การตรวจสอบ Load Test ปั้นจั่น และเครน ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง?

การตรวจสอบ Load Test ปั้นจั่น และเครน ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง?

ในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ระบุให้นายจ้างต้องการตรวจสอบปั้นจั่น หรือที่หลายคนเรียกกันง่าย ๆ ว่า Load Test ตามน้ำหนักที่กำหนดไว้ แต่บางคนอาจจะยังสงสัยว่า Load Test คืออะไร แล้วสำคัญยังไง ทำไมถึงขั้นต้องออกกฎหมายบังคับให้นายจ้างทุกคนปฏิบัติตาม 

วันนี้ผมจะมาช่วยไขข้อสงสัยให้กับทุกคน ว่าจริง ๆ แล้ว Load Test คืออะไร ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญ การทำ Load Test ต้องตรวจสอบและมีข้อกำหนดอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ ด้วยครับ 

Load Test คือ 

อย่างแรกผมว่าทุกคนควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจคำว่า Load Test กันก่อนดีกว่าครับ 

Load Test คือ การทดสอบรถเครนหรือปั้นจั่น ว่ารถเครนคันนั้น ๆ สามารถรองรับน้ำหนักได้ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้หรือไม่ 

ซึ่งการทำ Load Test มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานและทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และตามประกาศที่ได้มีการกำหนดไว้ การทำ Load Test ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิศวกรที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการทดสอบปั้นจั่น หรือ รถเครน เท่านั้น พร้อมทั้งต้องมีการบันทึกข้อมูลเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐาน 

การตรวจสอบ Load Test ปั้นจั่น และเครน ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง?

เครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำ Load Test ปั้นจั่นและเครน

เครื่องมือที่ต้องใช้สำหรับการทำ Load Test ได้แก่ 

  1. รถเครน หรือ ปั้นจั่นที่ต้องการทำการทดสอบ 
  2. วัตถุที่ใช้สำหรับการทำ Load Test เช่น สินค้า เหล็ก ลูกตุ้มน้ำหนักเหล็กสำหรับใช้ทดสอบ และวัสดุทั่วไป ที่สามารถหาได้หน้างาน ทั้งนี้สามารถใช้ได้หมดเลยครับ เพียงแค่ขอให้เป็นวัตถุที่สามารถยกหิ้วได้ และมีน้ำหนักเพียงพอตามที่มาตรฐาน Load Test กำหนดไว้ 
  3. เอกสารรายงานการทดสอบ

ข้อกำหนดสำหรับการทำงาน Load Test 

ระหว่างที่ทำ Load Test ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากวิศวกรเท่านั้น และน้ำหนักที่ใช้สำหรับทำ Load Test รถเครน ได้แก่ 

1. รถเครนที่ผ่านการใช้งานแล้ว 

สำหรับรถเครนที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ต้องทดสอบว่าสามารถรองรับน้ำหนักที่ 1 – 1.25 เท่าของพิกัดยกปลอดภัยได้หรือไม่ 

ส่วนรถเครนที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ต้องทดสอบว่าสามารถรองรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดยกปลอดภัยได้

2. รถเครนใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านการใช้งาน 

สำหรับรถเครนใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน ให้ทดสอบว่าสามารถรองรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักใช้งานจริงสูงสุดได้หรือไม่ แต่น้ำหนักที่ใช้ทดสอบจะต้องไม่เกินพิกัดยกปล่อยภัยที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ 

ทั้งนี้ในกรณีที่รถเครนไม่ได้มีการกำหนดพิกัดยกปล่อยภัยจากผู้ผลิตจะต้องให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกปล่อยภัยและพิกัดยกสำหรับทำการทดสอบ 

การตรวจสอบ Load Test ปั้นจั่น และเครน ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง?

วิธีการตรวจสอบ Load Test รถเครน

สำหรับการวิธีการทำ Load Test ก็ไม่ได้ยุ่งยากเลยครับ เพียงแค่ใช้รถเครนที่ต้องการทดสอบยกวัตถุตามน้ำหนักที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งรถเครนแต่ละชนิดก็จะกำหนดน้ำหนักวัตถุที่ต้องยกแตกต่างกันออกไปตามที่ผมได้บอกไปก่อนหน้านี้ (สามารถใช้ได้ทั้งน้ำหนักจริง หรือ ทดสอบด้วยน้ำหนักจำลองก็ได้เช่นเดียวกันครับ) ซึ่งในปัจจุบันก็มีวิศวกรบางคนที่ไม่ได้ทำ Load Test ตามน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยใช้การเปรียบเทียบโมเมนต์สำหรับการยกแทน เพราะยิ่งน้ำหนักมากก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงตาม 

แต่ผมไม่แนะนำวิธีนี้นะครับ เพราะการเปรียบเทียบโมเมนต์สำหรับการยกไม่สามารถเป็นตัวแทนการทำ Load Test ได้อย่างแท้จริง และการทำ Load Test ที่ไม่ถูกต้องและไม่ครอบคลุม จะทำให้วิศวกรไม่สามารถทราบปัญหาของรถเครนคันนั้น ๆ ได้ 

สรุป

การทำ Load Test ที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้จะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานและช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน นอกจากนี้การทำ Load Test ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบำรุงรักษารถเครนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานและสามารถใช้งานได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น 

ซึ่งข้อสำคัญในการทำ Load Test คือ น้ำหนักวัตถุ และทุกขั้นตอนการทดสอบต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิศวกรที่มีความชำนาญ และผมแนะนำให้ทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัยแบบง่าย ๆ คือ ทดสอบน้ำหนักเท่าไหร่ ก็ใช้รถเครนยกวัตถุที่มีน้ำหนักไม่เกินเท่านั้น 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

กฎกระทรวงการทำงานบนนั่งร้าน อัปเดต 2567 เพื่อความปลอดภัยในการทำงานที่สูง

กฎกระทรวงการทำงานบนนั่งร้าน

จากสถิติที่ได้มีการรวบรวมพบว่าการทำงานบนนั่งร้าน หรือ การทำงานบนที่สูง มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ค่อนข้างสูง และมากกว่า 50% การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานบนนั่งร้านทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับอาการบาดเจ็บ พิการ และอาจจะรุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิต จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทั้งนายจ้างและเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานบนนั่งร้านต้องให้ความสำเร็จกับกฎหมายนั่งร้าน 

วันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก กฎหมายนั่งร้าน ปี 2565 ซึ่งเป็นฉบับอัปเดตใหม่ล่าสุดที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันในปี 2567 ที่จะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน ซึ่งกฎหมายนั่งร้านนั้นถือว่าเป็นกฎหมายที่นายจ้างจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มาดูเหคุผลกันเลยว่าทำไมจึงต้องเป็นเช่นนั้น

ความสำคัญของกฎหมายนั่งร้าน 

นายจ้างและเจ้าหน้าที่หลายคนยังคงละเลยความสำคัญของกฎหมายนั่งร้าน และนั่นเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติทำงานครับ เพราะในบางครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ ความเสียหายที่ได้รับมักจะไม่สามารถประเมินค่าได้ เช่น พิการ ร่างกายไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ หรือ การเสียชีวิต 

ทีนี้ทุกคนพอน่าจะเข้าใจกันแล้วใช่ไหมครับ ว่าทำไมกฎหมายนั่งร้านจึงมีความสำคัญ เพราะการปฏิบัติตามกฎกระทรวงสามารถช่วยสร้างความปลอดภัยในระหว่างทำงาน ช่วยทำให้เจ้าหน้าที่มีความมั่นใจทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอุบัติเหตุได้ด้วยครับ 

สรุปกฎหมายนั่งร้านปีล่าสุด 2567 ที่คนทำงานต้องรู้! 

ผมได้สรุปใจความสำคัญของกฎหมายนั่งร้านฉบับล่าสุด โดยเป็นฉบับประจำปี 2565 ที่นายจ้างและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรรู้ไว้ให้แล้ว โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

1.นายจ้างต้องจัดให้มีการคำนวณออกแบบโดยวิศวกร 

สำหรับนั่งร้านที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป หรือ นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยวที่มีความสูงเกิน 7.20 เมตร โดยที่ไม่มีคุณสมบัติและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนด กฎกระทรวงบังคับให้นายจ้างต้องจัดให้มีการคำนวณออกแบบโดยวิศวกรเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 

2.เจ้าหน้าที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์นิรภัย (PPE)

กฎหมายนั่งร้าน 2565 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานบนนั่งร้าน ต้องสวมใส่ชุดและอุปกรณ์นิรภัยที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงานบนนั่งร้าน และลักษณะอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และกำหนดให้สวมใส่อุปกรณ์นิรภัยตลอดระยะเวลาการทำงาน โดยอุปกรณ์ที่สวมใส่ต้องพร้อมใช้งาน ไม่มีการชำรุดหรือได้รับความเสียหาย 

3.จัดอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานบนนั่งร้าน 

นายจ้างต้องมีการจัดอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานบนนั่งร้าน หรือ การทำงานบนที่สูง โดยต้องจัดอบรมและชี้แจ้งรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน นอกจากนี้นายจ้างจำเป็นที่จะต้องจัดเตรียมสำเนาเอกสารที่รวบรวมรายละเอียดการทำงานและมาตรการควบคุมความปลอดภัยต่าง ๆ ในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน 

4.กำหนดพื้นที่อันตราย 

กฎหมายนั่งร้าน 2656 ได้ระบุให้จัดทำรั้วหรือกั้นเขตพื้นที่อันตรายด้วยวัสดุที่เหมาะสมและต้องมีป้ายเตือนว่า “เขตอันตราย” ไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ป้ายเตือนจำเป็นที่จะต้องสามารถมองเห็นได้ทั้งในตอนกลางวันและตอนกลางคืน ซึ่งสำหรับพื้นที่อันตรายต้องมีการกำหนดบุคคลเข้าออก และห้ามไม่ให้บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใกล้ หรือ เคลื่อนย้ายและรื้อถอนวัสดุก่อนได้รับอนุญาต 

5.ปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด 

สำหรับการประกอบ ติดตั้ง เคลื่อนย้าย ตรวจสอบ และรื้อถอน ต้องปฏิบัติตามรายละเอียดในคู่มือที่ผู้ผลิตกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ถ้าหากไม่มีคู่มือการใช้งานจากผู้ผลิต ในนายจ้างต้องจัดให้วิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเป็นหนังสือ และต้องมีสำเนาให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย 

6.ตรวจเช็คสภาพนั่งร้าน 

นั่งร้านจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน โดยทุกครั้งที่มีการตรวจสอบต้องมีการทำรายงานผลการตรวจสอบไว้ เพื่อให้พนักงานตรวจสอบความปลอดภัยสามารถตรวจเช็คอีกรอบได้ และต้องมีการตรวจเช็คสภาพนั่งร้านทุกครั้งก่อนใช้งาน 

7.ติดตั้งสัญลักษณ์หรือป้ายเตือน 

กฎหมายนั่งร้าน 2565 กำหนดให้พื้นที่อันตราย หรือ พื้นที่ที่จะเกิดอาจจะอันตราย ต้องติดตั้งป้ายเตือน หรือ สัญลักษณ์เตือนอันตราย ไม่ว่าจะเป็น ห้ามเข้า ระวังวัสดุตกหล่น ระวังลื่น หรือ เขตอันตราย นอกจากนี้การติดตั้งสัญลักษณ์เตือนยังรวมไปถึงการเตือนให้สวมใส่อุปกรณ์นิรภัย เช่น หมวก รองเท้า ถุงมือ และอื่น ๆ 

8.มาตรการป้องกันวัสดุตกหล่น 

การทำงานบนนั่งร้าน หรือ การทำงานบนที่สูง มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุวัสดุตกหล่น ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ หรือ พนักงานที่อยู่บริเวณรอบ ๆ มาตรการป้องกันวัสดุตกหล่นจะช่วยลดอันตรายที่เกิดขึ้นได้ โดยกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการป้องกันวัสดุตกหล่นให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน 

9.ลักษณะของนั่งร้านที่ไม่สามารถใช้งานได้

ห้ามไม่ให้ลูกจ้างปฏิบัติงานบนนั่งร้านที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ 

  1. นั่งร้านที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งชำรุด 
  2. นั่งร้านที่มีพื้นลื่น 
  3. นั่งที่อยู่ในสภาพที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ 
  4. นั่งร้านที่อยู่นอกอาคาร ในระหว่างที่เกิดพายุ ลมแรง ฝนตก หรือ ฟ้าผ่า เป็นต้น 

ทั้งนี้สำหรับนั่งร้านที่อยู่นอกอาคารที่สภาพอากาศไม่เหมาะสมตาม ข้อ 4 จะถูกยกเว้น ถ้าเป็นการทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาเหตุ แต่ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก 

สรุป 

สำหรับผู้ที่อ่านมาถึงตรงนี้ ผมหวังว่าทุกคนจะเข้าใจและให้ความสำคัญกับกฎหมายนั่งร้านกันมากขึ้น เพราะอุบัติเหตุสามารถก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างมหาศาลและเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองและคนที่คุณรัก ทั้งนี้นายจ้างและเจ้าหน้าที่ทุกคนควรปฏิบัติตามกฎหมายนั่งร้านอย่างเคร่นครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและส่วนรวมครับ  

สุดท้ายนี้ถ้าหากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ 

เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จัก Safety Patrol การเดินตรวจความปลอดภัยในพื้นที่ทำงานก่อสร้าง

รู้จัก Safety Patrol การเดินตรวจความปลอดภัยในพื้นที่ทำงานก่อสร้าง

การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ บริเวณพื้นที่ทำงานก่อสร้าง นายจ้างจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในที่ทำงาน และต้องกำหนดมาตรการป้องกันอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งการทำ Safety Patrol คือ หนึ่งในขั้นตอนที่จะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานหรือพื้นที่ทำงานก่อสร้าง 

บทความนี้ผมเลยจะพาทุกคนไปรู้จักว่า Safety Patrol คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลาย ๆ โรงงานถึงให้ความสำคัญ ถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปดูกันเลย 

Safety Patrol คือ 

หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นหู กับคำว่า Safety Patrol คืออะไร และมีความสำคัญยังไงกันใช่ไหมครับ ? วันนี้ผมจะช่วยไขข้อสงสัยให้กับทุกคนเอง 

จริง ๆ แล้ว Safety Patrol คือ การเดินสำรวจโรงงานหรือบริเวณที่ทำงานก่อสร้าง เพื่อหาสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ เขตบริเวณพื้นที่งานก่อสร้าง ที่อาจจะสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์ของเจ้าหน้าที่และบริษัทได้ และไม่ใช่เพียงแค่หาสาเหตุแล้วจบไปเท่านั้นนะครับ แต่เจ้าหน้าที่ที่ทำ Safety Patrol จะต้องประเมินความเสียหาย ถ่ายรูป จุด Near Miss ตามบริเวณต่าง ๆ  และกำหนดมาตรการป้องกันก่อนที่อุบัติเหตุจะเกิดขึ้น 

ทั้งนี้ถ้าหากมีจุดที่จำเป็นต้องซ่อมบำรุงและปรับปรุง จำเป็นที่จะต้องนำเข้าในที่ประชุมเพื่อจัดสรรงบประมาณสำหรับซ่อมบำรุงได้อย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและจำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นหลักครับ 

แนะนำวิธีทำ Safety Patrol

การทำ Safety Patrol สามารถทำได้หลากหลายวิธีครับ ซึ่งผมจะแนะนำวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ 

กำหนดความถี่สำหรับการทำ Safety Patrol 

กำหนดความถี่ในเดินสำรวจความปลอดภัย ควรมีการกำหนดความถี่ที่เหมาะสม เพราะถ้าหากกำหนดความถี่ทิ้งระยะเวลานานมากเกินไป อาจจะทำให้ขาดช่วงในการซ่อมบำรุง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายในที่ทำงานได้นั่นเองครับ ทั้งนี้ความถี่ในการทำ Safety Patrol ของแต่ละโรงงานก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขนาดและผังของโรงงานด้วย 

กำหนดบริเวณสำหรับทำ Safety Patrol 

การกำหนดบริเวณเพื่อทำ Safety Patrol ต้องคำนึงถึงขนาดของโรงงานอุตสาหกรรม ถ้าหากเป็นโรงงานขนาดเล็กก็สามารถเดินสำรวจประเมินความปลอดภัยได้ทั่วโรงงานในครั้งเดียว แต่ถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่ และมีไลน์ผลิตจำนวนมาก ก็จำเป็นต้องกำหนดบริเวณ เช่น เดินสำรวจความปลอดภัยครั้งที่ 1 บริเวณไลน์ A และ  เดินสำรวจความปลอดภัยครั้งที่ 2 บริเวณไลน์ B เป็นต้น 

กำหนดสมาชิกทีมสำหรับทำ Safety Patrol 

สำหรับการกำหนดสมาชิกทีมเพื่อทำ Safety Patrol สามารถกำหนดได้หลากหลายแบบ แต่จำเป็นต้องมี คปอ (คณะกรรมการความปลอดภัย) อยู่ในทีมเดินสำรวจความปลอดภัยเสมอ ทั้งนี้จำนวนสมาชิกทีมหรือการแบ่งจำนวนทีมขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงานแต่ละแห่งด้วยครับ 

เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทำ Safety Patrol 

การทำ Safety Patrol จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพื่อให้การเดินสำรวจความปลอดภัยมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเครื่องมือที่นิยมใช้สำหรับทำ Safety Patrol ได้แก่ 

  1. กล้องถ่ายรูป สำหรับถ่ายจุดที่ไม่ปลอดภัยเป็นหลัก และใช้เปรียบเทียบหลังจากซ่อมบำรุง
  2. Check sheet  ต้องมาจากข้อกำหนดของกฎหมายเป็นหลัก 
  3. ป้ายเตือน ถ้าหากพบจุดที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย อาจจะติดป้ายเตือน เช่น ชำรุด / ระวังอันตราย ให้ทุกคนหลีกเลี่ยงบริเวณนั้น ๆ 
  4. อุปกรณ์สำหรับแก้ไข้ชั่วคราว 

สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ที่อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ 

หลังจากที่เข้าใจกันแล้วว่า Safety Patrol คืออะไร ขั้นต่อไปคือการทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย โดยสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย คือ สภาพแวดล้อมที่อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่เกิดอันตรายได้ ไม่ว่าจะเป็น 

  1. อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักร ไม่เหมาะสมกับลักษณะงาน 
  2. อุปกรณ์ และ เครื่องจักร เกิดการชำรุดและเสียหาย 
  3. ขาดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
  4. ระบบไฟฟ้าชำรุด หรือ บกพร่อง  
  5. จัดเก็บเครื่องมือไม่เป็นระเบียบ ไม่เหมาะสมกับเครื่องมือแต่ละประเภท 
  6. จัดเก็บสารเคมีและวัตถุไวไฟไม่ถูกวิธี 
  7. พื้นที่ไม่เหมาะสม ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติหน้าที่ เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นที่อับอากาศ เป็นต้น 
  8. ไม่มีระบบหรือสัญญาณแจ้งเตือนอันตราย 
  9. การวางแผนผังโรงงานผิดพลาด 
  10. พื้นที่บริเวณทำงานมีความร้อนสูงมาตรฐาน 

สรุป 

การทำ Safety Patrol คือ การเดินสำรวจความปลอดภัย ที่โรงงานอุตสาหกรรมทุกที่ควรให้ความสำคัญ เพราะเป็นการหาสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายในสถานที่ทำงาน เพื่อที่ทีมงานจะได้สามารถหามาตรฐานแก้ไขและหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที โดยการทำ Safety Patrol ของแต่ละโรงงานก็จะแตกต่างกันออกไปตามขนาดและกำลังคนครับ 

ถ้าหากว่าคุณไม่อยากพลาดการอัปเดตข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

การป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน (3E) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

การป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน (3E) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

การทำงานในทุกอาชีพสามารถเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือความเสี่ยงต่าง ๆ มากมายที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ ไม่ใช่แค่เพียงอาชีพที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างเท่านั้น โดยความเสี่ยงของแต่ละสายงานก็จะแตกต่างกันออกไป และถ้าหากเกิดการประมาทเลินเล่อก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตของตัวเองและบุคคลรอบข้างได้ครับ ดังนั้นจึงมีกฎหมายออกมาปกป้องและป้องกันอุบัติเหตุในการทำงานที่อาจจะเกิดขึ้น 

และวันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน หรือที่หลายคนเรียกกันว่า หลักการ 3E ว่าจริง ๆ แล้วหมายถึงอะไร และช่วยเพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงานได้อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ ว่าการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอนมีอะไรบ้าง 

การป้องกันอุบัติภัย 3E ขั้นตอน คือ 

การป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน หรือ หลักการ 3E คือ หลักการที่ใช้เพิ่มความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ปัจจัยที่จะช่วยให้การป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน มีประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องได้รับแรงสนับสนุนจากทุกฝ่ายในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน  

โดยหลักการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน จะเสริมสร้างความปลอดภัย และ ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดในโรงงาน พร้อมทั้งช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย 

ทำความเข้าใจสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ 

สาเหตุของอุบัติเหตุสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ 

1. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น 

  • ความประมาทเลินเล่อ
  • ไม่ปฏิบัติตามกฎและมาตรการความปลอดภัยที่กำหนดไว้
  • นิสัยที่ความชอบเสี่ยง 
  • การปฏิบัติงานที่ไม่ถูกตามขั้นตอน 
  • การปฏิบัติงานโดยไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย 
  • การแต่งกายไม่เหมาะสมกับลักษณะงาน
  • การปฏิบัติงานโดยที่สภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เจ็บแขน ปวดขา หรือ ไม่สบาย เป็นต้น 

2. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น 

  • การวางผังโรงงานที่ไม่ถูกต้อง 
  • การวางอุปกรณ์และสิ่งของไม่เป็นระเบียบ 
  • อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรชำรุด แต่ฝืนใช้งาน 
  • ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด 
  • สภาพสถานที่ไม่เหมาะกับการทำงาน เช่น พื้นของโรงงานมีเศษวัสดุแหลมคม มีน้ำ หรือ น้ำมันบนพื้น 
  • บริเวณที่อาจจะเกิดการพลัดตกจากที่สูง แต่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย 

ดังนั้นแล้วเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องมีการนำหลักการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอนมาปรับใช้กับการงานทำนั่นเองครับ

ปัจจัยที่ต้องใช้พิจารณาในการรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน 

เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน มีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องใช้พิจารณาเพื่อรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน 

1. Engineering 

E แรก คือ การใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ หมายถึง ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการทำงานและการคำนวณต่าง ๆ เช่น การคำนวณน้ำหนักวัตถุที่ใช้ปั้นจั่นยก การติดตั้งเครื่องจักรในพื้นที่สามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงการคำนวณระบบไฟฟ้า ระดับแสงสว่าง ระดับเสียง และการระบายอากาศที่เหมาะสมในโรงงาน 

2. Enforcement 

E ที่สอง คือ การออกกฎและข้อบังคับ หมายถึง การกำหนดมาตรการ ข้อบังคับ กฎระเบียบ และวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้องและปลอดภัยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตาม ทั้งนี้ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่มีเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้ จำเป็นต้องมีบทลงโทษเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของมาตรการและกฎที่ตั้งเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน และเพื่อไม่ให้มีการลอกเลียนแบบ

3. Education 

E สุดท้าย คือ การจัดอบรมและการให้ความรู้ หมายถึง นายจ้างต้องมีการจัดฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างปลอดภัยให้กับพนักงานทุกคน ไม่ว่าจะเป็น หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยถือว่าการจัดอบรมเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงาน พร้อมทั้งช่วยหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่  

ทั้งนี้ทุกคนสามารถนำหลักการป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการทำงานของคุณได้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และ ยังถือว่าเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงอีกด้วยครับ

สรุป 

ผมจึงขอสรุปสั้น ๆ ว่า การป้องกันอุบัติภัย 3 ขั้นตอน จำเป็นต้องทำควบคู่กันไปและให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนที่ 1 การใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์เพื่อวางแผนและคำนวณ ขั้นตอนที่ 2 การออกกฎ ข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติงานที่รัดกุมเพื่อความปลอดความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม และขั้นตอนที่ 3 การให้รู้จัดอบรมความปลอดภัยในที่ทำงาน จึงจะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นและช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

สุดท้ายนี้ใครที่ไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ทำความเข้าใจกฎหมาย “การทำงานในที่อับอากาศ” อย่างปลอดภัย ต้องปฏิบัติอย่างไร

ทำความเข้าใจกฎหมาย "การทำงานในที่อับอากาศ" อย่างปลอดภัย ต้องปฏิบัติอย่างไร

ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมีหลายครั้ง ที่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อับอากาศ เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ แน่นอนครับว่าการทำงานในสถานที่อับอากาศก็ต้องมีความเสี่ยงอันตรายต่าง ๆ มากกว่าการทำงานในสถานที่ทั่วไป แต่ทุกคนอย่าเพิ่งตกใจหรือกังวลไปครับ เพราะในปัจจุบันกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้มีการกำหนด “กฎหมายการทำงานในที่อับอากาศ” เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ 

และสำหรับวันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกฎหมายการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานในสถานที่อับอากาศจำเป็นต้องรู้ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและความปลอดภัยของส่วนรวม ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยดีกว่า 

สถานที่อับอากาศ หมายถึง 

ในกฎหมายการทำงานในที่อับอากาศได้มีอธิบายไว้ว่า สถานที่อับอากาศ คือ สถานที่ที่มีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ถูกออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ รวมไปถึงสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงอันตรายหรือมีบรรยากาศอันตราย ไม่ว่าจะเป็น บ่อ ท่อ อุโมงค์ หลุม ห้องนิรภัย ห้องใต้ดิน เตา ถังน้ำมัน ถังหมัก และอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นบริเวณที่มีการระบายอากาศไม่เพียงพอ และไม่เหมาะสมสำหรับปฏิบัติงานเป็นประจำ

หลายคนอาจจะเกิดความสงสัยใช่ไหมครับ ว่าแล้ว สภาพอันตรายและบรรยากาศอันตราย หมายถึงอะไรบ้าง?

ผมจะไขข้อสงสัยของทุกคนให้เองครับ โดยสภาพอันตราย คือ สภาวะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติงาน เช่น สภาวะที่อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ ตกจากที่สูง ถูกกักขัง หรือ ติดอยู่ภายใน เป็นต้น ในขณะที่บรรยากาศอันตราย คือ สภาพอากาศที่อาจทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับอันตรายในระหว่างปฏิบัติงาน เช่น ออกซิเจนน้อยกว่า 19.5% มีก๊าซ ละออง หรือ ไอ ที่สามารถติดไฟหรือระเบิดได้ รวมไปถึงค่าความเข้มข้นของสารเคมีที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ 

การทำงานในสถานที่อับอากาศ

อันตรายที่อาจจะเกิดในสถานที่อับอากาศ

อันตรายที่อาจจะเกิดในสถานที่อับอากาศ มีดังนี้ 

  1. อันตรายที่เกิดจากการขาดออกซิเจน 
  2. อันตรายจากการสูดดมแก๊สพิษ ไม่ว่าจะเป็น คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ หรือ แก๊สที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  3. อันตรายที่เกิดจากวัตถุติดไฟ หรือ การระเบิดของแก๊สจนทำให้เกิดไฟไหม้ 
  4. อันตรายที่เกิดจากฝุ่นละอองหรือแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการมองเห็น 
  5. อันตรายที่เกิดจากอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากกว่าปกติ 
  6. ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง เพราะเสียงดัง หรือ เสียงก้อง มากกว่าปกติและเกินค่าที่มาตรฐานกำหนดไว้ 
  7. ผิวหนังอักเสบจากการโดนสารเคมีหรือแก๊สพิษ 
  8. ภาวะเครียดหรือกดดันที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อับอากาศ 

เพราะอันตรายที่เกิดในสถานที่อับอากาศสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของลูกจ้างได้ ทำให้ในปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายการทำงานในสถานที่อับอากาศนั่นเองครับ 

อัปเดต! กฎหมายการทำงานในที่อับอากาศล่าสุด

อัปเดต! กฎหมายการทำงานในที่อับอากาศล่าสุด 2024

  1. นายเจ้าต้องทำป้ายบริเวณทางเข้าออกของพื้นที่อับอากาศทุกแห่ง โดยมีข้อความแจ้งว่า พื้นที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า โดยต้องมีขนาดป้ายและตัวอักษรที่สามารถมองเห็นได้จากชัดเจน และบริเวณทางเข้าออกพื้นที่อับอากาศต้องมีอุปกรณ์เฉพาะในการเปิด-ปิดทางเข้าออกด้วย
  2. นายเจ้าต้องดำเนินเรื่องตามกฎกระทรวงที่กำหนดไว้ก่อนที่จะให้ลูกจ้างเข้าออกในบริเวณพื้นที่อับอากาศ และลูกจ้างที่สามารถเข้าออกพื้นที่อับอากาศได้ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแล้วเท่านั้น 
  3. ไม่อนุญาตให้ลูกจ้างที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ หรือ โรคอื่นที่แพทย์เห็นสมควรว่าการเข้าไปปฏิบัติงานในที่อับอากาศอาจจะเป็นอันตรายต่อบุคคลนั้นๆ 
  4. นายจ้างจำเป็นที่จะต้องประเมินความเสี่ยงและอันตรายในที่อับอากาศ ถ้าหากพบว่ามีสภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย นายจ้างจำเป็นที่จะต้องกำหนดมาตรการควบคุมสภาวะที่เป็นอันตราย เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง 
  5. นายจ้างต้องคอยตรวจประเมิน สภาวะอันตรายในพื้นที่อับอากาศ และต้องบันทึกผลการตรวจประเมินทุกครั้ง 
  6. ถ้าหากนายจ้างได้มีการตรวจประเมินตามที่กฎหมายกำหนด แต่สถานที่อับอากาศยังคงมีสภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย แต่มีความจำเป็นที่จะให้ลูกจ้างหรือบุคคลเข้าไป ต้องมีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิด 
  7. ลูกจ้างทุกคนที่ปฏิบัติงานในที่อับอากาศต้องผ่านการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในสถานที่อับอากาศ
  8. ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงาน 
  9. ถ้าหากเป็นสถานที่ที่มีสภาพเสี่ยงที่จะเกิดการตกลงลงไปในที่อับอากาศ นายจ้างต้องมีการจัดให้มีสิ่งปิดกั้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน 
  10. นายจ้างต้องมีการจัดทางเข้า-ออกที่มีความปลอดภัยและสะดวก 
  11. ห้ามลูกจ้างสูบบุหรี่ หรือ วัตถุติดไฟที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานเข้าไปที่อับอากาศโดยเด็ดขาด 
  12. นายจ้างจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมตามลักษณะการใช้งาน และต้องตรวจสอบให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ชำรุดหรือเกิดความเสียหายที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย 
  13. ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสม และมีจำนวนที่เพียงพอ 
  14. นายจ้างเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ
  15. นายจ้างจำเป็นต้องตัดให้มีหนังสืออนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศทุกครั้ง 
  16. นายจ้างต้องมีการจัดอบรมให้ความรู้กับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่อับอากาศ และจำเป็นต้องเก็บหลักฐานการจัดอบรมไว้ด้วย 

สรุป 

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ ผมคาดว่าหลายคนน่าจะตระหนักถึงความสำคัญของกฎหมายการทำงานในที่อับอากาศกันได้ และปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้การปฏิบัติตามกฎไม่ใช่เพียงเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองเท่านั้น แต่เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์ของส่วนรวมด้วยครับ 

ถ้าไม่อยากห้ามข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ เราเป็นผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

E-mail: [email protected]

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

Near Miss สัญญาณเตือนที่อาจสร้างอันตรายในภายภาคหน้า 

Near Miss คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน

คำว่า อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ ทั้ง 3 คำนี้มีความหมายแตกต่างกันออกไป ซึ่งบางคนอาจจะยังคงสับสน และใช้ทั้งคำ 3 นี้ ผิดความหมายอยู่ วันนี้ผมจึงอยากจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก กับ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss คืออะไร พร้อมทั้งอธิบายความแตกต่างระหว่างคำว่า อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ ให้เข้าใจอย่างแท้จริง ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปทำความรู้จักว่า Near Miss คืออะไร พร้อม ๆ กันเลยดีกว่าครับ 

Near Miss คืออะไร 

อย่างแรกผมอยากให้ทุกคนลองทำความรู้จักกับคำว่า เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss กันก่อน โดย Near Miss คือ เหตุการณ์ที่เกือบจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือ เกือบเกิดความเสียหาย แต่เหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ เพราะสามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ อาจจะเป็นเพราะโชคช่วยก็ได้ 

เช่น คุณกำลังขับรถบนถนนที่ลื่น เนื่องจากฝนเพิ่งตกหนักไปด้วยความเร็วเกินมาตรฐานกำหนดไว้ ทำให้รถของคุณเสียหลัก แต่คุณสามารถตั้งสติและประคับประคองรถให้รอดพ้นมาได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือ สร้างความเสียหายใด ๆ เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่า Near Miss หรือ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุนั้นเองครับ 

ซึ่งหลายครั้งที่ Near Miss ถูกมองข้าม เพราะไม่ได้สร้างความเสียหายหรือเดือดร้อนใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าหากเกิด Near Miss ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องบันทึกเหตุการณ์และรายงานให้หัวหน้าทราบ เพื่อเรียนรู้จากสถานการณ์ และคิดวิธีป้องกันอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดในอนาคต 

อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

ระหว่าง อุบัติเหตุ และ อุบัติการณ์ และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ แตกต่างกันยังไง 

มีหลายคนที่สับสนระหว่าง อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss (เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ) ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เพราะทั้ง 3 คำ มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่การแยกความหมายที่แตกต่างของแต่ละคำได้ จะช่วยให้สามารถคิดวิธีป้องกันและแก้ไขได้ดีกว่าครับ 

โดยความแตกต่างระหว่าง อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และ Near Miss ได้แก่ 

  • อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความบาดเจ็บ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกะทันหันไม่มีได้ทันตั้งตัว และมักมีสาเหตุมาจากความประมาท เลินเล่อ หรือ ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจในหน้าที่และเครื่องจักรที่ใช้ 
  • อุบัติการณ์ คือ เหตุการณ์ที่สร้างความบาดเจ็บ หรือ เสียหาย แต่ไม่รุนแรง และไม่อันตรายใด ๆ ต่อชีวิต เช่น พนักงานลื่นล้มเพราะพื้นเปียก ซึ่งอุบัติการณ์มักมีสาเหตุมาจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย หรือ พฤติกรรมที่ไม่ระมัดระวัง 
  • เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss คือ เหตุการณ์ที่เกือบเกิดอุบัติเหตุแต่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน ทำให้ไม่เกิดความเสียหายหรือได้รับบาดใจใด ๆ ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย หรือ พฤติกรรมที่ประมาท 

ระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติการณ์

ในปัจจุบันสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของลักษณะการเกิดอุบัติการณ์ ได้ทั้งหมด 9 ระดับ ดังนี้ 

  1. A ระดับที่ไม่มีความรุนแรง เป็นเหตุการณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 
  2. B ระดับที่ไม่มีความรุนแรง เกิดอุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แต่ไม่ได้รับความเสียหาย หรือ อาการบาดเจ็บใด ๆ 
  3. C ระดับความรุนแรงต่ำ เกิดอุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แต่ได้รับความเสียหาย หรือ อาการบาดเจ็บเล็กน้อย มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 1,000 บาท
  4. D ระดับความรุนแรงปานกลาง เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอาการ หรือ เกิดความเสียหายเล็กน้อย มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 1,000 – 5,000 บาท 
  5. E ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้ได้รับความเสียหาย หรือ ได้รับบาดเจ็บ ทำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาตัว มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 5,000 – 10,000 บาท 
  6. F ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้ได้รับความเสียหาย หรือ ได้รับบาดเจ็บ ทำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาตัว มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 10,000 – 50,000 บาท 
  7. G ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทำให้เกิดความสูญเสีย เช่น อวัยวะ เกิดการร้องเรียน หรือ มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 50,000 – 80,000 บาท 
  8. H ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่อันตรายร้ายแรงจนเกือบเสียชีวิต เช่น การแก้ยา หัวจหยุดเต้น หรือ เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม มูลค่าความเสียหายไม่เกิน 80,000 – 100,000 บาท 
  9. I ระดับความรุนแรงมาก เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ จนทำให้เสียชีวิต หรือ มูลค่าความเสียหายมากกว่า 100,000 บาทขึ้นไป 

ถ้าหากสังเกตที่ข้อ 1 และ ข้อ 2 คือ Near Miss หรือ เหตุการณ์ที่เกือบเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้สร้างความเสียหาย หรือ อันตรายจนได้รับบาดเจ็บ

Near Miss คือสัญญาณที่ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในอนาคตได้

สรุป

ผมจึงขอสรุปให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ ว่า Near Miss คือ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียใด ๆ ไม่ได้รับบาดเจ็บและความเสียหายใด ๆ จากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน แต่จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญและแจ้งหัวหน้าทุกครั้งที่เกิด Near Miss เพื่อจะได้หาหนทางและวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้นั้นเองครับ  

ติดตามข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย