อัปเดต 2567 กฎหมายกระทรวงแรงงานในการใช้ ปั้นจั่น เครื่องจักร

อัปเดตกฎหมายกระทรวงแรงงานในการใช้ ปั้นจั่น เครื่องจักร

อัปเดตกฎหมายปั้นจั่นฉบับล่าสุด โดยปัจจุบันนั้นประเทศไทยยังคงใช้ กฎหมายปั้นจั่น 2564 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน สำหรับใครที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้อง หรือ มีการใช้งานปั้นจั่น หรือ รถเครน ผมแนะนำว่าจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับที่กระทรวงได้มีการกำหนดไว้ก่อนครับ ทั้งนี้การศึกษากฎหมายปั้นจั่น 2564 ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติหน้าที่เองและทุกคนที่มีส่วนร่วม 

โดยบทความนี้ผมได้สรุปกฎหมายปั้นจั่น 2564 ฉบับล่าสุด พร้อมทั้งตอบคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายปั้นจั่น 2564 ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยดีกว่าครับว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงบ้าง 

ทำความรู้จักกับ ‘กฎหมายปั้นจั่น’ ฉบับล่าสุดจากกระทรวงแรงงาน

บางคนอาจจะยังไม่รู้ใช่ไหมครับ ว่ากฎหมายปั้นจั่น หรือกฎหมายการใช้งานปั้นจั่น และเครื่องจักรอุตสาหกรรมฉบับ 2564 คืออะไร แล้วหมายถึงอะไร วันนี้ผมจะช่วยสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ เองครับ 

กฎหมายปั้นจั่น 2564 คือ มาตรฐานและข้อบังคับที่กระทรวงได้มีการกำหนด เพื่อใช้บริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร หม้อน้ำ และปั้นจั่น (หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า รถเครน) ซึ่งเป็นข้อกำหนดให้นายจ้างบริหารจัดการและดูแลความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้นนั่นเองครับ 

อัปเดตกฎหมายการใช้ปั้นจั่นฉบับล่าสุด

อัปเดต กฎหมายกระทรวงแรงงานในการใช้ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ากฎหมายปั้นจั่นมีมาหลายปีแล้ว โดยฉบับล่าสุด ได้แก่ กฎหมายปั้นจั่น 2564 ซึ่งรายละเอียดของกฎหมายปั้นจั่น 2564 ก็มีทั้งปรับเพิ่มและปรับลดข้อบังคับค่อนข้างหลายข้อกันเลยทีเดียว แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะผมก็ได้เตรียมสรุปคร่าว ๆ ไว้ให้ทุกคนข้างล่างนี้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยดีกว่า

1. หมวกที่ 1 เครื่องจักร

  • ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 9 เครื่องจักรต้องมีการตรวจสอบประจำปีก่อนใช้งาน 
  • ส่วนที่ 3 เครื่องเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องเชื่อมก๊าซ ข้อ 11 ในบริการที่ทำงานต้องมีการติดตั้งวิธีการทำงานของเครื่องปั๊มโลหะ เครื่องตัด เครื่องกลึง เครื่องตัด เครื่องขัด ฯลฯ 
  • ส่วนที่ 6 เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานที่สูง ข้อ 12 เครื่องจักรที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายจำเป็นต้องมีการประเมินอันตราย 

2. หมวกที่ 2 ปั้นจั่น

  • ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 58 นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบอุปกรณ์และส่วนประกอบของปั้นจั่นอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี และต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจสอบความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้ 
  • ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 60 สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่นที่ใช้เครื่องยนต์ นายจ้างต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ต่อไปนี้ 
  1. จัดให้มีที่ครอบปิดหรือฉนวนหุ้มท่อไอเสีย
  2. จัดให้มีถังเก็บเชื้อเพลิงและต้องติดตั้งท่อส่งเชื้อเพลิงที่อยู่ในลักษณะที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์เชื้อเพลิงหก รั่ว หรือล้นออกมา
  3. กำหนดมาตรการการจัดเก็บและเครื่องย้ายเชื้อเพลิงสำรองที่มีความปลอดภัย 
  • ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 62 นายจ้างต้องไม่ให้ลูกจ้างใช้ปั้นจั่นที่ชำรุด เสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมปฏิบัติงาน 
  • ส่วนที่ 2 ปั้นจั่นเหนือศีรษะและปั้นจั่นขาสูง ข้อ 75 สำหรับนายที่ให้ลูกจ้างขึ้นไปทำงานบนปั้นจั่นที่มีความสูงเกิน 2 เมตร ต้องมีบันไดพร้อมราวจับ และโครงโลหะกันตก หรือ อุปกรณ์เซฟตี้อื่น ๆ ที่สามารถเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับลูกจ้างในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานฯ
  • ส่วนที่ 3 ปั้นจั่นหอสูง ข้อ 77 สำหรับปั้นจั่นที่มีรางล้อเลื่อนที่ ที่อยู่บนแขนปั้นจั่น กฎกำหนดว่านายจ้างจำเป็นต้องมีการติดตั้งสวิตซ์หยุดการทำงานของปั้นจั่นโดยอัตโนมัติ และ มีกันชนหรือกันกระแทกที่ปลายสองข้างของราว 

3. หมวกที่ 3 หม้อน้ำ

  • ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 100 สำหรับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบควบคุมหม้อต้มหรือหม้อน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้งานและความปลอดภัย และจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • ส่วนที่ 2 หม้อน้ำ ข้อ 107 ในการติดตั้งหม้อน้ำนายจ้างต้องมีการทดสอบตามที่คู่มือกำหนด และต้องมีวิศวกรคอยดูแลควบคุมระหว่างติดตั้ง 
  • ส่วนที่ 2 หม้อน้ำ ข้อ 108 นายจ้างต้องใช้น้ำที่ได้มาตรฐาน และ มีการควบคุมคุณภาพน้ำ ที่ใช้ในหม้อน้ำ โดยน้ำที่ใช้ต้องได้มาตรฐานตามที่กฎ ASME, EN, ISO, JIS หรือ ตามหลักวิศวกรรม 
กฎหมายปั้นจั่นมีอะไรบ้าง มีผลบังคับใช้เมื่อไร

กฎหมาย ปั้นจั่นฉบับปี 2564 มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ 

เมื่อมีการอัปเดตกฎหมายปั้นจั่น 2564 มาใหม่ทำให้หลายคนเกิดความสับสนว่าแล้วกฎที่กระทรวงออกมาจะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ใช่ไหมครับ  กฎหมายปั้นจั่น 2564 มีผลบังคับใช้หลังพ้นกำหนด 90 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2564 

สรุป

หลังจากที่ได้อ่านบทความอัปเดต กฎหมายปั้นจั่น 2564 ผมหวังว่าทุกคนจะได้รับข้อมูล ข่าวสาร และสามารถใช้งานปั้นจั่น หรือ เครน ได้ถูกวิธี ถูกต้องตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติหน้าที่และผู้ที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับการใช้งานปั้นจั่น สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE คลิกเลยครับ!

สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ตำแหน่ง โฟร์แมน คืออะไร สำคัญอย่างไรต่องานก่อสร้าง

ตำแหน่ง โฟร์แมน คืออะไร สำคัญอย่างไรต่องานก่อสร้าง

จากผลสำรวจในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในอุตสาหกรรมก่อสร้างไม่ได้รับความนิยมเท่าสมัยก่อน ซึ่งมาจากปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่มองข้ามอาชีพในอุตสาหกรรมนี้ แต่จริง ๆ แล้วอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นกลุ่มอาชีพที่เงินเดือนและค่าตอบแทนที่ค่อนข้างน่าพึงพอใจ และยังมีอัตราเติบโตในหน้าที่การงานและความมั่นคงในอาชีพที่ค่อนข้างสูง 

วันนี้ผมจะมาแนะนำอาชีพที่เด็กรุ่นใหม่บางคนอาจจะยังไม่รู้จักอย่างอาชีพ โฟร์แมน คืออะไร พร้อมบอกรายละเอียดที่คนอยากประกอบอาชีพโฟร์แมนจำต้องรู้ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ 

ทำความรู้จัก กับ อาชีพโฟร์แมน

หลายคนที่ได้ยินคำว่าอาชีพโฟร์แมน อาจจะสงสัยว่าคืออะไร หรือ อาจจะนึกว่าต้องทำงานใช้แรงงาน งานหนัก งานถึก ซึ่งจริง ๆ แล้วอาชีพโฟร์แมน คือ ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง นั้นหมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องไปยกของ หรือ แบกหามของหนัก ๆ ในระหว่างที่ทำงาน แต่ต้องคอยดูแลควบคุม คุณภาพงานและความเรียบร้อย ให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางเอาไว้นั่นเองครับ 

อาชีพโฟร์แมน คือ

ตำแหน่งโฟร์แมน ทำหน้าที่อะไร 

หลังจากที่ทราบกันแล้วว่าโฟร์แมนคืออะไร เรามาดูหน้าที่อาชีพโฟร์แมนกันดีกว่าครับ ว่าจริง ๆ แล้วการเป็นโฟร์แมนต้องรับผิดชอบอะไรบ้างในแต่ละวัน 

  1. วางแผนภาพรวมและทิศทางในการก่อสร้างของโครงการ 
  2. ควบคุมและดูแลการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาในการก่อสร้างให้เป็นไปตามที่กำหนด
  3. ควบคุมการใช้วัสดุของผู้รับเหมา
  4. ตรวจเช็กสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยกำหนดไว้ 
  5. ตรวจสอบและรายงานความก้าวหน้าให้แก่ผู้ว่าจ้าง 
  6. ตรวจสอบและติดตามผลการทำงานของผู้รับเหมาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 
  7. ควบคุมให้การก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด 
ทักษะที่จำเป็นสำหรับโฟร์แมน คือ

5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับโฟร์แมน 

สำหรับผู้ที่สนใจอาชีพโฟร์แมน ผมได้เตรียมทักษะที่จำเป็นมาแนะนำทุกคน โดย 5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพโฟร์แมน คือ 

1. ทักษะในการวางแผนงาน

อย่างที่ผมได้พูดไปก่อนหน้านี้ครับว่า คนที่เป็นโฟร์แมนไม่จำเป็นต้องลงไปปฏิบัติหน้าที่เอง แต่คุณต้องคอยควบคุมการก่อสร้างของโครงการทั้งหมดให้เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ ซึ่งทักษะที่จำเป็นอย่างแรกที่โฟร์แมนต้องมี คือ ทักษะในการวางแผนงาน แต่ถึงผมจะบอกว่าโฟร์แมนไม่จำเป็นต้องลงไปปฏิบัติงานเอง แต่ถ้าหากคุณไม่เคยลงไปดูหน้างานจริง ๆ หรือ ไม่เคยคุยกับช่างเลย อาจจะทำให้คุณไม่สามารถมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น 

ดังนั้นผมแนะนำว่าโฟร์แมนที่ดีจำเป็นต้องลงไปหน้างานอย่างสม่ำเสมอ อยู่กับช่างและคนงานตั้งแต่ต้นเริ่มโครงการจนจบ การทำแบบนี้เมื่อคุณเจอปัญหาระหว่างก่อสร้างจะสามารถช่วยให้คุณพลิกแพลงสถานการณ์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 

2. ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน

ทักษะด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน เป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพโฟร์แมน เพราะเป็นอาชีพที่ต้องพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด ความต้องการ ปัญหา และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการก่อสร้างโครงการ โดยโฟร์แมนถือเป็นคนกลาง ระหว่างฝั่งลูกค้าและฝั่งผู้รับเหมา ว่าลูกค้าต้องการอะไร และ ช่างสามารถทำตามได้มากน้อยแค่ไหน หรือ มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ทำให้ทักษะด้านการติดต่อสื่อสารจำเป็นอย่างมากสำหรับอาชีพโฟร์แมน 

3. ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะ

ต้องยอมรับครับว่างานก่อสร้างเรามันจะเจอปัญหาหน้างานเกือบตลอดเวลา หรือเรียกได้ว่าในทุก ๆ วัน และบางปัญหาก็มักจะเป็นปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อน เช่น สั่งของไปแต่ของมาไม่ครบทำให้วัสดุไม่พอ ขนส่งติดปัญหา เครื่องจักรเสีย สั่งอย่างหนึ่งแต่ช่างทำอีกอย่าง หรือ ปัญหาคนงานทะเลาะกันเอง ทำให้ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะ เป็นอีกหนึ่งทักษะที่โฟร์แมนจำเป็นต้องมี  

4. ทักษะเรื่องต้นทุน 

อย่างที่เรารู้กันว่าโฟร์แมนจำเป็นต้องวางแผนงานก่อสร้างของโครงการ ซึ่งการที่จะวางแผนได้จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับต้นทุน และ ราคาวัสดุต่าง ๆ เพื่อให้ต้นทุนเป็นไปตามที่กำหนดและตกลงกันไว้ ดังนั้นโฟร์แมนจำเป็นต้องมีทักษะในการคำนวณและวางแผนเรื่องต้นทุนด้วยครับ 

5. ทักษะด้านการบริหารจัดการงาน 

โฟร์แมนคืออาชีพที่ต้องคอยควบคุมคนงานและกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามแผน ดังนั้นทักษะที่ขาดไม่ได้เลยคือทักษะด้านการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็น การบริหารคน หรือ บริหารงานก็ตาม ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้นำทุกคนจำเป็นต้องมีด้วยครับ 

สรุป

หลังจากที่อ่านบทความนี้แล้ว ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจว่าอาชีพโฟร์แมนคืออะไร มีหน้าที่ และมีความสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากแค่ไหน ทั้งนี้สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระน่ารู้ดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถดูบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ EK CRANE คลิกได้เลยครับ! 

สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รถเฮี๊ยบคืออะไร แตกต่างจากรถเครนหรือไม่ เหมาะกับงานประเภทใด

รถเฮี๊ยบคืออะไร

รถเฮี๊ยบ คำคุ้นหูของใครหลายคนที่เคยได้ยินกันบ่อย ๆ บางคนก็อาจทราบอยู่แล้วว่าเป็นชื่อเรียกของรถเครน แต่คำว่าเฮี๊ยบนั้นมาจากไหนก็มีน้อยคนนักที่จะทราบที่ไปที่มาของชื่อนี้ อีกทั้งการนำรถเฮี๊ยบมาช่วยอำนวยความสะดวกในการขนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมากหรือมีขนาดใหญ่ ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยอีกว่า แล้วรถเฮี๊ยบต่างจากรถเครนหรือไม่?

ในบทความนี้เราจึงจะพาทุกคนมารู้จักที่มาที่ไปของ รถเฮี๊ยบ ว่าแท้จริงแล้วรถเฮี๊ยบ คืออะไร แตกต่างจากรถเครนหรือไม่ เหมาะกับงานประเภทใด มาไขข้อสงสัยไปพร้อมกันเลย

รถเฮี๊ยบคืออะไร

Hiab หรือ รถเฮี๊ยบ คือ รถบรรทุกติดเครนหรือปั้นจั่นชนิดหนึ่ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Truck Loader Crane ซึ่งรถเฮี๊ยบจะมีลักษณะเหมือนรถบรรทุกทั่วไป และมีเครนติดตั้งอยู่ด้านหลังของรถสามารถปรับระดับขึ้นลงได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการยกและขนย้ายสิ่งของ นอกจากนี้รถเฮี๊ยบบางประเภทยังมีกระเช้าให้ใช้งานอีกด้วย ทำให้รถเฮี๊ยบสามารถนำมาใช้งานได้อย่างหลากหลายรูปแบบ 

สำหรับที่มาที่ไปของคำว่า “เฮี๊ยบ” นี้มาจากชื่อยี่ห้อของรถบรรทุกติดเครนแบรนด์แรกที่นำเข้ามาขายในไทย จึงทำให้ใครหลายคนเรียกติดปากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รถเฮี๊ยบมีถิ่นกำเนิดจากประเทศสวีเดน เมื่อประมาณกลางปี ค.ศ.1947 โดยเป็นชื่อสินค้าของบริษัท Hydrauliska Industri AB ประเทศสวีเดน 

ขนาดของรถเฮี๊ยบ

ขนาดของรถเฮี๊ยบ

โดยทั่วไปแล้วขนาดของรถเฮี๊ยบสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  1. รถเฮี๊ยบ หรือรถบรรทุกติดเครน ติดกระเช้าสูง 18 เมตร
  2. รถเฮี๊ยบ หรือรถบรรทุกติดเครน 3 ตัน กว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.50 เมตร
  3. รถเฮี๊ยบ หรือรถบรรทุกติดเครน 5 ตัน กว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.50 เมตร
  4. รถเฮี๊ยบ หรือรถบรรทุกติดเครน 6 ตัน กว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.50 เมตร
  5. รถเฮี๊ยบ หรือรถบรรทุกติดเครน 8 ตัน กว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.50 เมตร
  6. รถเฮี๊ยบ หรือรถบรรทุกติดเครน 10 ตัน กว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.50 เมตร

หมายเหตุ รถบรรทุกที่ติดเครื่องทุ่นแรงจะมีทั้ง รถบรรทุก 6 ล้อ 10 ล้อ และ 12 ล้อ

รถเฮี๊ยบเหมาะกับงานประเภทใด

รถเฮี๊ยบเหมาะกับงานประเภทใด

รถเฮี๊ยบ หรือรถบรรทุกติดเครนจะมีเครนติดตั้งไว้บนรถบรรทุก เหมาะสำหรับใช้ในการขนส่งหรือขนย้ายสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ โดยรถเฮี๊ยบจะมีให้เลือกใช้งานหลากหลายประเภทตามการรองรับน้ำหนักของตัวรถ ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 3 ตัน 5 ตัน และ 10 ตัน แถมยังปรับระดับความสูง-ต่ำได้ จึงทำให้สามารถใช้ขนย้ายของได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยรถเฮี๊ยบเหมาะกับงานประเภทย้ายสิ่งของหนัก ๆ หรือใช้ในการยก บรรทุกสินค้า 

  • ใช้บรรทุกขนย้ายสิ่งของ เช่น วัสดุก่อสร้าง เหล็ก ปูน อิฐ อุปกรณ์ต่าง ๆ เครื่องจักรขนาดใหญ่ กระจก ท่อน้ำ
  • ใช้เป็นเครนยกของ เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ โฟลค์ลิฟท์ (Forklift) ยกต้นไม้ใหญ่ ม้วนสายไฟ โครงหลังคา ถังน้ำมัน
  • ช่วยในงานก่อสร้าง 
  • ใช้ร่วมกับรถกระเช้าเพื่อทำงานติดตั้งต่าง ๆ เช่น ติดตั้งกระจก ติดตั้งป้าย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

วิธีการใช้งานรถเฮี๊ยบ

ก่อนการใช้งานรถเฮี๊ยบจำเป็นจะต้องศึกษาคู่มือการใช้งานให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือสามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ สำหรับวิธีการใช้งานรถเฮี๊ยบมีดังต่อไปนี้

  1. ศึกษาอ่านคู่มือและทำความเข้าใจการใช้งาน และชั้นตอนการบำรุงรักษารถเฮี๊ยบอย่างถี่ถ้วน นอกจากนี้ควรมีคู่มือติดไว้กับตัวรถตลอดเวลา
  2. ก่อนใช้งานต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ของที่จะทำการยกและอุปกรณ์ช่วยยก ต้องมีน้ำหนักไม่เกินตัวรถเฮี๊ยบ และพิกัดรอก รวมถึงควรใช้หูยกยกของเสมอ
  3. ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องให้แน่ใจว่าพร้อมใช้งานอย่างปลอดภัย ไม่หลวม ไม่หย่อน เช่น ตะขอยก สลิง โซ่ เป็นต้น
  4. ตรวจสอบให้มั่นใจว่าของที่จะยกมั่นคงแล้ว 
  5. ห้ามยกของในขณะที่มีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในบริเวณที่ทำงาน
  6. ไม่ควรควบคุมเครื่องจักรอย่างรุนแรง
  7. ลงของด้วยความระมัดระวัง ภายใต้การควบคุมที่ตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัย
ความแตกต่างระหว่างรถเฮี๊ยบกับรถเครน

รถเฮี๊ยบกับรถเครนแตกต่างกันไหม?

อย่างที่กล่าวไปว่ารถเฮี๊ยบ คือหนึ่งในประเภทของรถเครนเคลื่อนที่ หรือ Mobile Crane ซึ่งรถเฮี๊ยบเป็นชื่อเรียกของเครนติดรถบรรทุก ดังนั้นรถเครนและรถเฮี๊ยบจึงไม่แตกต่างกัน โดยประเภทของรถเครนเคลื่อนที่นั้นสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทคือ

  1. รถเครนบรรทุก (Truck Loader Crane) หรือที่เรียกกันว่า รถเฮี๊ยบ นั่นเอง
  2. รถเครนตีนตะขาบ (Crawler Crane)
  3. รถเครน 4 ล้อ (Rough Terrain Crane)
  4. รถเครนล้อยาง (All Terrain Crane)

สรุป

รถเฮี๊ยบ คือชื่อเรียกของเครนติดบรรทุกที่ติดปากใครหลาย ๆ คนมานาน รถเฮี๊ยบสามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายประเภท ทั้งยกขนย้ายสิ่งของ ใช้ในงานก่อสร้าง หรือจะใช้งานร่วมกับกระเช้าก็ได้เช่นกัน รถเฮี๊ยบสามารถช่วยให้ทำงานได้สะดวก ร่นระยะเวลา และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก่อนการใช้รถเฮี๊ยบทุกครั้งผู้คุมควรตรวจสอบความเรียบร้อยทั้งหมดให้ถี่ถ้วน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

ทั้งนี้ ทางบริษัท เอกเครน ไม่มีบริการให้เช่ารถเฮี๊ยบ แต่สำหรับผู้ที่สนใจเช่า โมไบล์เครน (Mobile Crane) หรือรถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้ให้บริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

วิธีคำนวณ Load Chart ตารางการรับน้ำหนักของรถเครน

การคำนวณ Load Chart ตารางรับน้ำหนัก เพื่อความปลอดภัยในการใช้เครน

บางคนอาจจะเคยได้ยิน หรือ เคยได้อ่านข่าว ลวดสลิงของรถเครนขาด รถปั้นจั่นล้ม หรือ วัตถุที่ยกตกหล่นทำให้ทรัพย์สินบริเวณรอบ ๆ ได้รับความเสียหาย หรือ อาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แน่นอนว่าเป็นเหตุการณ์ที่อันตรายและไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น 

วันนี้ผมจึงจะมาแนะนำทุกคนเกี่ยวกับ การคำนวณเครน หรือ คำนวณน้ำหนักที่เครนสามารถรับได้ไหว หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Load Chart เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ถ้าหากพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่า ว่าวิธีการคำนวณเครน ต้องทำยังไง 

การคำนวณ Load Chart สำคัญอย่างไร 

บางคนอาจจะยังสงสัยว่าทำไมต้องคำนวณเครน การคำนวณเครน (Load Chart) สำคัญอย่างไร ? จริง ๆ แล้ว การคำนวณเครนถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เลยทีเดียวครับ เพราะถ้าหากน้ำหนักวัตถุที่ยก กับ น้ำหนักที่รถเครนสามารถยกได้ ไม่เหมาะสมกัน สามารถเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่ส่งผลกับทรัพย์สินและชีวิตของผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ได้ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

วิธีคำนวณน้ำหนักที่เครนสามารถยกได้ 

1. คำนวณหาระยะยก B หรือ ระยะทำงาน

อย่างแรกที่ต้องทำในการคำนวณเครน คือ การคำนวณหาระยะทำงาน หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Working radius โดยสามารถหาได้จาก 

ระยะยก B = การวัดตั้งแต่จุดศูนย์กลางของเอวสวิงเครนไปจนถึงจุดที่วางชิ้นงาน 

2. คำนวณหาระยะความสูง

ขั้นต่อมาในการคำนวณเครนได้แก่การหาระยะความสูง หรือ Lifting Hight โดยทุกคนสามารถหาได้จาก

ระยะความสูง = ความสูงที่จุดวาง + ความสูงชิ้นงานและอุปกรณ์ช่วยยก + ระยะเผื่อที่ 1 และ 2 

3. คำนวณหาระยะความยาวบูม 

ขั้นที่ 3 ในการคำนวณเครน หลังจากที่เราได้ค่าระยะทำงาน และ ระยะความสูง แล้วจะช่วยให้เราสามารถหาความยาวบูมที่จะช่วยให้เราสามารถอ่านค่าตารางยก (Load Chart) ได้ โดยสามารถหาระยะความยาวบูมได้จาก

  1. ทำเครื่องหมาย ตามระยะการทำงานที่หาได้ (กราฟแนวนอน)
  2. ทำเครื่องหมาย ตามระยะความสูงที่หาได้ (กราฟแนวตั้ง)
  3. ลากเส้นจากเครื่องหมายที่ทำไว้ทั้ง 2 จุด จบบรรจบกัน และดูว่าจุดที่ได้อยู่ใต้สวิงบูมที่ความยาวเท่าไหร่ 
  4. อ่านค่าองศาระยะความยาวบูมที่ได้ 
Load chart การคำนวณเครน

4. อ่านตาราง Loading Chart เพื่อค่าพิกัดยก

หลังจากที่เราได้ค่าความยาวบูมแล้วก็สามารถอ่านค่าตารางยก หรือ Load Chart ซึ่งก็จะช่วยให้เราทราบว่าค่าพิกัดยกของรถเครนคันนั้น ๆ 

5. การคำนวณน้ำหนักที่เครนสามารถยกได้ทั้งหมด 

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายในการคำนวณเครนแล้วครับ คือ การคำนวณน้ำหนักที่เครนสามารถยกได้ โดยหาจาก 

น้ำหนักที่เครนสามารถยกได้ = น้ำหนักชิ้นงาน + น้ำหนักสลิง และ ตะขอเครน + น้ำหนักของอุปกรณ์ช่วยยก 

ความหมายข้อความและสัญลักษณ์บน Load Chart 

นอกจากการคำนวณเครนแล้ว การเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์บน Load Chart ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ดังนั้นผมแนะนำว่าผู้ที่ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถเครน รถปั้นจั่น จำเป็นต้องศึกษาความหมายข้อความ และ สัญลักษณ์ 

โดยวันนี้ผมได้นำข้อความ และ สัญลักษณ์ที่จำเป็นเกี่ยวกับการอ่าน Load Chart มาแนะนำครับ 

  1. หน่วยน้ำหนักที่ใช้นิยมใช้เป็นหน่วยน้ำหนัก ตัน (ton)
  2. รุ่นผลิต จะช่วยให้ทราบประเภทเครน และ ความสามารถในการยกน้ำหนัก เช่น TR250M-6 หมายความว่า รถเครนยี่ห้อ Tanano ประเภท Rough Treeain Carne สามารถยกได้ 25 ตัน 
  3. ความกว้างของขาเครน จะช่วยให้ตอนอ่านตาราง Load Chart ว่าภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ควรใช้ความกว้างของขาเครนเท่าไหร่ 

สรุป

นอกจากความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทรถเครนที่จะทำให้ใช้รถเครนได้ตรงวัตถุประสงค์แล้ว การคำนวณเครน การอ่านตาราง Load Chart เพื่อหาน้ำหนักที่สามารถยกได้ เป็นอีกเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ดังนั้นทุกบริษัทที่ให้บริการรถเครน หรือ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง จำเป็นต้องเทรนและให้ความรู้กับพนักงานเกี่ยวกับการคำนวณเครน เพื่อความปลอดภัยในการทำงานครับ 

บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้นำด้านรถโมบายเครน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี เน้นความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานและผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ เป็นหลัก พนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมการใช้รถเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE

การให้สัญญาณมือเครนที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

การให้สัญญาณมือเครนที่ถูกต้อง เสริมความแม่นยำในการทำงาน

นอกจากการวิธีการใช้รถเครนที่ถูกต้องและความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในงานก่อสร้างแล้ว การให้สัญญาณมือเครน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยทั้งผู้ใช้รถเครนและผู้ให้สัญญาณจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการให้สัญญาณมือเครนระดับสากล เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน 

บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับการสัญญาณมือเครน ที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ 

ทำไมต้องมีสัญญาณมือเครน

ทำไมต้องมีสัญญาณมือเครน? สัญญาณมือเครนมีความสำคัญอย่างไร ? ผมสามารถตอบได้เลยครับ ว่าสัญญาณมือเครนมือเป็นสัญญาณที่มีความสำคัญและไม่สามารถขาดได้โดยเด็ดขาด เพราะการให้สัญญาณมือเครน จะช่วยให้ผู้ขับรถเครนสามารถรับรู้ว่าควรเคลื่อนที่ไปทางไหน และ ยังช่วยให้รับรู้บริเวณจุดบอดต่าง ๆ ที่ผู้ขับรถเครนไม่สามารถมองเห็นได้

ซึ่งการให้สัญญาณมือเครน นอกจากจะสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานได้แล้ว ยังช่วยให้การทำงานนั้นเป็นไปได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า ภายในบริเวณไซต์ก่อสร้างนั้นจะมีเสียงดังจากการดำเนินงานของเครื่องจักรต่าง ๆ ทำให้การสื่อสารด้วยเสียง (หรือวิทยุสื่อสาร) นั้นผิดพลาดได้ง่าย จึงทำให้การใช้สัญญาณมือนั้นถูกคิดค้นขึ้นมา ซึ่งได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายและเป็นมาตรฐานสำคัญสำหรับผู้ใช้งานเครนทั่วโลก

นอกจากนี้สัญญาณมือเครนยังมีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ด้วยครับ เพราะจะช่วยให้ผู้ที่อยู่บริเวณโดยรอบ สามารถรับรู้และหลีกเลี่ยงบริเวณที่เครนกำลังทำงานอยู่เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย

โดยสัญญาณมือเครนที่ทาง Ek Crane จะแนะนำให้ทราบภายในบทความนี้ เป็นสัญญาณมือเครนแบบสากลซึ่งสามารถใช้ส่งสัญญาณขณะใช้งานเครนร่วมกันได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของภาษาที่ใช้ทำงานร่วมกันเลยทีเดียว

รวมสัญญาณมือเครนสากล เซฟไปใช้ได้เลย

16 สัญญาณมือเครนสากล ที่จะช่วยให้การทำงานปลอดภัย

หลังจากที่รู้ประโยชน์ของสัญญาณมือเครนแล้ว เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าสัญญาณมือเครนสากลที่ทั่วโลกใช้งานกันนั้นมีอะไรบ้าง และแต่ละสัญญาณมีความหมายว่าอย่างไร 

สัญญาณหยุด

  1. หยุดยกวัตถุ

คว่ำฝ่ามือและเหยียดแขนด้านซ้ายออกไปจนสุดแขน ในระดับไหล่ พร้อมเหวี่ยงไป-มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สัญญาณมือเครนหยุดยกวัตถุ

  1. หยุดยกแบบฉุกเฉิน 

คว่ำฝ่ามือลงและเหยียดแขนทั้งสองข้างจนสุดในระดับหัวไหล่ พร้อมเหวี่ยงไป-มาในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สัญญาณมือเครนหยุดยกวัตถุฉุกเฉิน

  1. หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด 

กำมือทั้งสองข้างเข้าหากันโดยให้มืออยู่ระดับเอว เพื่อส่งสัญญาณให้หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด 

สัญญาณรอก

  1. ใช้รอกเล็ก 

งอกข้อศอกข้างใดข้างหนึ่งขึ้นพร้อมทั้งกำมือให้อยู่ในระดับหัวไหล่ โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มืออีกข้างแตะที่ข้อศอกข้างที่งอ เพื่อให้สัญญาณมือเครนว่าให้ใช้รอกเล็ก

  1. ใช้รอกใหญ่

กำมือข้างใดข้างหนึ่ง แล้วยกมือขึ้นระดับเหนือศีรษะแล้วเคาะเบา ๆ บนศีรษะของตนเอง เพื่อให้สัญญาณใช้รอกใหญ่ 

  1. เลื่อนรอกขึ้น 

งอข้อศอกข้างใดข้างหนึ่งตั้งฉาก ใช้ชี้นิ้วชี้ขึ้นแล้วจึงค่อย ๆ หมุนเป็นวงกลม เพื่อเป็นสัญญาณมือเครนบอกให้เลื่อนรอกขึ้น

  1. เลื่อนรอกลง

กางแขนข้างใดข้างหนึ่งออกเล้กน้อย ใช้นิ้วชี้ชี้ลงพื้น แล้วค่อย ๆ หมุนเป็นวงกลม แล้วจึงกำมือทั้งสองข้างคว่ำลงแล้วยกขึ้น 

สัญญาณบูม

  1. ยกบูม 

กำมือพร้อมเหยียดแขนขวาออกจนสุดแขน และใช้หัวแม่มือชี้ขึ้นข้างบน เพื่อเป็นสัญญาณมือเครนบอกให้ยกบูม 

  1. นอนบูม

กำมือพร้อมเหยียดแขนขวาออกจนสุดแขน และใช้หัวแม่มือชี้ลงที่พื้น เพื่อเป็นสัญญาณมือเครนบอกให้นอนบูม 

  1. ยกบูมพร้อมเลื่อนรอกลง 

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกสุด แบมือให้นิ้วโป้งชี้ลงแล้วกวักนิ้วทั้งสี่นิ้วที่เหลือไป-มา เพื่อให้สัญญาณมือเครนว่ายกบูมพร้อมเลื่อนรอกลง 

  1. ยกบูมพร้อมเลื่อนรอกขึ้น 

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกสุด แบมือให้นิ้วโป้งขึ้นฟ้าแล้วกวักนื้วทั้งสี่นิ้วที่เหลือไป-มา เพื่อให้สัญญาณมือเครนว่ายกบูมพร้อมเลื่อนรอกขึ้น

  1. หดบูม 

กำมือทั้งสองข้างคว่ำลง แล้วยกขึ้นเสมอเอว ให้นิ้วโป้งทั้งสองข้างชี้เข้าหาลำตัว

  1. ยึดบูม 

กำมือทั้งสองข้างแล้วหงายข้อมือ ยกขึ้นระดับเสมอเอว และเหยียดนิ้วโป้งของมือทั้งสองข้างออกนอกลำตัว  

  1. หมุนบูมไปทิศทางที่ต้องการ 

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งจนสุดแขน และชี้ไปตามทิศทางที่ต้องการให้หมุนบูมไป เพื่อเป็นการบอกให้หมุนบูมไปทิศนั้น

สัญญาณมืออื่น ๆ

  1. ยกวัตถุขึ้นอย่างช้า ๆ 

ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งขึ้น โดยคว่ำฝ่ามือไว้ในระดับซ้าย และใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างชี้ขึ้นตรงกลางฝ่ามือแล้วค่อยหมุนช้า ๆ เพื่อเป็นการบอกให้ยกวัตถุขึ้นอย่างช้า ๆ 

  1. สั่งเดินหน้า 

เหยียดฝ่ามือด้านขวาออกตรงไปข้างหน้า ฝ่ามือตั้งตรงในระดับไหล่ และจึงทำท่าผลักไปในทิศทางที่ต้องการให้เครนเคลื่อนที่ 

การให้สัญญาณมือเครนแบบสากล

สรุป

หลังจากที่ทุกคนได้อ่านบทความนี้ หลายคนน่าจะเข้าใจวิธีการใช้สัญญาณมือเครนที่ถูกต้องกันแล้ว แน่นอนว่าการให้สัญญาณมือเครนถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไซต์งานก่อสร้างจำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่องสัญญาณมือเครน เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้บริษัทรับเหมาก่อสร้างก็ควรมีการเทรนและฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้สัญญาณมือเครนระดับสากล แก่พนักงานด้วยเช่นเดียวกัน 

บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้นำด้านรถโมบายเครน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี เน้นความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานและผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ เป็นหลัก พนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมการใช้รถเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

10 ข้อควรทราบในการบริหารความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

10 ข้อควรทราบเพื่อเสริมความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

ความปลอดภัยในงานก่อสร้างถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่สามารถมองข้าม หรือ ละเลยได้โดยเด็ดขาด เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา นอกจากทรัพย์สินที่เสียหายแล้ว อาจจะรวมไปถึงชีวิตของผู้ปฏิบัติหน้าที่และผู้ที่อยู่บริเวณรอบๆ นั่นจึงทำให้ความปลอดภัยในงานก่อสร้างเป็นสิ่งสำคัญ 

บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปดู 10 ข้อควรทราบในการบริหารความภัยในงานก่อสร้าง ที่จะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝันระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ 

ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

สาเหตุที่ก่อเกิดให้เกิดอันตรายในงานก่อสร้าง 

ก่อนจะทราบว่า 10 ข้อควรทราบในการบริหารความปลอดภัยในงานก่อสร้างมีอะไรบ้าง ผมอยากให้ทุกคนทราบถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายในงานก่อสร้างกันก่อนครับ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 

  1. สาเหตุที่เกิดจากตัวบุคคล หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ โดยเกิดจากความประมาท เช่น ไม่สวมอุปกรณ์เซฟตี้ หรือ อุปกรณ์นิรภัยระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่
  2. สาเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น งานก่อสร้างบนอาคารที่มีความสูงและมีแสงสว่างจ้าจนทำให้ตาพร่ามัว หรือ ลมแรงที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานบนนั่งร้าน เป็นต้น
  3. สาเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์และเครื่องจักร โดยเกิดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน หรือ ขาดการตรวจสภาพ ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี ทำให้อุปกรณ์ชำรุดและเสียหาย 

องค์ประกอบของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

หากคุณต้องการสร้างความปลอดภัยในงานก่อสร้าง จำเป็นต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้ ได้แก่ 

1. ความปลอดภัยส่วนบุคคล

องค์ประกอบความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างแรก คือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทุกคนจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้งาน และ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ยังต้องรักษากฎระเบียบที่ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด จำเป็นต้องสวมเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์นิรภัยให้ถูกต้อง

2. ความปลอดภัยของสถานที่

องค์ประกอบความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างที่ 2 คือ ในเขตก่อสร้างจำเป็นต้องมีการทำรั้วกันบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อป้องกันอันตรายและกันไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในเขตก่อสร้าง และจำเป็นต้องแบ่งบริเวณจัดเก็บอุปกรณ์ออกจากเขตก่อสร้างอย่างชัดเจน นอกจากนี้ควรมีแผ่นกั้นกันวัตถุที่อาจจะตกหล่นด้วย  

3. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักร 

องค์ประกอบความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างที่ 3 คือ อุปกรณ์และเครื่องจักรทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างต้องมีการดูแลรักษาและจัดเก็บที่ถูกวิธี มีการตรวจเช็กสภาพตามที่กฎหมายกำหนดไว้ พร้อมทั้งต้องใช้อุปกรณ์ในงานก่อสร้างให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์นั้น ๆ 

องค์ประกอบของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

10 ข้อ ที่ควรทราบเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานก่อสร้าง 

  1. ผู้ใช้งานเครื่องจักรจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น ๆ เพื่อให้รู้วิธีใช้งานที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยสร้างความปลอดภัยในงานก่อสร้างได้ 
  2. เครื่องจักรทุกประเภทต้องใช้งานถูกจุดประสงค์ของอุปกรณ์นั้น ๆ ห้ามใช้อุปกรณ์ผิดวัตถุประสงค์โดยเด็ดขาด เพราะสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ 
  3. จำเป็นต้องมีการทดลองการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องจักรก่อนใช้งานจริงอยู่เสมอ 
  4. ต้องมีการดูแลรักษาและตรวจเช็กสภาพอุปกรณ์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันอุปกรณ์ชำรุด 
  5. ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต้องสวมอุปกรณ์นิรภัยตลอดเวลา เพื่อรักษาความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
  6. คอยสังเกตป้ายตามบริเวณที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ เพราะไซต์งานก่อสร้างค่อนข้างใหญ่ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนไม่สามารถรู้ขั้นตอนการทำงานของส่วนอื่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 
  7. ควรแบ่งสัดส่วนของไซต์งานก่อสร้างให้ชัดเจน เช่น บริเวณไซต์งาน บริเวณที่จัดเก็บอุปกรณ์เครื่อง และบริเวณที่พักอาศัย 
  8. บริเวณไหนที่มีความเสี่ยง ควรทำป้ายหรือสัญลักษณ์เตือนให้ผู้คนอื่นรับรู้
  9. ควรติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เพลิงไหม้ เป็นต้น 
  10. เพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง จำเป็นต้องกำหนดเวลาเข้าออกของแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน 

สรุป

ความปลอดภัยในงานก่อสร้างเป็นเรื่องที่ทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ  เพราะบริเวณไซต์งานสามารถเกิดอันตรายหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานไม่ควรที่จะประมาท หรือ ละเลยกฎระเบียบที่กำหนดไว้ เพราะอาจจะทำมาสู่อันตรายถึงชีวิตและทรัพย์สิน  นอกจากนี้บริษัทรับเหมาก่อสร้างทุกบริษัทควรที่จะต้องมีการอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในงานก่อสร้างให้กับพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถลดอันตรายจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันและช่วยลดอัตราการศูนย์เสียลดได้ 
บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้นำด้านรถโมบายเครน โดยเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี คุณสามารถมั่นใจเรื่องความปลอดภัยได้ เพราะพนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี และมีใบเซอร์คนขับเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย