ทำความเข้าใจ กฎกระทรวงด้านการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น ต้องทำอย่างไรบ้าง

อบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ

อุตสาหกรรมการก่อสร้าง คือหนึ่งในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ออัคคีภัยสูงไม่น้อย เพราะในไซต์งานก่อสร้างหลาย ๆ ขั้นตอนจำเป็นต้องใช้วัสดุที่ติดไฟได้ง่ายและเครื่องจักรไฟฟ้า ดังนั้นองค์กรและผู้ประกอบการด้านงานก่อสร้างจึงต้องให้ความสำคัญกับการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟระหว่างทำงาน เพื่อเสริมความปลอดภัยของพนักงานและป้องกันความเสียหายใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ

โดยเฉพาะการปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินจากอัคคีภัยในไซต์งานก่อสร้าง

ความสำคัญของอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ

การอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ เป็นกระบวนการสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมของพนักงานและบุคลากรในองค์กรเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในอัคคีภัย และช่วยให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือ การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันและระงับอัคคีภัยในงานก่อสร้าง และยังครอบคลุมไปถึงแนวทางการอพยพหนีไฟที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้างของทุกคนในองค์กร

ดังนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดกฎกระทรวงให้สถานประกอบการทุกแห่งจัดการฝึกอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟอย่างสม่ำเสมอ และถ้าหากไม่ดำเนินการตามข้อบังคับ องค์กรหรือสถานประกอบการอาจจะถูกปรับหรือได้รับโทษทางกฎหมายได้ เพราะการละเลยการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของพนักงานและทรัพย์สินของบริษัทนั่นเองครับ

อบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ การใช้ถังดับเพลิง

ข้อกำหนดการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามกฎกระทรวง

ตามกฎกระทรวงของรัฐบาล ได้กำหนดไว้ว่า บริษัททุกแห่งต้องมีการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟขั้นพื้นฐาน โดยมีข้อกำหนด 3 ส่วน ได้แก่

  • จำนวนพนักงานที่ต้องเข้าร่วมอบรม นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมดับเพลิง ให้กับพนักงาน ไม่ต่ำกว่า 40% ของพนักงานทั้งหมด
  • ความถี่ในการจัดอบรม นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • ระยะเวลาการอบรมที่กำหนด ต้องครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมีระยะเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

3 ส่วนการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามกฎกระทรวง

การอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามกฎกระทรวงแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ซึ่งครอบคลุม ตั้งแต่ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างถูกต้องเมื่อเกิดอัคคีภัย

  1. หลักสูตรภาคทฤษฎี

หลักสูตรการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟภาคทฤษฎี บริษัทต้องให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอัคคีภัย ทั้งสาเหตุ ประเภท และวิธีสังเกตรูปแบบของไฟไหม้ เช่น ไฟไหม้จากสารเคมี ไฟไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร และไฟไหม้จากเชื้อเพลิงต่างๆ และขั้นตอนการใช้งานเครื่องมือดับเพลิง เช่น การเลือกใช้ถังดับเพลิงที่เหมาะสมกับประเภทของไฟ หรือการทำงานของระบบแจ้งเตือนไฟไหม้

  1. หลักสูตรภาคปฏิบัติ

สำหรับหลักสูตรภาคปฏิบัติ ให้บริษัทเน้นไปที่การใช้เครื่องมือดับเพลิงอย่างถูกต้อง โดยเริ่มต้นจากการแต่งตั้ง ผู้เฝ้าระวังไฟ การฝึกฝนให้พนักงานสามารถใช้ถังดับเพลิงชนิดต่าง ๆ ได้อย่างถูกวิธี ทั้งถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง หรือถังดับเพลิงชนิด CO2 การสอนการใช้งานสายดับเพลิงเพื่อควบคุมเพลิง และอธิบายถึงขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ พร้อมกับจำลองสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความคุ้นเคย และสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ

สุดท้ายคือ การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานเข้าใจแนวทางการอพยพที่ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุจำเป็น โดยครอบคลุมตั้งแต่ การนัดจุดรวมพลและแนวทางการตรวจสอบจำนวนพนักงาน การเดินตามเส้นทางหนีไฟที่กำหนดไว้ การใช้บันไดหนีไฟ และการปฏิบัติตามสัญญาณเตือนภัยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด และสร้างความมั่นใจว่าไม่มีผู้ติดค้างอยู่ในอาคาร

เตรียมความพร้อมอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ

การเตรียมตัวก่อนการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟเป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทควรใส่ใจ เพราะจะช่วยให้เราสามารถฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและนี่คืออุปกรณ์ที่จำเป็น สถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการฝึกอบรม และเอกสารที่ต้องจัดเตรียมเพื่อให้การอบรมเป็นไปอย่างราบรื่นครับ

อุปกรณ์ดับเพลิงที่จำเป็น

โดยแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  • ถังดับเพลิง ซึ่งใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของไฟไหม้ เช่น ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งสำหรับไฟไหม้ทั่วไป หรือถังดับเพลิง CO2 สำหรับไฟไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • สายดับเพลิงและหัวฉีดน้ำ ควรติดตั้งสายดับเพลิงพร้อมหัวฉีดน้ำแรงดันสูงที่สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ภายในอาคาร
  • สัญญาณเตือนไฟไหม้ ที่ช่วยแจ้งเตือนพนักงานเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เช่น เครื่องตรวจจับควัน เครื่องตรวจจับความร้อน และสัญญาณเตือนภัย
  • อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ผ้าห่มกันไฟ ถุงมือทนความร้อน และหน้ากากกันควันไฟ
อบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ถุงมือทนความร้อน

พื้นที่สำหรับการฝึกอบรม

พื้นที่ฝึกอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ควรมีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการทำกิจกรรม ได้แก่

  • บริเวณเปิดโล่ง ซึ่งสามารถควบคุมไฟได้ง่าย และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
  • ห้องฝึกอบรมเฉพาะทาง ที่มีอุปกรณ์จำลองสถานการณ์เพลิงไหม้เพื่อการฝึกที่สมจริง
  • มีอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น เครื่องดับเพลิงสำรอง อ่างน้ำ และทางหนีไฟในกรณีฉุกเฉิน

เอกสารที่ต้องจัดเตรียม

บริษัทควรจัดเตรียมเอกสารสำคัญเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัย ได้แก่

  • แผนการฝึกอบรม พร้อมระบุรายละเอียดหลักสูตรอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ
  • คู่มือความปลอดภัย เพื่อให้พนักงานทราบถึงแนวทางปฏิบัติในกรณีเกิดเพลิงไหม้
  • รายงานผลการอบรม สำหรับการบันทึกข้อมูลผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผลการทดสอบ
  • ใบรับรองการอบรม ใช้เป็นหลักฐานว่าองค์กรได้ดำเนินการฝึกอบรมตามกฎหมายกำหนด

สรุป

การอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการทำงานในไซต์ก่อสร้าง ที่จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากอัคคีภัยระหว่างการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ และการดำเนินการตามกฎกระทรวงจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าพนักงานมีความพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับใครที่ต้องการลดความเสี่ยงในการทำงานก่อสร้าง หรืออยากติดตามข่าวสาร ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่น EK CRANE เราคือ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำงานไซต์ก่อสร้าง สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยครับ

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ทำความเข้าใจหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เสริมประสิทธิภาพการทำงาน

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ความปลอดภัยระหว่างการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญที่เราไม่สามารถมองข้ามได้ง่าย ๆ เพราะสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเครื่องจักร การทำงานบนที่สูง หรือการจัดการสารเคมี และถ้าหากว่า ในไซต์งานก่อสร้างไม่มีมาตรการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เหมาะสมมากเพียงพอ ก็อาจนำไปสู่อุบัติเหตุที่รุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้ครับ

วันนี้ผมจะพาทุกคนไป ทำความเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และเรียนรู้วิธีป้องกันอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานไซต์ก่อสร้าง

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในงานก่อสร้าง

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คืออะไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety: OHS) คือการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับให้พนักงานในองค์กร โดยมีขอบเขต ครอบคลุมตั้งแต่ การป้องกันอุบัติภัย การคุ้มครองความปลอดภัย การลดความเสี่ยงจากสารเคมี การสร้างมาตรฐานการทำงานที่ปลอดภัย การปรับสภาพของงาน และการส่งเสริมสุขภาพกายและใจให้มีความแข็งแรง

ความสำคัญ

  • ความสำคัญต่อองค์กร ช่วยลดอุบัติเหตุในการทำงาน ลดความเสียหายและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการหยุดงาน และการดำเนินการด้วยหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรและเพื่อความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย
  • ความสำคัญต่อพนักงาน หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจะช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ทำให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงเกิดความพึงพอใจในการทำงานและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8 องค์ประกอบพื้นฐาน ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

เพราะการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องต้องอาศัยองค์ประกอบหลายด้านเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ และองค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยลดและป้องกันอุบัติเหตุในไซต์งานก่อสร้างได้ครับ

  1. การวางแผน

การวางแผน คือองค์ประกอบส่วนแรกของการทำงานตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และวิเคราะห์ความเสี่ยงและการวางแนวทางป้องกันอุบัติเหตุล่วงหน้า เพื่อให้เราสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การวางแผน
  1. การรายงานเหตุการณ์

การรายงานและตรวจสอบอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใกล้เคียงจากพนักงานในองค์กรทุกคน Kaizen จะช่วยเราสามารถติดตามข่าวสารได้ทันท่วงที และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อปรับปรุงและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นในอนาคต ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่

  • รายงานอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
  • รายงานอันตรายและความเสี่ยง
  • รับการแจ้งเตือนเพื่อทำงานบางอย่างให้เสร็จ
  • ทบทวน แก้ไขแบบฟอร์มความเสี่ยง อันตราย และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ครบถ้วน
  1. User-friendly interface

User-friendly interface หรือการใช้เทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและเป็นแนวทางให้ห้กับพนักงาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น เช่น แบบฟอร์มรายงานความปลอดภัย หรือระบบแจ้งเตือนอุบัติเหตุผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้งานได้อย่างง่ายดาย และมีความชัดเจน  เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้องและครบถ้วนมากที่สุดครับ

  1. การฝึกอบรม

การให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่พนักงาน เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบจำเป็นที่บริษัทต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การทำความเข้าใจสัญลักษณ์วัตถุอันตราย การป้องกันอุบัติเหตุ วิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ ล้วนแล้วแต่เป็นการบริการจัดการที่จะช่วยให้พนักงานสามารถปฏิบัติตัวในไซต์งานก่อสร้างได้อย่างปลอดภัย

  1. การประเมินความเสี่ยง

การประเมิน การวิเคราะห์ และแก้ไขความเสี่ยง ที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน คือขั้นตอนสำคัญที่ช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ การตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทำให้สามารถปรับปรุงมาตรการป้องกันได้อย่างเหมาะสม ผ่านการใช้งานระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ในระบบการทำงาน เช่น ค่าสถิติ หรือค่าความเสี่ยงของอุบัติเหตุในขั้นตอนต่าง ๆ

  1. การรับรอง

การรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัย ซึ่งมาจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ เช่น ISO 45001 หรือมาตรฐานความปลอดภัยของภาครัฐ คือองค์ประกอบของหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ช่วยแสดงให้เห็นถึงการรักษาความปลอดภัยในการทำงานขององค์กรต่าง ๆ และยังเป็นแนวทางที่ช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและลูกค้าได้ดีไม่น้อยเลยครับ

  1. การสื่อสาร

การสื่อสารภายในองค์กรเกี่ยวกับความปลอดภัย คือองค์ประกอบที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมที่เน้นความปลอดภัย เพราะสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างพนักงานอย่างชัดเจน จะช่วยให้ทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

  1. การเข้าถึงข้อมูล

การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยที่พนักงานสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน กฎระเบียบในไซต์งานก่อสร้าง และข้อมูลอุบัติเหตุต่าง ๆ คือองค์ประกอบสุดท้ายในหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่จะช่วยให้พนักงานสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การทำงานบนที่สูง

อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยจากการทำงานก่อสร้าง

การทำงานก่อสร้างมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง เพราะพนักงานในไซต์งานก่อสร้างต้องใช้เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ และแวดล้อมไปด้วยพื้นที่อันตรายที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายได้ และอุบัติเหตุที่พบบ่อยในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ได้แก่

  • อุบัติเหตุจากเครื่องจักร เกิดจากการใช้งานเครื่องจักรโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย พนักงานจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมการใช้งานเครื่องจักรอย่างถูกต้อง
  • อุบัติเหตุจากการเคลื่อนย้ายและกองวัสดุ มักมีสาเหตุจากการวางสินค้าที่ไม่เหมาะสม สามารถป้องกันได้โดยการจัดพื้นที่ให้เป็นระเบียบหรือใช้เครื่องมือช่วยยก
  • อุบัติเหตุจากการพลัดตกจากที่สูงหรือหกล้ม เพราะขาดอุปกรณ์ป้องกันตก ควรใช้อุปกรณ์กันตกต่าง ๆ พร้อมทั้งติดตั้งราวกั้น
  • อุบัติเหตุจากการใช้เครื่องมือต่างๆ มักจะเกิดจากเครื่องมือชำรุด หรือใช้เครื่องมือผิดวิธีหรือ พนักงานจึงควรตรวจสอบเครื่องมือก่อสร้างให้ดีก่อนใช้งาน
  • อุบัติเหตุจากไฟฟ้าช็อต จากสายไฟเสียหาย ชำรุด การตรวจสอบสายไฟและใช้เครื่องป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรจะช่วยลดอุบัติเหตุนี้ได้
  • อุบัติเหตุจากสารเคมี เกิดจากการสัมผัสสารเคมีอันตราย พนักงานควรเข้าใจถึง สัญลักษณ์วัตถุอันตราย และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลระหว่างการทำงาน
  • อุบัติเหตุจากกระบวนการผลิตที่มีอุณหภูมิสูง เกิดจากการทำงานใกล้เครื่องจักรที่มีความร้อนสูง การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความร้อนคือวิธีป้องกันอุบัติเหตุนี้ได้

สรุป

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพราะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุและสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ผ่านการใช้งานเครื่องจักรที่มีคุณภาพ และการดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอุบัติเหตุ และช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่องค์กร

สำหรับใครที่ต้องการลดความเสี่ยงในการทำงานก่อสร้าง หรืออยากติดตามข่าวสาร ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่น EK CRANE เราคือ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำงานไซต์ก่อสร้าง สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยครับ

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย