รู้จักกฎความปลอดภัย 5 ข้อ เสริมความอุ่นใจในการทำงานไซต์ก่อสร้าง

รู้จักกฎความปลอดภัย 5 ข้อ เสริมความอุ่นใจในการทำงานไซต์ก่อสร้าง

การทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง นับว่าเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ค่อนข้างสูง ทำให้การรักษาความปลอดภัยกลายเป็นสิ่งจำเป็น และ ผู้ที่ปฏิบัติงานทุกคนต้องให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ห้ามละเลยเด็ดขาด ซึ่งวันนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “กฎความปลอดภัย 5 ข้อ” ที่จะช่วยเสริมสร้างความอุ่นใจในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ถ้าหากพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลยดีกว่าครับว่า กฎความปลอดภัย 5 ข้อคืออะไร และมีอะไรบ้าง 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับกฎความปลอดภัย 5 ข้อ ผมอยากให้ทุกคนลองมาค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในระหว่างทำงานกันก่อนครับ โดยสาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ 

  1. สาเหตุที่เกิดจากตัวผู้ปฏิบัติงานเอง 

โดยส่วนใหญ่สาเหตุนี้มักมาจากความประมาณและพฤติกรรมที่ไม่ใส่ในความไม่ปลอดภัย เช่น ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย การไม่ปฏิบัติตามกฎที่กำหนดไว้ หรือไม่จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ นิสัยชอบเสี่ยง และการปฏิบัติหน้าที่โดยที่ร่างกายไม่พร้อม จนทำให้เกิดอันตรายระหว่างปฏิบัติงาน 

  1. สาเหตุที่เกิดจากสถานที่ปฏิบัติงานไม่ปลอดภัย 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานอันดับที่ 2 ได้แก่ สถานที่ปฏิบัติงานไม่ปลอดภัย เช่น การวางผังโครงสร้างไม่ถูกต้อง พื้นโรงงานเป็นหลุมเป็นบ่อ มีเศษวัสดุ น้ำมัน หรือน้ำบนพื้น เครื่องจักรชำรุดและไม่ได้รับการซ่อมบำรุงดูแล นอกจากนี้ยังรวมไปถึงไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตราย 

กฎความปลอดภัย 5 ข้อ 

กฎความปลอดภัย 5 ข้อมีอะไรบ้าง

กฎความปลอดภัย 5 ข้อ ที่ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างจำเป็นต้องรู้ มีดังนี้ 

  • รู้ที่ 1 รู้ว่างานที่ตนเองปฏิบัติมีความเสี่ยงและมีอันตรายอย่างไร พร้อมทั้งเข้าใจกระบวนการและขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน นอกจากนี้สำคัญเป็นต้องคิดถึงวิธีป้องกันอุบัติเหตุที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นด้วย 
  • รู้ที่ 2 รู้จักและศึกษาเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการทำงานอย่างถ่องแท้ โดยจำเป็นต้องรู้ว่าอุปกรณ์แต่ละชนิดเหมาะสำหรับงานประเภทใดและไม่เหมาะกับงานประเภทใด 
  • รู้ที่ 3 รู้และศึกษาวิธีใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อป้องกันและลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าที่ที่อาจจะเกิด 
  • รู้ที่ 4 รู้ขีดจำกัดและคุณสมบัติในการใช้งานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต้องใช้งาน เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ที่ผิดวิธี
  • รู้ที่ 5 รู้วิธีบำรุงดูแลรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยจำเป็นต้องรู้วิธีดูแลรักษาให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งาน นอกจากนี้ต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ต้องตรวจเช็กสภาพอุปกรณ์

หลัก 5 ส. ที่คนทำงานต้องรู้

นอกจากสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุในที่ทำงาน และ กฎความปลอดภัย 5 ข้อ ที่ผู้ปฏิบัติงานควรรู้แล้ว ยังมีหลัก 5 ส. ที่คนทำงานต้องรู้ เพื่อนำไปปรับใช้ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยหลัก 5 ส. ที่คนทำงานอุตสาหกรรมต้องรู้ ได้แก่ 

  1. สะสาง หมายความว่า สามารถแยกสิ่งที่สำคัญและจำเป็น กับ สิ่งที่ไม่สำคัญและไม่จำเป็นต่องานออกจากกันได้อย่างชัดเจน 
  2. สะดวก หมายความว่า สามารถจัดระเบียบเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้งานได้อย่างเป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้ 
  3. สะอาด หมายความว่า สามารถรักษาความสะอาดของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ต้องใช้งาน ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ 
  4. สุขลักษณะ หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่ 
  5. สร้างนิสัย หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องฝึกและพยายามสร้างนิสัย โดยต้องนำ 4 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นไปปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย 
กฎความปลอดภัย 5 ข้อ

สรุป

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้และทราบถึงความสำคัญของกฎความปลอดภัย 5 ข้อแล้ว ผมหวังว่าผู้ที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงในระหว่างปฏิบัติงานทุกคนจะตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงานไว้เสมอ เพราะนั้นเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนปลอดภัยจากอุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะร้ายแรงถึงขั้นพิการ หรือ เสียชีวิต แน่นอนว่าการพยายามป้องกันอุบัติเหตุย่อมเป็นวิธีที่ดีกว่าและจัดการง่ายมากกว่าการแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว 

ทั้งนี้ทุกคนสามารถนำหลักการ 5 ส. ที่คนทำงานควรรู้ และ กฎความปลอดภัย 5 ข้อ ไปปรับใช้ให้เหมาะกับวิธีการทำงานของแต่ละบุคคล และอย่าลืมที่จะสวมใส่อุปกรณ์หรือชุดเซปตี้ที่จะสามารถช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่เกิดด้วยครับ สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ 

และสำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อัปเดต 2567 กฎหมาย จป. ว่าด้วยเรื่องอะไรบ้าง ผู้รับเหมาต้องอ่าน!

อัพเดท กฎหมาย จป

กฎหมาย จป. หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย จะมีอัปเดตอะไรบ้างในปี พ.ศ. 2567 ถ้าอยากรู้ผู้รับเหมาต้องอ่าน!

ทำความรู้จัก กฎหมาย จป. คืออะไร

กฎหมาย จป. คือ กฎกระทรวงเรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 กำหนดไว้ในข้อที่ 2 โดย จป. จะทำหน้าที่ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

จป. แบ่งออกเป็นกี่ระดับ

จป. หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จะมีการแบ่งแยกสัดส่วนการทำงานกันอย่างชัดเจน สามารถแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. จป. ระดับบริหาร
  2. จป. ระดับหัวหน้างาน
  3. จป. ระดับเทคนิค
  4. จป. ระดับเทคนิคขั้นสูง
  5. จป. ระดับวิชาชีพ

โดยในแต่ละระดับนั้นก็จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะแบ่งจากสาขาอาชีพที่ได้เรียนรู้กันมา และในแต่ละสาขาของตนเองจะมีการทดสอบ รวมถึงปรับระดับของตนเองอยู่เสมอ

หน้าที่ของ จป.

หน้าที่และขอบเขตการทำงานของ จป.

สำหรับหน้าที่และขอบเขตการทำงานของ จป. โดยหลัก ๆ แล้วมีประมาณ 10 ขั้นตอน ได้แก่

  1. ทำการตรวจและแนะนำให้กับนายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย สอดคล้องถูกต้องกับความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
  2. วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในที่ทำงาน เช่น ในส่วนของระบบไฟฟ้า น้ำประปา อาคารสถานที่ ซึ่งทุกอย่างจะต้องถูกประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งหมด
  3. วิเคราะห์การทำงาน โดยมองจากจุดเด่นและจุดด้อยในการทำงาน กำหนดมาตรฐานในการทำงาน และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดเสนอต่อผู้ว่าจ้าง
  4. อบรมความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ และพนักงานทุกแผนก รวมถึงทุกตำแหน่งถึงการดูแลความปลอดภัย และป้องกันอันตรายจากสิ่งที่จะเกิดขึ้น
  5. นำเสนอแผนและโครงการในเรื่องของผลกระทบ และความปลอดภัย ให้กับนายจ้าง
  6. ทำการประเมินและตรวจสอบสถานที่ประกอบการ สถานที่ทำงาน 
  7. ร่วมตรวจประเมินสถานที่ทำงาน ทั้งเรื่องของสภาพแวดล้อม พร้อมเอกสารในการดูแลความปลอดภัยทั้งหมด
  8. เมื่อเกิดเหตุการณ์ หรืออันตรายต่าง ๆ หน่วยงานต้องรีบทำการประเมินและเสนอกับหน่วยงาน เพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ โดยต้องลดความเสี่ยงหรือปัญหาให้ได้มากที่สุด
  9. พัฒนาความปลอดภัยในหน่วยงานให้ได้มาตรฐาน
  10. รวบรวมสถิติ หรือข้อมูลต่าง ๆ ส่งให้นายจ้าง ประเมินการวางแผน ระบบความปลอดภัยให้มั่นคง เพื่อลดอัตราการสูญเสีย 
กฎหมาย จป. 2566

กฎหมาย จป. 2567 มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

“กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565”

กฎกระทรวงฉบับนี้ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 60 วันนับจากวันที่ประกาศ ซึ่งตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้ออกประกาศและยกเลิกฉบับเก่า 

สำหรับกฎกระทรวงฯ ฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการด้านความปลอดภัยค่อนข้างมาก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. หมวดที่ 1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

กฎหมายใหม่ได้แบ่งประเภทของ จป. ออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยตำแหน่ง แบ่งเป็น
  • หัวหน้างาน
  • บริหาร
  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยหน้าที่เฉพาะ แบ่งเป็น
  • เทคนิค
  • เทคนิคขั้นสูง
  • วิชาชีพ

กฎกระทรวงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ จป. หัวหน้างาน ตามกฎหมาย 2565 ระบุหน้าที่ของ จป. ระดับหัวหน้างานทั้งหมด 10 ข้อ โดยมีสิ่งที่เพิ่มมาจากกฎหมายเก่าคือ จป. หัวหน้างานจะต้องเป็นคนจัดทำคู่มือความปลอดภัยฯ และทบทวนคู่มือทุก 6 เดือน

อีกทั้งกฎหมายใหม่ได้มีการระบุหน้าที่ของ จป. ระดับวิชาชีพทั้งหมด 12 ข้อ โดยเพิ่มมา 1 ข้อจากกฎหมายเก่าคือ ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม แก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

นอกจากนี้กฎหมายยังได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติตามระดับตำแหน่งงานอีกด้วย

  1. หมวดที่ 2 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ
  • ต้องได้รับการฝึกอบรมภายใน 60 วันนับจากวันแต่งตั้ง เว้นแต่เคยผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว
  • วาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี
  • ปิดประกาศรายชื่อ และหน้าที่รับผิดชอบไม่น้อยกว่า 15 วัน
  • มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  1. หมวดที่ 3 หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

กฎหมายใหม่มีการเพิ่มเติม นอกจากจะต้องมีหน่วยงานความปลอดภัยแล้ว จะต้องจัดให้มีผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยประจำสถานประกอบกิจการ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะการบริหาร และรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน โดยผู้บริหารหน่วยงานต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

  • เคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย และต้องไม่เป็น จป. วิชาชีพ
  • หากเคยเป็น จป. วิชาชีพ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย สามารถแต่งตั้งได้เลย
  1. หมวดที่ 4 การขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย
  • นายจ้างจะต้องเอารายชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ รวมถึงผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย ไปขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมเอกสาร ภายใน 30 วัน นับจากวันที่แต่งตั้ง
  • กรณีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทุกระดับ หรือผู้บริหารพ้นจากตำแหน่งหรือหน้าที่ นายจ้างจะจ้องแจ้งต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้ทราบ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่พ้นจากหน้าที่หรือตำแหน่ง
  1. หมวดที่ 5 การแจ้งและการส่งเอกสารทำงาน
  • คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย ให้ส่งสำเนาภายใน 15 วัน นับจากวันที่แต่งตั้ง
  • รายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค เทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกภายใน 30 วัน นับแต่ 30 มิถุนายน ของทุกปี และ ครั้งที่ 2 ภายใน 30 วัน นับแต่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
กฎหมาย จป. 2566

สรุป

กฎหมาย จป. 2567 ที่มีการอัปเดตเพิ่มเติมนั้นมีการเพิ่มหัวข้อบทบาทหน้าที่ของ จป. แต่ละระดับให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น กฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่องค์กร หรือหัวหน้างานจะต้องจัดให้ลูกจ้างที่เข้ามาทำงานใหม่ ได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานก่อนเริ่มงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ตำแหน่ง โฟร์แมน คืออะไร สำคัญอย่างไรต่องานก่อสร้าง

ตำแหน่ง โฟร์แมน คืออะไร สำคัญอย่างไรต่องานก่อสร้าง

จากผลสำรวจในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในอุตสาหกรรมก่อสร้างไม่ได้รับความนิยมเท่าสมัยก่อน ซึ่งมาจากปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่มองข้ามอาชีพในอุตสาหกรรมนี้ แต่จริง ๆ แล้วอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นกลุ่มอาชีพที่เงินเดือนและค่าตอบแทนที่ค่อนข้างน่าพึงพอใจ และยังมีอัตราเติบโตในหน้าที่การงานและความมั่นคงในอาชีพที่ค่อนข้างสูง 

วันนี้ผมจะมาแนะนำอาชีพที่เด็กรุ่นใหม่บางคนอาจจะยังไม่รู้จักอย่างอาชีพ โฟร์แมน คืออะไร พร้อมบอกรายละเอียดที่คนอยากประกอบอาชีพโฟร์แมนจำต้องรู้ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ 

ทำความรู้จัก กับ อาชีพโฟร์แมน

หลายคนที่ได้ยินคำว่าอาชีพโฟร์แมน อาจจะสงสัยว่าคืออะไร หรือ อาจจะนึกว่าต้องทำงานใช้แรงงาน งานหนัก งานถึก ซึ่งจริง ๆ แล้วอาชีพโฟร์แมน คือ ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง นั้นหมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องไปยกของ หรือ แบกหามของหนัก ๆ ในระหว่างที่ทำงาน แต่ต้องคอยดูแลควบคุม คุณภาพงานและความเรียบร้อย ให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางเอาไว้นั่นเองครับ 

อาชีพโฟร์แมน คือ

ตำแหน่งโฟร์แมน ทำหน้าที่อะไร 

หลังจากที่ทราบกันแล้วว่าโฟร์แมนคืออะไร เรามาดูหน้าที่อาชีพโฟร์แมนกันดีกว่าครับ ว่าจริง ๆ แล้วการเป็นโฟร์แมนต้องรับผิดชอบอะไรบ้างในแต่ละวัน 

  1. วางแผนภาพรวมและทิศทางในการก่อสร้างของโครงการ 
  2. ควบคุมและดูแลการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาในการก่อสร้างให้เป็นไปตามที่กำหนด
  3. ควบคุมการใช้วัสดุของผู้รับเหมา
  4. ตรวจเช็กสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยกำหนดไว้ 
  5. ตรวจสอบและรายงานความก้าวหน้าให้แก่ผู้ว่าจ้าง 
  6. ตรวจสอบและติดตามผลการทำงานของผู้รับเหมาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 
  7. ควบคุมให้การก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด 
ทักษะที่จำเป็นสำหรับโฟร์แมน คือ

5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับโฟร์แมน 

สำหรับผู้ที่สนใจอาชีพโฟร์แมน ผมได้เตรียมทักษะที่จำเป็นมาแนะนำทุกคน โดย 5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพโฟร์แมน คือ 

1. ทักษะในการวางแผนงาน

อย่างที่ผมได้พูดไปก่อนหน้านี้ครับว่า คนที่เป็นโฟร์แมนไม่จำเป็นต้องลงไปปฏิบัติหน้าที่เอง แต่คุณต้องคอยควบคุมการก่อสร้างของโครงการทั้งหมดให้เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ ซึ่งทักษะที่จำเป็นอย่างแรกที่โฟร์แมนต้องมี คือ ทักษะในการวางแผนงาน แต่ถึงผมจะบอกว่าโฟร์แมนไม่จำเป็นต้องลงไปปฏิบัติงานเอง แต่ถ้าหากคุณไม่เคยลงไปดูหน้างานจริง ๆ หรือ ไม่เคยคุยกับช่างเลย อาจจะทำให้คุณไม่สามารถมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น 

ดังนั้นผมแนะนำว่าโฟร์แมนที่ดีจำเป็นต้องลงไปหน้างานอย่างสม่ำเสมอ อยู่กับช่างและคนงานตั้งแต่ต้นเริ่มโครงการจนจบ การทำแบบนี้เมื่อคุณเจอปัญหาระหว่างก่อสร้างจะสามารถช่วยให้คุณพลิกแพลงสถานการณ์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 

2. ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน

ทักษะด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน เป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพโฟร์แมน เพราะเป็นอาชีพที่ต้องพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด ความต้องการ ปัญหา และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการก่อสร้างโครงการ โดยโฟร์แมนถือเป็นคนกลาง ระหว่างฝั่งลูกค้าและฝั่งผู้รับเหมา ว่าลูกค้าต้องการอะไร และ ช่างสามารถทำตามได้มากน้อยแค่ไหน หรือ มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ทำให้ทักษะด้านการติดต่อสื่อสารจำเป็นอย่างมากสำหรับอาชีพโฟร์แมน 

3. ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะ

ต้องยอมรับครับว่างานก่อสร้างเรามันจะเจอปัญหาหน้างานเกือบตลอดเวลา หรือเรียกได้ว่าในทุก ๆ วัน และบางปัญหาก็มักจะเป็นปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อน เช่น สั่งของไปแต่ของมาไม่ครบทำให้วัสดุไม่พอ ขนส่งติดปัญหา เครื่องจักรเสีย สั่งอย่างหนึ่งแต่ช่างทำอีกอย่าง หรือ ปัญหาคนงานทะเลาะกันเอง ทำให้ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะ เป็นอีกหนึ่งทักษะที่โฟร์แมนจำเป็นต้องมี  

4. ทักษะเรื่องต้นทุน 

อย่างที่เรารู้กันว่าโฟร์แมนจำเป็นต้องวางแผนงานก่อสร้างของโครงการ ซึ่งการที่จะวางแผนได้จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับต้นทุน และ ราคาวัสดุต่าง ๆ เพื่อให้ต้นทุนเป็นไปตามที่กำหนดและตกลงกันไว้ ดังนั้นโฟร์แมนจำเป็นต้องมีทักษะในการคำนวณและวางแผนเรื่องต้นทุนด้วยครับ 

5. ทักษะด้านการบริหารจัดการงาน 

โฟร์แมนคืออาชีพที่ต้องคอยควบคุมคนงานและกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามแผน ดังนั้นทักษะที่ขาดไม่ได้เลยคือทักษะด้านการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็น การบริหารคน หรือ บริหารงานก็ตาม ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้นำทุกคนจำเป็นต้องมีด้วยครับ 

สรุป

หลังจากที่อ่านบทความนี้แล้ว ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจว่าอาชีพโฟร์แมนคืออะไร มีหน้าที่ และมีความสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากแค่ไหน ทั้งนี้สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระน่ารู้ดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถดูบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ EK CRANE คลิกได้เลยครับ! 

สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

การให้สัญญาณมือเครนที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

การให้สัญญาณมือเครนที่ถูกต้อง เสริมความแม่นยำในการทำงาน

นอกจากการวิธีการใช้รถเครนที่ถูกต้องและความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในงานก่อสร้างแล้ว การให้สัญญาณมือเครน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยทั้งผู้ใช้รถเครนและผู้ให้สัญญาณจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการให้สัญญาณมือเครนระดับสากล เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน 

บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับการสัญญาณมือเครน ที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ 

ทำไมต้องมีสัญญาณมือเครน

ทำไมต้องมีสัญญาณมือเครน? สัญญาณมือเครนมีความสำคัญอย่างไร ? ผมสามารถตอบได้เลยครับ ว่าสัญญาณมือเครนมือเป็นสัญญาณที่มีความสำคัญและไม่สามารถขาดได้โดยเด็ดขาด เพราะการให้สัญญาณมือเครน จะช่วยให้ผู้ขับรถเครนสามารถรับรู้ว่าควรเคลื่อนที่ไปทางไหน และ ยังช่วยให้รับรู้บริเวณจุดบอดต่าง ๆ ที่ผู้ขับรถเครนไม่สามารถมองเห็นได้

ซึ่งการให้สัญญาณมือเครน นอกจากจะสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานได้แล้ว ยังช่วยให้การทำงานนั้นเป็นไปได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า ภายในบริเวณไซต์ก่อสร้างนั้นจะมีเสียงดังจากการดำเนินงานของเครื่องจักรต่าง ๆ ทำให้การสื่อสารด้วยเสียง (หรือวิทยุสื่อสาร) นั้นผิดพลาดได้ง่าย จึงทำให้การใช้สัญญาณมือนั้นถูกคิดค้นขึ้นมา ซึ่งได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายและเป็นมาตรฐานสำคัญสำหรับผู้ใช้งานเครนทั่วโลก

นอกจากนี้สัญญาณมือเครนยังมีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ด้วยครับ เพราะจะช่วยให้ผู้ที่อยู่บริเวณโดยรอบ สามารถรับรู้และหลีกเลี่ยงบริเวณที่เครนกำลังทำงานอยู่เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย

โดยสัญญาณมือเครนที่ทาง Ek Crane จะแนะนำให้ทราบภายในบทความนี้ เป็นสัญญาณมือเครนแบบสากลซึ่งสามารถใช้ส่งสัญญาณขณะใช้งานเครนร่วมกันได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของภาษาที่ใช้ทำงานร่วมกันเลยทีเดียว

รวมสัญญาณมือเครนสากล เซฟไปใช้ได้เลย

16 สัญญาณมือเครนสากล ที่จะช่วยให้การทำงานปลอดภัย

หลังจากที่รู้ประโยชน์ของสัญญาณมือเครนแล้ว เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าสัญญาณมือเครนสากลที่ทั่วโลกใช้งานกันนั้นมีอะไรบ้าง และแต่ละสัญญาณมีความหมายว่าอย่างไร 

สัญญาณหยุด

  1. หยุดยกวัตถุ

คว่ำฝ่ามือและเหยียดแขนด้านซ้ายออกไปจนสุดแขน ในระดับไหล่ พร้อมเหวี่ยงไป-มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สัญญาณมือเครนหยุดยกวัตถุ

  1. หยุดยกแบบฉุกเฉิน 

คว่ำฝ่ามือลงและเหยียดแขนทั้งสองข้างจนสุดในระดับหัวไหล่ พร้อมเหวี่ยงไป-มาในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สัญญาณมือเครนหยุดยกวัตถุฉุกเฉิน

  1. หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด 

กำมือทั้งสองข้างเข้าหากันโดยให้มืออยู่ระดับเอว เพื่อส่งสัญญาณให้หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด 

สัญญาณรอก

  1. ใช้รอกเล็ก 

งอกข้อศอกข้างใดข้างหนึ่งขึ้นพร้อมทั้งกำมือให้อยู่ในระดับหัวไหล่ โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มืออีกข้างแตะที่ข้อศอกข้างที่งอ เพื่อให้สัญญาณมือเครนว่าให้ใช้รอกเล็ก

  1. ใช้รอกใหญ่

กำมือข้างใดข้างหนึ่ง แล้วยกมือขึ้นระดับเหนือศีรษะแล้วเคาะเบา ๆ บนศีรษะของตนเอง เพื่อให้สัญญาณใช้รอกใหญ่ 

  1. เลื่อนรอกขึ้น 

งอข้อศอกข้างใดข้างหนึ่งตั้งฉาก ใช้ชี้นิ้วชี้ขึ้นแล้วจึงค่อย ๆ หมุนเป็นวงกลม เพื่อเป็นสัญญาณมือเครนบอกให้เลื่อนรอกขึ้น

  1. เลื่อนรอกลง

กางแขนข้างใดข้างหนึ่งออกเล้กน้อย ใช้นิ้วชี้ชี้ลงพื้น แล้วค่อย ๆ หมุนเป็นวงกลม แล้วจึงกำมือทั้งสองข้างคว่ำลงแล้วยกขึ้น 

สัญญาณบูม

  1. ยกบูม 

กำมือพร้อมเหยียดแขนขวาออกจนสุดแขน และใช้หัวแม่มือชี้ขึ้นข้างบน เพื่อเป็นสัญญาณมือเครนบอกให้ยกบูม 

  1. นอนบูม

กำมือพร้อมเหยียดแขนขวาออกจนสุดแขน และใช้หัวแม่มือชี้ลงที่พื้น เพื่อเป็นสัญญาณมือเครนบอกให้นอนบูม 

  1. ยกบูมพร้อมเลื่อนรอกลง 

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกสุด แบมือให้นิ้วโป้งชี้ลงแล้วกวักนิ้วทั้งสี่นิ้วที่เหลือไป-มา เพื่อให้สัญญาณมือเครนว่ายกบูมพร้อมเลื่อนรอกลง 

  1. ยกบูมพร้อมเลื่อนรอกขึ้น 

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกสุด แบมือให้นิ้วโป้งขึ้นฟ้าแล้วกวักนื้วทั้งสี่นิ้วที่เหลือไป-มา เพื่อให้สัญญาณมือเครนว่ายกบูมพร้อมเลื่อนรอกขึ้น

  1. หดบูม 

กำมือทั้งสองข้างคว่ำลง แล้วยกขึ้นเสมอเอว ให้นิ้วโป้งทั้งสองข้างชี้เข้าหาลำตัว

  1. ยึดบูม 

กำมือทั้งสองข้างแล้วหงายข้อมือ ยกขึ้นระดับเสมอเอว และเหยียดนิ้วโป้งของมือทั้งสองข้างออกนอกลำตัว  

  1. หมุนบูมไปทิศทางที่ต้องการ 

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งจนสุดแขน และชี้ไปตามทิศทางที่ต้องการให้หมุนบูมไป เพื่อเป็นการบอกให้หมุนบูมไปทิศนั้น

สัญญาณมืออื่น ๆ

  1. ยกวัตถุขึ้นอย่างช้า ๆ 

ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งขึ้น โดยคว่ำฝ่ามือไว้ในระดับซ้าย และใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างชี้ขึ้นตรงกลางฝ่ามือแล้วค่อยหมุนช้า ๆ เพื่อเป็นการบอกให้ยกวัตถุขึ้นอย่างช้า ๆ 

  1. สั่งเดินหน้า 

เหยียดฝ่ามือด้านขวาออกตรงไปข้างหน้า ฝ่ามือตั้งตรงในระดับไหล่ และจึงทำท่าผลักไปในทิศทางที่ต้องการให้เครนเคลื่อนที่ 

การให้สัญญาณมือเครนแบบสากล

สรุป

หลังจากที่ทุกคนได้อ่านบทความนี้ หลายคนน่าจะเข้าใจวิธีการใช้สัญญาณมือเครนที่ถูกต้องกันแล้ว แน่นอนว่าการให้สัญญาณมือเครนถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไซต์งานก่อสร้างจำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่องสัญญาณมือเครน เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้บริษัทรับเหมาก่อสร้างก็ควรมีการเทรนและฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้สัญญาณมือเครนระดับสากล แก่พนักงานด้วยเช่นเดียวกัน 

บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้นำด้านรถโมบายเครน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี เน้นความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานและผู้ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ เป็นหลัก พนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมการใช้รถเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

10 ข้อควรทราบในการบริหารความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

10 ข้อควรทราบเพื่อเสริมความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

ความปลอดภัยในงานก่อสร้างถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่สามารถมองข้าม หรือ ละเลยได้โดยเด็ดขาด เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา นอกจากทรัพย์สินที่เสียหายแล้ว อาจจะรวมไปถึงชีวิตของผู้ปฏิบัติหน้าที่และผู้ที่อยู่บริเวณรอบๆ นั่นจึงทำให้ความปลอดภัยในงานก่อสร้างเป็นสิ่งสำคัญ 

บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปดู 10 ข้อควรทราบในการบริหารความภัยในงานก่อสร้าง ที่จะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝันระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ 

ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

สาเหตุที่ก่อเกิดให้เกิดอันตรายในงานก่อสร้าง 

ก่อนจะทราบว่า 10 ข้อควรทราบในการบริหารความปลอดภัยในงานก่อสร้างมีอะไรบ้าง ผมอยากให้ทุกคนทราบถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายในงานก่อสร้างกันก่อนครับ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 

  1. สาเหตุที่เกิดจากตัวบุคคล หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ โดยเกิดจากความประมาท เช่น ไม่สวมอุปกรณ์เซฟตี้ หรือ อุปกรณ์นิรภัยระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่
  2. สาเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น งานก่อสร้างบนอาคารที่มีความสูงและมีแสงสว่างจ้าจนทำให้ตาพร่ามัว หรือ ลมแรงที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานบนนั่งร้าน เป็นต้น
  3. สาเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์และเครื่องจักร โดยเกิดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน หรือ ขาดการตรวจสภาพ ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี ทำให้อุปกรณ์ชำรุดและเสียหาย 

องค์ประกอบของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

หากคุณต้องการสร้างความปลอดภัยในงานก่อสร้าง จำเป็นต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้ ได้แก่ 

1. ความปลอดภัยส่วนบุคคล

องค์ประกอบความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างแรก คือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทุกคนจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้งาน และ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ยังต้องรักษากฎระเบียบที่ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด จำเป็นต้องสวมเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์นิรภัยให้ถูกต้อง

2. ความปลอดภัยของสถานที่

องค์ประกอบความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างที่ 2 คือ ในเขตก่อสร้างจำเป็นต้องมีการทำรั้วกันบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อป้องกันอันตรายและกันไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในเขตก่อสร้าง และจำเป็นต้องแบ่งบริเวณจัดเก็บอุปกรณ์ออกจากเขตก่อสร้างอย่างชัดเจน นอกจากนี้ควรมีแผ่นกั้นกันวัตถุที่อาจจะตกหล่นด้วย  

3. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักร 

องค์ประกอบความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างที่ 3 คือ อุปกรณ์และเครื่องจักรทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างต้องมีการดูแลรักษาและจัดเก็บที่ถูกวิธี มีการตรวจเช็กสภาพตามที่กฎหมายกำหนดไว้ พร้อมทั้งต้องใช้อุปกรณ์ในงานก่อสร้างให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์นั้น ๆ 

องค์ประกอบของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

10 ข้อ ที่ควรทราบเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานก่อสร้าง 

  1. ผู้ใช้งานเครื่องจักรจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น ๆ เพื่อให้รู้วิธีใช้งานที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยสร้างความปลอดภัยในงานก่อสร้างได้ 
  2. เครื่องจักรทุกประเภทต้องใช้งานถูกจุดประสงค์ของอุปกรณ์นั้น ๆ ห้ามใช้อุปกรณ์ผิดวัตถุประสงค์โดยเด็ดขาด เพราะสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ 
  3. จำเป็นต้องมีการทดลองการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องจักรก่อนใช้งานจริงอยู่เสมอ 
  4. ต้องมีการดูแลรักษาและตรวจเช็กสภาพอุปกรณ์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันอุปกรณ์ชำรุด 
  5. ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต้องสวมอุปกรณ์นิรภัยตลอดเวลา เพื่อรักษาความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
  6. คอยสังเกตป้ายตามบริเวณที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ เพราะไซต์งานก่อสร้างค่อนข้างใหญ่ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนไม่สามารถรู้ขั้นตอนการทำงานของส่วนอื่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 
  7. ควรแบ่งสัดส่วนของไซต์งานก่อสร้างให้ชัดเจน เช่น บริเวณไซต์งาน บริเวณที่จัดเก็บอุปกรณ์เครื่อง และบริเวณที่พักอาศัย 
  8. บริเวณไหนที่มีความเสี่ยง ควรทำป้ายหรือสัญลักษณ์เตือนให้ผู้คนอื่นรับรู้
  9. ควรติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เพลิงไหม้ เป็นต้น 
  10. เพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง จำเป็นต้องกำหนดเวลาเข้าออกของแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน 

สรุป

ความปลอดภัยในงานก่อสร้างเป็นเรื่องที่ทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ  เพราะบริเวณไซต์งานสามารถเกิดอันตรายหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานไม่ควรที่จะประมาท หรือ ละเลยกฎระเบียบที่กำหนดไว้ เพราะอาจจะทำมาสู่อันตรายถึงชีวิตและทรัพย์สิน  นอกจากนี้บริษัทรับเหมาก่อสร้างทุกบริษัทควรที่จะต้องมีการอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในงานก่อสร้างให้กับพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถลดอันตรายจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันและช่วยลดอัตราการศูนย์เสียลดได้ 
บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้นำด้านรถโมบายเครน โดยเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี คุณสามารถมั่นใจเรื่องความปลอดภัยได้ เพราะพนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี และมีใบเซอร์คนขับเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ใบเซอร์คนขับเครนคืออะไร สามารถอบรมได้ที่ไหน ราคาเท่าไร

สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพควบคุมรถเครนหลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า “ใบเซอร์คนขับเครน” กันมาบ้าง เพราะเป็นสิ่งที่เรียกว่า ผู้ควบคุมเครนทุกคนต้องมี  แต่สำหรับบางคนที่สนใจอยากประกอบอาชีพผู้ควบคุมเครนอาจจะยังไม่รู้ใช่ไหมครับ ว่าใบเซอร์คนขับเครนคืออะไร มีไว้ทำไม และต้องไปอบรมที่ไหนถึงจะได้ใบเซอร์คนขับเครนมา ?

มาครับวันนี้ผมจะพาทุกคนไปหาคำตอบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับใบเซอร์คนขับเครน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ! 

ใบเซอร์คนขับเครน

ใบเซอร์คนขับเครนคืออะไร จำเป็นต้องมีไหม ผมสามารถตอบได้อย่างมั่นใจเลยครับว่า ใบเซอร์คนขับเครนนับเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ขับรถเครน หรือ ควบคุมเครน จำเป็นต้องมี เนื่องจากในปี พ.ศ. 2554 กฎหมายได้มีกำหนดให้ผู้ที่ควบคุมเครนทุกคนต้องผ่านการอบรมและทดสอบจากวิศวกร เพื่อเป็นการรับประกันความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งของตัวผู้ควบคุมเครนและผู้อื่น 

โดยหลักสูตรอบรมและทดสอบสำหรับใบเซอร์คนขับเครนจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ อบรมปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ และ อบรมปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมและทดสอบจากวิศวกรแล้วจะได้รับใบเซอร์มาครอบครอง โดยใบเซอร์จะมีอายุการใช้งานทั้งหมด 2 ปี 

ใบเซอร์คนขับเครน

ใบปจ.2 คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อพนักงานขับเครน

นอกจากใบเซอร์คนขับเครนแล้ว หลายคนน่าจะต้องเคยเห็นคำว่า ใบปจ.2 กันมาบ้างใช่ไหมครับ ซึ่งถ้าให้ผมอธิบายเพื่อให้เข้าใจกันง่าย ๆ จริง ๆ แล้ว ใบปจ.2 คือ ใบอนุญาตใช้งานเครนเคลื่อนที่ตามที่กฎหมายกำหนด หรือที่เรียกว่า แบบฟอร์มตรวจสภาพเครนเคลื่อนที่นั่นเอง 

สำหรับผู้ที่ให้บริการเช่ารถเครน หรือ ผู้รับเหมาเจ้าไหนที่ไม่มีใบปจ.2 ก็จะไม่สามารถรับงานหรือให้บริการได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยหลักการตรวจปจ.2 ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มีดังนี้

  • ตรวจสอบสลิงของเครน
  • ตรวจสภาพรถเครน
  • ตรวจขาช้างระดับน้ำว่าตรงหรือไม่ 
  • ตรวจลิมิตสวิทช์เครน 
  • ตรวจบูมเครน
  • ตรวจรอยเชื่อมต่อจุดสำคัญทุกจุด
  • ทดสอบการยกของรถเครน 

ใบปจ.2 และ ใบเซอร์คนขับเครน ต่างกันยังไง 

บางคนอาจจะสับสนและคิดว่าใบปจ.2 และ ใบเซอร์คนขับเครน คือ ใบเดียวกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ครับ ทั้งใบปจ.2 และ ใบเซอร์คนขับเครนแตกต่างกันอย่างชัดเจนครับ โดย ใบปจ.2 คือ หลักฐานที่แสดงว่าเครนชนิดเคลื่อนที่คันนั้น ๆ ได้รับการตรวจสอบคุณภาพและพร้อมสำหรับใช้งานแล้ว 

ส่วนใบเซอร์คนขับเครน คือ หลักฐานที่แสดงว่าผู้ควบคุมเครนได้ผ่านการอบรมและทดสอบจากวิศวกรหรือสถาบันฝึกอบรม ว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการควบคุมรถเครนได้นั่นเองครับ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับใบเซอร์คนขับเครน

คำถามที่พบบ่อย

ใบปจ.2 มีอายุเท่าไหร่

สำหรับเครนที่ได้ผ่านการตรวจสภาพโดยวิศวกรแล้วจะได้รับใบปจ.2 เป็นหลักฐานยืนยัน โดยใบปจ.2 จะมีอายุการใช้งานทั้งหมด 3 เดือน

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

อบรมตามหลักสูตรแล้ว สามารถขับรถเครนได้เป็นเลยหรือไม่ 

มีหลายคนที่สงสัยและถามผมว่า หลังจากอบรมตามหลักฐานใบเซอร์คนขับเครนแล้วจะสามารถครับรถเครนได้เป็น 100% เลยไหม ? 

สำหรับหลักสูตรอบรมและทดสอบใบเซอร์คนขับเครนเป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ขับรถเครนมาก่อนหน้าแล้ว โดยมีระยะเวลาในการอบรมประมาณ 18 ชั่วโมง ถ้าหากคุณเป็นผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการควบคุมเครนหรือขับรถเครนมาก่อน อาจจะไม่สามารถขับเครนได้อย่างชำนาญโดยทันทีครับ 

สรุป

หลังจากปี 2554 ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ขับเครนทุกคนจำเป็นต้องมีใบเซอร์คนขับเครน ทำให้ใบเซอร์คนขับเครนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถขาดได้ เพราะถ้าหากคุณขับรถเครนโดยไม่มีใบเซอร์คนขับเครนนั่นหมายความว่าคุณกำลังฝ่าฝืนและไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนด 

ทั้งนี้ผมแนะนำว่าทุกคนที่ควบคุมเครนจำเป็นต้องมีใบเซอร์คนขับเครนเพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและชีวิต ทั้งของตัวผู้ขับเครนเองและผู้อื่นด้วยครับ 

*** ทั้งนี้ ทางบริษัท เอกเครน ไม่มีบริการอบรมใบเซอร์สำหรับการขับรถเครน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพียงเผยแพพร่ข้อมูลเพื่อความปลอดภัยสำหรับการขับรถเครนเท่านั้นครับ

สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครน บริษัท เอกเครน โลจิสติกส์ จำกัด เราเป็นผู้นำด้านรถโมบายเครน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเปิดให้บริการเช่ารถเครนมานานกว่า 30 ปี โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก พนักงานควบคุมรถเครนของเราทุกคนได้รับการฝึกอบรมการใช้รถเครน และมีใบเซอร์คนขับเครน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-745-999 หรือ แอด Line @EKCRANE