ทำความเข้าใจ กฎกระทรวงด้านการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น ต้องทำอย่างไรบ้าง

อบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ

อุตสาหกรรมการก่อสร้าง คือหนึ่งในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ออัคคีภัยสูงไม่น้อย เพราะในไซต์งานก่อสร้างหลาย ๆ ขั้นตอนจำเป็นต้องใช้วัสดุที่ติดไฟได้ง่ายและเครื่องจักรไฟฟ้า ดังนั้นองค์กรและผู้ประกอบการด้านงานก่อสร้างจึงต้องให้ความสำคัญกับการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟระหว่างทำงาน เพื่อเสริมความปลอดภัยของพนักงานและป้องกันความเสียหายใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ

โดยเฉพาะการปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินจากอัคคีภัยในไซต์งานก่อสร้าง

ความสำคัญของอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ

การอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ เป็นกระบวนการสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมของพนักงานและบุคลากรในองค์กรเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในอัคคีภัย และช่วยให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือ การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันและระงับอัคคีภัยในงานก่อสร้าง และยังครอบคลุมไปถึงแนวทางการอพยพหนีไฟที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้างของทุกคนในองค์กร

ดังนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดกฎกระทรวงให้สถานประกอบการทุกแห่งจัดการฝึกอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟอย่างสม่ำเสมอ และถ้าหากไม่ดำเนินการตามข้อบังคับ องค์กรหรือสถานประกอบการอาจจะถูกปรับหรือได้รับโทษทางกฎหมายได้ เพราะการละเลยการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของพนักงานและทรัพย์สินของบริษัทนั่นเองครับ

อบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ การใช้ถังดับเพลิง

ข้อกำหนดการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามกฎกระทรวง

ตามกฎกระทรวงของรัฐบาล ได้กำหนดไว้ว่า บริษัททุกแห่งต้องมีการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟขั้นพื้นฐาน โดยมีข้อกำหนด 3 ส่วน ได้แก่

  • จำนวนพนักงานที่ต้องเข้าร่วมอบรม นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมดับเพลิง ให้กับพนักงาน ไม่ต่ำกว่า 40% ของพนักงานทั้งหมด
  • ความถี่ในการจัดอบรม นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • ระยะเวลาการอบรมที่กำหนด ต้องครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมีระยะเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

3 ส่วนการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามกฎกระทรวง

การอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามกฎกระทรวงแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ซึ่งครอบคลุม ตั้งแต่ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างถูกต้องเมื่อเกิดอัคคีภัย

  1. หลักสูตรภาคทฤษฎี

หลักสูตรการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟภาคทฤษฎี บริษัทต้องให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอัคคีภัย ทั้งสาเหตุ ประเภท และวิธีสังเกตรูปแบบของไฟไหม้ เช่น ไฟไหม้จากสารเคมี ไฟไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร และไฟไหม้จากเชื้อเพลิงต่างๆ และขั้นตอนการใช้งานเครื่องมือดับเพลิง เช่น การเลือกใช้ถังดับเพลิงที่เหมาะสมกับประเภทของไฟ หรือการทำงานของระบบแจ้งเตือนไฟไหม้

  1. หลักสูตรภาคปฏิบัติ

สำหรับหลักสูตรภาคปฏิบัติ ให้บริษัทเน้นไปที่การใช้เครื่องมือดับเพลิงอย่างถูกต้อง โดยเริ่มต้นจากการแต่งตั้ง ผู้เฝ้าระวังไฟ การฝึกฝนให้พนักงานสามารถใช้ถังดับเพลิงชนิดต่าง ๆ ได้อย่างถูกวิธี ทั้งถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง หรือถังดับเพลิงชนิด CO2 การสอนการใช้งานสายดับเพลิงเพื่อควบคุมเพลิง และอธิบายถึงขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ พร้อมกับจำลองสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความคุ้นเคย และสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ

สุดท้ายคือ การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานเข้าใจแนวทางการอพยพที่ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุจำเป็น โดยครอบคลุมตั้งแต่ การนัดจุดรวมพลและแนวทางการตรวจสอบจำนวนพนักงาน การเดินตามเส้นทางหนีไฟที่กำหนดไว้ การใช้บันไดหนีไฟ และการปฏิบัติตามสัญญาณเตือนภัยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด และสร้างความมั่นใจว่าไม่มีผู้ติดค้างอยู่ในอาคาร

เตรียมความพร้อมอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ

การเตรียมตัวก่อนการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟเป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทควรใส่ใจ เพราะจะช่วยให้เราสามารถฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและนี่คืออุปกรณ์ที่จำเป็น สถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการฝึกอบรม และเอกสารที่ต้องจัดเตรียมเพื่อให้การอบรมเป็นไปอย่างราบรื่นครับ

อุปกรณ์ดับเพลิงที่จำเป็น

โดยแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  • ถังดับเพลิง ซึ่งใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของไฟไหม้ เช่น ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งสำหรับไฟไหม้ทั่วไป หรือถังดับเพลิง CO2 สำหรับไฟไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • สายดับเพลิงและหัวฉีดน้ำ ควรติดตั้งสายดับเพลิงพร้อมหัวฉีดน้ำแรงดันสูงที่สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ภายในอาคาร
  • สัญญาณเตือนไฟไหม้ ที่ช่วยแจ้งเตือนพนักงานเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เช่น เครื่องตรวจจับควัน เครื่องตรวจจับความร้อน และสัญญาณเตือนภัย
  • อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ผ้าห่มกันไฟ ถุงมือทนความร้อน และหน้ากากกันควันไฟ
อบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ถุงมือทนความร้อน

พื้นที่สำหรับการฝึกอบรม

พื้นที่ฝึกอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ควรมีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการทำกิจกรรม ได้แก่

  • บริเวณเปิดโล่ง ซึ่งสามารถควบคุมไฟได้ง่าย และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
  • ห้องฝึกอบรมเฉพาะทาง ที่มีอุปกรณ์จำลองสถานการณ์เพลิงไหม้เพื่อการฝึกที่สมจริง
  • มีอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น เครื่องดับเพลิงสำรอง อ่างน้ำ และทางหนีไฟในกรณีฉุกเฉิน

เอกสารที่ต้องจัดเตรียม

บริษัทควรจัดเตรียมเอกสารสำคัญเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัย ได้แก่

  • แผนการฝึกอบรม พร้อมระบุรายละเอียดหลักสูตรอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ
  • คู่มือความปลอดภัย เพื่อให้พนักงานทราบถึงแนวทางปฏิบัติในกรณีเกิดเพลิงไหม้
  • รายงานผลการอบรม สำหรับการบันทึกข้อมูลผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผลการทดสอบ
  • ใบรับรองการอบรม ใช้เป็นหลักฐานว่าองค์กรได้ดำเนินการฝึกอบรมตามกฎหมายกำหนด

สรุป

การอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการทำงานในไซต์ก่อสร้าง ที่จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากอัคคีภัยระหว่างการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ และการดำเนินการตามกฎกระทรวงจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าพนักงานมีความพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับใครที่ต้องการลดความเสี่ยงในการทำงานก่อสร้าง หรืออยากติดตามข่าวสาร ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่น EK CRANE เราคือ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำงานไซต์ก่อสร้าง สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยครับ

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

ทำความเข้าใจหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เสริมประสิทธิภาพการทำงาน

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ความปลอดภัยระหว่างการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญที่เราไม่สามารถมองข้ามได้ง่าย ๆ เพราะสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเครื่องจักร การทำงานบนที่สูง หรือการจัดการสารเคมี และถ้าหากว่า ในไซต์งานก่อสร้างไม่มีมาตรการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เหมาะสมมากเพียงพอ ก็อาจนำไปสู่อุบัติเหตุที่รุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้ครับ

วันนี้ผมจะพาทุกคนไป ทำความเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และเรียนรู้วิธีป้องกันอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานไซต์ก่อสร้าง

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในงานก่อสร้าง

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คืออะไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety: OHS) คือการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับให้พนักงานในองค์กร โดยมีขอบเขต ครอบคลุมตั้งแต่ การป้องกันอุบัติภัย การคุ้มครองความปลอดภัย การลดความเสี่ยงจากสารเคมี การสร้างมาตรฐานการทำงานที่ปลอดภัย การปรับสภาพของงาน และการส่งเสริมสุขภาพกายและใจให้มีความแข็งแรง

ความสำคัญ

  • ความสำคัญต่อองค์กร ช่วยลดอุบัติเหตุในการทำงาน ลดความเสียหายและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการหยุดงาน และการดำเนินการด้วยหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรและเพื่อความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย
  • ความสำคัญต่อพนักงาน หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจะช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ทำให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงเกิดความพึงพอใจในการทำงานและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8 องค์ประกอบพื้นฐาน ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

เพราะการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องต้องอาศัยองค์ประกอบหลายด้านเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ และองค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยลดและป้องกันอุบัติเหตุในไซต์งานก่อสร้างได้ครับ

  1. การวางแผน

การวางแผน คือองค์ประกอบส่วนแรกของการทำงานตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และวิเคราะห์ความเสี่ยงและการวางแนวทางป้องกันอุบัติเหตุล่วงหน้า เพื่อให้เราสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การวางแผน
  1. การรายงานเหตุการณ์

การรายงานและตรวจสอบอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใกล้เคียงจากพนักงานในองค์กรทุกคน Kaizen จะช่วยเราสามารถติดตามข่าวสารได้ทันท่วงที และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อปรับปรุงและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นในอนาคต ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่

  • รายงานอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
  • รายงานอันตรายและความเสี่ยง
  • รับการแจ้งเตือนเพื่อทำงานบางอย่างให้เสร็จ
  • ทบทวน แก้ไขแบบฟอร์มความเสี่ยง อันตราย และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ครบถ้วน
  1. User-friendly interface

User-friendly interface หรือการใช้เทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและเป็นแนวทางให้ห้กับพนักงาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น เช่น แบบฟอร์มรายงานความปลอดภัย หรือระบบแจ้งเตือนอุบัติเหตุผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้งานได้อย่างง่ายดาย และมีความชัดเจน  เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้องและครบถ้วนมากที่สุดครับ

  1. การฝึกอบรม

การให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่พนักงาน เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบจำเป็นที่บริษัทต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การทำความเข้าใจสัญลักษณ์วัตถุอันตราย การป้องกันอุบัติเหตุ วิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ ล้วนแล้วแต่เป็นการบริการจัดการที่จะช่วยให้พนักงานสามารถปฏิบัติตัวในไซต์งานก่อสร้างได้อย่างปลอดภัย

  1. การประเมินความเสี่ยง

การประเมิน การวิเคราะห์ และแก้ไขความเสี่ยง ที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน คือขั้นตอนสำคัญที่ช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ การตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทำให้สามารถปรับปรุงมาตรการป้องกันได้อย่างเหมาะสม ผ่านการใช้งานระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ในระบบการทำงาน เช่น ค่าสถิติ หรือค่าความเสี่ยงของอุบัติเหตุในขั้นตอนต่าง ๆ

  1. การรับรอง

การรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัย ซึ่งมาจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ เช่น ISO 45001 หรือมาตรฐานความปลอดภัยของภาครัฐ คือองค์ประกอบของหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ช่วยแสดงให้เห็นถึงการรักษาความปลอดภัยในการทำงานขององค์กรต่าง ๆ และยังเป็นแนวทางที่ช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและลูกค้าได้ดีไม่น้อยเลยครับ

  1. การสื่อสาร

การสื่อสารภายในองค์กรเกี่ยวกับความปลอดภัย คือองค์ประกอบที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมที่เน้นความปลอดภัย เพราะสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างพนักงานอย่างชัดเจน จะช่วยให้ทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

  1. การเข้าถึงข้อมูล

การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยที่พนักงานสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน กฎระเบียบในไซต์งานก่อสร้าง และข้อมูลอุบัติเหตุต่าง ๆ คือองค์ประกอบสุดท้ายในหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่จะช่วยให้พนักงานสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การทำงานบนที่สูง

อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยจากการทำงานก่อสร้าง

การทำงานก่อสร้างมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง เพราะพนักงานในไซต์งานก่อสร้างต้องใช้เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ และแวดล้อมไปด้วยพื้นที่อันตรายที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายได้ และอุบัติเหตุที่พบบ่อยในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ได้แก่

  • อุบัติเหตุจากเครื่องจักร เกิดจากการใช้งานเครื่องจักรโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย พนักงานจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมการใช้งานเครื่องจักรอย่างถูกต้อง
  • อุบัติเหตุจากการเคลื่อนย้ายและกองวัสดุ มักมีสาเหตุจากการวางสินค้าที่ไม่เหมาะสม สามารถป้องกันได้โดยการจัดพื้นที่ให้เป็นระเบียบหรือใช้เครื่องมือช่วยยก
  • อุบัติเหตุจากการพลัดตกจากที่สูงหรือหกล้ม เพราะขาดอุปกรณ์ป้องกันตก ควรใช้อุปกรณ์กันตกต่าง ๆ พร้อมทั้งติดตั้งราวกั้น
  • อุบัติเหตุจากการใช้เครื่องมือต่างๆ มักจะเกิดจากเครื่องมือชำรุด หรือใช้เครื่องมือผิดวิธีหรือ พนักงานจึงควรตรวจสอบเครื่องมือก่อสร้างให้ดีก่อนใช้งาน
  • อุบัติเหตุจากไฟฟ้าช็อต จากสายไฟเสียหาย ชำรุด การตรวจสอบสายไฟและใช้เครื่องป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรจะช่วยลดอุบัติเหตุนี้ได้
  • อุบัติเหตุจากสารเคมี เกิดจากการสัมผัสสารเคมีอันตราย พนักงานควรเข้าใจถึง สัญลักษณ์วัตถุอันตราย และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลระหว่างการทำงาน
  • อุบัติเหตุจากกระบวนการผลิตที่มีอุณหภูมิสูง เกิดจากการทำงานใกล้เครื่องจักรที่มีความร้อนสูง การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความร้อนคือวิธีป้องกันอุบัติเหตุนี้ได้

สรุป

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพราะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุและสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ผ่านการใช้งานเครื่องจักรที่มีคุณภาพ และการดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอุบัติเหตุ และช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่องค์กร

สำหรับใครที่ต้องการลดความเสี่ยงในการทำงานก่อสร้าง หรืออยากติดตามข่าวสาร ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่น EK CRANE เราคือ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำงานไซต์ก่อสร้าง สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยครับ

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

รู้จักสัญลักษณ์จำแนกวัตถุอันตราย 9 ประเภท

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท

เราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การใช้งานสารเคมีและวัตถุอันตรายต่าง ๆ ในงานก่อสร้างคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อกระบวนการก่อสร้างในไซต์งาน แต่ก็แฝงไปด้วยความเสี่ยงที่สูงไม่น้อย และถ้าหากว่า คุณไม่เรียนรู้วิธีการจัดการหรือใช้งานงานอย่างเหมาะสม ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงทั้งต่อคนงาน สภาพแวดล้อม และอุปกรณ์ต่าง ๆ

ดังนั้น การทำความเข้าใจ “สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ และส่งเสริมการทำงานที่มีประสิทธิภาพในงานก่อสร้างครับ

ทำไมจึงควรรู้จักสัญลักษณ์วัตถุอันตรายในงานก่อสร้าง ?

ในสถานที่ก่อสร้าง วัตถุอันตรายมักจะถูกใช้ในหลากหลายหลายรูปแบบ เพื่อใช้การทำงานสะดวก ง่าย และรวดเร็วมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สารเคมีเร่งปฏิกิริยา หรือสารเคลือบป้องกันสนิม และถ้าหากพนักงานไม่เรียนรู้การใช้งานสัญลักษณ์วัตถุอันตรายเหล่านี้ให้ดี ก็อาจนำไปสู่อุบัติเหตุอย่าง การระเบิด การเผาไหม้ หรือการสัมผัสสารเคมีที่เป็นพิษได้ง่าย ๆ

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภทที่ควรรู้ พร้อมวิธีป้องกันอุบัติเหตุ

นี่คือสัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท ที่คุณควรรู้ เพื่อลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้องครับ

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท Explosive
  1. สารที่ระเบิดได้ (Explosive)

สารที่ระเบิดได้ (Explosive) สารเคมีที่สามารถเกิดปฏิกิริยาระเบิดหรือเผาไหม้อย่างรุนแรง เมื่อถูกกระทบกระเทือน เสียดสี สัมผัสประกายไฟ และโดนความร้อน เช่น สารประกอบกลุ่ม Nitrate หรือดินระเบิด

ข้อควรปฏิบัติ ควรจัดเก็บสารระเบิดในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศดี ห่างไกลจากแหล่งความร้อนหรือประกายไฟ และใช้บรรจุภัณฑ์ที่ถูกออกแบบเพื่อลดความเสี่ยงจากแรงกระแทกหรือแรงสั่นสะเทือน

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท Oxidizing
  1. สารเร่งการติดไฟ (Oxidizing)

สารเร่งการติดไฟ (Oxidizing) สารเคมีที่ปล่อยออกซิเจนเพื่อเพิ่มความรุนแรงของการเผาไหม้ และเมื่อสัมผัสกับสารไวไฟ ก็อาจทำให้ไฟไหม้รุนแรงเช่น  เช่น สารประกอบ Hypochlorite, Permanganate หรือสารฟอกขาวหรือสารเคมีในงานเชื่อม

ข้อควรปฏิบัติ ไม่เก็บรวมกับสารเคมีไวไฟ และควรใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น ถุงมือและแว่นตา เพื่อป้องกันการสัมผัสสารโดยตรงหรือเกิดไฟลุกไหม้

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท Flammable
  1. วัตถุไวไฟ (Flammable)

สารไวไฟ (Highly Flammable) สารที่สามารถติดไฟได้ง่าย ของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 21 องศาเซลเซียส หรือสารเคมีที่เกิดไฟได้หากสัมผัสกับน้ำและอากาศชื้น เช่น น้ำมันเบนซินหรือสีทาไม้

ข้อควรปฏิบัติ ใช้ภาชนะที่ปิดสนิทและกันไฟ พร้อมจัดเก็บในพื้นที่ที่ห่างไกลจากเปลวไฟ ประกายไฟ และความร้อน

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท Corrosive
  1. สารกัดกร่อน (Corrosive)

สารกัดกร่อน (Corrosive) สารเคมีก่อให้เกิดการระคายเคืองดวงตาและผิวหนัง เมื่อสัมผัสกับสารหรือไอสาร และก่อให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงเช่น กรดแก่ เบสแก่ สารที่ดูดน้ำ กรดซัลฟูริก หรือโซดาไฟ

ข้อควรปฏิบัติ ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะใช้งาน เช่น ถุงมือ หรือหน้ากากกันสารเคมี รีบล้างบริเวณที่สัมผัสสารด้วยน้ำสะอาดและปรึกษาแพทย์ทันที ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท Toxic
  1. สารมีพิษ (Toxic)

สารมีพิษ (Toxic) สารเคมีที่พิษหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น สะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงเฉียบพลัน ก่อให้เกิดมะเร็ง หรืออันตรายต่อทารกในครรภ์ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทั้งทางระบบหายใจ ปาก และผิวหนัง เช่น ยาฆ่าแมลง

ข้อควรปฏิบัติ ควรเก็บสารพิษให้ห่างจากพื้นที่จัดเก็บอาหารและน้ำดื่มซึ่งเสี่ยงต่อการรับประทาน สูดดม หรือสัมผัส และควรใช้งานในพื้นที่ที่มีระบบระบายอากาศดี เพื่อป้องกันการสะสมของสารพิษในอากาศ

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท Irritant
  1. สารระคายเคือง (Irritant)

สารระคายเคือง (Irritant) สารเคมีที่ทำให้เกิดการบวมแดง ระคายเคือง หรือมีอาการแพ้บริเวณดวงตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจเมื่อสัมผัสกับหรือสูดดมสาร ซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน เช่น ผงซักฟอก สารทำความสะอาด

ข้อควรปฏิบัติ สวมถุงมือและแว่นตาป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับและสูดดมสารเคมีโดยตรงเพื่อลดการระคายเคือง

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท Harmful

  1. สารอันตราย (Harmful)

สารอันตราย (Harmful) สารเคมีที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพหากได้รับแบบเฉียบพลัน ระยะยาว หรืออาจเป็นสารเคมีที่สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น ตัวทำละลายบางชนิด จึงใช้งานตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

ข้อควรปฏิบัติ อ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้งานอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับร่างกายทุกรูปแบบ และเก็บในพื้นที่ที่ผู้ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถเข้าถึงได้

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท Radioactive
  1. สารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive)

สารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) สารเคมีที่ปล่อยรังสีอันตรายในปริมาณที่มากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม และอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ในร่างกาย เช่น ยูเรเนียมหรือซีเซียม

ข้อควรปฏิบัติ จัดเก็บในตู้ที่มีมาตรการความปลอดภัยขั้นสูง มีระบบป้องกันรังสี และอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมใช้งานหรือเข้าถึงเท่านั้น

สัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท Dangerous for the environment

  1. สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Dangerous for the environment)

สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Dangerous for the environment) สารที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ  สามารถทำลายสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เช่น สารเคมีปนเปื้อนในน้ำและดิน หรือสารพิษที่สะสมในห่วงโซ่อาหาร

ข้อควรปฏิบัติ ควรเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันการรั่วไหล ตรวจสอบระบบบำบัดของเสียให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด

สรุป

การทำความเข้าใจและจดจำสัญลักษณ์วัตถุอันตราย 9 ประเภท และสัญลักษณ์ความปลอดภัยถือเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะช่วยเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างทุก ๆ ขั้นตอน และยังลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากสารเคมีอันตรายที่ใช้งานในไซต์งานก่อสร้างที่คุณต้องระมัดระวังอยู่เสมอครับ

และถ้าหากว่าคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง  รถเครน และปั้นจั่น EK CRANE เราอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ที่คุณควรรู้ พร้อมบริการให้เช่ารถเครน หลากหลายประเภท สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) คืออะไร เทคนิคปฐมพยาบาลสำคัญที่ควรทราบ

การช่วยฟื้นคืนชีพ

การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) เป็นเทคนิคการปฐมพยาบาลสำคัญที่ช่วยชีวิตในกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะในงานก่อสร้างที่ความปลอดภัยคือสิ่งเราควรเรียนรู้ให้ดี เพื่อป้องกันและเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เพราะการทำ CPR ที่ถูกต้องจะสามารถเพิ่มโอกาสการต่อชีวิตได้ทันท่วงที และสร้างการทำงานที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพนั่นเองครับ

ในบทความนี้ ผมจะพาทุกคนไปเรียนรู้รายละเอียดการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ทั้งความหมาย ความสำคัญ เทคนิคการนำไปใช้ และข้อควรระวัง เพื่อให้คุณสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมั่นใจ

การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) คืออะไร ?

การช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary Resuscitation: CPR) คือกระบวนการปฐมพยาบาลที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจและปอดในผู้ที่หัวใจหยุดเต้น หรือหยุดหายใจเฉียบพลัน โดยการกดหน้าอกและเป่าปากเพื่อช่วยให้เลือดและออกซิเจนไหลเวียนไปยังสมองและอวัยวะสำคัญซึ่งมีผลต่อโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะในช่วงเวลาฉุกเฉินก่อนที่ทีมแพทย์หรือเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึงสถานที่เกิดเหตุและช่วยเหลือต่อไป

อีกทั้งยังเป็นขั้นตอนที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายถาวรต่อสมองจากการขาดออกซิเจนในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ป่วยที่หมดสติและไม่ตอบสนอง ไม่มีการหายใจ หรือร้ายแรงถึงหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันจากภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเหตุการณ์จมน้ำ

การช่วยฟื้นคืนชีพ ในงานก่อสร้าง

3 ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพที่ถูกต้อง

เพื่อให้การช่วยฟื้นคืนชีพมีประสิทธิภาพมากที่สุด คุณควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ดังนี้ครับ

  1. การตรวจสอบสภาพผู้ป่วย

ก่อนเริ่มการช่วยเหลือ ให้คุณตรวจสอบการตอบสนองของผู้ป่วย โดยเขย่าตัวหรือตบที่หัวไหลเบา ๆ และเรียกเสียงดังเพื่อดูว่าผู้ป่วยตอบสนองหรือไม่ จากนั้นตรวจสอบการหายใจโดยสังเกตว่า ภายในสิบวินาที หน้าอกยกขึ้นลงหรือไม่ หากผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองและไม่มีการหายใจ ให้โทรแจ้งเหตุฉุกเฉินที่หมายเลข 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

  1. การกดหน้าอก

การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยการกดหน้าอกเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะสำคัญ โดยเริ่มจากการคลำชีพจร และถ้าหากค้นหาชีพจรไม่เจอ ให้เริ่มกดหน้าอกโดยใช้หลักการ 3 ส่วน ได้แก่

  • ตำแหน่งที่ถูกต้อง วางมือทั้งสองข้างบนกระดูกหน้าอกส่วนกลาง โดยมือข้างหนึ่งวางทับมืออีกข้าง แขนเหยียดตรง
  • จังหวะและความลึก ใช้แรงจากไหล่กดลงลึกประมาณ 5-6 เซนติเมตร หรือ 2 นิ้ว
  • จำนวนครั้งต่อนาที กดหน้าอกจำนวน 100-120 ครั้งต่อนาทีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาการไหลเวียนของเลือด
  1. การเป่าปาก

ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพลำดับสุดท้ายคือ การเป่าปากเพื่อเติมออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย โดยเริ่มต้นจากการเงยศีรษะและยกคางผู้ป่วยขึ้นเล็กน้อย ใช้นิ้วบีบจมูกเพื่อป้องกันการรั่วไหล แนบปากสนิทกับปากผู้ป่วยและเป่าลมเข้าสองครั้ง

ให้ผู้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพใช้เวลาประมาณหนึ่งวินาทีต่อครั้ง พร้อม ๆ กับสังเกตว่า หน้าอกผู้ป่วยยกขึ้นหรือไม่ ถ้าหากหน้าอกไม่ยกให้ปรับตำแหน่งศีรษะแล้วลองเป่าใหม่ และทำซ้ำจนกว่าผู้เชี่ยวชาญจะมาถึง

เทคนิคการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ที่ถูกต้อง

การช่วยฟื้นคืนชีพที่มีประสิทธิภาพควรปฏิบัติตามเทคนิค 4 องค์ประกอบ คือ

  • กดให้ลึก ต้องกดหน้าอกให้ลึกเพียงพอเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ประมาณ 5-6 เซนติเมตรในผู้ใหญ่ และ 4-5 เซนติเมตรในเด็กเล็ก โดยใช้แรงจากไหล่เพื่อป้องกันการกดลึกไม่พอหรือไม่สม่ำเสมอ
  • กดให้ร้อย โดยรักษาจังหวะการกดหน้าอกให้อยู่ระหว่าง 100-120 ครั้งต่อนาที และมีจังหวะที่สม่ำเสมอ โดยนับ ‘1 และ 2 และ’ เพื่อรักษาความต่อเนื่อง
  • ปล่อยให้สุด หลังการกดแต่ละครั้งต้องปล่อยหน้าอกกลับสู่ตำแหน่งเดิม เพื่อให้หัวใจเติมเลือดอย่างเต็มที่
  • กดไม่หยุด ห้ามหยุดการกดเกินสิบวินาที ยกเว้นเปลี่ยนเป็นการเป่าปากหรือเปลี่ยนคนทำ CPR

เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยทำ CPR ที่ควรใช้

  • เครื่อง AED อุปกรณ์ที่ช่วยวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจและส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นหัวใจในกรณีจำเป็น เช่น หัวใจหยุดเต้นจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หน้ากากช่วยหายใจ ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อระหว่างการเป่าปาก และเพิ่มความปลอดภัยให้การช่วยฟื้นคืนชีพ
  • อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น ถุงมือและหน้ากาก ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อระหว่างผู้ป่วย และผู้ช่วยฟื้นคืนชีพ
การช่วยฟื้นคืนชีพ เครื่อง AED

ข้อควรระวังในการช่วยฟื้นคืนชีพ

  • ระมัดระวังตำแหน่งและแรงที่ใช้กดหน้าอก ซึ่งอาจทำให้กระดูกซี่โครงหักได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งมีกระดูกเปราะบาง
  • การเป่าปากไม่ควรทำแรงเกินไป เพื่อป้องกันอากาศเข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อน

สรุป

การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) เป็นเทคนิคการปฐมพยาบาลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยชีวิตผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน เพราะการเรียนรู้ ฝึกฝนเทคนิคการ CPR อย่างถูกต้องมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานในไซต์งานก่อสร้างที่พนักงานมีความเสี่ยงมากกว่างานอื่น ๆ และไม่มากก็น้อยครับ

สำหรับใครที่อยากติดตามข่าวสาร ความรู้ และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถค้นหาข้อมูลจากบทความได้ที่ EK CRANE เพราะเราคือ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำงานไซต์ก่อสร้าง สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

เรียนรู้การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment เพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

การประเมินความเสี่ยง

การทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นหนึ่งในงานที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในโลก เพราะทั้งเกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องจักรหนัก การปีนป่ายในที่สูง และยังเต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอยู่เสมอ ดังนั้น ‘การประเมินความเสี่ยง’ หรือ Risk Assessment จึงกลายเป็นกระบวนการสำคัญจะที่ช่วยลดความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุ ไปพร้อมกับการสร้างความปลอดภัยให้กับการดำเนินงานของพนักงานทุกคน ที่เราควรทำความเข้าใจถึงความสำคัญและแนวทางการประเมินความเสี่ยงในงานก่อสร้างครับ

การประเมินความเสี่ยง

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) คืออะไร?

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) คือกระบวนการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านความปลอดภัย สุขภาพ และประสิทธิภาพของงานก่อสร้าง เป็นขั้นตอนที่ช่วยระบุความเสี่ยง กำหนดระดับความรุนแรง และจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยง เพื่อการวางแผนป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

ประโยชน์ของการประเมินความเสี่ยง

เพราะงานก่อสร้างมักเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ ทั้งอุบัติเหตุจากการทำงาน ทรัพย์สินเสียหาย หรือสิ่งแวดล้อมที่ถดถอยลง การประเมินความเสี่ยงจึงเป็นขั้นตอนที่ช่วยเตรียมความพร้อม ลดโอกาส และสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานที่ทำงานก่อสร้างอีกด้วย

6 ขั้นตอนการบริหารและประเมินความเสี่ยงในงานก่อสร้าง

ในการบริหารและประเมินความเสี่ยงงานก่อสร้าง การวางแผนและการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นข้อปฏิบัติสำคัญที่จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และนี่คือ 6 ขั้นตอนการบริหารและประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้างครับ

  1. ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

คุณควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจลักษณะงานก่อสร้างว่ามีความเสี่ยงด้านบ้าง เช่น การทำงานบนที่สูง การใช้อุปกรณ์เครื่องจักรกลหนัก หรือการทำงานในบริเวณที่มีสารเคมีและไฟฟ้า และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำเกิดขึ้นอุบัติเหตุในไซต์ก่อสร้าง เช่น การลื่นตก การบาดเจ็บจากการทำงาน การสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตราย หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

  1. จัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง

เมื่อระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การจัดลำดับความสำคัญและความน่าจะเป็นของความเสี่ยงเหล่านี้ โดยใช้เกณฑ์การประเมินต่าง ๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง ร้ายแรงต่อชีวิตพนักงาน หรือส่งผลกระทบอื่น ๆ ตามมา ซึ่งเป็นความเสี่ยงควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

  1. กำหนดเทคนิคที่ตอบสนองต่อความเสี่ยง

การกำหนดวิธีการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ คือขั้นตอนที่ช่วยให้พนักงานสามารถรับมือกับความเสี่ยงได้ดีขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยที่เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือการโอนถ่ายความเสี่ยงไปยังบุคคลที่สามอย่าง การทำประกันงานก่อสร้างเพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

  1. ดำเนินการตามแผนงาน

ต่อมาคือ การนำแผนการจัดการความเสี่ยงมาใช้ในงานก่อสร้าง เช่น การฝึกอบรมพนักงาน การติดตั้งราวกันตก การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่เหมาะสมกับลักษณะงาน หรือการตรวจสอบคุณภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

  1. สร้างแผนฉุกเฉินสำหรับอุบัติเหตุ

ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์หรืออุบัติที่ไม่คาดคิด แผนฉุกเฉินคือตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานก่อสร้างสามารถตอบสนองกับเหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นถึงแม้ว่าคุณจะมีแผนการรับมือกับความเสี่ยงที่รอบคอบแล้ว คุณก็ควรสร้างแผนฉุกเฉินเพื่อรับมือกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล การฝึกซ้อมการอพยพ หรือการจัดตั้งระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

  1. ปรับปรุงและแก้ไขการรับมือต่อความเสี่ยง

ขั้นตอนสุดท้ายคือ การประเมิน วิเคราะห์ และแก้ไขประสิทธิภาพของมาตรการแผนการรับมือความเสี่ยงในงานก่อสร้าง ซึ่งควรมีการประชุมและติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการปรับเปลี่ยนแผนการให้สามารถรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมนั่นเองครับ

การประเมินความเสี่ยง อบรมพนักงาน

มาตรการสำคัญเพื่อการจัดการความเสี่ยงในงานก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ

การดำเนินการตามมาตรการที่เหมาะสม จะช่วยให้งานก่อสร้างสามารถดำเนินไปได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งเป็น 4 ข้อดังนี้ครับ

  • การอบรมและสร้างความตระหนัก การฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับวิธีป้องกันแก่พนักงานแก่พนักงานในไซต์ก่อสร้าง เช่น การอบรมการใช้อุปกรณ์ หรือการปฏิบัติตัวในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
  • การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการประเมินความเสี่ยงในงานก่อสร้าง เช่น ระบบตรวจจับความปลอดภัย หรือโดรนสำหรับการตรวจสอบพื้นที่
  • การตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการหยุดชะงักของงานก่อสร้าง ที่เกิดจากความเสียหายของเครื่องจักร หรือการใช้งานอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม
  • การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ระหว่างทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ

สรุป

การประเมินความเสี่ยงในงานก่อสร้างถือเป็นหัวใจสำคัญของการลดอุบัติเหตุและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการ เพราะเป็นขั้นตอนที่ทั้งช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับพนักงาน เพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของงาน และช่วยให้การก่อสร้างดำเนินไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

หากคุณกำลังมองหารถเครนคุณภาพสูงสำหรับงานก่อสร้าง Ek CRANE เราคือผู้ให้เช่ารถเครนก่อสร้างที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเครนแบบเคลื่อนที่ เครนติดตั้งถาวร หรืออุปกรณ์เสริมที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้คุณมั่นใจในความทนทานและประสิทธิภาพสูงสุดในทุกการก่อสร้าง สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย

การอบรม คปอ คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

อบรมคณะกรรมการความปลอดภัย

การอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรการมีความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุขในการทำงาน และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงมีการจัดการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยขึ้นมา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายมากขึ้น และสามารถดำเนินงานตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในบทความนี้ผมจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกันว่าการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร และมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง มาดูไปพร้อมกันเลยครับ

คณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) คือใคร

ก่อนจะไปดูกันว่าการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร เรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าครับว่าคณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) คือใคร?
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า คปอ. นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยในองค์กร บุคลากรเหล่านี้ได้ผ่านการฝึกอบรมตามข้อกำหนดของกฎหมาย และได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างในสัดส่วนที่เหมาะสม

ความสำคัญของการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย

คปอ.

โดยการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยมีความสำคัญต่อองค์กร ดังนี้

  • ช่วยให้คณะกรรมการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัยและอาชีวอนามัย รวมถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในการดูแลความปลอดภัยในองค์กร
  • ทำให้คณะกรรมการสามารถวางแผนและกำหนดมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • ช่วยให้คณะกรรมการสามารถสื่อสารและประสานงานกับพนักงานในเรื่องความปลอดภัยได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย 
  • ช่วยสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ทำให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานอย่างปลอดภัย

ประเภทของการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย

1. การอบรมคณะรักษาความปลอดภัยแบบภายในองค์กร

การอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยภายในองค์กร สามารถทำได้โดยให้หน่วยฝึกที่ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการมาจัดอบรมภายในองค์กร

2. การอบรมคณะรักษาความปลอดภัยแบบภายในบุคคลทั่วไป

การอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยภายในองค์กร สามารถทำได้โดยส่งพนักงานไปอบรมที่ศูนย์ฝึกอบรมของหน่วยฝึกอบรม

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการรักษาความปลอดภัย

หลังจากที่เราทราบถึงความสำคัญของการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยกันแล้ว เรามาดูกันดีกว่าครับว่าหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามข้อกำหนดของกฎหมาย มีความสำคัญการดูแลและคุ้มครองแรงงานในองค์กร โดยคณะกรรมการมีหน้าที่สำคัญ 12 ประการ ที่ต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดประกอบด้วย

คณะกรรมการความปลอดภัย

1. กำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมสำหรับองค์กร และนำเสนอต่อนายจ้างเพื่อพิจารณา

2. วางแผนและกำหนดแนวทางเชิงป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงาน รวมถึงป้องกันเหตุรำคาญต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกจ้าง โดยเสนอมาตรการเหล่านี้ต่อนายจ้าง

3. ตรวจสอบสภาพแวดล้อมและสภาพการทำงาน พร้อมรายงานและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือใช้บริการในองค์กร

4. ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในองค์กร

5. ทบทวนและให้ความเห็นต่อคู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กร ก่อนนำเสนอต่อนายจ้างเพื่อนำไปปฏิบัติใช้

6. ดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบ ตลอดจนข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุภายในองค์กร ต่อที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยเป็นประจำทุกครั้ง 

7. พิจารณาและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมไปถึงหลักสูตรการอบรมที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยของบุคลากรทุกระดับ ตั้งแต่พนักงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร ไปจนถึงเจ้าของกิจการ เพื่อนำเสนอต่อนายจ้างพิจารณาต่อไป 

8. จัดวางระบบและกระบวนการเพื่อให้พนักงานทุกคนทุกระดับมีหน้าที่ในการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้นายจ้างรับทราบ 

9. ติดตามความคืบหน้าในประเด็นต่าง ๆ ที่ได้มีการนำเสนอต่อนายจ้างไปแล้ว 

10. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี โดยระบุถึงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอให้นายจ้างรับทราบ 

11. ทำการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร

12. ดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง

สรุป

การอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน ส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งตัวพนักงานเองและต่อองค์กรในระยะยาว สถานประกอบการจึงควรให้ความสำคัญและจัดอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวสาร และสาระดี ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รถเครน และปั้นจั่นสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ EK CRANE เรามีอัปเดตสาระน่ารู้ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจเช่ารถเครนประเภทต่าง ๆ เอกเครน โลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการเช่ารถเครนทุกขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามีทีมงานตลอดให้บริการอยู่ตลอด สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เราให้ทีมเซลล์ติดต่อกลับหาคุณได้
ใส่เบอร์โทรด้านล่างได้เลย