม้จะทำงานออกมาดี แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติ รวมถึงอุบัติเหตุเล็ก ๆ ที่อาจส่งผลร้ายแรง เช่น พนักงานบาดเจ็บ เครื่องจักรเสียหาย หรือแม้แต่งานของลูกค้าเกิดความเสียหาย เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและคลายความกังวลกับปัญหาเหล่านี้ ผู้รับเหมาควรศึกษาเกี่ยวกับ ‘ประกันภัยงานก่อสร้าง’  อย่างละเอียด เพื่อเลือกประกันการก่อสร้างที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับการดำเนินงานก่อสร้างของคุณ

ความสำคัญของประกันภัยงานก่อสร้าง

ประกันภัยงานก่อสร้าง (Contractor All Risks:CAR) ประกันภัยไซต์ก่อสร้าง หรือประกันการก่อสร้าง เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบความเสี่ยงทุกชนิดของผู้รับเหมาระหว่างดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น งานก่อสร้าง งานต่อเติมอาคาร งานวิศวกรรมโยธา

โดยประกันภัยงานก่อสร้างจะให้ความคุ้มครองครอบคลุมความปลอดภัยในงานก่อสร้าง รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินงานก่อสร้าง เช่น ความเสียหายต่ออุปกรณ์และเครื่องจักร, ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก, และความเสี่ยงภัยทั่วไป เป็นต้น 

การมีประกันภัยนี้จะช่วยให้ผู้รับเหมาและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความคุ้มครองและการชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและความกังวลในการดำเนินงานก่อสร้างครับ

ประกันงานก่อสร้างเหมาะสำหรับใคร

ประกันงานก่อสร้าง เป็นกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่ออุปกรณ์และเครื่องจักร, ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก, และความเสี่ยงภัยทั่วไป ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง โดยเหมาะกับ

  • ผู้รับเหมาก่อสร้าง เจ้าของโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น บ้าน คอนโด โรงงาน เป็นต้น 
  • พื้นที่ใกล้เคียงบริเวณดำเนินงาน ที่มีความเสี่ยง
  • ผู้ว่าจ้างที่ต้องการตรวจสอบความปลอดภัยในการทำงาน

ประกันภัยงานก่อสร้าง คุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันภัยไซต์ก่อสร้าง

ประกันภัยงานก่อสร้างมีหลายประเภทที่ให้ความคุ้มครองแตกต่างกันตามสัญญาของบริษัทประกันภัย เช่น

  • ประกันภัยความเสียหายต่ออุปกรณ์และเครื่องจักร: คุ้มครองความเสียหายต่ออุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้าง 
  • ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก: คุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากการดำเนินงานก่อสร้าง 
  • ประกันภัยความเสี่ยงภัยทั่วไป: คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เช่น ภัยธรรมชาติ, การก่อวินาศกรรม, หรือเหตุสุดวิสัยอื่น ๆ 

ประโยชน์ของการมีประกันภัยงานก่อสร้าง

การมีประกันภัยงานก่อสร้างมีประโยชน์ต่อผู้รับเหมาะและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • ความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สิน: ประกันภัยจะชดเชยค่าเสียหายต่ออุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้าง หากเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง 
  • ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก: ประกันภัยจะชดเชยค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกจากการดำเนินงานก่อสร้าง 
  • ความคุ้มครองความเสี่ยงภัยทั่วไป: ประกันภัยจะชดเชยความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เช่น ภัยธรรมชาติ, การก่อวินาศกรรม, หรือเหตุสุดวิสัยอื่น ๆ 
  • การสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า: การมีประกันภัยงานก่อสร้างจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่างานก่อสร้างจะดำเนินไปอย่างปลอดภัยและมีการคุ้มครองที่เหมาะสม 
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย: ในบางกรณี การมีประกันภัยงานก่อสร้างเป็นข้อกำหนดตามกฎหมาย ดังนั้น การทำประกันจะช่วยให้ผู้รับเหมาปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

สรุป

ประกันภัยงานก่อสร้างเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้รับเหมาและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับความคุ้มครองและการชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและความกังวลในการดำเนินงานก่อสร้าง นอกจากนี้ การมีประกันภัยงานก่อสร้างยังสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า และเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายในบางกรณีอีกด้วยครับ ดังนั้น ผู้รับเหมาควรศึกษารายละเอียดของกรมธรรม์ให้ดีก่อนเสมอ เพื่อพิจารณาทำประกันภัยงานก่อสร้างที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและความต้องการของโครงการ

และสำหรับไซต์งานก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่ต้องการยกวัสดุน้ำหนักมากได้อย่างปลอดภัย EK CRANE มีรถเครนให้เช่าพร้อมให้บริการทั่วจังหวัดชลบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง มีทีมงานมากประสบการณ์ดูแลทุกขั้นตอน มีขนาดรถเครนให้เลือกมากมายไม่ว่าจะเป็นรถเครนราฟเทอเรน 10 ตัน หรือรถเครนขนาดใหญ่ออลเทอเรน 400 ตัน ไปจนถึง 550 ตัน ไม่ว่าจะรูปแบบงานประเภทใดเราก็มีรถเครนที่เหมาะกับคุณ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย