ใบตรวจเครน ปจ.1 ปจ.2 คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อการใช้งานปั้นจั่น

ปจ.1 ปจ.2

ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การผลิต หรือไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครื่องจักร และการขนส่ง มักจะมีการใช้เครื่องจักรเป็นเครื่องทุ่นแรงและอำนวยความสะดวกที่สำคัญในการดำเนินงานอยู่เสมอ นอกจากจะช่วยลดการทำงานของคนลงได้แล้ว ยังสะดวก รวดเร็ว ประหยัดต้นทุนและมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้แรงงานคนด้วย หนึ่งในเครื่องจักรที่ใช้ทุ่นแรงนั้นก็คือ “ปั้นจั่น” อย่างไรก็ตาม นอกจากชื่อปั้นจั่นแล้ว หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ปจ.1 ปจ.2” ด้วยเช่นกัน แล้ว ปจ.1 ปจ.2 เกี่ยวข้องอะไรกับปั้นจั่น มีกี่ชนิด การตรวจเครนหรือปั้นจั่น ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง การทดสอบพิกัดการยกเป็นอย่างไร และความถี่ในการตรวจสอบให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดคือเท่าไร วันนี้ผมจึงมีข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอ เพื่อไขคำตอบให้กับทุกคน

ปจ.1 vs ปจ.2 แตกต่างกันตรงไหน

ปั้นจั่นหรือเครน คือ เครื่องจักรกลที่ใช้สำหรับยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ ปัจจุบันนิยมนำมาไว้ใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก พวกโครงสร้างเพื่อประกอบ ติดตั้ง จัดเก็บเข้าชั้นเก็บสินค้าในคลังสินค้า เป็นต้น โดยปั้นจั่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่

  1. ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว โดยปั้นจั่นชนิดนี้มักติดตั้งอยู่บนหอสูง บนล้อเลื่อน หรือขาตั้ง
  2. ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่นั้นจะติดอยู่บนพาหนะที่สามารถขับเคลื่อนได้นั่นเอง

ปจ.1 ก็คือ ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ยกตัวอย่างเช่น โอเวอร์เฮดเครน ทาวเวอร์เครน รอกยกสิ่งของ ลิฟต์ขนส่ง เป็นต้น

โดยกฎหมายระบุไว้ว่าต้องทำการ ตรวจ ปจ.1 ตามที่กฎหมายกำหนดและให้วิศวกรเซ็นรับรองความปลอดภัยตามแบบตรวจ ปจ.1 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

overhead crane

ปจ.2 ก็คือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้ ยกตัวอย่างเช่น โมบายเครน รถบรรทุกติดเครน (รถเฮี๊ยบ), เรือติดเครน และเครื่องจักรอื่น ๆ ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ หรือติดตั้งอยู่บนพาหนะที่สามารถเคลื่อนที่ได้

ซึ่งปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้จะต้องได้รับการตรวจ ปจ.2 ตามกฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันกับ ปจ.1 โดยความถี่ในการตรวจสอบสามารถดูได้จากเนื้อหาด้านล่าง

mobile crane

ทำไมต้องตรวจปั้นจั่นก่อนใช้งาน ? 

  • เพื่อให้แน่ใจว่าปั้นจั่นจะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  • เพื่อเตรียมความพร้อมของปั้นจั่นก่อนใช้งาน และป้องกันการเกิดความเสียหายระหว่างใช้งานปั้นจั่น
  • เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆในส่วนประกอบของปั้นจั่น
  • เพื่อปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับปั้นจั่น
  • เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงานกับปั้นจั่น

เพื่อให้การใช้งานปั้นจั่น หรือ เครน ให้ได้ประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด จึงได้มีการกำหนด “กฎหมายปั้นจั่น” หรือ “กฎกระทรวงปั้นจั่น” ให้ทุกอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานเครื่องจักรชนิดนี้ได้ยึดเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัย โดยกฎหมายปั้นจั่นหรือกฎหมายเครนใหม่ล่าสุดที่อัปเดตในปี พ.ศ. 2564 ได้ระบุข้อกำหนดที่ว่าด้วยการทดสอบความปลอดภัยของปั้นจั่นไว้ดังนี้

น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบ ปจ.1 ปจ.2 เพื่อความปลอดภัยตามกฎหมาย

โดยวิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ปั้นจั่นใหม่
  • ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
  • ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
  1. ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
  • ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
  • กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ

ความถี่ในการตรวจสภาพ ปจ.1 ปจ.2 

นอกจากนั้นกฎหมายยังได้กำหนดความถี่ในการตรวจสอบปั้นจั่นไว้ดังนี้

  1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
  1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
  1. ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
  2. ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน 

โดยเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบ จะใช้เป็นแบบที่ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแนะนำ ดังต่อไปนี้

  • แบบ ปจ.1 : รายการการตรวจสอบและทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นหอสูง และปั้นจั่นขาสูง (ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่)
  • แบบ ปจ.2 : รายการการตรวจสอบและทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับรถปั้นจั่น และเรือปั้นจั่น (ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่)

สรุป

ปั้นจั่นทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่หรือปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ต้องได้รับการตรวจเครน และ ทดสอบเครน ตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยเมื่อปั้นจั่นได้รับการทดสอบแล้ว จะมีเอกสาร แบบ ปจ.1 และแบบ ปจ.2 เพื่อรับรองว่าปั้นจั่นนั้นผ่านการทดสอบเครนตามที่กฎหมายกำหนด มีความปลอดภัยพร้อมใช้งาน  และการใช้งานปั้นจั่นทั้งหมดต้องได้รับการควบคุมโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ห้ามผู้ที่ไม่ผ่านการฝึกอบรมใช้งานโดยเด็ดขาด

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

หมวกนิรภัยมีกี่แบบ? ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับงาน

หมวกนิรภัยมีกี่แบบ

หมวกนิรภัยมีกี่แบบ

หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ (Safety Helmet) คือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) หรืออุปกรณ์นิรภัยประเภทหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับศีรษะในขณะทำงาน โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จะต้องสวมใส่หมวกนิรภัยนี้ เพราะเป็นกฎข้อบังคับส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของกระทรวงแรงงาน นายจ้างหรือสถานประกอบการต้องจัดหาให้พนักงานได้สวมใส่หมวกนิรภัย รวมถึงผู้ที่ต้องทำงานบนที่สูง เช่น รุกขกร (หมอต้นไม้) ต้องสวมใส่หมวกหมวกนิรภัยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าหมวกนิรภัยถือเป็นอุปกรณ์หรือไอเท็มได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับสวมใส่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับศีรษะ (Head Protection) เพื่อให้ทุกคนได้รู้ข้อมูลของหมวกนิรภัยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น หมวกนิรภัยมีกี่แบบ ประโยชน์ของการสวมใส่หมวกนิรภัยในสถานที่ทำงานเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดกับศีรษะ รวมถึงความหมายของสีหมวกนิรภัยและการเลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับงาน

หมวกนิรภัย

ประเภทหมวกนิรภัย

ตามมาตรฐาน ANSI Z89.1-2003 แบ่งหมวกนิรภัยออกได้ตามลักษณะของการกันกระแทก และการกันไฟฟ้า โดยทั่วไป หมวกนิรภัยควรจะกันกระแทกได้ในแบบประเภท 1 หรือไม่ก็ประเภทที่ 2

  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ 1 หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกจากด้านบน แต่ไม่ได้ออกแบบสำหรับกันกระแทกจากด้านข้าง
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ 2 หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้าง
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ E (Electrical) ดังนั้นหมวกนิรภัยประเภทนี้จึงออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าแรงสูงได้ดี  โดยจะต้องผ่านการทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ G (General) หมวกนิรภัยประเภทนี้สามารถถูกใช้เพื่อช่วยลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงต่ำได้ โดยหมวกนิรภัยประเภทนี้จะต้องผ่านการทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์ 
  • หมวกนิรภัย ประเภทที่ C (Conductive) หมวกนิรภัยประเภทนี้ไม่กันไฟฟ้า และไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า สามารถทนแรงกระแทกได้อย่างเดียว

ประโยชน์ของหมวกนิรภัย

ประโยชน์ของการสวมใส่หมวกนิรภัย มีดังนี้

  • ช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะ : หมวกนิรภัยเป็นหมวกที่มีลักษณะแข็ง (Hard Hat) ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้ปฏิบัติงานในสถานที่เสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บทะลุศีรษะ (Injury Penetration) การบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้า (Electric Injury) และช่วยลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ จากวัตถุที่ร่วงหล่นหรือลอยมาโดนศีรษะ
  • ช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากการลื่นไถลหรือหกล้ม : การสวมใส่หมวกนิรภัยขณะทำงานในโรงงานผลิตสินค้าประเภทของเหลวจะช่วยลดการบาดเจ็บที่ศีรษะลง หากผู้ปฏิบัติงานลื่นล้มในสถานที่ทำงานเพราะเป็นสถานที่เปียก
  • ช่วยเพิ่มโอกาสรอดจากอุบัติเหตุ : ในขณะปฏิบัติงานอาจต้องเผชิญกับอุบัติเหตุ เช่น การเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบขนาดใหญ่ หรือเกิดข้อผิดพลาดในการดูแลชิ้นส่วนงานขนาดใหญ่และร่วงหล่นสู่พื้น ในกรณีเช่นนี้ หมวกนิรภัยจะช่วยลดการบาดเจ็บจากสถานการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยให้การมองเห็นผู้ปฏิบัติงานง่ายขึ้น : เนื่องจากหมวกนิรภัยมีหลายสีและเป็นสีที่สว่างสดใส ดังนั้น การสวมหมวกนิรภัยจะช่วยให้มองเห็นผู้ปฏิบัติงานรวมถึงผู้อื่นที่อยู่ในสถานที่ทำงานได้อย่างง่ายขึ้นทั้งในกลางวันและกลางคืน สีของหมวกนิรภัยยังช่วยแยกว่าใครเป็นใครในสถานที่ทำงาน เช่น ผู้มาเยี่ยมชม (Visitors) ผู้บริหารหรือวิศวกร เป็นต้น
  • ช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดด : สำหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานกลางแจ้ง เช่น ไซต์ก่อสร้างต่าง ๆ ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะต้องเผชิญกับแสงแดดในช่วงกลางวัน การสวมใส่หมวกนิรภัยจะช่วยป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายกับร่างกายได้ และยังช่วยลดโอกาสการเกิดโรคลมแดด (Heatstroke) หรืออาการอ่อนเพลียได้ (Fatigue)
หมวกนิรภัย

ความหมายของสีหมวกนิรภัย

มาพูดถึงความหมายของสีหมวกนิรภัยที่พบบ่อยที่สุด โดยหมวกนิรภัยมีสีสันมากมายหลากหลายเต็มไปหมด แต่ละสีมีความหมายยังไงบ้าง แต่ละสีมักแสดงถึงที่มาของผู้ผลิตหรือการใช้ที่แตกต่างกันออกไป

สามารถบอกถึงตำแหน่ง หน้าที่ ดังนี้

  • หมวกนิรภัยสีเหลือง สำหรับพนักงานทั่วไป
  • หมวกนิรภัยสีขาว สำหรับผู้จัดการ ผู้บริหาร วิศวกร หัวหน้างาน และผู้เยี่ยมชม
  • หมวกนิรภัยสีน้ำเงิน สำหรับช่างไฟฟ้า ช่างไม้ และเจ้าหน้าที่เทคนิคอื่น ๆ
  • หมวกนิรภัยสีเขียว สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย จป.วิชาชีพ เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คปอ.
  • หมวกนิรภัยสีส้มหรือสีน้ำตาล สำหรับช่างซ่อมบำรุงทั่วไป ผู้ส่งสัญญาณปั้นจั่น ทีมช่วยเหลือ หรือ เจ้าหน้าที่จราจร
  • หมวกนิรภัยสีแดง สำหรับเจ้าหน้าที่งานดับเพลิง ช่างเชื่อม และการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน

หมวกนิรภัยสีเทา บางโรงงานหรือองค์กรนำมาใช้สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมไซต์งาน

วิธีเลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับการทำงาน

พบกับ 6 วิธี ในการเลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะสมกับการทำงาน ซึ่งอุปกรณ์เซฟตี้ชิ้นนี้ถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับพนักงานในการปฏิบัติงาน 6 วิธีดังกล่าวคือ

  1. เลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับลักษณะงาน เช่น งานก่อสร้าง ต้องใช้หมวกนิรภัยที่มีความแข็งแรงทนแรงกระแทกระดับหนึ่ง
  2. หมวกนิรภัยต้องได้มาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.368-2554) หรือ NSI Z98.1-2003 และเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันที่น่าเชื่อถือ
  3. เลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีขนาดเหมาะกับศีรษะของผู้สวมใส่ เพื่อไม่ให้คับเกินไป และต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
  4. หมวกนิรภัยต้องมีสีสันที่เด่นชัด มีน้ำหนักเบา หาซื้อได้ง่ายในราคาที่เหมาะสม
  5. วิธีการใช้งานหมวกนิรภัยต้องง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  6. ควรมีการเปลี่ยนหมวกนิรภัยใหม่ หากมีรอยร้าวจากการได้รับการกระแทกมาแล้ว หรือการสัมผัสกับอากาศที่เป็นพิษ

สรุป

หมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์หรือไอเท็มสำหรับความปลอดภัยที่ปกป้องอันตราย อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ศีรษะของมนุษย์ อันเนื่องมาจากการทำงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยง เช่น ไซต์ก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เพราะอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ คือ สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตหรือความพิการที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด ดังนั้น นายจ้างหรือผู้ที่รับผิดชอบดูแลสวัสดิภาพของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษนั่นเอง

เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

Kaizen คืออะไร? ส่งผลดีอย่างไรต่อความปลอดภัยในการทำงาน

kaizen คือ

ในโลกของธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา แทบจะไม่มีให้เวลาให้เหล่าผู้บริหารหยุดคิด หากลยุทธ์ หรือ แนวทางการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมาช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงานได้เลย เพราะถ้าคุณช้ากว่าคู่แข่งแค่เพียงหนึ่งก้าว นั้นหมายความว่าลูกค้าคุณอาจจะถูกแย่งไปด้วย และแนวคิดแบบ Kaizen คือ หนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยให้การบริหารจัดการธุรกิจของคุณดียิ่งขึ้น 

แล้วแนวทางการบริหารแบบ Kaizen คืออะไรกันล่ะ ? วันนี้ผมจะช่วยไขข้อสงสัยให้กับทุกคนเองครับ ว่า กลยุทธ์การบริหารจัดการแบบ Kaizen คืออะไร แล้วมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร 

การวางกลยุทธ์แบบ Kaizen คือ 

Kaizen มาจากภาษาญี่ปุ่นครับ โดย Kai หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ส่วน Zen มีความหมายว่า ดี  เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกัน Kaizen จึงหมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม 

ในภาคอุตสาหกรรม Kaizen (ไคเซน) คือ การบริหารจัดการที่เน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีดำเนินการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิตให้ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนาวิธีดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยเน้นให้การทำงานน้อยลงแต่ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานทุกคน 

และแนวคิดแบบ Kaizen เชื่อว่าการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องอาศัยการสังเกตจากคนที่ปฏิบัติงานจริงจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 

กลยุทธ์หลักของ Kaizen

แนวคิดการบริหารจัดการแบบ Kaizen

กลยุทธ์หลักของ Kaizen สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลยุทธ์ใหญ่ ๆ  ได้แก่ 

  1. รายการตรวจสอบ 3 Mu’s

3 Mu’s ของ Kaizen คือ ระบบตรวจสอบที่จะช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานช่วยกันแก้ไขปัญหาที่พบ โดย 3 Mu’s ประกอบไปด้วย ความสูญเปล่า (Muda) , ความแตกต่างขัดแย้งกัน (Mura) และ ความดึง (Muri) ซึ่งจะนำเอา 3 Mu’s ทั้ง 3 มาพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา 

  1. หลักการ 5ส 

หลักการ 5ส ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบได้มากในวงการอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมก่อสร้าง และโรงพยาบาล โดยหัวใจหลักของหลัก 5ส คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ข้อ ได้แก่ สะอาด (Seisou) , สะสาง (Seiri) , สะดวก (Seition) , สุขลักษณะ (Seiketsu) และ สร้างนิสัย (Shitsuke) 

  1. หลักการ 5W 1H

หลักการ 5W 1H คือ ระบบชุดคำถามเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดในการทำการตลาดเพื่อระบุลักษณะที่แท้จริงของปัญหาและพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจวางแผนการตลาดแม่นยำมากยิ่งขึ้น 

โดยประกอบไปด้วย กลุ่มเป้าหมายคือใคร (Who) , อะไรคือสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ (What) , เมื่อที่ลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการ (When) , กลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ไหน (Where) , ทำไมกลุ่มเป้าหมายต้องซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Why) และ ทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (How) 

  1. รายการตรวจสอบ 4M 

รายการตรวจสอบ 4M คือ การควบคุมการผลิตเพื่อสร้างความเชื่อมั่นใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการให้แก่ลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้รายการตรวจสอบ 4M จะประกอบไปด้วย การบริหารจัดการการใช้วัสดุดิบให้สูญเสียน้อยที่สุด (Meterial) , การจัดสรรบุคลากรที่มีทักษะเหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำ (Man) , การจัดหาวัสดุ เครื่องจักร และสถานที่ที่เอื้อต่อการทำงาน (Machine) และ การเลือกวิธีปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ (Method) 

4 เทคนิคที่จะช่วยให้การวางกลยุทธ์ Kaizen ประสบความสำเร็จ

หลังจากที่ทุกคนเข้าใจแล้วว่าแนวคิด Kaizen คืออะไร มาลองดูเทคนิคที่จะช่วยให้การวางกลยุทธ์ Kaizen ประสบความสำเร็จกันดีกว่าครับ 

  1. ผู้บริหารหรือหัวหน้าจำเป็นที่ต้องการมีการแจ้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำกลยุทธ์ Kaizen มาใช้ เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่านี่ไม่ใช่เพียงเป้าหมายขององค์กรหรือบริษัท แต่เป็นเป้าหมายของเราทุกคนที่จะช่วยกันให้ประสบความสำเร็จ 
  2. จัดสรรให้พื้นที่ให้พนักงานทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นและพูดถึงปัญหาได้อย่างตรงไป ตรงมา เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด 
  3. มีการให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทุกคนอยากมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง
  4. ต้องมีการติดตามผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอและต้องนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ต่อเพื่อปรับปรุงและพัฒนา 

สรุป

กลยุทธ์การบริหารแบบ Kaizen คือ การให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในแสดงความคิดเห็นเพื่อแจ้งปัญหาที่พบ รวมไปถึงการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน โดยคาดหวังให้พนักงานทำงานน้อยลง เหนื่อยลงน้อย แต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม 

ซึ่งในปัจจุบันกลยุทธ์การบริหารแบบ Kaizen ไม่ได้เป็นที่นิยมในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง โรงงานผลิต หรือ โรงพยาบาล เท่านั้น แต่ยังมีหลาย ๆ องค์กรที่นำกลยุทธ์ Kaizen ไปใช้และได้ผลตอบรับที่ดีเกินคาด ทั้งนี้ทุกคนสามารถนำกลยุทธ์ Kaizen ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรหรือบริษัทของคุณได้

สุดท้ายนี้หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนทุกประเภท เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จัก การยศาสตร์ (ERGONOMIC) เพื่อลดการบาดเจ็บและเสริมประสิทธิภาพการทำงาน

อาการเจ็บป่วยที่คนวัยทำงานเป็นกันมากขึ้นในทุกวันนี้ คือความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก โดยเฉพาะพนักงานในโรงงาน และพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ นอกจากเป็นเพราะท่าทางของเราในระหว่างที่ทำงาน เช่น นั่งทำงานผิดท่า หรือโหมใช้งานร่างกายหนักเกินไปและยังเป็นเพราะการออกแบบสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น ไม่เป็นไปตามหลัก Ergonomics หรือไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคนเราอีกด้วย นั่นทำให้คำว่า Ergonomics หรือ การยศาสตร์ กลายเป็นสิ่งที่คนพูดถึงมากขึ้น ดังนั้น บทความนี้จึงเชิญชวนให้มาทำความรู้จักกับ Ergonomics หรือ การยศาสตร์ ว่าคืออะไร และจะลดความเสี่ยงในการทำงานได้อย่างไร เพื่อให้คนในองค์กรได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีความสุขไปกับการทำงานนั่นเอง

Ergonomics

การยศาสตร์ คือ 

การยศาสตร์ หรือ Ergonomics มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก โดยคำว่า Ergon หมายถึง งาน และคำว่า Nomos หมายถึง กฎตามธรรมชาติ (Natural Laws) เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า “Laws of Work” หรือที่แปลว่า “ศาสตร์แห่งการทำงาน” โดยเป็นศาสตร์ที่ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน คนทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จนกลายเป็นการออกแบบวิธีการทำงานที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอันตรายต่อคนทำงานน้อยที่สุด 

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 

  1. ลดข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน 
  2. เพิ่มความปลอดภัย ลดความเหนื่อยล้าและความเครียด เพิ่มความสะดวกสบาย รวมถึงการเพิ่ม ความพึงพอใจในงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน 

การยศาสตร์ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ 

การยศาสตร์เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้หลักการทางด้านสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์และจิตวิทยา เพื่อขจัดสิ่งที่อาจเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความไม่สะดวกสบาย ปวดเมื่อย หรือมีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดีเนื่องจากการที่ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ การยศาสตร์จึงสามารถนำไปใช้ในการป้องกันมิให้มีการออกแบบงานที่ไม่เหมาะสมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน โดยให้มีการนำการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบงาน เครื่องมือ หรือหน่วยที่ทำงาน ยกตัวอย่างเช่น เลือกใช้โต๊ะที่ปรับระดับความสูงต่ำได้ เพราะผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนมีความสูงที่แตกต่างกัน และการจัดตำแหน่งของโต๊ะทำงานต้องเหมาะสมกับลักษณะงานของแต่ละฝ่าย เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างสะดวก และเพื่อป้องกันอาการเมื่อยล้าจากการทำงานด้วยท่าทางที่ไม่ถนัด หรือการเลือกเก้าอี้ที่ใช้ในการทำงาน ควรจะเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิง และอาจมีเบาะรองนั่งให้ผู้ปฏิบัติงานตามความเหมาะสมนั่นเอง 

จากข้างต้นองค์ประกอบของการยศาสตร์ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ 3 กลุ่มได้แก่

1. สรีรวิทยา

เป็นการศึกษาขนาดของมนุษย์ โดยมุ่งพิจารณาถึงปัญหาที่อาจเกิดจากขนาดของคน รูปร่างของคน และท่าทางหรืออิริยาบถการทำงานของคน นอกจากนี้ยังสำรวจ ชีวกลศาสตร์ ที่ศึกษาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้แรงในระหว่างการทำงานของคนด้วย

2. กายวิภาคศาสตร์

เป็นการศึกษาและพิจารณาถึงการใช้พลังงานในขณะทำงาน ถ้าหากงานนั้นเป็นงานหนัก พลังงานที่ต้องใช้ไปก็ต้องมากซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ เป็นต้น รวมไปถึงการศึกษาสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อม มุ่งพิจารณาถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความร้อน แสง เสียง ความสั่นสะเทือน เป็นต้น

3. จิตวิทยา

ในกลุ่มนี้จะกล่าวถึงความชำนาญที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในลักษณะงานของบุคคล ว่าควรจะทำงานอะไร และทำอย่างไร ตลอดจนการตัดสินใจในการทำงานนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งนอกจากจะเกิดความเสียหายต่อการผลิตแล้วนั้น อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน

ท่านั่งที่ถูกต้อง

ประโยชน์ของการนำการยศาสตร์มาใช้ในที่ทำงาน

  1. ลดต้นทุน

ค่าใช้จ่ายทางการรักษาพยาบาล ค่าชดเชย ค่าแรง เป็นต้น

  1. เพิ่มผลผลิต

เมื่อมีการปรับปรุงในสายการผลิต  ผู้ปฏิบัติงานมีท่าทางที่ดี ออกแรงหรือเคลื่อนไหวน้อย ปรับความสูงและระยะเอื้อมได้ดีขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น

  1. ปรับปรุงคุณภาพ

หากผู้ปฏิบัติงานเจ็บป่วย เหนื่อยล้า หรือท้อแท้กับการทำงาน สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ปฏิบัติงานได้ ซึ่งส่งผลให้การทำงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 

  1. เพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากร

เมื่อองค์กรใดที่พยายามอย่างเต็มที่ที่จะพัฒนาองค์กรเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานของพวกเขามีสุขภาพและความปลอดภัย พนักงานในบริษัทมีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือและแจ้งให้ทราบหากพวกเขารู้สึกเหนื่อยล้าและไม่สบายตัวระหว่างทำงาน เมื่อเป็นเช่นนี้องค์กรจะสามารถลดอัตราการลาออก ลดการขาดงาน เพิ่มขวัญกำลังใจ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน

  1. สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

การนำหลักการยศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในองค์กรแสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพเป็นค่านิยมหลัก การสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมในทิศทางที่ดีขึ้นสำหรับองค์กรของคุณเป็นอย่างแน่นอน

สรุป

การยศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งหากได้มีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถนำไปสู่การปรับปรุงสภาพการทำงาน โดยให้มีการออกแบบงานที่จะต้องปฏิบัติ กำหนดรายละเอียดของเนื้องาน วิธีการจับถือและการใช้อุปกรณ์การติดตั้งอุปกรณ์ ฯลฯ อย่างเหมาะสม การปฏิบัติตามหลักการยศาสตร์ จะสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ ที่มีสาเหตุจากการไม่ได้นำหลักการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในสถานที่ทำงาน และการดำเนินการปรับปรุงทางด้านการยศาสตร์ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนแต่ประการใด ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน พนักงาน และฝ่ายบริหาร ควรที่จะร่วมมือกันในการดำเนินการค้นหาปัญหา ประเมินปัญหาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ถูกต้อง

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จักเข็มขัดนิรภัย Safety Harness สิ่งนี้คืออะไร ช่วยป้องกันการตกจากที่สูงได้อย่างไร

safety harness คือ

หากคุณคือหนึ่งในผู้ที่ทำงานในแวดวงอุตสาหกรรมก่อสร้างคงคุ้นเคยกับ Safety Harness หรือ เข็มขัดนิรภัย กันมาบ้างไม่มากก็น้อย เพราะถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง แต่สำหรับบางคนที่ยังไม่รู้ว่า Safety Harness คืออะไร มีประโยชน์และสำคัญต่อผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างยังไง บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยให้คุณเองครับ ถ้าอยากรู้แล้วลองไปหาคำตอบพร้อมกันเลยดีกว่า 

Safety Harness คืออะไร ? 

เข็มขัดนิรภัย หรือที่เรียกอีกชื่อว่า Safety Harness คือ อุปกรณ์ป้องกันการพลัดตกจากที่สูง และเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วยป้องกันการพลัดตกจากที่สูงระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ลดความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุ และช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานบนที่สูง หรือ พื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายในการพลัดตกลงมา สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดย Safety Harness เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับงานบนพื้นที่สูงมากกว่า 4 เมตร ไม่ว่าจะเป็น งานก่อสร้าง งานไฟฟ้า หรือ งานทำความสะอาด เป็นต้น 

ประเภทของเข็มขัดนิรภัย 

ในปัจจุบันมี Safety Harness หลายรูปแบบเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ Safety Harness ที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานได้ ซึ่งจะแบ่งประเภทของเข็มขัดนิรภัยตามการใช้งาน ฟังก์ชันการใช้งาน และน้ำหนักที่สามารถรองรับนั้นเองครับ โดยผมขอแบ่งประเภทของ Safety Harness ออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

ประเภทของ Sefety harness คือ

1. เข็มขัดนิรภัยแบบรัดตัว (Body Belts)

เข็มขัดนิรภัยแบบรัดตัว หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ เข็มขัดหนีภัย นิยมใช้กับงานที่ต้องปีนขึ้นที่สูง ปีนขึ้นหลังคา หรือ บันได ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุต่าง ๆ  โดยเข็มขัดนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบมาให้สวมใส่รอบเอว และมี D-Ring ใช้ในการเกี่ยวกับตะขอต่าง ๆ เหมาะสำหรับงานในกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากมีเข็มขัดเส้นเดียวทำให้สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้น้อย จึงไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่ครับ 

2. เข็มขัดนิรภัยแบบเบาะนั่ง (Seat Harnesses)

หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกับเข็มขัดนิรภัยแบบเบาะนั่ง สำหรับเข็มขัดนิรภัยแบบเบาะนั่งนิยมใช้ในการปืนหน้าผา หรือ ปืนขึ้นต้นไม้ โดยเข็มขัดนิรภัยประเภทนี้ออกแบบสายรัดให้ยึดติดกับตัวผู้ใช้งานในท่านั่ง ซึ่งจะประกอบไปด้วยเข็มขัดเส้นเล็ก 2 เส้น ที่รัดบริเวณต้นขา และเข็มขัดคาดรอบเอวอีก 1 เส้น ทั้งนี้ผู้ที่สวมใส่สามารถปรับระดับความแน่นได้ตามความเหมาะสม 

3. เข็มขัดนิรภัยหน้าอก (Chest Harnesses)

เข็มขัดนิรภัยหน้าอกจะมีลักษณะคล้ายกับเสื้อกั๊ก หรือ เสื้อเกราะครับ โดยถูกออกแบบมาให้สวมใส่บริเวณหน้าอกจนไปถึงหน้าท้อง เข็มขัดนิรภัยประเภทนี้เหมาะกับงานที่ไม่ได้ต้องการความปลอดภัยสูง เน้นเคลื่อนไหวร่างกายสะดวก คล่องตัว และมักใช้เข็มขัดนิรภัยหน้าอกในกรณีฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุต่าง ๆ เช่น เหตุอัคคีภัย เป็นต้น 

4. เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว (Full Body Harnesses)

เป็นเข็มขัดนิรภัยที่มีความปลอดภัยสูงมากที่สุด โดยถูกออกแบบมาเป็นชุดสามารถสวมใส่ได้ทั้งตัว และมีจุดคล้องเชือก คล้องตะขอเซฟตี้ที่ช่วยดังรั้ง หรือ พยุงหลายจุด ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่าเข็มขัดนิรภัยประเภทอื่น ๆ สำหรับเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวนิยมใช้กับการทำงานบนที่สูงทุกระดับ ทุกลักษณะงาน รวมไปถึงงานที่อันตรายมาก ๆ ก็มักจะเลือกใช้เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวครับ แต่เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวก็มีข้อเสีย คือ มีน้ำหนักมากกว่าเข็มขัดนิรภัยประเภทอื่น ๆ ทำให้ไม่ค่อยคล่องตัวสักเท่าไหร่ 

ทีนี้หลายคนคงเข้าใจว่า Safety Harness คืออะไร และมีทั้งหมดกี่แบบ เหมาะกับงานลักษณะกันบ้างแล้ว ต่อไปผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับวิธีเลือก Safety Harness ให้เหมาะกับการใช้งานเองครับ 

5 เทคนิค เลือก Safety Harness ให้เหมาะกับการใช้งาน

  1. เลือก Safety Harness ที่มีมาตรฐานสากลรองรับ เช่น มาตรฐาน ANSI หรือ มาตรฐาน EN เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน นอกจากนี้อย่าลืมดูว่า D-Ring ผ่านมาตรฐานตามที่สากลกำหนดไว้หรือไม่ 
  2. ดูฟังก์ชันการใช้งานให้เหมาะกับลักษณะงานที่จะนำไป เช่น ถ้าหากเป็นงานที่ต้องการความปลอดภัยสูงควรเลือกเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว แต่ถ้าหากเป็นงานที่เน้นความคล่องตัวอาจจะเลือกเข็มขัดนิรภัยแบบครึ่งตัว เป็นต้น 
  3. เลือกแบรนด์ Safety Harness ที่น่าเชื่อถือ ผ่านการทดลองความปลอดภัย หรือ คุณอาจจะดูไปถึงโรงงานที่ผลิตว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ 
  4. เช็กความสามารถในการรองรับน้ำหนักของ Safety Harness ต้องเหมาะสมกับลักษณะงานที่นำไปใช้ 
  5. สำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้เลือก Safety Harness ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต และต้องมีผลทดสอบรองรับด้วย 

สรุป

ผมจึงขอสรุปสั้น ๆ ว่า Safety Harness คือ อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยที่จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการพลัดตกจากที่สูง ทั้งนี้ความปลอดภัยในระหว่างทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจและให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เพราะการป้องกันปัญหาสามารถช่วยลดความรุนแรงและสูญเสียลงได้ ย่อมดีกว่าการแก้ไขหลังจากที่ปัญหาเกิดขึ้นแล้วครับ 

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

E-mail: [email protected]

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง คืออะไร มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง คืออะไร มีอะไรบ้าง

เพราะการทำงานบนที่สูงถือว่าเป็นการทำงานที่มีความเสี่ยงและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดและอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งก็อาจจะสร้างความเสียหายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยครับ ทำให้ปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยกฎหมายบังคับให้ลูกจ้างทุกคนต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง เพื่อป้องกันอันตรายและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น 

วันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ว่าคืออะไร และมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย! 

ประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง 

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่องานก่อสร้าง งานทำความสะอาดบนที่สูง งานไฟฟ้า และ งานอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานบนที่สูง โดยประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง คือ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานในสถานที่เสี่ยงอันตรายต่อการตกได้อย่างปลอดภัย ลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุ และยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไม่ต้องคอยกังวลว่าจะพลัดตกลงไปอีกด้วย 

ประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง 

สาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูง 

อุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาจากความประมาทไม่ระมัดระวังของผู้ปฏิบัติงานจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงจากที่สูง ไม่ว่าจะเป็น 

  1. การใช้งานอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงผิดวิธี เช่น การที่ผู้ปฏิบัติงานสวมอุปกรณ์ป้องกันไม่ครบ สวมแค่บางชิ้นเท่านั้น หรือ การใช้งานเข็มขัดนิรภัยแบบผิดวิธี 
  2. สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในการทำงาน เช่น การทำงานบนที่สูงที่เสี่ยงอันตรายและมีพื้นผิวลื่น หรือ การปฏิบัติหน้าที่ในสภาพอากาศที่ย่ำแย่ ไม่ว่าจะเป็น ฝนตก ลมแรง หรือ พายุเข้า เป็นต้น 
  3. การใช้งานเครื่องจักรที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมต่อการปฏิบัติหน้าที่  ส่วนใหญ่มักเกิดจากการละเลย ไม่ได้ตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ 
  4. สภาวะจิตใจและร่างกายของผู้ปฏิบัติงานไม่พร้อมสำหรับทำงาน เช่น มีอาการมึนเมา ขาดสติ ที่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การใช้สารเสพติด รวมอาการเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทำงานบนที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ 
  5. การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงที่ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ มักมีสาเหตุจากการที่พนักงานขาดความรู้ในการเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุในที่สุด 

แนะนำอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง 

ส่วนใหญ่มักจะเรียกอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงว่า “อุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคล PPE” 

ซึ่งในปัจจุบันสามารถแบ่งระบบ หรือ อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น 

  1. เข็มขัดนิรภัย
  2. สายเซฟตี้ สายรัดตัวนิรภัย หรือ สายพยุงตัว 
  3. ตะขอกันตก
  4. อุปกรณ์เชื่อมต่อ 
องค์ประกอบหลักของระบบการป้องกันการพลัดตกจากที่สูง

องค์ประกอบหลักของระบบการป้องกันการพลัดตกจากที่สูง (Elements of Fall protection System)

  1. จุดยึด (Anchor Point) คือ จุดที่ใช้ยึดอุปกรณ์ป้องกันการจากที่สูง ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งบนโครงสร้างที่มั่นคงและบริเวณที่ปลอดภัย เหมาะสมสำหรับการติดสายรัดนิรภัยหรือเชือกเส้นเล็ก โดยกฎหมายกำหนดให้อุปกรณ์ต้องสามารถรับแรงได้อย่างน้อย 5000 lb หรือ 22 kN 
  2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connecting Device) คือ ต้องมีอย่างน้อย 2 จุด ที่เชื่อมต่อกับจุดยึด และต้องทนต่อการกัดกร่อน ผิวจะต้องเรียบ ไม่มีรอยต่อและทำจากเหล็กที่หล่อขึ้นรูป โดยตัวเชื่อมที่เชื่อมกับจุดยึดจะต้องไม่มีรอยแตกร้าว หรือ การเปลี่ยนรูปถาวร และต้องสามารถรับแรงได้อย่างน้อย 16 kN 
  3. เข็มขัดนิรภัยแบบรัดทั้งตัว (Full body harness) ผู้สวมใส่ต้องเลือกเข็มขัดให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน และต้องมีจุดเชื่อมต่ออย่างน้อย 1 จุด และสายรัดจะต้องผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ที่อ่อนนุ่ม แต่มีความแข็งแรงทนทาน เช่น โพลีเอสเตอร์ หรือ โพลีเอไมด์ โดยผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องสวมใส่เข็มขัดนิรภัยทั้งตัวอย่างถูกวิธี โดยเข็มขัดนิรภัยแบบรัดทั้งตัวจะช่วยดึงผู้ปฏิบัติงานถ้าหากเกิดอุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูง 

สรุป

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ เพราะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน และยังช่วยลดความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุ แต่นอกเหนือจากอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงแล้วเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานบนที่สูงต้องได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานบนที่สูงที่ถูกต้อง รวมไปถึงต้องมีความเข้าใจสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงาน และเข้าใจวิธีใช้งานอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงที่ถูกต้องด้วยครับ 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย