ทำความรู้จักอาชีพ จป (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน) คือใคร มีหน้าที่อะไร

ทำความรู้จักอาชีพ จป (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน) คือใคร มีหน้าที่อะไร

ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งในคนที่คลุกคลีกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือ โรงงานต่าง ๆ คุณน่าจะคุ้นเคยกับอาชีพ จป หรือที่เรียกเต็ม ๆ ว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย กันมาบ้าง แต่บางคนก็อาจจะยังไม่ทราบใช่ไหมครับ ว่า จป คืออะไร มีหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไรต่อโรงงาน 

วันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าอาชีพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป คืออะไร พร้อมตอบทุกคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับอาชีพนี้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย 

จป คือใคร ? 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป คือ หนึ่งในอาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เพราะมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของระบบต่าง ๆ ทั้งในโรงงานและตัวอาคาร ไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบลิฟต์ รวมไปถึงการตรวจสอบความแข็งแรงของตัวอาคาร ทั้งหมดนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายในระหว่างที่เจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ กำลังปฏิบัติงาน 

ระดับของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 

ระดับของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 

ในปัจจุบันสามารถแบ่ง จป ออกเป็น 5 ระดับใหญ่ ได้ดังนี้ 

  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
  2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
  3. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ 
  4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง 
  5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค 

โดยทุกตำแหน่งจะต้องผ่านการอบรมจากกระทรวงแรงงานมาเป็นพิเศษ และแต่ละระดับก็จะมีความรับผิดชอบและหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปครับ 

ทั้งนี้อาชีพ จป ถือเป็นอาชีพที่โอกาสตกงานค่อนข้างน้อยเพราะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน สำหรับใครที่สนใจอยากทำงานสายนี้ ต้องเรียนจบจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน จป วิชาชีพ และมหาวิทยาลัยนั้นต้องได้รับการขึ้นทะเบียนหลักสูตรกับกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น ถึงจะสามารถประกอบอาชีพ จป ได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 

13 หน้าที่หลักของ จป วิชาชีพ 

หลังจากที่ทุกคนเข้าใจแล้วว่าอาชีพ จป คืออะไร เรามาลองดูกันดีกว่าครับ ว่าหน้าที่หลัก ๆ ตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ของอาชีพ จป มีอะไรบ้าง 

  1. ประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยอาชีวอนามัยในที่ทำงาน 
  2. ประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบการให้เป็นไปตามแบบแผนหรือมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้
  3. ตรวจสอบและแนะนำให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 
  4. ประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงาน
  5. ประเมินอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อนำเสนอให้แก่นายจ้าง 
  6. แนะนำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมใในที่ทำงาน 
  7. ฝึกสอนและอบรมลูกจ้างเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน 
  8. ตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือ นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 
  9. หาสาเหตุและประเมินการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือ อุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งสร้างความเดือดร้อนที่เกิดมาจากการทำงานของลูกจ้าง พร้อมรายงานผลการตรวจสอบและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้แก่นายจ้าง 
  10. เก็บรวบรวมสถิติข้อมูลและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการอันตราย อุบัติเหตุ การเจ็บป่วย ที่มีสาเหตุมาจากการทำงานของลูกจ้างให้แก่นายจ้าง 
  11. แนะนำวิธีป้องกันและแนวทางแก้ไขปัญหาในการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 
  12. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมให้แก่ลูกจ้าง ก่อนเข้าปฏิบัติงาน และจัดอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 
  13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่นายจ้างมอบหมาย 
13 หน้าที่หลักของ จป วิชาชีพ 

สถานประกอบการที่กฎหมายกำหนดให้มี จป 

  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม 
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับปิโตรเคมี 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  • อุตสาหกรรมเสื้อผ้า อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือ อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย 
  • อุตสาหกรรมเครื่องหนัง 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้ 
  • อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ 
  • อุตสาหกรรมผลิตยาง
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก 
  • อุตสาหกรรมกระดาษ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ 
  • อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์ หรือ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  • อุตสาหกรรมโลหะ 
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่โลหะ 
  • อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 
  • อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า 
  • อุตสาหกรรมเครื่องจักร เครื่องมือกล 
  • อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรือ อุปกรณ์สำหรับยานพาหนะ 
  • อุตสาหกรรมเครื่องประดับ 

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่กฎหมายบังคับให้มีเจ้าหน้าที่ จป ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการทำงานและสถานที่ทำงานนั่นเองครับ 

สรุป

หลังจากอ่านบทความนี้หลายคนน่าจะเข้าใจว่า จปคืออะไร พร้อมทั้งความสำคัญของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยกันแล้ว ทั้งนี้กฎหมายได้มีการกำหนดให้หลาย ๆ อุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ ปจ ก็เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานงาน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ จป ยังสามารถช่วยแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ทำให้ความเสียหายที่ได้รับรุนแรงน้อยลง 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ทำความเข้าใจ หลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น” ตามกฎหมาย 2567

ทำความเข้าใจ หลักสูตรอบรม "การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น" ตามกฎหมาย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรถเครน หรือ ปั้นจั่น นายจ้างจำเป็นต้องจัดการฝึกฝนและอบรมปั้นจั่นตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานลง 

วันนี้ผมจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ความสำคัญของหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามที่กฎหมายใหม่กำหนดไว้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ 

ทำไมต้องมีหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ? 

ปั้นจั่นเป็นเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ โดยมีหน้าที่ยกเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องผ่านหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ เพราะถ้าหากเกิดข้อผิดพลาด หรือ อุบัติเหตุก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทันที  

โดยวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้มีการจัดอบรมหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ มีดังนี้ 

  1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกับเครนปั้นจั่นอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 
  3. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินพิกัดการยกวัตถุ สิ่งของโดยใช้หลักการคำนวณที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 
  4. เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจวิธีการตรวจสอบ ซ่อมบำรุง และรักษาปั้นจั่นได้อย่างถูกต้อง 
  5. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินความเสี่ยงและหาวิธีป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรัดกุม  

กฎหมายใหม่เกี่ยวกับหลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนและปั้นจั่น” 

  • ข้อที่ 1 กำหนดให้ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุหรือผู้ควบคุมการใช้งานปั้นจั่น ต้องได้ผ่านการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ.2554 
  • ข้อที่ 2 ประกาศนี้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
  • ข้อที่ 3 กฎกระทรวงเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น บังคับใช้กับปั้นจั่นทุกชนิดที่มีขนาดพิกัดการยกปลอดภัย ตามที่ผู้ผลิตกำหนดตั้งแต่ 1 ตันขึ้นไป 
  • ข้อที่ 4 ความหมายของ ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณมือ ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
  1. ผู้บังคับปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บังคับการทำงานของปั้นจั่นหรือเครนให้ทำงานตามที่วางแผนไว้ 
  2. ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ใช้สัญญาณมือหรือสัญญาณเพื่อสื่อสารกับผู้บังคับปั้นจั่น 
  3. ผู้ยึดเกาะวัสดุ หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ผูก มัด หรือ เกี่ยววัสดุเพื่อใช้ปั้นจั่นยก
  4. ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น หมายถึง เจ้าหน้าที่มีหน้าที่สั่งการให้ผู้บังคับปั้นจั่นปฏิบัติตาม และมีหน้าที่พิจารณาพิกัดน้ำหนักที่ใช้ยก 
หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ 

หลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรมเครนปั้นจั่น ตามที่กฎกระทรวงกำหนด

กฎกระทรวงบังคับให้นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณ ผู้ยึดเกาะวัตถุ และ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น โดยนายจ้างต้องมีการจดบันทึกรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม ชื่อวิทยากร รวมไปถึงวันและเวลาที่ฝึกอบรมเก็บไว้เป็นหลักฐาน หากพนักงานตรวจแรงงานขอตรวจสอบต้องมีหลักฐานแสดงว่าตนได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดไว้ 

โดยหลักเกณฑ์วิธีการฝึกอบรม ได้แก่ 

  1. นายจ้างต้องแจ้งกำหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนการจัดฝึกอบรม 
  2. นายจ้างต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดตามหลักสูตรกำหนดไว้
  3. นายจ้างต้องจัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยกำหนดต้องผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 
  4. นายจ้างต้องออกใบรับรองให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรม 

นอกจากนี้กฎกระทรวงยังกำหนดให้การฝึกอบรมภาคทฤษฎีห้องละไม่เกิน 60 คนต่อวิทยากร 1 คน  และในภาคทดสอบภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย 1 คน และปั้นจั่น 1 เครื่องต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 20 คน 

หลักสูตรอบรม “การทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่น”

ในปัจจุบันหลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ สามารถแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่นอยู่กับที่ และ หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ และทั้ง 2 หลักสูตรจำเป็นต้องมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง 

1. หัวข้อหลักสูตรอบรมเครน ปั้นจั่นชนิด “เคลื่อนที่” 

1.1 ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงข้อ 11  

1.2 ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น 

1.3 ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น 

1.4 ระบบการไฮดรอลิกเบื้องต้น 

1.5 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch 

1.6 วิธีการอ่านค่าตารางพิกัดยก 

1.7 วิธีใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร 

1.8 วิธีเลือกใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ยก 

1.9 วิธีการประเมินน้ำหนักวัตถุ 

1.10 วิธีการผูกมัดและยกเคลื่อนย้ายวัตถุ 

1.11 วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา และ วิธีใช้คู่มือการใช้งาน 

2. หัวข้อหลักสูตรอบรมเครน ปั้นจั่นชนิด “อยู่กับที่”

2.1 ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงข้อ 11  

2.2 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch 

2.3 ระบบไฟฟ้า 

2.4 วิธีใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร 

2.5 วิธีการผูกมัดและยกเคลื่อนย้ายวัตถุ 

2.6 วิธีการประเมินน้ำหนักวัตถุ 

2.7 วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา และ วิธีใช้คู่มือการใช้งาน 

สรุป

หลักสูตรอบรมเครนปั้นจั่น ตามกฎหมายใหม่ถือเป็นข้อบังคับที่นายจ้างและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานกับปั้นจั่น รถเครนควรให้ความสำคัญ และไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุในที่ทำงานได้ 

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อุปกรณ์จำเป็นที่ต้องติดตั้งไว้ในปั้นจั่นตามกฎกระทรวง ฉบับอัปเดต 2567

อุปกรณ์จำเป็นที่ต้องติดตั้งไว้ในปั้นจั่นตามกฎกระทรวง

วันนี้ผมพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องติดตั้งบนปั้นจั่นตามกฎกระทรวงแรงงาน ฉบับล่าสุดที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน บอกเลยครับว่านายจ้างและเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานกับปั้นจั่น หรือ รถเครน ห้ามพลาดบทความนี้ 

ประเภทของปั้นจั่น หรือ เครน 

อย่างที่หลายคนทราบกันดีครับ ว่าปั้นจั่น หรือ เครน เป็นอุปกรณ์ทุ่นแรงที่นิยมใช้กันเป็นอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือ กิจกรรมที่ต้องเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดใหญ่ หรือ วัตถุที่มีน้ำหนักจำนวนมาก โดยสามารถแบ่งประเภทของปั้นจั่นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

  1. ปั้นจั่นที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น รถเครน หรือ ปั้นจั่นที่ติดตั้งบนรถบรรทุก
  2. ปั้นจั่นที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ปั้นจั่นเหนือหัว และ ปั้นจั่นขาสูง

สำหรับใครที่อยากจะศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับปั้นจั่นเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น วิธีใช้ การเช็คสภาพ หรือ ประเภทของปั้นจั่นอย่างละเอียด ทาง EK Crane ได้เตรียมบทความ ปั้นจั่นคืออะไร? แตกต่างจากรถเครนอย่างไรบ้าง ไว้ช่วยตอบคำถามที่หลายคนสงสัยแล้วครับ 

อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งบนปั้นจั่นมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งบนปั้นจั่น ฉบับอัปเดตปี 2567 

กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงาน ปี 2564 ได้มีการกำหนดให้นายจ้างต้องติดตั้งอุปกรณ์บนปั้นจั่น ดังต่อไปนี้ 

  1. ต้องมีสลิงพันอย่างน้อย 2 รอบในม้วนสลิงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์สลิงหมดม้วนแล้วหมุนกลับด้านข้ามร่องในม้วนสลิง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสลิง
  2. ต้องมีที่ปิดปากตะขอและที่ปิดปากต้องสามารถใช้งานได้จริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุวัตถุร่วงหล่นระหว่างเคลื่อนย้าย 
  3. ต้องติดตั้งถังดับเพลิงไว้ในห้องผู้ควบคุมปั้นจั่น หรือ จุดอื่นที่เหมาะ โดยต้องคำนึงถึงการใช้งานเป็นหลัก 
  4. บริเวณท่อไอเสียต้องมีฉนวนห่อหุ้ม 
  5. มีที่กั้น หรือ ตัวครอบปิดส่วนที่สามารถหมุนได้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีเสื้อผ้า อวัยวะ หรือ ชิ้นส่วนใดของเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นจนทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน 
  6. นายจ้างต้องกำหนดให้มีการทำราวกันตก พื้นกันลื่น สำหรับปั้นจั่นที่ต้องจัดทำทางเดินและพื้น เช่น ปั้นจั่นเหนือศีรษะคานคู่ เพราะเจ้าหน้าที่จำเป็นที่จะต้องขึ้นไปปฏิบัติงานด้านบน 
  7. มี Upper Limit Switch เพื่อป้องกันการยกวัตถุขึ้นชนรอกด้านบน 
  8. มี Overload Limit Switch เพื่อป้องกันการยกวัตถุที่มีน้ำหนักเกินค่าที่กำหนด หรือ มากกว่าพิกัดยกปลอดภัย 
  9. มีป้ายบอกพิกัดยกติดที่ปั้นจั่นอย่างชัดเจน 
  10. ในขณะที่ปั้นจั่นทำงานต้องมีสัญญาณเสียงและแสง เตือนอยู่ตลอดเวลา 
  11. ติดตั้งป้ายเตือนระวังอันตราย และ รูปภาพสัญญาณมือตามมาตรฐาน ASME หรือ ที่กรมสวัสดิฯประกาศไว้อย่างชัดเจน 
ข้อแนะนำในการใช้ปั้นจั่นและอุปกรณ์ให้ปลอดภัย

แนะนำ 10 วิธี ใช้งานปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัย 

หลังจากที่ได้รู้จักประเภท และ อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งบนปั้นจั่นแล้ว ทุกคนลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้งานปั้นจั่นที่ถูก เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงานดีกว่า 

  1. เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมปั้นจั่นต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้งานปั้นจั่น และระหว่างปฏิบัติงานต้องสวมใส่ชุดปฏิบัติงานและอุปกรณ์นิรภัยอย่างรัดกุม
  2. หลีกเลี่ยงการยกวัตถุที่มีน้ำหนักเกินค่าพิกัดยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้สลิงขาดและปั้นจั่นชำรุดเสียหาย 
  3. ในกรณีที่ต้องใช้ปั้นจั่นตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ควรมีผู้ให้สัญญาณมือแค่เพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันการสับสนและทำให้เกิดอุบัติเหตุในที่สุด 
  4. ควรติดตั้งและใช้งานปั้นจั่นห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 3 เมตร ทั้งนี้ถ้าหากไม่สามารถทำได้ ควรจะต้องมีผู้คอยดู และให้สัญญาณเตือน 
  5. ในขณะที่ใช้ปั้นจั่นเคลื่อนย้ายวัตถุไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง และห้ามให้เจ้าหน้าที่เกาะบนวัตถุที่เคลื่อนย้าย
  6. ควรมีการทดสอบน้ำหนักของวัตถุก่อนยกจริง โดยยกขึ้นเล็กน้อยเพื่อตรวจสอบการยกและสมดุลของปั้นจั่น 
  7. ในกรณีที่เกิดลมหรือพายุระหว่างที่ยกวัตถุจนทำให้วัตถุที่ยกแกว่งไปมา เจ้าหน้าที่ควบคุมปั้นจั่นต้องรีบวางวัตถุลงที่พื้นทันที 
  8. ในกรณีที่ใช้งานปั้นจั่นบนอาคารสูง ต้องมีสัญญาณไฟบอกตำแหน่งให้เครื่องบินทราบ เพื่อป้องกันการชน 
  9. ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในห้องควบคุมปั้นจั่น 
  10. ควรบำรุงรักษาอุปกรณ์ทุกชิ้น โดยเฉพาะส่วนที่มักเกิดการเสียดสี 

สรุป

นอกจากการติดตั้งอุปกรณ์บนปั้นจั่นแล้วกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานยังกำหนดให้นายเจ้าทุกคนต้องจัดอบรมปั้นจั่นให้ลูกจ้างที่ทำงานกับปั้นจั่นทุกคน โดยมีเนื้อหาตามที่ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงานและลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานลงนั้นเองครับ

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เอกเครน โลจิสติกส์ เราผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีทีมงานคอยให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย